ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ21735370

พระสมเด็จ วัดระฆัง (หลวงวิจารณ์เจียรนัยออกแบบและทำแม่พิมพ์) ๖ องค์

แสดงภาพทั้งหมด

รูปพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ"เบญจภาคี" เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๕๙ ๔๕ ๘๙ ๔๗ ๖๙ ๘๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๗๓ ๕๙ ๑๐๓ ๖๑ ๘๓ ๙๕ ตามลำดับ ------ Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ------ "ผลจากการใช้น้ำมันตังอิ๊ว" ------ (จาก google - น้ำมันตังอิ๊วได้จากต้นตังอิ๊ว ทางภาคเหนือเรียกต้นมะพวก ใช้ชักเงาเครื่องไม้ ทารักษาเนื้อไม้ กันปลวก - นำไปใช้เป็นมวลสารในการสร้างปั้มพระผงจะช่วยผสานเนื้อให้เชื่อมกัน - ราคาลิตรละ ๓๔๐ บาท) ---- (๑)ผลอย่างแรกเป็นไปตามจุดประสงค์คือ ป้องกันการร้าว แตก หักของพระเนื้อผง น้ำมันตังอิ๊วมีความคงทนมาก เมื่อแห้งแล้วยังคงสภาพเป็นคราบที่ผิวพระ (ในกรณีที่ผสมน้ำมันมาก หรือแก่น้ำมัน) (๒)น้ำมันที่ราคาไม่แพงและใช้กับงานไม้ทั่วไปนี้ ทำให้พระสมเด็จฯซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ไม่ร้าวมาก แตกและหัก ยังคงสภาพดีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นจักรพรรดิแห่งพระเครือง (๓)ช่วยถนอมเนื้อปูน ผงปูนที่ถูกอาบ ห่อหุ้มหรือเคลือบด้วยน้ำมันตังอิ๊วจะมีโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนน้อย สารประกอบออกซิเจนที่เกิดกับแคลเซี่ยมคือแคลไซต์จะเกิดได้น้อย นอกจากนี้ในบางองค์ที่ลงรัก รักจะช่วยหุ้มทับอีกชั้นหนึ่ง ออกซิเจนยากที่จะแทรกเข้าไปทำปฏิกิริยากับปูนได้ กว่ารักจะหลุดออกใช้เวลาเป็นร้อยปี ในยางรักยังมีน้ำมันอีกด้วย ซึ่งชะโลมทับน้ำมันตังอิ๊ว (๔)ทำให้ปูนดูนุ่ม เมื่อมองดูแล้วเกิดความประทับใจ ปูนของวัดระฆังที่ผสมน้ำมันตังอิ๊วเมื่อแห้งแล้วจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่เหมือนของใคร ไม่มีของใครเหมือน (๕)เรื่องสำคัญคือทำให้เกิดมีสองช่วงเวลาในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ช่วงเวลาแรกใช้แม่พิมพ์ของชาวบ้าน ขุนนางและข้าราชการหลายคน ในช่วงเวลานี้ไม่มีการใช้น้ำมันตังอิ๊วผสมในเนื้อปูน สิ่งที่มักเกิดกับพระสมเด็จแบบนี้คือร้าว แตก หัก ชำรุด ช่วงเวลาที่สองหลวงวิจารณ์เจียรนัยทำแม่พิมพ์ถวายและแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ๊วผสมเพื่อป้องกันการร้าว แตกและหัก --- เนื่องจากเป็นแม่พิมพ์ที่สวยงามและทันสมัย สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงใช้แต่แม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย เลิกใช้แม่พิมพ์ของคนอื่นๆทั้งหมด ทำให้เกิดเป็นพระสมเด็จฯสองประเภทที่แยกกันอย่างชัดเจนคือประเภทแรกใช้แม่พิมพ์ของชาวบ้าน ขุนนางและข้าราชการ ไม่มีน้ำมันตังอิ๊วผสม ประเภทที่สองใช้แม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยเท่านั้นและมีน้ำมันตังอิ๊วผสม ประเภทที่สองนี้มีความโดดเด่นขึ้นมาด้วยความสวยงามทันสมัยของพิมพ์ และด้วยความทนทานเหนียวแน่นของเนื้อปูน (๖)ยังไม่เคยมีใครเห็นเนื้อปูนที่ไม่มีน้ำมันตังอิ๊วผสม และเขียนอธิบายบอกเล่าลักษณะ อาจจะถูกละเลยหรือมองข้ามเพราะไม่มีใครรู้จักทั้งเนื้อและพิมพ์ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความเหมือนกันในเรื่องศิลป ---- ถ้ายึดถือข้อมูลที่เป็นจริงและรูปภาพพระแท้ จะเป็นแนวทางที่จะทำให้ได้พระสมเด็จฯแท้ ถ้าเชื่อและยึดถือข้อมูลที่ไม่เป็นจริงและรูปภาพพระปลอม จะได้ผลอีกด้านหนึ่ง การศึกษาหาข้อมูลจริงและการมีรูปภาพพระแท้จะเห็นแนวทางว่าพระแท้ดูอย่างไร ความเหมือนกันของแต่ละส่วน และแต่ละลักษณะกับพระแท้องค์จริงหรือรูปภาพพระแท้เป็นหลักการที่สำคัญที่สุด และเป็นรายละเอียดในทางปฏิบัติที่มีผลต่อการตัดสินที่สุด แม้แต่เรื่องศิลปก็ต้องพิจารณาความเหมือนกัน ทั้งการออกแบบและการแกะแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นศิลปของแต่ละบุคคล เรื่องนี้มีความสำคัญและมีผลถึงระดับคัดพระออกทันที(ไม่ต้องมีความคิดเห็น วิเคราะห์วิจารณ์ใดๆทั้งสิ้น) ถ้าไม่เหมือนเป็นสิ่งชี้บอกอย่างหนึ่งว่าผิดพิมพ์

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา