ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19673779

พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ วัดนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญาสูง ๒.๑ ซม. พระรอดสูง ๒.๔ ซม. พระสมเด็จ ลงรักและแตกลายงา (จากหนังสือพระสมเด็จฯ - เกล็ดลายงาจะมีทั้งขนาดเขื่องและย่อมสลับกันอย่างสับสน เส้นรอบเกล็ดจะมีลีลาโน้มเอียงไปในทาง"เส้นตรง" มากกว่าที่จะเป็นเส้นโค้ง แม้ว่าจะไม่เป็นเส้นตรงทีเดียว หรือไม่เป็นรูปเหลี่ยมทีเดียว แต่การยักเยื้องหักเหของแนวเส้น มีลักษณะคล้ายการหักเปลี่ยนวิถีของเส้นตรง -- การแตกลายของงาช้าง มีลักษณะเป็นเกล็ด ๆ สี่เหลี่ยมเท่า ๆ กันโดยตลอด) แม่พิมพ์นี้พระเกศเอนไปทางซ้ายขององค์พระ เส้นฐานซุ้ม (ใต้ฐานชั้นล่าง) เล็ก (พระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกัน ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๑๑๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๒๙) Pra nangphya wat nangphya pim sangkati. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra rod wat mahawan pim yai. ----- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ --ลักษณะโดยทั่วไปของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมที่ควรต้องรู้ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นและเร็วขึ้นในการศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของเนื้อ -- จากหนังสือพระสมเด็จฯของตรียัมปวาย - ๑)พระสมเด็จฯเป็นพระพิมพ์เนื้ออโลหะ และลักษณะของเนื้อเป็น"ประเภทสารผสม" มิใช่สารประกอบทางวิทยาศาสตร์ มวลสารวัสดุต่าง ๆ ได้รับการคลุกเคล้ากันในคุลีการ มิได้มีเกณฑ์ปริมาณในอัตราส่วนแน่นอนเป็นมูลสูตร ทั้งได้มีการสร้างพระและการผสมเนื้อกันหลายครั้งต่าง ๆ กันไปบ้าง ฉะนั้น จึงปรากฏว่าเนื้อพระสมเด็จ ฯ แต่ละองค์จึงไม่เหมือนกันทีเดียวนัก แต่ก็นับว่ามีลักษณะส่วนใหญ่เช่นเดียวกัน ๒)ความคล้ายกัน โดยทั่วไปเนื้อของพระสมเด็จ ฯ ทุกองค์จะไม่เหมือนกันทีเดียวนัก แต่ต่างกันไปตามมูลกรณืของเนื้อที่เป็นส่วนผสม (ปริมาณวัสดุ และ อิทธิวัสดุ) และภาวะแวดล้อม เช่นการใช้ เป็นต้น แต่ความแตกต่างดังกล่าวนี้ย่อมจะแฝงความเหมือนกันหรือคล้ายกันเข้าไว้ด้วย ซึ่งต่างกับพระเครื่อง ฯ ชนิดอื่น ๆ เช่น สมเด็จวัดพลับ พระวัดรังษี และ พระวัดอัมพวันฯ ฯลฯ เป็นต้น พระเหล่านี้แม้จะมีเนื้อคล้ายพระสมเด็จ ฯ แต่เป็นเพียงบางประการเท่านั้นหาได้เหมือนโดยแท้จริงไม่ ตรงกันข้ามสำหรับเนื้อพระสมเด็จ ฯ แม้จะต่างประเภทกัน แต่ก็มีความคล้ายกันหรือเหมือนกันแฝงอยู่ในเนื้อนั้นทุกองค์ ความคล้ายกันของเนื้อจึงเป็นคุณสมบัติโดยส่วนรวมที่มีอิทธิพล ผู้ที่เข้าถึงทรรศนียะ (การดู) ทางเนื้อย่อมจะรู้สึกเช่นที่กล่าวนี้เหมือนกันทุกคน ๓)ความแน่นของเนื้อ เนื้อที่แก่ปูนขาวมาก และมีความแกร่งจัด จะมีน้ำหนักมาก แต่ถ้าอนุภาคของเนื้อขาดความโยงยึดภายใน เช่นในขณะที่อ่อนตัวอยู่มีลักษณะเป็นของเหลวมากเกินไป เมื่อแห้งยุบตัวแล้วก็จะขาดความแน่นและน้ำหนักที่เหมาะสม เช่นเนื้อบางขุนพรหมที่มีลักษณะค่อนข้างฟ่าม จะมีน้ำหนักน้อยกว่าเนื้อวัดระฆังฯ ทั่ว ๆ ไป ๔)มูลกรณีของเนื้อ (ส่วนผสม) ดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าหมายถึง"เนื้อมาตรฐาน"เท่านั้น ซึ่งจัดว่าเป็นเนื้อทางทรรศนียะ(การดู) สำหรับเนื้อพิเศษประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ ๓ นั้น เป็นการกล่าวทางตำนานการสร้างเท่านั้น "ยังไม่มีหลักเกณฑ์"เพื่อใช้เป็นข้อยุติทางทรรศนียะแต่ประการใดไว้เลย -------- ข้อสังเกตและคิดเห็นเพิ่มเติม ๑.ในหนังสือพระสมเด็จฯมีข้อเขียนอธิบายเรื่องเนื้อที่เป็นหัวข้อใหญ่หลายหัวข้อ เช่น ก.ส่วนผสมของเนื้อ (มูลกรณี) ข.ประเภทของเนื้อ ค.เรื่องของผิว ง.วรรณะ (สี) ฯ ซึ่งแต่ละหัวข้อใหญ่มีหัวข้อย่อยและรายละเอียดมาก เฉพาะเรื่องเนื้อมีถึง ๑๐๕ หน้า เรื่องของพระสมเด็จ ฯ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถศึกษาให้รู้และเข้าใจในเวลาอันสั้นได้ ๒.ในหนังสือพระสมเด็จฯเขียนอธิบายลักษณะของ"เนื้อมาตรฐาน"เท่านั้น ได้แก่ เนื้อเกสรดอกไม้ เนื้อกระแจะจันทน์ เนื้อปูนนุ่ม เนื้อกระยาสารท เนื้อขนมตุ๊บตั๊บและเนื้อปูนแกร่ง ไม่มีข้อเขียนถึงลักษณะของเนื้อพิเศษใด ๆ ๓.คำอธิบายเรื่องเนื้อในหนังสือพระสมเด็จฯ สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาเนื้อพระได้อย่างดี มีประโยชน์มาก ไม่มีหนังสือเล่มใดอธิบายเรื่องเนื้อได้ละเอียดและมีข้อมูลมากเท่าหนังสือเล่มนี้ เพียงคำอธิบายเรื่องเนื้ออย่างเดียวก็คุ้มค่าเกินราคาหนังสือแล้ว ----- (คำว่า 'มวลสาร' ที่ใช้กันในปัจจุบัน ในหนังสือพระสมเด็จฯใช้คำว่า อนุภาคมวลสาร - - เป็นสิ่งเดียวกัน)

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา