ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20225754

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าตรง

แสดงภาพทั้งหมด

พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน วัตถุโบราณที่มีความงามทางศิลปเป็นเลิศหนึ่งในสิบของโลก (แสดงถึงความสามารถและความก้าวหน้าทางศิลปของคนยุคนั้น ชาวต่างชาติเป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่คนไทย) องค์นี้เห็นพระหัตถ์ซ้ายที่มีขนาดใหญ่จากข้อพระหัตถ์ถึงพระอังสา (บ่า) ดินได้รับความร้อนสูงมากจนละลายกลายเป็นสีเขียวหินครก แข็งแกร่งที่สุด (อาจารย์เชียร ธีระศานต์เขียนในหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ พ.ศ.๒๕๑๖ ว่า พระรอดสีเขียวแก่คล้ำดังสีหินครก เนื้อนี้แกร่งที่สุด 'ขี้กรุราดำไม่ค่อยติด' จะมีคราบติดเป็นบางองค์) พระสมเด็จฯ แม่พิมพ์นี้พระพักตร์ใหญ่ (ข้อสังเกต - แม่พิมพ์ที่มีพระพักตร์ใหญ่มีน้อยแม่พิมพ์) ทาเคลือบด้วยของเหลวสีดำชนิดหนึ่ง บางๆ (ไม่ใช่รัก) รูปภาพพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๙ Pra kamphaeng leela medkhanun. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ (จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย) - มูลกรณีของผิว (ปัจจัยที่ทำให้เกิดผิวประเภทต่าง ๆ) มี ๕ ประการ ดังนี้ ๑.ปฏิกิริยาผิวพื้น (Surface tension) ๒.ปูนขาว ๓.ระดับความเหลวตัว ๔.แป้งโรยพิมพ์ ๕.ความชื้น --- ระดับความเหลวตัว หมายถึง"ปริมาณของน้ำ"ในส่วนผสม กล่าวคือ ถ้าส่วนผสมมีน้ำมาก เนื้อก็จะเหลวมาก และโอกาสการละลายตัวของแคลเซี่ยมก็จะมีมาก ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นผิวที่หนามาก และถ้ายิ่งกอปรด้วยปริมาณของปูนมีมากด้วยแล้วผิวที่จะเกิดขึ้นก็จะมีลักษณะทั้งหนาและแกร่ง นี่คือมูลกรณีกำเนิดของ "เนื้อปูนแกร่ง" แต่ถ้าส่วนผสมมีน้ำมากแต่มวลของปูนน้อย จะทำให้เกิดผิวที่หนาเหมือนกันแต่ไม่แกร่งตัวนัก เพราะอนุภาคของปูนขาวในส่วนผสมของเนื้อ ถูกดึงให้มารวมตัวกับน้ำกลายเป็นผิวเสียมาก โครงสร้างภายในจึงลดปริมาณของปูนลงไปมาก ความแกร่งของเนื้อจึงลดลง ซึ่งเป็นมูลกำเนิดของ "เนื้อปูนนุ่ม" นอกจากนั้นในโอกาสกดและถอดพิมพ์ อาจจะทำให้ผิวหน้าค่อนข้างเละเป็นริ้ว ๆ อย่างละเอียดเมื่อแห้งสนิทแล้วกลายเป็น "ผิวฟู" --- "ในประการตรงกันข้าม" ถ้าหากส่วนผสมเจือน้ำน้อย เนื้อก็จะมีลักษณะหมาด ๆ การละลายตัวของปูนมีน้อย ผิวที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างบาง ถ้าส่วนผสมแก่ปูนขาวเนื้อก็จะเป็นประเภท เนื้อปูนแกร่ง "ที่มีผิวบาง" ถ้าหากส่วนผสมปูนน้อยด้วย แต่แก่มวลสารอิทธิวัสดุ ก็จะกลายเป็น "เนื้อเกสรดอกไม้" และ "เนื้อกระแจะจันทน์" และ "เนื้อกระยาสารท" หรือถ้าส่วนผสมแก่ทั้งปูนและอิทธิวัสดุก็จะกลายเป็น "เนื้อขนมตุ๊บตั๊บ" และ เนื้อประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาเหล่านี้ล้วนมีผิวค่อนข้างบางทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า "ผิวหอม" เพราะส่วนผสมเจือน้ำน้อยดังนี้ เป็นต้น ---------- การศึกษา(ลึก ๆ)ถึงความหลากหลายลักษณะในเรื่องเนื้อพระสมเด็จฯ -- ในหนังสือพระสมเด็จฯแยกการศึกษาเรื่องเนื้อเป็นหลายสักษณะ เช่น ก.มูลกรณีของเนื้อ (ส่วนประกอบหรือส่วนผสมของเนื้อ) ข.มูลฐานลักษณะทางเนื้อ (พื้นฐาน basis) ค.การจำแนกประเภทของเนื้อ ง.มูลกรณีของผิว (ปัจจัยที่ทำให้เกิดผิว) จ.การจำแนกประเภทของผิว ฉ.วรรณะ (สี) ฯลฯ ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ยังแยกย่อยลงไปอีก เช่น มูลฐาน(พื้นฐาน basis)ลักษณะทางเนื้อแยกเป็น ๑๓ ประการ คือ :- ๑.ความละเอียด ๒.ความนุ่ม ๓.ความแกร่ง ๔.น้ำหนัก ๕.ความนึก ๖.ทรายเงินทรายทอง (ผงตะไบ) ๗.แป้งโรยพิมพ์ ๘.การลงทองร่องชาดเก่า ๙.การลงรักเก่าทองเก่า ๑๐.การแตกลายงา ๑๑.การแตกลายสงกะโลก ๑๒.ความฉ่ำ ๑๓.ความซึ้ง (ข้อสังเกตในเรื่องนี้ - มวลสารไม่ได้เป็นลักษณะพื้นฐานทางเนื้อ และไม่เคยมีหนังสือ นิตยสาร คำพูด รูปภาพ และข้อเขียนบทความใดให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับเรื่องมวลสารที่ละเอียดมากพอที่จะเข้าใจและนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้) ------ ข้อพิจารณา : เดินย่ำอยู่กับที่(ซอยเท้า) หรือจะเดินก้าวไปข้างหน้าในการศึกษาเรื่องเนื้อพระสมเด็จฯ - เนื้อมีหลายประเภท มีหลายสี ผิวมีหลายประเภท และมีรายละเอียดของส่วนย่อย เช่น เนื้อนุ่ม - แกร่ง ผิวบาง - หนา มวลสารละเอียด - หยาบ(คือเนื้อละเอียด -ไม่ละเอียด) มวลสารแผ่กระจายตลอดส่วนกว้าง - วัสดุมวลสารหลายอย่างรวมกันอยู่เป็นหย่อมๆ ผิวมี - ไม่มีแป้งโรยพิมพ์ ผิวที่ราบเรียบ - ไม่เรียบ ริ้วรอยธรรมชาติด้านหลังมีปรากฏชนิดเดียวหรือหลายชนิดปะปนกัน - เกือบจะสังเกตไม่ได้ว่ามีริ้วรอยธรรมชาติประการใดซึ่งแบบนี้ก็มีปรากฏเช่นกัน ฯลฯ ถ้าไม่คำนึงถึงและศึกษา "ความแตกต่างที่หลากหลาย" เหล่านี้ เปรียบได้กับการหยุดอยู่กับที่ ไม่มีความก้าวหน้าในการศึกษาเรื่องเนื้อ (stunt - หยุดยั้งการเจริญเติบโต แคระแกร็น)

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา