ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20662251

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก เนื้อชิน พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พิมพ์ปรกโพธิ์

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญา เนื้อผ่าน (สองสี) สีเทาออกเขียวคือดินที่ละลายเพราะได้รับความร้อนสูงมาก มีความแข็งแกร่งกว่าดินสีอิฐ ยังคงสภาพความลึกชัดได้มาก พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้พระชานุ (หัวเข่า) ซ้าย-ขวาใหญ่ ฐานชั้นบนใหญ่ ผิวบางและผุเปื่อยออกเกือบทั้งองค์ รูปที่ ๗ ผิวเดิมที่เหลืออยู่-ส่วนที่ติดขอบข้าง (รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๙) พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ปรกโพธิ์ แบบปางสมาธิขัดราบ (รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ปรกโพธิ์แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๓๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๒๑๑) ข้อสังเกตบางอย่างเรื่องพิมพ์จากหนังสือ'พระสมเด็จฯ' ของตรียัมปวาย (๑)พิมพ์ปรกโพธิ์มีใบโพธิ์ ๒๐ ใบ (๒)แบบปางสมาธิขัดราบ ใบโพธิ์จะเหมือนใบไม้ (๓)แบบปางสมาธิขัดเพชร ใบโพธิ์เป็นรูปเมล็ด เป็นตุ่มย่อมๆนูนสูง ก้านใบโพธิ์เป็นทิวเส้นแขนงเล็กๆ ----------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาและแสวงหาพระสมเด็จฯ (จากหนังสือ'พระสมเด็จฯ') ---- "ระดับความเหลวตัว" หมายถึงปริมาณของน้ำในส่วนผสม กล่าวคือ ถ้าส่วนผสมมีน้ำมาก เนื้อก็จะเหลวมาก และโอกาสการละลายตัวของแคลเซี่ยมก็จะมีมาก ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นผิวที่หนามาก และถ้ายิ่งกอปรด้วยปริมาณของปูนมีมากด้วยแล้วผิวที่เกิดก็จะมีลักษณะทั้งหนาและแกร่ง ในประการตรงกันข้าม ถ้าส่วนผสมเจือน้ำน้อย เนื้อก็จะมีลักษณะหมาดๆ การละลายของปูนมีน้อย ผิวที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างบาง ถ้าส่วนผสมแก่ปูนขาวก็จะเป็นประเภท'เนื้อปูนแกร่ง'ที่มีผิวบาง ถ้าหากผสมปูนน้อยด้วย แต่แก่มวลสารอิทธิวัสดุ ก็จะกลายเป็น เนื้อเกสรดอกไม้ เนื้อกระแจะจันทน์ และ เนื้อกระยาสารท หรือถ้าส่วนผสมแก่ทั้งปูนและอิทธิวัสดุก็จะกลายเป็น เนื้อขนมตุ๊บตั๊บ และ เนื้อประเภทต่างที่กล่าวมาเหล่านี้ล้วนมีผิวค่อนข้างบางทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า ผิวเยื่อหอม เพราะส่วนผสมเจือน้ำน้อย ดังนี้ เป็นต้น ---- (หมายเหตุเพิ่มเติม ๑.ข้อความนี้ทำให้เกิดความเข้าใจว่า ความหนาหรือบางของผิวเกิดจากการผสมปูนเหลวมากหรือเหลวน้อย (หมาด) ถ้าเนื้อเหลวมากจะมีผิวที่หนา ถ้าเนื้อเหลวน้อยจะมีผิวค่อนข้างบาง ๒.ถ้าเนื้อเหลวน้อยหรือหมาดจะกดเนื้อปูนลงในแม่พิมพ์ได้แรง แน่น ติดพิมพ์ได้ดี การหดตัวน้อยกว่าเนื้อที่เหลวมาก ๓.ตรียัมปวายเขียนว่า ผิวของวัดระฆังฯ จะมีลักษณะเป็นผิวบางๆ เป็นส่วนใหญ่ หรือเป็นผิวที่แนบแน่น เกือบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเนื้อ มีปรากฏบ้างเหมือนกันที่ผิวของวัดระฆังฯมีส่วนหนากว่าเกณฑ์ทั่วไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับหนาเหมือนของบางขุนพรหม ผิวของบางขุนพรหม ส่วนมากเป็นผิวปูนที่ค่อนข้างหนาและมีความแกร่งสูงกว่าผิวของวัดระฆังฯประเภทเดียวกัน -- ทำให้เข้าใจได้ว่า ส่วนใหญ่การผสมปูนของบางขุนพรหมเหลวกว่าและแก่ปูนกว่าวัดระฆังฯ) -------------------------------------------------- มาถึงวันนี้มีความชัดเจนมาก ว่า การแสวงหาพระสมเด็จแยกเป็น ๒ เส้นทางคือ (๑)ดูพิมพ์ทุกองค์ มีข้อมูลรายละเอียดเรื่องพิมพ์ (๒)ไม่ดูพิมพ์ ไม่มีข้อมูลรายละเอียดเรื่องพิมพ์ เมื่อใช้วิธีต่างกันผลการพิจารณาย่อมต่างกัน การดูพิมพ์หรือไม่ดูพิมพ์เป็นเส้นแบ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองพวก ซึ่งได้แก่ ผู้ซื้อผู้ขาย ผู้เรียนผู้สอน สื่อ หนังสือ คลิป เพจ การประกวด ฯลฯ พวกหนึ่งดูพิมพ์(ดูว่าพิมพ์ถูก) อีกพวกหนึ่งไม่ดูพิมพ์ พระสมเด็จที่มีการดูพิมพ์กับพระสมเด็จที่ไม่ดูพิมพ์ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบกัน เป็นคนละเรื่อง ไม่สัมพัมธ์อะไรกัน ไม่มีอะไรที่จะอ้างอิงถึงกัน --- ข้อสังเกตเพิ่มเติม - ในทางปฏิบัติหรือภาวะที่เกิดขึ้นจริง ถ้าไม่มีข้อมูลรายละเอียดสำหรับใช้ดู"พิมพ์" จะไม่มีข้อมูลรายละเอียดสำหรับการดู"เนื้อ"ด้วย เป็นลักษณะดับเบิ้ลหรือสองต่อ ยิ่งทำให้ความแตกต่างระหว่างสองเส้นทางนี้มากขึ้น พระสมเด็จที่ดูพิมพ์มีข้อมูลรายละเอียดเรื่องเนื้อ พระสมเด็จที่ไม่ดูพิมพ์ไม่มีข้อมูลรายละเอียดเรื่องเนื้อ --------------------------------------------------- ข้อมูลจริงในเรื่องพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมเป็นสิ่งที่มีค่า ถ้าข้อมูลหนึ่งที่ใช้เวลายี่สิบปีกว่าจะค้นพบและข้อมูลนี้ถูกลบหรือหายไป อาจต้องใช้เวลาอีก ๒๐ ปีกว่าจะมีคนค้นพบข้อมูลนี้ครั้งใหม่ หรือชั่วชีวิตของคนจะไม่ได้พบอีก

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา