ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19397964

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระซุ้มกอกรุนี้มีเส้นชายจีวรใต้พระกรขวา พระสมเด็จ แม่พิมพ์นี้วาดส่วนโค้งของเส้นซุ้มได้สวย แกะกรอบกระจกตื้น (บาง) พบมวลสารขนาดใหญ่สีเขียว ลงรักน้ำดำ (จากหนังสือพระสมเด็จ ฯ - ลักษณะที่เป็นจุดสังเกตได้ว่า เป็นรักน้ำดำหรือรักน้ำเกลี้ยง - การร่อนของรักน้ำดำมีลักษณะหลุดออกมาเป็นแว่น ๆ ตรงบริเวณที่ลงไว้บาง ๆ ไม่มีลักษณะหลุดร่วนเช่นรักน้ำเกลี้ยง และก็จะหลุดออกจากผิวเนื้อไม่หมดเกลี้ยงเกลาเหมือนรักน้ำเกลี้ยง) พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกัน - ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๗๗ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๙๑ Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra kamphaeng sumkor pim yai. ( Tip - สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ - "ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของน้ำมันตังอิ๊ว" ๑.ในหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย บทที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องตำนานการสร้างพระสมเด็จ ฯ นั้น ส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมบันทึกของบุคคลต่างๆที่ได้ฟังคำบอกเล่า สอบถามหรือสัมภาษณ์พระธรรมถาวร ตรียัมปวายเขียนว่า เมื่อนำเรื่องราวตามบันทึกต่างๆมาวิเคราะห์ดูแล้ว ก็ได้ความสอดคล้องต้องกัน และชัดเจนทุกประการ ๒."พระธรรมถาวร" เป็นศิษย์ใกล้ชิดของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) อุปสมบทเมื่อพ.ศ.๒๔๐๗ ต่อมาภายหลังได้เป็นเจ้าอาวสวัดระฆังฯ เมื่อชราภาพแล้วพระเณรในวัดเรียกท่านว่า เจ้าคุณเฒ่า เป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างพระสมเด็จ ฯ ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ -- ไม่มีข้อมูลจากแหล่งใดที่จะเชื่อถือได้เท่ากับข้อมูลจากศิษย์ใกล้ชิด ที่ได้รู้ ได้เห็นและได้ร่วมสร้างพระสมเด็จ ฯ ตั้งแต่ต้นจนยุติการสร้าง ๓.ผู้ที่ได้พูดคุย สอบถาม สัมภาษณ์พระธรรมถาวรและเขียนบันทึกไว้มี (๑)นายกนก สัชชุกร (๒)พระอาจารย์ทิม ต่อมาลาสิกขาบทชื่อนายทิม ดาวเรือง (๓)พระอาทรพัฒรพิสิฐ (เล็ก อุณหนันท์) (๔)พระอาจารย์ขวัญ "วิสิฏโฐ" ศิษย์พระธรรมถาวร (๕)พระเทพญาณเวที (ลมูล) "สุตคโม" เจ้าอาวสวัดระฆังฯ (๖)พระราชธรรมภาณี (วัดระฆังฯ) ๔.นายกนก สัชชุกร อดีตผู้ช่วยตรวจการกระทรวงการคลัง ภาค ๓ ได้เคยไปหาพระธรรมถาวร ในพ.ศ.๒๔๗๐ และได้บันทึกเรื่องราวการสร้างพระสมเด็จ ฯ ตลอดจนชีวประวัติบางประการของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งในเวลานั้นนายกนกยังเป็นหนุ่ม พระธรรมถาวรชราภาพมากแล้ว นายกนก สัชชุกรเก็บบันทึกไว้ ๔๐ ปี และมอบให้ตรียัมปวายในพ.ศ.๒๕๑๐ ตรียัมปวายพูดกับเพื่อนว่า "เหมือนได้แก้ว" ๕.บันทึกความบางตอนของนายกนก สัชชุกรที่ได้สัมภาษณ์พระธรรมถาวร - "ครั้งแรกใครจะเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวายเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ไม่ทราบแน่ แต่เป็นแม่พิมพ์ที่ไม่สู้งามนัก และในระหว่างที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ หมกมุ่นในการแก้ปัญหาเรื่องความร้าวหักของพระเมื่อตากแห้งแล้วนี้เอง หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ ๔ ได้มาเยี่ยมเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ และได้ขอพิจารณาแม่พิมพ์ที่ใช้สร้างพระสมเด็จ ฯมาแต่เดิม และกราบเรียนเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ว่าแม่พิมพ์เหล่านี้ยังไม่งดงามสำหรับการที่จะใช้สร้างพระเครื่อง ฯ ที่สำคัญเช่นนี้ เพราะขาดคุณค่าทางศิลปเป็นอันมาก แล้วจึงได้แกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ถวายเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ๒ - ๓ แบบ ซึ่งงดงามกว่าเก่ามาก และเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ใช้แม่พิมพ์ใหม่ ๆ นี้ พิมพ์พระสมเด็จ ฯ ตลอดมา" ๖.จากข้อ ๕ การสร้างพระสมเด็จ ฯ มีปัญหาเรื่องความร้าวหักของพระเมื่อตากแห้งแล้ว พระสมเด็จ ฯ ที่สร้างจากแม่พิมพ์เดิม ๆ นั้นแตกหักเสียหายเป็นส่วนมาก ๗.หลวงวิจารณ์เจียรนัยได้ถวายคำแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ๊วผสมในเนื้อ เพื่อแก้ไขการแตกร้าว และมีการใช้ส่วนผสมใหม่นี้ตั้งแต่มีแม่พิมพ์ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็นผู้ทำถวาย ๘.เมื่อเริ่มใช้น้ำมันตังอิ๊วผสมในเนื้อ ก็เป็นเส้นแบ่งเขตพระสมเด็จ ฯ เป็นสองฟาก ฟากเดิมคือใช้แม่พิมพ์เดิม ๆ ที่ชาวบ้านแกะถวาย ไม่มีน้ำมันตังอิ๊วผสมในเนื้อ จึงแตกหักเสียหาย ฟากใหม่คือพระสมเด็จ ฯที่สร้างจากแม่พิมพ์ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยแกะถวาย ซึ่งเนื้อมีน้ำมันตังอิ๊วผสมอยู่ แม่พิมพ์ที่ทำโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัยนี้เป็นที่ยอมรับในวงการพระเครื่อง ฯ และเรียกว่า "พิมพ์ทรงนิยม" หรือ "พิมพ์ทรงมาตรฐาน" ๙.ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการใช้น้ำมันตังอิ๊วคือ ทำให้รู้ว่าพระสมเด็จวัดระฆัง ฯ ที่เนื้อมีน้ำมันตังอิ๊วผสม เริ่มมีตั้งแต่พ.ศ.๒๔๐๙ ๑๐.วัดระฆัง ฯ ไม่มีประสบการณ์ในการสร้างพระมาก่อน จึงแก้ปัญหาเรื่องพระร้าวและหักไม่ตก จนกระทั่งหลวงวิจารณ์เจียรนัยได้แนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ๊วผสมในเนื้อ) ------- เรื่องที่ควรตระหนัก --- แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง ฯ ย่อมเป็นสมบัติของวัดระฆัง ฯ ไม่เคยมีประวัติหรือบันทึกใด ๆ ว่า วัดระฆัง ฯ ยกแม่พิมพ์พระสมเด็จ ฯให้ใคร หรือให้พระสมเด็จวัดระฆัง ฯ จำนวนปริมาณเต็มรถบรรทุกแก่ใคร

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา