ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20644404

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระสมเด็จฯ เนื้อเกสรดอกไม้ แม่พิมพ์นี้ฐานชั้นบนเล็ก(ไม่หนา) พระชานุ (หัวเข่า) ซ้ายเล็ก ใต้พระหนุ (คาง) เห็นแนวพระศอ ส่วนกลางของฐานล่างเล็กกว่าหัวฐานเล็กน้อย (รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๑๐๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๑๕) ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาและแสวงหาพระสมเด็จฯ - (จากหนังสือ'พระสมเด็จฯ' ของตรียัมปวาย) -- มูลลักษณะโดยสรุป เนื้อเกสรดอกไม้ เป็นประเภทเนื้อที่มีความละเอียดมากที่สุด หนึกนุ่มจัด โดยทั่วไปจะมีแป้งโรยพิมพ์ มีความฉ่ำและความซึ้งปานกลาง น้ำหนักพอประมาณ ส่วนมากไม่ค่อยปรากฏทรายเงินทรายทอง (คือผงตะไบ) และรักเก่าทองเก่า การแตกลายงาและการแตกลายสังกะโลกโดยทั่วไปไม่ปรากฏ นอกจากบางองค์จะมีลักษณะคล้ายๆจะแตกลายทั้งสองชนิด แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นการแตกลายโดยแท้จริง ส่วนการลงทองล่องชาดนั้นจะไม่ปรากฏอย่างเด็ดขาด ------- (ข้อสังเกตเพิ่มเติม ๑)เนื้อที่มีความละเอียดมากที่สุดหมายถึงมีมวลสารเล็กละเอียดมากกว่าเนื้ออื่นทุกประเภท มีความละเอียดนุ่มนวลอุปมาดั่งเกสรของดอกไม้ จึงมีชื่อว่าเนื้อเกสรดอกไม้ ๒)ลักษณะแรกที่ทำให้นึกว่าจะเป็นเนื้อเกสรดอกไม้คือพบมวลสารส่วนใหญ่ที่เล็กละเอียด ตรียัมปวายเขียนว่าเป็นจุลธุลี ดุจผงเภสัชอันละเอียดยิบผ่านการบดกรองมาแล้ว ถ้าดูด้วยตาเปล่าคล้ายไม่มีมวลสาร ต้องใช้กล้องขยายมาก 7X - 20X จะเห็นได้ถนัด ถ้าพบพระที่พิมพ์ดูดีแต่มีมวลสารส่วนใหญ่เล็กมาก อย่าเพิ่งวางหรือละทิ้ง ตรวจสอบพิมพ์ให้ดีเสียก่อน ถ้าพิมพ์ถูกต้องเนื้อจะถูกต้องด้วย(ในกรณีนี้คือเนื้อเกสรดอกไม้) ๓)ในหนังสือ'พระสมเด็จฯ'เขียนถึงสีของเนื้อเกสรดอกไม้ว่า วรรณะส่วนรวม (ส่วนใหญ่) ค่อนข้างขาวนวล หรือหม่นเพียงเล็กน้อย ซึ่งได้แก่สีงาช้าง Ivory white (หมายถึงสีของปูน ถ้ามีการลงรัก น้ำยางรักจะทำให้สีคล้ำขึ้น) ปูนสีงาช้างเป็นจุดสังเกตควบไปกับมวลสารที่เล็กละเอียด ๔)ลักษณะที่เป็นจุดสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือการแตกลายงาและการแตกลายสังกะโลกโดยทั่วไปไม่ปรากฏ) -------------------------------------------------- พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมมีเนื้อหลายประเภท หลายสี มีขนาดใหญ่ - เล็ก มวลสารมาก - น้อย มวลสารเล็ก - ใหญ่ ปูนมีความนุ่ม - แกร่ง มีผิวหลายชนิด ฯ แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่ไม่เหมือนกันนี้ถ้าเป็นพระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันจะมี "พิมพ์" เหมือนกัน ต้องศึกษาหาวิธีดูและตรวจสอบว่าเป็นพระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือไม่ แต่ละคนอาจหาวิธีดูและตรวจสอบได้ละเอียดแม่นยำมากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความพยายาม ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายต้องคิด ใช้เวลาและมีประสบการณ์ คำตอบมีเพียง ๒ อย่างคือเหมือนหรือไม่เหมือน (สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือไม่ใช่) ---- "พิมพ์" หมายถึงรูปลักษณะทั้งหมดที่ปรากฏทางด้านหน้าทั้งหมด ทั่วองค์พระเต็มพื้นที่ ไม่ใช่เฉพาะจุดสังเกตหรือบางคนเรียกว่าตำหนิ แต่ละส่วนอาจต่างกันบ้างเล็กน้อยเพราะเป็นพระที่ทำด้วยมือ บางจุดติดพิมพ์ไม่เต็ม การตวงส่วนผสมแต่ละครั้งอาจต่างกัน การแห้งหดตัวไม่เท่ากันเพราะเหลวมาก เหลวน้อยหรือหมาด แต่จุดสำคัญคือ "โครงสร้างไม่ต่างกัน" -------------------------------------------------- การดูพิมพ์เป็นทั้ง "หลักการ" และ "วิธีการ" (หลักการดูพระเครื่องอย่างหนึ่ง) เป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่เล็กๆที่จะละเว้นได้โดยไม่กระทบผลการพิจารณา เรื่องพิมพ์ของพระสมเด็จฯมีรายละเอียดมาก และถ้าไม่ดูพิมพ์(ละเว้นการดูพิมพ์)ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับใช้พิจารณาพระสมเด็จฯจะหายไปเกินครึ่ง เมื่อพิจารณาโดยใช้ข้อมูลน้อยอย่างย่อมไม่สมบูรณ์และแน่ชัดเท่ามากอย่าง เรื่องที่ให้ผล(มีอิทธิพล)มากที่สุดคือพระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อมมี"พิมพ์"เหมือนกัน -------------------------------------------------- ถ้าท่านมาแล้วไม่ดูพิมพ์ ไม่เอาออกจากโต๊ะพับ ท่านจะเคลื่อนไปพิษณุโลก

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา