ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20753378

พระรอด พิมพ์ใหญ่ วัดมหาวัน พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆัง พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา

แสดงภาพทั้งหมด

พระไตรภาคี --- รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๕๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๗๓ --------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาและแสวงหาพระสมเด็จฯ ---- "สิ่งที่ใช้ยึดถือและอ้างอิงได้อย่างหนักแน่น" ---- ที่ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและสำเร็จผลแน่นอนคือ ๑.พระแท้องค์จริง ๒.รูปภาพพระแท้ ๓.ข้อมูลที่มีการตรวจสอบแล้วว่าจริงและใช้ได้ผล ------ (๑)พระแท้องค์จริงเป็นสิ่งดีที่สุดถ้ามี หรือได้จับและส่องดู (ความรู้สึกที่นิ้วเมื่อจับพระสมเด็จฯแท้ต่างจากการจับพระสมเด็จอื่นๆและพระปลอม) ข้อดีที่สุดคือ ๑)ได้ดูความคมชัดของพระโดยเฉพาะมิติในด้านความลึก ชัดเจนและเห็นอย่างละเอียดกว่าการดูรูปภาพ ข้อจำกัดสำหรับคนทั่วไปคือมีโอกาสได้ดูน้อยองค์ น้อยแม่พิมพ์ ๒)ถ้าใช้กล้องส่องขยายสูงกว่าสิบเอ็กซ์ ไม่เกินยี่สิบเอ็กซ์ สามารถสังเกตลักษณะของปูนได้อย่างละเอียด เมื่อดูมากๆครั้งจะเข้าใจและจำได้ (หมายถึงลักษณะของปูน ไม่รวมมวลสาร) ปูนของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมไม่เหมือนปูนของพระวัดใด แม้แต่ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมยุคหลัง (ถ้ามีปูนของพระวัดใดเหมือน คงมีคนเอามาแกะเป็นรูปพระขายแล้ว โดยอ้างว่าเป็นชิ้นส่วนของพระสมเด็จฯแท้ที่แตกหัก) ------ (๒)รูปภาพพระแท้ ต้องเป็นภาพนิ่ง ไม่ใช่วีดีโอ (กล้องวีดีโอไม่มีคุณสมบัติพอที่จะใช้ถ่ายรูปพระเครื่อง ซึ่งเป็นวัตถุขนาดเล็ก ไม่มีใครใช้ในงานประกวด หรือถ่ายรูปลงหนังสือ) ถ่ายตรง ชนาดใหญ่พอที่จะเห็นถนัด แสงและเงาดี สีไม่เพี้ยน หนังสือรูปภาพพระสมเด็จฯแท้ที่เป็นหนังสือปกอ่อนราคาไม่แพง (หนังสือ'เบญจภาคี'ราคาไม่กี่ร้อย) ประโยชน์ของการใช้รูปภาพคือ ๑)ได้ดูรูปภาพพระสมเด็จฯแท้ที่มีการค้นพบมาตั้งแต่อดีตและถ่ายรูปลงหนังสือ จำนวนแม่พิมพ์มีมาก เฉพาะในหนังสือ'เบญจภาคี'มีถึงสองร้อยแม่พิมพ์ (วัดระฆังฯและบางขุนพรหม) ๒)เห็นพระเต็มองค์ ไม่ต้องเลื่อนดูทีละส่วนเหมือนการใช้กล้องส่องพระ ๓)สังเกตขนาดของแต่ละส่วนได้ง่ายกว่า ๔)สังเกตดูโครงสร้าง สัดส่วน ช่องไฟ(เช่นระยะห่างกันของฐาน) ส่วนที่เป็นมุมหรือเอียงจะสังเกตได้ง่ายกว่าดูด้วยกล้อง ๕)การเปรียบเทียบกันของโครงสร้างของแต่ละแม่พิมพ์ ซึ่งต่างกันบ้างแม้จะทำแม่พิมพ์โดยช่างคนเดียวกัน ทำนองลายมือเขียนหนังสือข้อความเดียวกันแต่เขียนคนละครั้ง ๖)ในเรื่องของพระสมเด็จฯถ้าไม่ดูรูปภาพประกอบยากที่จะจำ 'พิมพ์' ได้ การจำพิมพ์ได้จะเป็นประโยชน์ในเบื้องต้นมาก คือดูพิมพ์ของพระที่วางอยู่บนโต๊ะได้ใกล้เคียงก่อนที่จะจับขึ้นส่อง ถ้าชำนาญมากอาจดูได้ว่าน่าจะแท้ตั้งแต่เห็นวางอยู่บนโต๊ะ ------ (๓)ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาพระแท้องค์จริง ใช้ดูพระได้จริง เป็นข้อมูลของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมที่สร้างในระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ ไม่อาจใช้ร่วมหรือปนเปกับพระสมเด็จอื่นๆได้ เช่น เอาข้อมูลเรื่องเนื้อไปใช้กับพระสมเด็จอื่นๆ หรือเอาข้อมูลเรื่องเนื้อของพระสมเด็จอื่นๆมาใช้กับพระสมเด็จฯพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ ในเรื่องของพระสมเด็จ ข้อมูลเรื่องพิมพ์และเนื้อเป็นข้อมูลเฉพาะตัว ของใครของมัน แต่ละวัดแต่ละรุ่นต่างกัน --- เรื่องที่เหมือนกันในพระสมเด็จฯแท้ทุกองค์คือ ๑)พิมพ์ของพระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน ๒)ปูน นอกจากเรื่องพิมพ์และปูนแล้วลักษณะอื่นๆไม่ว่าชนิดใดหรือแบบใด อาจปรากฏในพระบางองค์มาก บางองค์น้อย และไม่ปรากฏในพระบางองค์ ไม่สามารถที่จะกำหนดและยึดถือเป็นหลักเกณฑ์ที่แน่นอนสำหรับการพิจารณาพระได้ เช่น มวลสาร ริ้วรอยทางด้านหลัง ด้านข้างและด้านหน้า ฯลฯ ถ้าใช้ข้อมูลที่ไม่มีความแน่นอน ไม่อยู่ที่ แกว่ง ผลการพิจารณาจะเป็นแบบเดียวกัน เพราะเหตุปัจจัยเป็นอย่างนั้น --- สิ่งหนึ่งที่จะทำให้มีความเป็นมาตรฐานคือ คำบรรยายลักษณะของพิมพ์ และคำบรรยายลักษณะของเนื้อ (พระเบญจภาคีทั้งห้าชนิดมีคำบรรยายฯอยู่แล้ว และพระสมเด็จฯมีรายละเอียดมากที่สุด) เป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความเป็น 'อมตะ' ตลอดกาลนาน ถ่ายทอดทั้งพระแท้องค์จริง รูปภาพและข้อมูลความรู้ไปสู่รุ่นลูก หลาน เหลน ต่อๆไป ----------- ทั้งสามอย่างนี้อยู่ในแนวทางของหลักวิธีดูพระเครื่องที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณคือ "ความเหมือนกัน" เช่น ๑)พระองค์หนึ่งจะถูกพิจารณาว่าแท้ถ้าเหมือนกับพระอีกองค์หนึ่งที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นพระแท้ ๒)พระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันจะเหมือนกัน ๓)พระสมเด็จฯที่สร้างจากแม่พิมพ์ที่ทำโดยช่างคนเดียวกัน ศิลปอย่างเดียวกัน(เช่นพิมพ์ใหญ่ที่มีหลายแม่พิมพ์แต่ศิลปเดียวกัน) จะเป็นพระแท้เหมือนกัน คือพิจารณาจากศิลปการออกแบบ ฝีมือการแกะทำแม่พืมพ์ ๔)ปูนของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมที่สร้างในพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ เหมือนกัน ถ้าสามารถดูว่ามีความเหมือนกันของพิมพ์และปูน ซึ่งมีจุดหรือลักษณะที่ต้องสังเกตดูจำนวนมากได้ โดยอาศัยสิ่งที่ใช้ยึดถือและอ้างอิงทั้งสามอย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณาความเป็นพระสมเด็จฯแท้ได้ และสิ่งที่ทำให้มีความหนักแน่นมากขึ้นคือ ทั้งสามอย่างนี้เป็นวิธีการที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (objective) ซึ่งเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นความคิดส่วนตัว คิดเอาเอง (subjective) -------------------------------------------------------------------------------- มาถึงวันนี้ (๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕) พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมแท้ยังพอหาพบ แต่พระนางพญาวัดนางพญาแท้เหมือนอยู่ไกลสุดลิบลับ ไกลโพ้น

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา