ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20339926

พระผงสุพรรณ วัดมหาธาตุ พิมพ์หน้าแก่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

แสดงภาพทั้งหมด

จากหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย - พิมพ์อกนูนเล็ก - ลักษณะที่จะใช้สังเกตได้เป็นประจำ ๑.พระอุระ (อก) แฟบแบนราบ ๒.เส้นจีวรเป็นเส้นเล็กปลายล้ำเข้าไปในซอกแขน ๓.เส้นสังฆาฏิโตไล่เลี่ยกับเส้นจีวร หรืออาจโตกว่าเล็กน้อย ๔.ส่วนที่เป็นพระเพลาหรือตักนั้นลำพระบาท (ขา) บนล่างโตไล่เลี่ยกัน ตรงกลางลำพระชงฆ์ (แข้ง) บนแอ่นโค้งน้อยๆ พระบาทแยกเป็นส่วนออกมาดูเด่นเห็นชัด (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - ถึงจะแขวนจนสึกมากอย่างไรก็ตาม ส่วนที่อยู่ในแอ่งหรือซอกลึกไม่ได้ถูกสัมผัสเสียดสีและสึกมากไปด้วย ยังปรากฏให้เห็นเสมอ เช่น ปลายของเส้นจีวรที่อยู่ในซอกแขนขวา) พระสมเด็จฯ แม่พิมพ์นี้ลำพระองค์ (ลำตัว) ยาว พระพักตร์เล็ก (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ"เบญจภาคี" เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๗๓ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๘๗) Pra pongsuphan wat mahathat pim narkae. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim oknoonlek. - - - - - Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ - (จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย) - พิมพ์พระประธาน ----- พื้นที่ชายกรอบ หมายถึง พื้นที่ระหว่างเส้นซุ้มกับกรอบ ซึ่งโดยทั่วไปจะเหลือพื้นที่บริเวณมุมกรอบด้านบนทั้งสองด้าน (หมายเหตู - คำว่า 'กรอบ' ในหนังสือพระสมเด็จฯปัจจุบันนิยมใช้คำว่า 'ขอบ' - ความหมายเดียวกัน) เพราะความโค้งของยอดซุ้มและการตัดกรอบ (ตัดขอบ) ด้านบน ซึ่งโดยมากจะไม่ตัดชิดยอดซุ้ม ตรงข้ามกับการตัดกรอบด้านข้างและด้านฐาน ซึ่งมักจะตัดชิดซุ้มทีเดียว "ระดับของพื้นผิวชายกรอบ" จะต้องได้ระดับกับพื้นผนังคูหา หรือใกล้เคียงกัน ถ้าหากสูงกว่าจะหมายถึงพื้นผนังถูกแต่งพิมพ์ให้ลึก "รอยประสาน"ระหว่าง ขอบเส้นซุ้มด้านนอก กับ พื้นผนังชายกรอบต้องกลมกลืนกัน มิใช่ขาดห้วนเป็นตะเข็บทำนองเดียวกับขอบซุ้มด้านใน กับพื้นผนังคูหา ------ การจำแนกแบบของกรอบ พื้นที่ชายกรอบจะเป็นเครื่องกำหนดจำแนกแบบของกรอบออกเป็น ๒ แบบ คือ (๑)แบบธรรมดา มีลักษณะเป็นพื้นเกลี้ยงๆ ดังได้กล่าวแต่ข้างต้น (๒)แบบกรอบกระจก มีลักษณะทำนองเป็นกรอบสองชั้นกอปรด้วยเส้นขีดทิวนูนเล็กๆ นูนขึ้นตามชายกรอบ ขนานกับแนวกรอบ (หรือแนวขอบ) ด้านบนและด้านข้างทั้งสอง เส้นขีดทิวจะปรากฏบริเวณตอนบนๆ ส่วนตอนล่างไม่มีโอกาสปรากฏ เพราะการตัดกรอบชิดเส้นซุ้ม (หมายเหตุเพิ่มเติม - ปัจจุบันพบเห็นการตัดขอบล่างห่างเส้นฐานซุ้มพอประมาณในบางองค์ ทำให้เห็นเส้นกรอบกระจกด้านล่าง) เส้นขีดทิวเล็กน้อยเรียกว่า "กรอบกระจก" ซึ่งจัดว่าเป็น"แบบกรอบที่งดงามที่สุด" และถ้าเป็นแบบพิมพ์กรอบกระจกแล้ว จะปรากฏว่าระดับของพื้นผิวชายกรอบบริเวณมุมบนทั้งคู่นั้น จะอยู่ในระดับสูงกว่าพื้นผนังคูหาเล็กน้อย (สมัยนี้บางคนเรียกกรอบกระจกว่า เส้นบังคับพิมพ์) --------------- ความหวังใหม่ --- เรื่องที่ถูกละเลยมา(แสน)นาน --- พระสมเด็จฯพิมพ์พระประธาน(พิมพ์ใหญ่)มีทั้งแบบมีกรอบกระจก และแบบธรรมดา(ไม่มีกรอบกระจก) ถ้ายึดถือแต่ว่าพระแท้จะต้องมีกรอบกระจก เปรียบได้กับว่าละเลยหรือละทิ้งพระที่ไม่มีกรอบกระจก ถูกมองข้ามและคัดออก พระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่ที่ไม่มีกรอบกระจกจะเป็นอีกความหวังหนึ่ง ต่อไปในอนาคต ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ แนวทางการศึกษาและพิจารณาพระสมเด็จฯในปัจจุบันเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น ละเอียดและครอบคลุมลักษณะต่างๆมากขึ้น มีรูปภาพสีที่ถ่ายชัดขนาดใหญ่เท่าหน้าหนังสือดูได้เต็มตา ซึ่งอาจนำไปสู่การรีเซ็ตการสะสม (reset - ตั้งใหม่ เปลี่ยนใหม่) เลือกองค์ที่จะแขวนใหม่เพื่อความอุ่นใจในทุกสถานการณ์อันเกิดจากความมั่นใจว่า ได้แขวนพระสมเด็จฯ แท้

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา