ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19890255

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆัง พระรอดพิมพ์ใหญ่ วัดมหาวัน

แสดงภาพทั้งหมด

เป็นเรื่องดีที่ได้เห็นกรอบกระจกของพระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้(ค่อนข้างหนา) เนื้อกระแจะจันทน์ ด้านหลังมีรอยหนอนด้น รูปที่ ๗ ๘ ๙ รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๖๓ - 'องค์เสี่ยดม' - (จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย ๑.ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของเนื้อกระแจะจันทน์ - อนุภาคอิทธิวัสดุและมงคลวัสดุต่าง ๆ วรรณะหม่นคล้ำ คลุกเคล้ำแผ่กระจายตลอดส่วนกว้าง และเรียงรายซ้อนตัวกันลงไปทางส่วนลึกของเนื้อ ๒.รอยหนอนด้น (รูเดี่ยวเรียงกันไปเป็นแนว) สามารถใช้เป็นข้อตัดสินในความเป็นของแท้ได้เช่นเดียวกับรอยปูไต่ทุกประการ -- รอยปูไต่ - รูคู่ คือ สองรูเคียงกัน และเดินเกาะคู่เป็นแนวทางไป) Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra rod wat mahawan pim yai. ---- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ -- (ก)ข้อจำกัดในประวัติศาสตร์(ตำนาน)การสร้างพระสมเด็จฯที่ควรต้องรู้ ๑.ประวัติการสร้างฯไม่ได้บอกข้อมูลรายละเอียดที่จะต้องใช้ในการดูพิมพ์ เนื้อรวมทั้งมวลสาร ๒.ประวัติหรือตำนานการสร้างพระสมเด็จฯเกือบทั้งหมดไม่มีเบาะแส พยาน หรือหลักฐานเพื่อใช้อ้างอิงที่ชัดเจนและเชื่อถือได้ เป็นเพียงการสันนิษฐาน หรือพูดได้ว่าคิดจินตนาการขึ้นมา ต่างคนต่างเขียน ๓.วัดระฆังฯไม่ได้มีการบันทึกประวัติการสร้างพระสมเด็จฯแม้แต่บรรทัดเดียว มีแต่คำพูดหรือคำบอกเล่าของผู้ที่ได้ช่วยหรือร่วมในการสร้าง (พระในวัด) คนอื่นที่อยู่นอกวัดหรือเกิดรุ่นหลังจะรู้ หรือรู้ดีได้อย่างไร ๔.เมื่อมาถึงปัจจุบัน เป็นการยากมากที่จะหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ตรวจสอบว่า คำพูด ข้อเขียนแต่ละคำหรือประโยคที่ได้ฟังและอ่านในข้อสันนิษฐาน(จินตนาการ)เรื่องประวัติการสร้าง ว่าเป็นจริงหรือไม่ ๕.ถ้าจะยึดเอาประวัติการสร้างมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาพระสมเด็จฯ ก็จะเกิดภาระขึ้น ๒ อย่างคือ ก.การพิสูจน์ตรวจสอบข้อมูลในประวัติการสร้างนั้นๆว่าถูกต้อง ข.การศึกษาและพิจารณาองค์พระ เพียงเรื่องนี้อย่างเดียวก็เป็นเรื่องที่ยาก ต้องมีข้อมูลมาก และใช้เวลา ๖.การพิสูจน์ตรวจสอบประวัติการสร้างที่คิด สันนิษฐาน จินตนาการขึ้นมานั้นอาจใช้เวลาทั้งชีวิต หรือไม่มีวันที่จะทำได้ -- เราอยู่ในยุคสมัยที่จะคิด พูดหรือเขียนว่า - "สันนิษฐานว่าพระองค์นี้เป็นพระสมเด็จฯแท้" - อย่างนั้นหรือ ? --- (ข)อะไรบ้างในประวัติการสร้างพระสมเด็จฯที่จะเอามาใช้ในการหาและพิจารณาพระได้ (จากหนังสือพระสมเด็จฯของตรียัมปวาย พิมพ์ครั้งแรกพ.ศ.๒๔๙๕)ในพ.ศ.๒๔๗๐ นายกนก สัชชุกร ข้าราชการกระทรวงการคลังและเพื่อนได้ไปที่วัดระฆังฯเพื่อหาพระสมเด็จฯ และได้สัมภาษณ์พระธรรมถาวร เจ้าอาวาสวัดระฆังฯในเวลานั้น (พระธรรมถาวรเป็นศิษย์ใกล้ชิดของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) และมีส่วนร่วมในการสร้างตั้งแต่ต้นจนยุติการสร้าง) ใจความสำคัญดังนี้ ๑.พระสมเด็จวัดระฆังฯสร้างในปีพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ (สร้างเมื่อพระธรรมถาวรบวชได้ ๒ พรรษา พระธรรมถาวรบวชในพ.ศ.๒๔๐๗) ๒.เริ่มแรกมีชาวบ้านแกะแม่พิมพ์ถวาย แต่ไม่สวยงาม ๓.ไม่มีน้ำมันตังอิ๊วผสมในเนื้อพระ พระร้าว แตก ทางวัดแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ๔.หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวงในรัชกาลที่ ๔ แกะแม่พิมพ์ถวาย มีความสวยงามและสมเด็จพุฒาจารย์ได้ใช้แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัยพิมพ์พระสมเด็จฯตลอดมา ๕.หลวงวิจารณ์เจียรนัยได้ถวายคำแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ๊วผสมในเนื้อพระ ซึ่งแก้ปัญหาการแตกร้าวได้ ------ ตรียัมปวายเขียนว่า พระสมเด็จฯที่สร้างจากแม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัยนี้เป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่อง และเรียกว่า "พิมพ์ทรงนิยม" หรือ "พิมพ์ทรงมาตรฐาน" และในการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) หลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็นผู้ทำแม่พิมพ์ --------- ข้อคิดเห็นรวบยอด (ปลายสุด) -- เรื่องที่มีผลสำคัญยิ่งคือ ผู้ที่ทำแม่พิมพ์ซึ่งเป็นพิมพ์ทรงนิยม หรือพิมพ์ทรงมาตรฐาน "มีเพียงคนเดียว" คือหลวงวิจารณ์เจียรนัย การศึกษาศิลปการออกแบบ(ซึ่งมีรูปแบบของตัวเอง)และฝีมือการแกะแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยจนเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นแนวทางที่ชัดเจนแน่นอนในการหาและพิจารณาพระสมเด็จฯแท้"พิมพ์ทรงนิยม" หรือ "พิมพ์ทรงมาตรฐาน" ไม่ว่าจะเป็นแม่พิมพ์ที่ปรากฏต่อสาธารณชนแล้ว หรือแม่พิมพ์ที่ยังไม่เคยมีใครพบเห็นมาก่อน ซึ่งหมายความได้ว่า จะมีกี่แม่พิมพ์ก็ตาม ถ้าเป็นพระที่สร้างจากแม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย ย่อมเป็นพระสมเด็จฯพิมพ์ทรงนิยมแท้ทั้งสิ้น

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา