ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20608675

พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์เล็ก พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

แสดงภาพทั้งหมด

พระรอดพิมพ์เล็ก ถ้าดูรูปภาพพระรอดแท้ (ที่แท้จริง) จำนวนมาก (เช่นในหนังสือ'เบญจภาคี') จะเห็นว่าศิลปในการแกะใบโพธิ์ของแต่ละพิมพ์คล้ายกัน โดยช่างคนเดียวกัน (อาจารย์เชียร ธีระศานต์ เขียนในหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ พ.ศ.๒๕๑๖ ว่า การสร้างโพธิ์ นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านความหมายแล้ว ขณะนี้ยังเกิดประโยชน์ในด้านเป็นที่สังเกตของนักดูพระด้วย ประการแรกเราสังเกตได้ทันทีว่า พระทุกพิมพ์เป็นฝีมือช่างเดียวกัน แม้จะมีส่วนผิดเพี้ยนกันบ้างก็ตาม แต่ส่วนสัดการวางช่องไฟหรือรูปร่างของโพธิ์ละม้ายคล้ายคลึงกันมาก นอกจากนี้ยังเป็นที่สังเกตในการแยกพิมพ์พระอีกด้วย ใบโพธิ์ที่ทำขึ้นนี้เป็นการสมมติ ไม่ใช่ภาพจริงเหมือนกับพระคง) พระสมเด็จฯพิมพ์ทรงขนาดใหญ่ มีการลงรัก ผิวเดิม (ขาวๆ) เหลืออยู่เป็นวงรอบพระเศียร จากไหล่ขวามาไหล่ซ้าย บนพระพักตร์และพระอุระ เป็นลักษณะที่เกิดโดยธรรมชาติ ผิวค่อนข้างหนาซึ่งพบเห็นน้อย (รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๘๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๐๓) ------ Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ -- (จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย) ข้อความที่เกี่ยวกับความหนาและบางของผิว (ก)ผิวของวัดระฆังฯ มีลักษณะเป็น ผิวบางๆ เป็นส่วนใหญ่ หรือเป็นผิวที่แนบแน่น เกือบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเนื้อ มีปรากฏบ้างเหมือนกันที่ผิวของวัดวัดระฆังฯมีส่วนหนากว่าเกณฑ์ทั่วไปบ้าง แต่ก็ไม่ถึงหนาเหมือนของบางขุนพรหม (ข)ผิวของบางขุนพรหม ส่วนมากเป็นผิวปูนที่ค่อนข้างหนาและมีความแข็งแกร่งกว่าผิวของวัดระฆังฯประเภทเดียวกัน วรรณะขาวใสกว่าวรรณะของเนื้อ มีลักษณะในทำนองคนละส่วนกับเนื้อ (ค)ผิวของบางขุนพรหม โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเนื้อประเภทหนึกแกร่ง หรือหนึกนุ่ม ผิวมักจะหนากว่าของวัดระฆังฯเสมอ เป็นส่วนมาก ผิวเรียบจะมีความเกาะตัวแน่นหนากว่าผิวฟู และถ้าผิวมีความหนามากเพียงใดก็จะยิ่งมีความเกาะตัวแน่นอยู่กับเนื้อมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น ---- (ข้อสังเกตเพิ่มเติม (๑)การที่จะสังเกตว่าผิวหนาหรือบางนั้น ถ้าผิวไม่กะเทาะ ผุ เปื่อยออกบ้างบางจุดหรือส่วนจะสังเกตได้ยากว่าผิวหนาหรือบาง เพราะต้องอาศัยการดูที่ขอบของรอยกะเทาะ ผุ เปื่อย (๒)พระบางองค์ผิวเดิมผุเปื่อยหลุดออกมากเกือบทั้งองค์ เหลืออยู่เพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นหลักฐานหรือร่องรอยให้สังเกตว่าผิวเดิมเป็นอย่างไร หนาหรือบาง (๓)การที่พระแต่ละองค์อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆไม่เหมือนกัน รวมทั้งส่วนผสมแต่ละครั้ง แต่ละเดือนและปี (๖ปี) ต่างกันเพราะเป็นการทำด้วยมือ และมีการปรับปรุงส่วนผสมซึ่งทำให้เกิดเนื้อหลายประเภท ความแข็งแกร่งของเนื้อไม่เท่ากัน (รวมทั้งชนิด สี ขนาดและปริมาณของมวลสารต่างกันด้วย) จึงเกิดการผุเปื่อยของผิวและเนื้อมากน้อยต่างกัน (๔)แต่ไม่ว่าผิวและเนื้อจะกร่อน ผุ และเปื่อยมากหรือน้อยก็ถือเป็นเรื่องปกติ พบเห็นทั่วไปทั้งมากและน้อย ไม่ได้มีความหมายว่าถ้าผุเปื่อยมากแสดงว่ามีอายุมาก กร่อนและผุเปื่อยน้อยมีอายุน้อย 'ยางรัก'และการเก็บห่อหุ้มช่วยรักษาสภาพของผิวและเนื้อ) ---------------------------------------------------------------------------------------------------- "ต้องผ่านการดูด้วยกล้องส่องพระทุกองค์" --- พระสมเด็จฯองค์ที่มีชื่อเสียง องค์ดาราและพระสมเด็จฯแท้ทุกองค์ล้วนถูกพบด้วยกล้องส่องพระทั้งสิ้น ไม่เคยมีประวัติว่ามีการใช้วิธีอื่นใดพิจารณาและตรวจสอบแล้วได้ผลสรุปว่าเป็นพระแท้ การฝึกให้มีความชำนาญในการใช้ตาและกล้องจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เหนือขึ้นไปอีกคือการมีประสบการณ์ในการใช้กล้องส่องพระและตาจนถึงระดับเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจใช้เวลาถึง ๑๐ - ๒๐ ปี ไม่ว่าจะใช้หลักวิชา ทฤษฎี เครื่องมือและอุปกรณ์อะไรก็ตามต้องผ่านการดูด้วยกล้องส่องพระเสมอ ไม่อาจละทิ้ง หลบหรือหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะเรื่อง'พิมพ์'ที่เห็นได้ในทันทีด้วยตาเปล่า มีบางสิ่งต้องฝึกปฏิบัติคล้ายๆกันคือการฝึกดูและมีประสบการณ์เป็นเวลานาน (นับ ๑๐ ปี) กว่าจะใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์ เช่นการดูเพชร --- จากอดีตถึงวันนี้ พระสมเด็จฯแท้คือพระที่ผ่านการพิจารณาโดยการใช้กล้องส่องพระ ตาและสมองของคน ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณามากและหลากหลายกว่าพระเครื่องทุกชนิดมาก เกินกว่าที่เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาตร์ใดๆจะทำได้ และไม่ว่าจะใช้วิธีการหรือแนวทางอย่างใดก็ไม่สามารถละทิ้งการพิจารณาพระสมเด็จฯด้วยกล้องส่องพระได้ จึงควรฝึกการดูด้วยกล้องให้มากและละเอียด จนเกิดความชำนาญ หรือเชี่ยวชาญ --- ถึงจะใช้ทฤษฎีและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใดๆก็ตามถ้าไม่ผ่านการดูเรื่อง'พิมพ์'คือไม่ผ่าน

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา