ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20855813

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พิมพ์ทรงเจดีย์

แสดงภาพทั้งหมด

จากหนังสือ'พระนางพญา' ของตรียัมปวาย - ลักษณะบางอย่างของพิมพ์เข่าโค้งที่จะสังเกตได้ไม่ยาก ๑.พระเกศแบบปลีปลายแหลม ๒.พระพักตร์เป็นรูปไข่ ๓.พระกรรณสองข้างเป็นบายศรีอ่อนๆ พระกรรณขวาองค์พระชิดพระพ้กตร์ ส่วนพระกรรณซ้ายอยู่ห่างพระพักตร์เล็กน้อย ๔.เส้นสังฆาฏิพาดมาทางกลางลำพระองค์พอดี ๕.ลักษณะการตัดกรอบ (ทุกพิมพ์) มักตัดกรอบชิดองค์พระ เป็นรูปสามเหลี่ยมป้าน บางองค์ตัดชิดองค์พระมากเกินไปทางส่วนบน จึงทำให้ตัดขอบเส้นของพระกรรณแหว่งไปบ้าง (หมายเหตุเพิ่มเติม - พระนางพญาวัดนางพญามีพระกรรณชัด ยาว ไม่สั้น ถึงพระจะผุเปื่อยมากก็ยังพอมองเห็นเค้า) พระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ใหญ่ แตกลายสังกะโลก (ถ้ามีการลงรัก จะเรียกว่าแตกลายงา ลักษณะของรอยแตกต่างกันบ้าง) แม่พิมพ์นี้พระพักตร์ใหญ่ ลำพระองค์ใหญ่ รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๙ พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ทรงเจดีย์ กลางพระพักตร์กับพระอุระมีผิวเดิมเหลืออยู่เล็กน้อย คือส่วนที่สีอ่อนกว่า บริเวณติดกับหัวไหล่ซ้ายเห็นผิวเดิมและมีคราบกรุสีน้ำตาลจับอยู่ รูปพระพิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๒๗๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๕ -------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาและแสวงหาพระสมเด็จฯ ------ "บางอย่างที่พยายามศึกษาแต่ไม่มีประโยชน์อย่างที่หวัง" ---- ไม่มีส่วนช่วยให้ดูพระสมเด็จฯเป็น ไม่สามารถใช้ตัดสินความเป็นพระสมเด็จฯแท้ หรือแม้แต่ใช้ประกอบการพิจารณา ---- สามเรื่องที่มีการพูดและเขียนถึงมาสิบๆปี เป็นคำสั้นๆไม่มีการอธิบายรายละเอียดวิธีการดู ไม่มีใครพูดหรือยืนยันว่า ดูพระสมเด็จฯเป็น หาพระสมเด็จฯแท้ได้เพราะอาศัยเรื่องสามอย่างนี้ ได้แก่ (๑)มวลสารสีต่างๆและขนาดต่างๆ (๒)ขอบข้าง รอยตัด รอยยุบต่างๆ (๓)รอยปริแยก รอยแตกทางด้านหลัง โดยเฉพาะที่มีการพูด เขียนและแสดงรูปภาพบ่อยมากคือ รอยปริแยกใกล้ขอบข้าง ซึ่งมักจะโมเมเรียกว่ารอยปูไต่ (รอยปูไต่ในตำรามีลักษณะเป็นรูคู่เรียงกันไป) ---- จุดพิจารณาหรือเหตุผลสำคัญที่ไม่นำลักษณะทั้งสามอย่างมาใช้พิจารณาพระสมเด็จฯคือ ก)สิ่งหรือลักษณะทั้งสามอย่างนี้มีปรากฏทั้งในพระแท้และพระปลอม ข)ไม่มีคำอธิบายวิธีการสังเกตและพิจารณาในสื่อต่างๆอย่างละเอียด หรือแม้แต่พอสังเขปก็ไม่มี ว่าจะแยกและระบุความแตกต่างของลักษณะเหล่านี้ในพระแท้และพระปลอมได้อย่างไร ---- ตัวอย่างเช่น ๑.มวลสารสีอิฐแดง สีดำ ขาว เทา ฟ้า เขียว เหลือง ในพระแท้กับในพระปลอมต่างกันอย่างไร ๒.เนื้อเกสรดอกไม้ซึ่งมีมวลสารละเอียดที่สุด เป็นจุลธุลี จะพิจารณาอย่างไร ๓.มวลสารที่รวมกันอยู่เป็นหย่อมๆ หรือแผ่กระจายตลอดส่วนกว้างจะมีผลอย่างไรในการพิจารณา ๔.รอยตัดขอบข้าง รอยยุบต่างๆบนด้านข้างของขอบในพระแท้กับในพระปลอมต่างกันอย่างไร ๕.รอยปริแยก รอยแตกทางด้านหลังของพระแท้และของพระปลอมต่างกันอย่างไร ๖.ถ้าไม่มีรอยตัด รอยยุบด้านข้าง ไม่มีรอยปริแยก รอยแตกทางด้านหลังจะพิจารณาว่าอย่างไร แท้หรือเก๊ ? --------- ไม่มีใครศึกษาสิ่งและลักษณะทั้งสามอย่างนี้อย่างจริงจัง และเขียนบันทึกไว้ในนิตยสาร หนังสือและตำรา หรือมีคำบรรยาย มาจนถึงคนรุ่นนี้ผู้ที่ต้องการจะศึกษาวิธีการพิจารณาลักษณะทั้งสามอย่างนี้ คงต้องเริ่มศึกษาด้วยตนเองตั้งแต่ก้าวแรก (เพราะไม่มีหนังสือให้อ่าน) โดยลำพัง ต่างคนต่างคิดต่างทำ ปัญหาใหญ่คือจะหาพระสมเด็จฯแท้ดูได้ที่ไหน (ปัญหาอมตะ สำหรับนักวิเคราะห์วิจัย) ------------------------------------------------------------------------------------------ ลักษณะที่มีปรากฏทั้งในพระแท้และในพระปลอม แต่หาข้อสรุปหรือข้อยุติไม่ได้ว่า ลักษณะนั้นๆในพระแท้เป็นอย่างไร ต่างจากในพระปลอมอย่างไร จะมีข้อสงสัยและขัดแย้งต่างๆ ไม่สามารถจบการพิจารณาได้

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา