ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20099060

พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ วัดนางพญา พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระสมเด็จฯ พระพักตร์แบบป้อม เนื้อปูนนุ่ม ส่วนผสมของปูนที่หมาดพอดี และการกดพิมพ์-ถอดพิมพ์ที่ประณีตทำให้ได้พระที่ติดพิมพ์ดีทุกส่วน เห็นความนูนโค้งของพระพักตร์ชัด และเห็นพระสังฆาฏิด้วย พระสังฆาฏิยาวพอๆ กับของ 'องค์เสี่ยดม' (รูปที่ ๙ - ๑๐ พระสมเด็จฯ เนื้อกระแจะจันทน์ มีแม่พิมพ์เดียวกันกับพระ 'องค์เสี่ยดม' ซึ่งมีรูปภาพอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๖๕) การยุบตัวของปูนไม่มาก จึงเห็นพื้นผนังคูหาค่อนข้างเรียบ การปริแยก แตกของปูนมีน้อย เส้นซุ้มแนวตั้งไม่ใหญ่ เส้นฐานซุ้มแนวนอนเล็กกว่าอีก (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๙๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๐๕) Pra nangphya wat nangphya pim sangkati. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra kamphaeng sumkor pim yai. ---- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ --จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย---- (ก)พระศิระและวงพระพักตร์ หมายรวมทั้งสัดส่วน พระศิระ (เศียร) และวงพระพักตร์ (วงหน้า) มี ๔ แบบ ได้แก่ แบบผลมะตูม แบบรูปไข่ แบบเสี้ยมและแบบป้อม --- แบบป้อม - ทรงป้อม ๆ เกือบกลม ส่วนโค้งนูนเด่นชัด (ข้อสังเกตเพิ่มเติม ๑.พระพักตร์แบบป้อมมักจะเห็นพระกรรณไม่ชัด เลือนราง ๒.พระองค์ที่พระพักตร์ติดไม่สมบูรณ์ เขยื้อนจากการถอดพิมพ์ ยุบตัวมากและบิดเบี้ยว หรือเนื้อปูนหลุดติดออกไปกับรัก (ถ้ามีการลงรัก) จะสังเกตได้ยากว่าเป็นพระพักตร์แบบใด ---- (ข)ในคำบรรยายลักษณะของเนื้อ ตรียัมปวายเขียนถึง 'ผิว' ของเนื้อปูนนุ่มใน ๓ หัวข้อย่อยดังนี้ ๑.ความละเอียด มีมากกว่าเนื้อกระแจะจันทน์ แต่น้อยกว่าเนื้อเกสรดอกไม้ ผิวพื้นด้านหน้ามักจะราบเรียบ ๒.ความฉ่ำ อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง คือ ผิวเนื้อค่อนข้างราบเรียบจึงย่อมเกิดเงาสว่างได้ง่าย จากการสัมผัสเสียดสีตามธรรมชาติในการใช้ และกอปรด้วยมวลสารอิทธิวัสดุ วรรณะขุ่นคล้ำประปรายทำให้เกิดความฉ่ำซึ้งที่ดี ๓.ความซึ้ง ดังกล่าวแล้วว่าอนุภาคของเนื้อ กอปรด้วยอนุภาควรรณะหม่นคล้ำสลับขาวนวล กระจายตัวทั้งทางกว้าง และเรียงตัวซ้อนในทางลึก เช่นเดียวกับเนื้อกระแจะจันท์ และพื้นผิวเนื้อราบเรียบ ซึ่งมักจะเกิดเงาสว่างโดยธรรมชาติอยู่ในตัว จึงมีความซึ้งดี (ข้อสังเกตเพิ่มเติม ๑.ถ้าผิวผุเปื่อยมาก ความราบเรียบจะน้อยหรือไม่เรียบ ๒.ปูนที่ไม่ถูกเหงื่อ และการจับสัมผัส จะแห้งผาก ไม่ฉ่ำ ๓.อนุภาคมวลสาร ปัจจุบันใช้คำว่า มวลสาร) ---- (ค)รูปที่ ๗ - ๘ พระสมเด็จวัดระฆังฯ แนวอนุรักษ์ มีเส้นแซม ๒ เส้น มวลสารละเอียดมากและมีสีงาช้างซึ่งเป็นลักษณะของเนื้อเกสรดอกไม้ ผิวเดิมผุเปื่อยหลุดออกมาก -- ตรียัมปวายเขียนถึงการจำแนกแบบพระอาสนะว่า พิมพ์ทรงพระประธาน(พิมพ์ใหญ่)มีพระอาสนะ (ฐาน) แบบต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน ๔ แบบคือ แบบธรรมดา แบบแซม แบบคู่และแบบโค้ง -- ๑.แบบธรรมดา - เป็นแบบที่ปรากฏโดยทั่วไปและเป็นแบบมูลฐานของแบบอื่นๆ คือ มีลักษณะต่างๆ ในพิมพ์ตามคำบรรยายลักษณะ (หมายเหตุเพิ่มเติม - แบบธรรมดาคือแบบของพิมพ์นิยมในปัจจุบัน) ๒.แบบแซม - ฐานทั้งสามมีความนูนหนามาก และเว้นช่องไฟระหว่างชั้นค่อนข้างแน่นทึบกว่าแบบอื่น ปรากฏเส้นขีดแซมบางๆ เป็นทิวขึ้นมา ๒ เส้น คือ ระหว่างพระเพลา(ตัก)กับฐานชั้นบน เส้นหนึ่ง ทำหน้าที่เป็น 'นิสีทนะ' และระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลาง ทำหน้าที่เป็น 'บัวลูกแก้ว' อีกเส้นหนึ่ง เส้นทิวทั้งสองไม่คมชัดเท่ากับของพิมพ์ทรงฐานแซม แต่ก็สังเกตได้ชัดเจน (ข้อสังเกตเพิ่มเติม -- ๑.พระสมเด็จฯองค์นี้มีลักษณะต่างๆ ในพิมพ์เหมือนกับของพิมพ์นิยมในปัจจุบัน ต่างกันที่มีเส้นแซม ๒ เส้น เส้นแซมมีลักษณะตามคำบรรยายในหนังสือพระสมเด็จฯ ลักษณะของพิมพ์เป็นงานศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัย มีเนื้อเหมือนกับของพิมพ์นิยม -- ๒.ถ้ามีการพบพระแบบนี้มากขึ้น และเมื่อพิจารณาแล้วว่า ลักษณะพิมพ์เป็นงานศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ทั้งมีเนื้อถูกต้องโดยพิจารณาปูนเป็นสำคัญ อาจกลายเป็นพระสมเด็จฯ พิมพ์นิยมอีกแบบหนึ่งในอนาคต แม้จะเป็นแนวอนุรักษ์ในวันนี้แต่ถ้าพบแขวนได้ (และอวดได้) ๓.ยังไม่ทราบว่าพระสมเด็จฯที่มีเส้นแซม ๒ เส้นนี้มีกี่แม่พิมพ์) ---------------------- สารัตถะ essence (เมื่อมาถึงวันเวลาปัจจุบัน) --- ศิลปสกุลช่าง กับ ศิลปะเฉพาะตัวบุคคล --- ลักษณะที่แสดงว่าเป็นศิลปสกุลช่างได้แก่ ๑.มีผู้ทำงานศิลปแบบนั้นๆ หลายคน ๒.รูปแบบ รูปทรงของงานศิลปและวิธีทำคล้ายกัน ๓.ต่างจากงานศิลปของผู้ทำกลุ่มอื่น ๔.มีการสอนและการเรียนเพื่อสืบทอดงานศิลปแบบนั้น --- แต่งานศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัยไม่ใช่ศิลปสกุลช่าง เป็นงานศิลปเฉพาะตัว เพราะเป็นการทำคนเดียวทั้งการออกแบบและทำแม่พิมพ์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่า หลวงวิจารณ์เจียรนัยเรียนวิธีการทำแม่พิมพ์พระสมเด็จจากใคร หรือเอาอย่างใคร และไม่ได้สอนใครเพื่อสืบทอดงานศิลปในแบบของตน --- ไม่มีบันทึกหรือประวัติว่าหลวงวิจารณ์เจียรนัยทำแม่พิมพ์ให้วัดอื่นใด นอกจากวัดระฆังฯ และวัดใหม่อมตรส (บางขุนพรหม) --- ถ้าพิจารณาแล้วว่า พระสมเด็จองค์ใดก็ตามทำจากแม่พิมพ์ที่เป็นงานศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัยย่อมแสดงว่าพระองค์นั้นเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ และบางขุนพรหมแท้ ไม่ว่าจะเป็นแม่พิมพ์ที่ปรากฏพบเห็นทั่วไปอยู่แล้ว หรือแม่พิมพ์ที่ไม่เคยมีใครพบเห็นมาก่อน --- ศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัยศึกษาได้จากการดูลักษณะของส่วนต่างๆ ในพิมพ์ของพระแท้องค์จริง รูปภาพพระแท้ ประกอบกับคำบรรยายลักษณะพิมพ์ในหนังสือ ตำราและนิตยสาร เพื่อความเข้าใจถูกต้องและพิจารณาได้แม่นยำ"ต้องดูทุกส่วนในพิมพ์และละเอียด" --- พระปลอม พระเลียนแบบ พระของผู้สร้างอื่น กรุและวัดอื่นไม่ใช่ศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัย "เพราะไม่เหมือน" --- เพื่อแขวนพระได้มั่นใจ การหาพระสมเด็จฯ ที่เป็นงานศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัยคือเป้าหมายปลายทาง

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา