ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20504544

พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ วัดนางพญา พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระรอด พิมพ์ตื้น วัดมหาวัน

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญา (สิบปีมาถึงวันนี้ พระเบญจภาคีอื่นรวมทั้งพระสมเด็จฯยังพอหาได้ แต่พระนางพญาแท้หายากมาก อาจจะไม่มีให้หาแล้ว ในอนาคตราคาจะสูงอย่างไม่มีขีดจำกัด คือฝันที่ไม่เป็นจริง) จากหนังสือภาพพระเครื่อง2 ของอาจารย์ประชุม กาญจนวัฒน์ - พระรอดพิมพ์ตื้นมี ๒ แบบคือ ๑.แบบที่เส้นพิมพ์แตกเหนือไหล่ซ้ายเป็นแนวตั้งสูงขึ้นไป ๒.แบบที่เส้นพิมพ์แตกด้านซ้ายเป็นแนวขวางจากด้านข้างขอบซ้ายเข้าหาพระพักตร์ ถ้าติดชัดจะเห็นสองเส้น พระสมเด็จฯสภาพเดิมไม่ได้ทำความสะอาด ลงรักชนิดหนึ่ง รักชนิดนี้จะร่วนหลุด(ยุ่ย ร่วนและหลุด)เมื่อหมดยางเหนียว (รักอีกชนิดหนึ่งจะหลุดออกเป็นแว่นๆ ในหนังสือพระสมเด็จฯเขียนว่า รักมี ๒ ชนิดใหญ่ ต่างกันอย่างชัดเจนในลักษณะที่หลุดออกจากผิว) รักของพระองค์นี้หลุดออกมากแล้วแต่เหลืออยู่ไม่น้อย ส่วนเหลืออยู่ที่หนามีสีเข้ม ส่วนที่บางมีสีอ่อน สภาพของรักที่หนาบางไม่สม่ำเสมอนี้เกิดโดยธรรมชาติทีละน้อย ซึ่งผ่านกาลเวลาอันยาวนาน น้ำมันของยางรักที่ซึมอยู่ในเนื้อปูนทำให้ดูฉ่ำ (รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่อยู่ในหนังสือ 'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๑๐๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๑๕) Phra nangphya wat nangphya pim sangkati. Phra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Phra rod wat mahawan pim tuen. ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ---- "เรื่องสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง - ผิวของพระสมเด็จฯ" ---- จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย ---- หลักเกณฑ์ที่กล่าวถึง "เรื่องของผิว" โดยเฉพาะจัดว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง แต่ก่อนนั้นเรื่องของผิวยังไม่เป็นที่ตระหนักและสนใจถึงความสำคัญกันนัก การพิจารณาโดยทั่วไปจะกล่าวกันแต่เรื่องของเนื้อ (หมายเหตุเพิ่มเติม - ส่วนมากในปัจจุบันก็เช่นกัน) โดยมิได้ทราบความจริงว่า ในการพิจารณาเรื่องของเนื้อนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผิวเสียเกือบ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้แม้เรื่องของผิวจะเป็นกรณี (ส่วน) หนึ่งของเนื้อก็ตาม แต่ก็เป็นคนละเรื่องต่อกันในทางทรรศนียะ (การดู) และผิวจะมีอิทธิพลครอบคลุมลักษณะของเนื้อทั้งหมด ทั้งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดคุณลักษณะ(คือดี สวย)หรือข้อบกพร่องทางเนื้อ(ไม่ดี ไม่สวย)ได้นานัปการ ---- การศึกษาและพิจารณาเรื่องผิวจำแนกเป็น ๕ หมวดได้แก่ ๑.ลักษณะผิวของพระสมเด็จฯโดยทั่วไป ๒.เหตุหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดผิวชนิดต่างๆ ๓.อิทธิพลของผิว ๔.การทดสอบผิว และ ๕.การจำแนกประเภทของผิว (ผิวมี ๔ ประเภทคือ ๑.ผิวเยื่อหอม ๒.ผิวแป้งโรยพิมพ์ ๓.ผิวเรียบ ๔.ผิวฟู) ---- หมวดที่ ๑ ลักษณะผิวของพระสมเด็จฯโดยทั่วไป - พระสมเด็จฯจัดว่าเป็นพระประเภทเนื้อปูนปั้น ซึ่งมีผิวคลุมอยู่เบื้องบนของเนื้อ มีสัณฐานหนาบางต่างๆกันไป ส่วนมากจะมีวรรณะขาวหรือค่อนข้างขาวกว่าวรรณะของเนื้อ (หมายเหตุเพิ่มเติม - ผิวมักจะขาวกว่าเนื้อ) แม้ว่าเรื่องของผิวจะแยกออกจากเรื่องของเนื้อเพื่อการศึกษาทางทรรศนียะ(การดู)ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้แล้วผิวย่อมมีกำเนิดจากเนื้อ หรือเกิดขึ้นภายหลังเนื้อ และเป็นสิ่งที่จะแยกออกจากเนื้อไม่ได้ การอธิบายเรื่องทางเนื้อ ย่อมจะหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงผิวเสียมิได้เลย ผิวของพระจะต่างกับเปลือกของผลไม้ โดยนัยเปรียบเทียบคือเปลือกและเนื้อของผลไม้เป็นสิ่งที่มีลักษณะต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ผิวและเนื้อของพระมีลักษณะกินตัวกันอย่างกลมกลืน แม้ผิวจะปกคลุมอยู่ก็สามารถพิจารณาลักษณะของเนื้อได้ และไม่สามารถจะแยกผิวออกจากเนื้อเป็นเอกเทศโดยเด็ดขาดได้ ---- (ข้อสังเกตเพิ่มเติม -- คำอธิบายเรื่องผิวในหนังสือ'พระสมเด็จฯ'มีเพียง ๑๒ หน้าแต่มีคุณค่าและมีประโยชน์มากในการพิจารณาพระ โดยเฉพาะคนรุ่นปัจจุบันที่นิยมและแสวงหาพระสมเด็จฯ ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะได้ศึกษาดูพระแท้องค์จริงจำนวนมากองค์ ข้อมูลความรู้และความเข้าใจในเรื่องผิวนี้ต้องใช้เสมอในเวลาหาและดูพระ เช่นการหาพระในตลาดล่าง (ถ้าท่านมาแล้วไม่มีใครเอาออกจากโต๊ะพับ ท่านจะเคลื่อนไปพิษณุโลก แม้จะวางแทรกอยู่กับพระสมเด็จเป็นพันๆองค์ จะมีคนเห็นและหยิบออก) การดูธรรมชาติและความเก่าย่อมดูที่ผิวไม่ใช่เนื้อที่อยู่ใต้ผิว ซึ่งมองไม่เห็นจนกว่าผิวจะผุเปื่อยหลุดออกไป เพราะผิวคือส่วนที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น อากาศ ความชื้น ความร้อน ความอบอ้าว การจับสัมผัส เหงื่อ รัก เป็นต้น เมื่อผิวเปื่อยหลุดออกไปแล้วเนื้อที่เดิมอยู่ใต้ผิวจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมแทนและเริ่มต้นที่จะเก่า(ทำนองเก่าสเตจที่ ๒ - ความเก่าสเตจที่ ๑ ผิวเกิดการกร่อน ผุเปื่อยหลุดออก --- สำหรับพระที่ลงรัก สเตจ stage ที่ ๑ รักผุเปื่อยหลุดออก ร้อยปีขึ้นไป สเตจที่ ๒ ผิวกร่อน ผุเปื่อยหลุดออก สเตจที่ ๓ เนื้อปูนซึ่งเดิมอยู่ใต้ผิวเริ่มเก่าและกร่อน ผุเปื่อย -- กร่อนแปลว่าหมดสิ้นไปทีละน้อย) นอกจากนี้ชนิดของผิวเองก็เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่บอกว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหม เช่น ผิวเยื่อหอม ผิวแป้งโรยพิมพ์ อาจมีความเข้าใจว่าผิวของพระเนื้อปูนของพระองค์ใดหรือวัดใดจะคล้ายๆกัน เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ แต่ถ้าหยิบพระที่วางอยู่มากมายในตลาดส่องดู(เฉพาะเรื่องผิว)จะเห็นความแตกต่าง ทำนองเช่น ผิวมะม่วง มะนาวหรือส้มต่างสายพันธุ์ แม้กระทั่งลักษณะที่ปรากฏบนปูนที่ผิวกะเทาะหลุดออกของพระสมเด็จฯแท้ก็ต่างจากพระสมเด็จอื่นๆ ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ถ้าเห็นบ่อยๆจะรู้สึกสะดุดตา ฉุกคิดได้ว่า ลักษณะของปูนบนรอยกะเทาะหรือบิ่นเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาพระได้ การแยกออกจากกันของเนื้อปูนที่มีส่วนผสมต่างกันมีสภาพของปูนบนรอยที่แยกไม่เหมือนกัน สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างคือของเหลวที่ใช้ผสมเพื่อยึดโยงผงปูน เช่นน้ำมันตังอิ๊ว พระปูนที่มีน้ำมันตังอิ๊วผสมต่างจากพระที่ไม่มีแน่นอน) -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ข้อมูลความรู้ใหม่ในเรื่องของพระสมเด็จฯมีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การพิจารณาพระง่ายขึ้นและชัดเจนกว่าเดิม อาจจะต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม ( recheck )

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา