ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20472592

พระกำแพงลีลาพลูจีบ เนื้อชิน พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

แสดงภาพทั้งหมด

พระพลูจีบ เนื้อชิน (พบเห็นน้อยที่สุด ไม่มีให้เลือก ใช้ได้ทุกกรุแม้รายละเอียดจะต่างกันบ้าง เช่น ฐาน) มีผู้เขียนในนิตยสารพระเครื่องฉบับหนึ่งสันนิษฐานว่า พระพลูจีบโบราณกว่าพระเม็ดขนุนและพระซุ้มกอ เพราะการแกะพิมพ์ตื้นและรายละเอียดไม่ค่อยชัด แสดงว่าความรู้ความสามารถทางศิลปยังน้อยอยู่ พระนางพญา สภาพเดิม องค์นี้มีดินกรุมาก พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้พิมพ์ทรงขนาดใหญ่ (เขื่อง) พระพักตร์ใหญ่ พระชานุ (เข่า) สองข้างใหญ่ ฐานล่างใหญ่ หว่างพระพาหา (ซอกแขน) ขวาแคบ (รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๙) Phra kamphaeng leela plujeeb. Phra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Phra nangphya wat nangphya pim kaokong. ---- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ---- (สำหรับผู้ที่เอาจริง) "กำหนดวงที่ศึกษาให้เล็กลง" คือจำกัดขอบเขตการศึกษาเรื่องพระสมเด็จให้แคบลง เรียนรู้และจำแต่เรื่องของพระแท้ที่เป็นพระเบญจภาคี ---- การศึกษาและแสวงหาหาพระสมเด็จฯแท้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามากเพราะ ๑.มีข้อมูลมากทั้งที่เป็นตัวหนังสือและรูปภาพ (มากกว่าของพระเครื่องทุกชนิดหลายเท่า) เนื่องจากมีหลายพิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงมีหลายแบบพิมพ์ (เช่น แบบพิมพ์เขื่อง แบบพิมพ์ชะลูด แบบพิมพ์ย่อม ฯ) แต่ละแบบพิมพ์มีหลายแม่พิมพ์ นอกจากนี้ยังมีหลายเนื้อ ๒.โอกาสที่จะได้เห็นพระแท้องค์จริงมีน้อยมาก นานๆจะได้พบ การได้ดูครั้งเดียวและไม่กี่นาทีจะจำอะไรไม่ได้ กลายเป็นภาพที่เลือนๆในสมอง ๓.ยากที่จะหาผู้สอนเรื่องพระสมเด็จฯ ทั้งจังหวัดอาจไม่มีสักคน(รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง) แม้แต่หาผู้ชี้แนะยังยาก ไม่ทราบว่าใครรู้จริง (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือสภาวการณ์อะไร "ถ้าบอกผิดคือพาหลงทาง") ---- ผู้ที่ชอบพระสมเด็จฯจึงต้องศึกษาด้วยตนเอง โดยการอ่านหนังสือ ตำรา นิตยสารพระเครื่อง ข้อเขียนบทความที่น่าเชื่อถือ และดูรูปภาพพระแท้ สังเกต วิเคราะห์ พินิจพิจารณาลักษณะต่างๆเอาเอง ลองผิดลองถูกเช่าพระในตลาดล่าง(เรื่องนี้เสียเงินแต่ทำให้รู้และเข้าใจมากขึ้น เมื่อตรวจสอบกับหนังสือ ตำราและรูปพระแท้ที่บ้าน ผลพลอยได้คือเมื่อเสียเงินจะจำแม่น) ---- การศึกษาที่เน้นเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมแท้ก็ต้องใช้เวลานาน อาจเป็นหลายปี(ช่วงเวลาสั้นจะมีประสบการณ์น้อย ยากที่จะเข้าใจและจำ) ถ้าออกนอกเส้นทางมัวแต่ไปศึกษาพระที่หาอ่านประวัติการสร้างไม่ได้(ไม่มีการลงพิมพ์ในหนังสือ) ไม่มีรูปภาพในหนังสือเล่มใด ไม่มีคำบรรยายลักษณะของพิมพ์และเนื้อ(เรื่องนี้สำคัญ) จะเสียเวลาอีกมาก คลำทางไม่ถูก การมุ่งหาพระสมเด็จฯแท้อย่างจริงจังควรต้องลดขอบเขตให้เหลือเฉพาะเรื่องของพระแท้(พระเบญจภาคี)เท่านั้น โดยการหาข้อมูลที่เป็นจริง (พิมพ์ เนื้อ ศิลปของพิมพ์) อย่างเป็นรูปธรรมที่ใช้ประโยชน์ได้แน่นอนในเวลาดูพระ เพียงการหาข้อมูลที่ใช้ได้ผลเพียงข้อเดียวก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีการทดสอบและตรวจสอบว่าใช้ได้ (มาถึงวันนี้มีข้อมูลอะไรบ้างหรือยัง?) ชีวิตไม่มีเวลาเหลือเฟือที่จะหาพระสมเด็จฯแท้แบบไม่มีทิศทาง สะเปะสะปะ ใช้ข้อมูลที่คิดจินตนาการเอาเองหรือเอาที่คนอื่นคิดฝัน (เวลาทั้งชีวิตก็ไม่พอ) ---- แนวทางปฏิบัติที่เป็นแนวตรงพุ่งไปสู่จุดหมายคือการยึดเอาพระองค์ที่มีชื่อเสียง องค์ดารา องค์ครูเป็นแบบอย่าง เป็นภาพที่ควรมีในระบบความจำของสมอง เพราะต้องใช้เสมอในเวลาหาพระ มีสองแนวทางดังนี้ --- (๑)สะสม ศึกษาและใช้รูปภาพพระสมด็จฯแท้ ความไม่รู้ เข้าใจผิด จำผิด ลางเลือน และความคลาดเคลื่อนในเรื่องใดๆก็ตามรูปภาพพระแท้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาได้มากโดยการแสดงความจริงและทำให้ได้พบความกระจ่าง การฝึกดูและใช้รูปพระแท้เป็นการลดการพึ่งพาคนอื่น-การหวังจะพึ่งแต่คนอื่นลงด้วย (อาจารย์ประชุม กาญจนวัฒน์เขียนในหนังสือ'สามสมเด็จ' พ.ศ.๒๕๒๓ ว่า "หนึ่งภาพดี มีค่ากว่า พันคำพูด" ภาษิตจีนบทนี้ดีที่สุดสำหรับการเป็นนักเลงพระเครื่องหรือผู้สนใจในพระสมเด็จฯ ยิ่ง) --- (๒)ศึกษาศิลปการออกแบบและการแกะเพื่อทำแม่พิมพ์ -- ถ้าศึกษาจนรู้และเข้าใจแล้วจะพบว่าพระสมเด็จฯองค์ที่มีชื่อเสียง องค์ดารา องค์ครูที่มีค่านิยมสูงยิ่ง"ล้วนมีศิลปอย่างเดียวกัน" ของช่างทำแม่พิมพ์คนเดียวกัน นั่นคือหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งเป็นช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ ๔ (ถ้าพระองค์ไหนไม่แท้จะมีลักษณะที่พูดกันว่า "ผิดตา" หรือไม่คุ้นตา) ศิลปที่ศึกษาจากพระหลายๆสิบองค์หรือเป็นร้อยองค์เป็นข้อมูลหลักฐานจำนวนมากพอที่จะเชื่อถือได้ การเลือกที่จะศึกษาและแสวงหาพระสมเด็จที่มีศิลปอันนี้เป็นเส้นทางตรงที่จะนำไปพบพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมแท้(พระเบญจภาคี) ไม่ต้องเสียเวลาเดินอ้อม หรือไม่รู้ทิศ ---- แนวทางศึกษาศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัย(ตัวจริง ไม่ใช่ตัวปลอมแอบอ้างซึ่งมีปรากฏขึ้นเรื่อยๆ)เป็นวิธีเดียวกันกับการศึกษาศิลปของพระพุทธรูป โดยการสังเกตและพิจารณาดูทุกๆส่วนในองค์พระ เปรียบเทียบหรือเทียบเคียงกับพระองค์ที่เป็นหลักหรือแบบอย่าง แล้วสรุปผลว่าเป็นพระพุทธรูปยุคสมัยใด - เชียงแสน สุโขทัยหรืออู่ทอง แต่พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมมีขนาดเล็กกว่าพระพุทธรูปมากและเป็นศิลปเฉพาะตัวบุคคล(ไม่มียุคสมัย และสกุลช่าง)ต้องใช้ความพยายามสังเกตลักษณะที่เล็กมาก ในอดีตมีผู้ศึกษาศิลปนี้ของพระสมเด็จฯและเขียนบทความลงในนิตยสารพระเครื่องบ้าง การศึกษาศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัยนี้ไม่สามารถที่จะทำได้รวดเร็ว(อย่างใจ) ต้องค่อยทำค่อยไป แล้วแต่จะหาพระมาดูได้เมื่อไรและได้ดูกี่พิมพ์ทรง การดูรูปภาพพระแท้ลดปัญหาเรื่องการหาดูพระ แต่ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีพระองค์จริงให้ดูก็จำเป็นต้องใช้รูปภาพพระแท้เสมอ เพราะในหนังสือพระเครื่องมีรูปภาพพระแท้เป็นร้อยองค์ (อาจถึงสามร้อยองค์) และมีให้ดูทุกพิมพ์ทรง (หนังสือ'เบญจภาคี'มีรูปภาพพระสมเด็จฯแท้จำนวนมาก มีทุกพิมพ์ทรง) ---- วิธีศึกษาศิลปของพระสมเด็จฯ (๑)โดยการสังเกตดูทุกส่วนที่ปรากฏในพิมพ์ (รูปร่าง ลักษณะ สัดส่วน ขนาด มิติกว้างยาวลึก แนวโค้ง แนวตรง ฯ ทั้งด้านซ้ายและขวา) แล้วเปรียบเทียบ เทียบเคียงกับพระแท้องค์อื่นๆ องค์ที่มีชื่อเสียง องค์ดารา องค์ครู องค์ที่ได้จากกรุบางขุนพรหม (ยิ่งมากองค์ยิ่งดี) ว่าตรงไหนเหมือนกันหรือคล้ายกัน ซึ่งเป็นจุดหรือลักษณะร่วม ทำนองเดียวกันกับของพระพุทธรูปที่สามารถใช้บอกได้ว่าเป็นพระยุคใด (๒)โดยการสังเกตดูความละเอียด ประณีต ความสวยงามได้สัดส่วนซึ่งเป็นลักษณะเด่นของศิลปหลวงวิจารณ์เจียรนัย แม้แต่คนทั่วไปที่ไม่มีความรู้ในทางศิลปก็มองออกว่าสวย (หลวงวิจารณ์เจียรนัยตัวปลอมแอบอ้างไม่มีศิลปอะไร ทำส่งเดช ขี้เหร่) ---- ตรียัมปวายเขียนหนังสือ'พระสมเด็จฯ'ทั้งเล่มเพื่ออธิบายลักษณะของเนื้อและพิมพ์ที่มีจำนวน ๙ พิมพ์ทรงซึ่งเป็น"พิมพ์ทรงนิยม"หรือ"พิมพ์ทรงมาตรฐาน" ทั้ง ๙ พิมพ์ทรงนี้ตรียัมปวายเรียกว่า "พิมพ์ทรงวิจารณ์เจียรนัย" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบ เรื่องที่คนส่วนมากไม่รู้หรือไม่ได้นึกคิดคือ'หนังสือพระสมเด็จฯ'เป็นหนังสือที่สอนเรื่องพระสมเด็จฯที่สร้างจากแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยซึ่งเป็นพระเบญจภาคีเท่านั้น เรื่อง'พิมพ์'ในหนังสือพระสมเด็จฯคือรูปร่างและลักษณะที่เกิดจากแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยล้วนๆ ความจริงอีกอย่างหนึ่งคือ ในหนังสือพระสมเด็จฯมีคำบรรยายลักษณะพิมพ์ของแม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัยที่ละเอียด ชัดเจนและแน่นอน (๑๐๘ หน้า) และมีรูปภาพ เป็นความพิเศษสุดต่างจากพระสมเด็จอื่นๆทุกชนิด(ซึ่งไม่มีคำบรรยายอะไร - แม้เพียงหนึ่งคำ ต้องคิดจินตนาการเอาเองว่าพิมพ์เป็นอย่างไร คิดใครคิดมัน) ---- การศึกษาและดูศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัย(ตัวจริง)จึงไม่ใช่เป็นเรื่องหลงทาง แต่เป็นเรื่องตรงกันข้ามคือถูกทาง ตรงและสั้นเพื่อที่จะหาพระสมเด็จฯ(เบญจภาคี) ---------------------------------------------------------------------------------------- การแสวงหาพระสมเด็จฯที่มีศิลปเดียวกันกับองค์ที่มีชื่อเสียง องค์ดารา องค์ครู องค์ที่มีค่านิยมสูง(ราคาจริง - ไม่ใช่ราคาโม้) คือแนวทางที่เกิดจากการสังเกตของจริง ลักษณะจริง และจากรูปที่ชัดของพระองค์ที่นิยมรู้จักหลายๆองค์จึงเชื่อถือได้ เป็นวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จถ้าตั้งใจและเอาจริง

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา