ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20295791

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เนื้อชิน

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง ลักษณะที่ทำให้มีหวัง -- ข้อมูลจากหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย -- ถ้าพิมพ์ติดดี ๑.พระพักตร์เป็นรูปไข่ ไม่ป้านอย่างพิมพ์เข่าตรง พระนลาฏ (หน้าผาก) เถิกกว้างมีรอยยุบตัวใต้แนวไรพระศก ๒.พระปรัศว์หรือสีข้าง (ซ้าย) จะเห็นเส้นกันขอบ (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - เรื่องนี้สำคัญ) ๓.บางองค์ตัดขอบชิดองค์พระมากส่วนบน จึงตัดพระกรรณแหว่งไปบ้าง (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - บางองค์ตัดข้างเดียวซ้ายหรือขวา บางองค์ทั้งสองข้าง ถ้าตัดขอบชิดจะเกิดลักษณะอย่างนี้ ความหมายอีกอย่างหนึ่งคือ ช่างแกะพระกรรณส่วนบนยาวและโค้งออกไปจากองค์พระมากกว่าพระนางพญากรุอื่นๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าอาจจะมีการตัดขอบชิดและจะตัดปลายพระกรรณด้านบน) ๔.ข้อสังเกตเพิ่มเติม แนวของเส้นจีวรและเส้นสังฆาฏิ ดูองศาและขนาดของแนว องค์นี้ได้รับความร้อนสูงดินเริ่มละลายกลายเป็นสีมอย (สีหินลับมีดโกน) พระซุ้มกอเนื้อชิน (ข้อคิดเห็น - ๑.พระกำแพงเนื้อชิน เช่น พระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระพลูจีบ พบเห็นน้อยกรุและน้อยองค์ เพราะการสร้างยากกว่าพระเนื้อดิน ใช้กำลังทรัพย์มากกว่า ต้องหาช่างฝีมือหล่อโลหะและทำได้ไม่มากองค์เท่าพระเนื้อดิน วัดที่มีศักยภาพพอที่จะทำพระเนื้อโลหะคงมีน้อยวัด ๒.โลหะที่ใช้สร้างมักเป็นโลหะผสม ส่วนประกอบของโลหะชนิดต่างๆในการสร้างของแต่ละวัดต่างกัน ดังนั้นเนื้อโลหะและสนิมจึงต่างกัน ไม่มากก็น้อย ๓.เมื่อมีน้อยองค์จึงบอกไม่ได้ว่ากรุไหนเป็นพิมพ์นิยม โดยทั่วไปนิยมพระที่มีรูปทรงสวยงาม ๔.ความสวยงามอย่างหนึ่งของพระซุ้มกออยู่ที่ลำพระบาทและพระบาทซ้ายขวาที่มีขนาดและสัดส่วนงามพอเหมาะ) พระสมเด็จฯ แตกลายสังกะโลก (ถ้าลงรักมาก่อนเรียกแตกลายงา ลายแตกต่างกัน) ก้อนปูนสีขาวอมความชื้นของเหงื่อสีเข้มขึ้น (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๙๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๐๕) Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. Pra somdej wat rakang pim yai (prasmdet). Pra kamphaeng sumkor pim yai (metal) ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ---- "ข้ามเรื่องที่มีประโยชน์มากที่สุด" ---- สองอย่างที่มีในพระสมเด็จวัดระฆังฯ และบางขุนพรหมแท้ทุกองค์คือ พิมพ์ และปูนที่แห้งแล้วร้อยกว่าปี ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ (เฉพาะปูนไม่รวมมวลสาร) หลักการพิจารณาที่ได้ผลดีและเชื่อมั่นได้แน่นอนคือ "การศึกษาและพิจารณาสิ่งที่มีในพระแท้ทุกองค์" ---- เมื่อพิจารณาระหว่างพิมพ์กับปูน พิมพ์มีลักษณะหรือจุดให้สังเกตมากกว่า (เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีหลายสิบจุด) สังเกตได้ง่ายกว่าและเห็นได้ชัดทั้งการดูพระองค์จริง(ด้วยกล้องหรือตาเปล่า)และการดูรูปภาพ สำหรับรูปภาพใครๆ ก็หาดูได้ถ้าตั้งใจที่จะหา การดูปูนยากกว่าเพราะผงปูนเล็กละเอียด "การเกาะรวมตัวกันของผงปูน" เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดระฆังฯและบางขุนพรหม ต่างจากของวัดอื่น พระปลอมเลียนแบบและพระย้อนยุค (ทำนองเช่น เนื้อขนมหม้อแกงของเพชรบุรีต่างจากของที่อื่น) ผิวปูนมีหลายประเภท หลายสี แปรเปลี่ยนสภาพไปตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้เร็วและมากกว่าพิมพ์ ในเวลาพิจารณาพระมีหลักยึดได้ว่า ถ้าพิมพ์ถูกต้อง ปูน(เนื้อ)จะถูกต้องไปด้วย การศึกษาเรื่องพิมพ์มีประโยชน์มากที่สุดในการพิจารณาพระสมเด็จฯ ---- ประโยชน์สำคัญของพิมพ์ได้แก่ (๑)ใช้เป็นเครื่องตัดสินในความเป็นของจริง บอกได้ว่าเป็นพระแท้โดยการดู "จุดสังเกตทุกๆ จุดและทุกลักษณะ" ที่เห็นในพิมพ์ของพระองค์นั้น (๒)เรื่องที่ไม่เคยมีใครพูดและเขียนถึงคือ การดูพิมพ์บอกได้ว่าเป็นพระปลอมเลียนแบบหรือไม่ สามารถระบุ "จุดตรงไหนที่ผิด และผิดอย่างไร" ทำให้คัดพระปลอมจำนวนมากออกได้อย่างเด็ดขาด โดยเร็ว ไม่ต้องลังเล สงสัย ค้างคาใจ (๓)ในการหาพระต้องอาศัยการดูพิมพ์เป็นลำดับแรก โดยเฉพาะในตลาดพระเครื่องซึ่งต้องดูพระที่วางอยู่บนโต๊ะจำนวนมาก เป็นร้อยๆ หรือพันองค์ เพื่อที่จะเลือกพระองค์ที่มีลักษณะหรือมีแววว่าจะเป็นพระแท้ขึ้นส่องดู การดูพระที่วางอยู่บนโต๊ะด้วยตาเปล่านั้นเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะชี้โชคชะตา ทำให้เห็นโอกาสที่จะได้พระแท้ (สำหรับผู้ที่ศึกษายังไม่มาก ถ้าดูได้ว่ามีเค้าจะเป็นพระแท้แล้วนำไปให้ผู้ที่ชำนาญช่วยตรวจสอบ ก็ดีมากแล้ว) การหาพระในตลาดเวลาส่วนใหญ่ใช้ไปในขั้นตอนนี้ ---- การละเลยหรือเว้นการดูพิมพ์เปรียบเสมือนปิดโอกาสที่จะได้ศึกษาหาข้อมูลความรู้และประสบการณ์สำหรับใช้ในการพิจารณาตัดสินพระ และไม่สามารถที่จะเลือกหยิบพระแท้ที่วางอยู่บนโต๊ขึ้นมาส่อง เลือกไม่ถูก หยิบแต่พระปลอม หรือมองข้ามไม่ดูเลยสักองค์ (เหตุการณ์หนึ่ง - ตั้งแต่เช้ามืดเปิดตลาดจนถึงเที่ยง ก็ยังวางอยู่บนแผงพระ ไม่มีใครเช่า) ---- มีหนังสือ ตำรา ข้อเขียนบทความและการสอนเรื่องพิมพ์น้อย ทำให้การศึกษาวิธีการดูพิมพ์เป็นเรื่องยากสำหรับผู้เริ่มต้น ไม่ค่อยจะเข้าใจ นึกภาพไม่ออกโดยเฉพาะเวลาส่องกล้อง อีกทั้งมีหลายพิมพ์ทรงและจำนวนแม่พิมพ์มีมาก จึงอาจรู้สึกว่าเป็นภาระมาก หนักสมอง เลิกเอาใจใส่ แต่ไม่ว่าจะยากอย่างไร ถ้าต้องการที่จะดูพระสมเด็จฯ ได้จำเป็นต้องศึกษาเรื่องพิมพ์ และเหมือนกับการทำอย่างอื่นคือ เริ่มจากก้าวที่หนึ่งก่อน เก็บรวบรวม - ศึกษาข้อเขียนบทความ หนังสือและตำรา รูปภาพพระแท้ (ถ้าจำเป็นอาจต้องถ่ายเอกสาร บางร้านถ่ายเอกสารรูปภาพสีได้ชัดเกือบเท่ารูปจริง ที่พิษณุโลกมีร้านหนึ่ง ข้ามสะพานแล้วก่อนถึงสี่แยกวัดคูฯ แผ่นละสิบบาท) คำอธิบายพุทธลักษณะ (พิมพ์) และเรื่องของปูนในหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวายมีรายละเอียดกว่าในหนังสือเล่มใดๆ (เป็นหนังสือเล่มเดียวของประเทศไทยที่ถูกห้ามขายต่างจังหวัด ขายได้เฉพาะที่กรุงเทพฯ เท่านั้น จนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนต้องขึ้นรถไฟ รถเมล์ไปซื้อที่ท่าพระจันทร์ มีลายเซ็นของตรียัมปวายในหน้าคำปรารภด้วยปากกาหมึกแห้งสีน้ำเงิน) หนังสือเบญจภาคีมีรูปภาพพระสมเด็จฯแท้มากที่สุด ---- ดูไม่กี่จุดหรือลักษณะยังไม่พอ ถือว่าไม่สมบูรณ์ ต้องดูทุกจุดและทั่วทุกลักษณะที่เห็น แม้จะมีขนาดเล็ก ๑/๒ มิลลิเมตรหรือ ๑/๔ มิลลิเมตร เช่น พระกรรณและปลายพระกรรณ ------------------------------- ถามว่า "ใช้อะไรตัดสิน" ความเป็นพระสมเด็จฯ แท้ ถ้าตอบว่าใช้พิมพ์(รูปทรง สัดส่วน ศิลป ขนาดและจุดสังเกตที่ถูกต้องสิบๆ จุด)ตัดสิน คือจุดยุติ แน่ชัดและเชื่อถือได้ที่สุด

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา