ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20819719

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าตรง พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงลีลา เม็ดขนุน พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์

แสดงภาพทั้งหมด

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระนางพญา วัดนางพญา ได้แก่ พระกรรณยาว โค้งแบบบายศรี ด้านบนโค้งออกห่างจากพระพักตร์มากทั้งสองด้าน ถ้าตัดขอบชิดองค์พระจะตัดปลายพระกรรณด้านบน มักจะเห็นถูกตัดด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน พิมพ์เข่าตรง เส้นที่ตรงกับเส้นที่โค้งทำให้ดูสวย พระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่ สีเมล็ดพิกุล เนื้อกระแจะจันทน์ (จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย ๑.สีเมล็ดพิกุล Raw umber เป็นวรรณะที่หม่นคล้ำกว่าสีมะกอกสุกเล็กน้อย เพราะแก่มวลสารอิทธิวัสดุมากกว่า เป็นวรรณะของเนื้อที่มีความซึ้งจัด เช่น เนื้อกระแจะจันทน์ เนื้อขนมตุ๊บตั๊บ และเนื้อกระยาสารท เนื้อจะมีผิวแป้งโรยพิมพ์ค่อนข้างหนาเล็กน้อย เป็นของวัดระฆังฯเสียโดยมาก สำหรับบางขุนพรหมมีน้อย - หมายเหตุเพิ่มเติม : สีพิกุลกับสีเมล็ดพิกุลไม่เหมือนกัน สีพิกุลซึ่งเป็นสีของผลพิกุลสุกคล้ายสีอิฐแดงๆ และยังมีสีพิกุลแห้ง เป็นวรรณะที่กระเดียดมาทางน้ำตาลคล้ำอ่อนๆ เป็นสีหม่นคล้ำจัดที่สุดของพระสมเด็จฯ ๒.เนื้อกระแจะจันทน์ ก)เป็นเนื้อที่มีความนุ่มจัดที่สุด ข)ส่วนมากมีแป้งโรยพิมพ์ ค)มีอิทธิวัสดุวรรณะหม่นคล้ำผสมอยู่มาก ทำนองลักษณะของแป้งกระแจะจันทน์) รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๖๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๗๕ พระสมเด็จฯพิมพ์ทรงเจดีย์ ผิวผุเปื่อยหลุดออกมาก ผิวเดิมเหลืออยู่น้อยแต่กร่อนมากแล้ว รูปพระพิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๑๖๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๘๓ ---------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาและแสวงหาพระสมเด็จฯ ---- "พิมพ์คือปราการใหญ่ที่ต้องข้ามเพื่อได้พบพระแท้"---- ไม่มีอะไรที่จะโต้แย้ง คัดง้าง ลดทอนอิทธิพลของพิมพ์ในการพิจารณาพระสมเด็จฯได้ หมายถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมที่จัดอยู่ในชุดเบญจภาคี ซึ่งสร้างในระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ ถ้าพิมพ์ของพระองค์ใดเหมือนกับพิมพ์ของพระแท้องค์ใดองค์หนึ่ง แสดงว่าสร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน และพระองค์นั้นคือพระแท้ ---- พระสมเด็จมี ๒ พวกคือ (๑)พระสมเด็จที่ไม่ต้องดูพิมพ์ เพราะไม่มีข้อมูลเรื่องพิมพ์ (ไม่มีการศึกษาหาข้อมูลของพิมพ์) และไม่มีข้อมูลเรื่องเนื้อเผยแพร่ (๒)พระสมเด็จที่ต้องดูพิมพ์ มีข้อมูลเรื่องพิมพ์ และมีข้อมูลเรื่องเนื้อด้วย พระสมเด็จฯชนิดที่จัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีเป็นพระที่ต้องดูพิมพ์ ---------- เรื่องต่างๆในเรื่องของพิมพ์ (ก)ประโยชน์ของพิมพ์ที่สำคัญที่สุดคือ เป็นสิ่งชี้บอกความเป็นพระแท้ ได้ชัดเจนแน่นอน เพราะต้องใช้ข้อมูลต่างๆในพิมพ์เป็นจำนวนมาก ครอบคลุมที่สุดทั่วด้านหน้า ดูพิมพ์หรือแม่นพิมพ์ที่เป็นแต่คำพูด โดยไม่สามารถอธิบายลักษณะและวิธีดู ไม่มีประโยชน์อะไร -- คำพูดว่า ดูเนื้อ ธรรมชาติและความเก่าที่ไม่มีคำอธิบายอะไรก็เหมือนกัน (ข)การศึกษาเรื่องพิมพ์ไม่สามารถเรียนรู้ เข้าใจและจำได้ในเวลาอันสั้น เพราะพระสมเด็จฯมีหลายพิมพ์ทรง แต่ละพิมพ์ทรงมีหลายแม่พิมพ์ (เฉพาะในหนังสือ'เบญจภาคี'มีประมาณสองร้อยแม่พิมพ์) พิมพ์ทรงพระประธาน(พิมพ์ใหญ่)ซึ่งเป็นพิมพ์ทรงยอดนิยมอันดับหนึ่งไม่ได้มีแม่พิมพ์เดียว หรือไม่กี่แม่พิมพ์ แต่มีเป็นจำนวนมาก สมัยก่อนมีการแบ่งออกเป็นกลุ่ม เช่น อกวี เกศทะลุซุ้ม ฯ แต่ทั้งอกวีและเกศทะลุซุ้มต่างก็มีหลายแม่พิมพ์ และแต่ละแม่พิมพ์ต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ถ้าจัดเพื่อให้ศึกษาแบบนี้จะทำให้ละเลย หรือนึกไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจง การศึกษาเป็นแม่พิมพ์ๆ (แต่ละแม่พิมพ์) ถึงจะพิจารณาว่าเป็นการสร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันได้ การศึกษา ดู และพิจารณาแต่ละแม่พิมพ์ (เป็นแม่พิมพ์ๆ) คือหัวใจในการดูพระสมเด็จฯ เพราะสามารถใช้พิจารณาตัดสินความเป็นพระสมเด็จฯแท้ได้ เมื่อพิจารณารู้แล้วว่าสร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันกับพระแท้องค์ใดองค์หนึ่ง คือจบการพิจารณา (ค)การดูพิมพ์เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาหาประสบการณ์มาก ๑)เพื่อเห็นและรู้ว่า รูปร่าง ลักษณะ ที่เกิดจากแม่พิมพ์ของจริงดั้งเดิมแต่ละแม่พิมพ์ แต่ละพิมพ์ทรงเป็นอย่างไร และพยายามจำ ถ้าไม่มีพระแท้องค์จริงดู อาศัยรูปภาพพระแท้และคำบรรยายลักษณะของพิมพ์ได้ ๒)มีการทำเลียนแบบมาก นับไม่ถ้วนฝีมือ ซึ่งต้องสังเกต แยกแยะเอาพระปลอมออก เรื่องนี้ต้องใช้เวลา มีประสบการณ์ในการไตร่ตรองมาก บางฝีมือทำได้ใกล้เคียงพิจารณาได้ยาก ---- ทั้งสองข้อเป็นเรื่องสำคัญและประกอบกัน ถ้าไม่รู้และเข้าใจในข้อที่ ๑ จะทำข้อที่ ๒ ไม่ได้ หรือพยายามทำข้อที่ ๒ โดยไม่สนใจหรือคำนึงถึงข้อที่ ๑ (เช่นพิจารณาแต่ตำหนิ) เป็นเรื่องที่ไม่เห็นแววว่าจะสำเร็จ คือยังดูพระสมเด็จฯไม่เป็น (ง)การที่จะจำ (ไม่ว่าอะไรก็ตาม) ก็ต่อเมื่อเป็นพระแท้องค์จริง รูปภาพพระแท้ และลักษณะต่างๆที่แท้จริง เพียงแค่จะเลือกจำข้อมูลใดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องศึกษาและสะสมข้อมูลไปเรื่อยๆ (จ)เมื่อยังไม่มีความรู้และความชำนาญมากพอ เป็นสิ่งเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีการเสี่ยง คือลองผิดลองถูก (แต่อย่าเสี่ยงแพง) ไม่มีใครสามารถศึกษาจนซื้อพระสมเด็จ แล้วได้พระแท้เลยตั้งแต่ครั้งแรกที่ซื้อ ไม่มีหนังสือ ตำรา และบุคคลใดที่จะสอนให้ดูได้โดยไม่ผิดพลาดสักครั้ง ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสียเนื่องจากซื้อพระสมเด็จปลอม เป็นเรื่องปกติที่ต้องประสบทุกคน แต่ถ้าศึกษาและมีประสบการณ์จนรู้ข้อมูลจริงมากขึ้น ความเสียหาย (สูญเงิน) จะลดลง ข้อมูลจริงไม่ใช่ได้จากหนังสือ ตำรา รูปภาพและมีผู้สอนเท่านั้น แต่ยังได้ในเวลาดูและพิจารณาพระด้วย ข้อมูลที่ได้แบบนี้มีความหนักแน่นและใช้ได้ผลแน่นอน ซึ่งเกิดจากการดู พิจารณา ตรวจสอบกับข้อมูลในหนังสือตำราและรูปพระแท้ ทั้งพระแท้(ที่ฟลุ๊คซื้อมา)และพระปลอม(ที่หลงซื้อมา) แล้วสรุปว่าข้อมูลจริงเป็นอย่างไร ------- จากบรรทัดแรกถึงบรรทัดนี้ คงพอเข้าใจว่า การดูพระสมเด็จฯไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้เวลาศึกษามาก ------------------- มีเรื่องเล่าที่พิษณุโลกว่า เถ้าแก่ในตลาดคนหนึ่งชอบพระสมเด็จฯมาก มีชาวบ้านนำมาขายให้เรื่อยๆเป็นเวลาสิบๆปี ใครมาขายก็ซื้อ ซื้อแล้วเก็บไว้ในปี๊บได้ ๓ ปี๊บ มีการตรวจสอบครั้งใหญ่โดยผู้ชำนาญการ(เซียน) ปรากฏว่ามีพระสมเด็จฯแท้ ๒ องค์ (ผู้เล่ายังชี้ให้ดูร้านของเถ้าแก่) ราคาซื้อ(ต้นทุน)ของพระสมเด็จฯแท้ทั้งสององค์ เท่ากับจำนวนเงินทั้งหมดที่ซื้อพระทั้ง ๓ ปี๊บ ซึ่งก็คงเป็นทำนองนี้เหมือนกันของผู้นิยมพระสมเด็จฯทั้งหลาย ------------------------------------------------------------------------------------------ พระแท้และพุทธคุณสูงแขวนได้ ให้ภรรยา ลูกหลานแขวนได้ เมื่อยังไม่พึงใจในเรื่องพุทธคุณ ทำให้ต้องเสาะแสวงหาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้อย่างใจ

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา