ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20425056

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

แสดงภาพทั้งหมด

ในหนังสือพระเครื่องเรื่องของขลัง อาจารย์ประชุม กาญจนวัฒน์เขียนว่า ด้านหลังนิยมของพระซุ้มกอพิมพ์กลางคือด้านหลังที่มีรอยลายนิ้วมือ ด้านหลังนิยมสำหรับพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่คือด้านหลังที่มีรอยกาบหมาก (ข้อสังเกตบางประการเรื่องพระซุ้มกอสำหรับผู้เริ่มศึกษา - ลักษณะที่จะใช้พิจาราณาได้ว่าเป็นพระซุ้มกอที่สร้างในยุดสมัยหรือช่วงเวลาเดียวกัน - ใกล้เคียงกัน ได้แก่ ๑)ลายกนกโดยรอบทุกตัว เน้นด้านข้างขององค์พระซ้ายและขวา ๒)วงแขน ๓)พระเกศ ๔)เส้นสังฆาฏิ ๕)ลำพระบาทบน - ล่าง ๖)ข้อพระบาท ๗)ฐานบัว ถ้าเหมือนกันหรือคล้ายกันพิจารณาได้ว่าเป็นช่างกลุ่มเดียวกัน(สกุลช่าง) พิมพ์ของกรุที่นิยมจะคล้ายๆกัน ลักษณะเหล่านี้ดูจากรูปภาพพระแท้ได้ ถ้าพบรูปภาพพระแท้ที่ใดก็ตามควรฝึกสังเกตดูโดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างของแต่ละส่วนในพระแต่ละกรุแม้จะเล็กๆน้อยๆ ความสำเร็จเกิดจากการดูมาก-ถึงจะเป็นรูปภาพและเอาใจใส่ในรายละเอียด) พระสมเด็จฯ (รูปพระพิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์เดียวกันมีอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็ง หน้า ๑๗๓ เล่มเล็กปกอ่อน หน้า ๑๘๗) Pra kamphaeng sumkor pim glang. Pra somdej wat rakang pim songjedi (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim oknoonlek. -------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ --- แม่พิมพ์พระสมเด็จฯไม่ใช่หินแกะ --- ช่างทองไม่ได้ใช้วิธีแกะหินเพื่อใช้ทำแม่พิมพ์หรือเบ้าสำหรับหล่อทองคำ การแกะหินไม่ใช่งานในอาชีพของช่างทอง ช่างทองไม่ได้ฝึก ไม่มีความสามารถและความชำนาญที่จะแกะหินได้อย่างสวยงาม ช่างทองทำแม่พิมพ์หรือเบ้าสำหรับหล่อทองด้วยปูนทนไฟ ซึ่งได้งานที่ละเอียด ประณีต ทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า โดยการแกะหุ่นเหมือนจริง (positive) แล้วใช้ปูนทนไฟเททับ คล้ายการถอดพิมพ์ด้วยซิลิโคน ด้วยข้อเท็จจริงเหล่านี้จึงสันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์ของพระสมเด็จฯที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย(ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ ๔)ทำถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไม่ได้ทำด้วยหินแกะ พระสมเด็จฯแท้มีรูปทรงและลักษณะของส่วนต่างๆในพิมพ์ที่สวยงาม มีความละเอียดประณีตซึ่งเกิดจากฝีมือการออกแบบและแกะ พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวในทางศิลปของผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ย่อมไม่ได้ทำด้วยหิน(ไม่ว่าจะเป็นหินชนิดใด) การขูดและเซาะหินจะไม่ได้ความสวยงาม ละเอียดประณีตอย่างที่หวัง เอกลักษณ์ทางศิลปของผู้ออกแบบและแกะในบางจุดอาจไม่ตรง(เพี้ยน) ไม่ชัด รางเลือน จุดเล็กๆไม่ปรากฏ ยิ่งพระมีขนาดเล็ก(เมื่อเปรียบเทียบกับพระพุทธรูป)มากจึงพิจารณาได้ยากและไม่ถูกต้อง ----- ผลที่ได้จากแม่พิมพ์คือองค์พระสมเด็จฯนั้นเกิดจากองค์ประกอบทั้งหมดของแม่พิมพ์คือ (๑)การออกแบบ (๒)การแกะ (๓)วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ - ความยากง่ายในการทำแม่พิมพ์ ทำได้ดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วัสดุด้วย วัสดุที่ต่างกันให้ผล(คือองค์พระ)ต่างกัน เช่นใช้หิน ซิลิโคน ไม้ เหล็ก(เช่นทำเป็นถาดหลุมแบบถาดทำขนมครก) ถ้าเข้าใจข้อจำกัดบางอย่าง(เช่นแข็งมาก)ของวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์จะเพิ่มความรู้ความเข้าใจสำหรับใช้ในเวลาพิจารณาเรื่องพิมพ์ โดยเฉพาะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด(หรือทำให้ไม่เกิด)ความละเอียด ประณีต สวยงาม ---- แม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมที่ใช้ในระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ นั้นไม่มีใครเคยพบเห็นแม้แต่ชิ้นเดียว เรื่องวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์มีนัยสำคัญว่า เมื่อไม่ทราบว่าแม่พิมพ์ทำด้วยอะไร จึงเลือกใช้วัสดุเพื่อทำแม่พิมพ์(ที่จะใช้ทำพระปลอม)ไม่ตรงกับของเดิมและใช้ทำพระได้ไม่เหมือนของแท้(นี่คือสาเหตุหนึ่ง) เป็นปัญหาหรือสิ่งกีดขวางที่ข้ามไม่ได้ เรื่องต่างๆของวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์นี้ซ่อนเงื่อนและมีแง่มุมรายละเอียดกว่าความรู้ความเข้าใจที่มีมา ---- (เรื่องนี้ได้รับทราบอย่างแน่ชัดจากนิตยสารพระเครื่อง ในสมัยการสร้างและเปิดให้เช่าบูชา - พระสมเด็จวัดระฆังฯรุ่น ๑๐๘ ปีสร้างจากแม่พิมพ์ที่ทำด้วยหินแกะ มีข่าวออกมา(จากช่างแกะของวัดฯ)ว่า แกะยาก และได้ไม่สวยอย่างที่ตั้งใจ - ได้เช่าบูชาพระรุ่นนี้ ๑ องค์ ๑๐๐ บาททางไปรษณีย์ เหตุผลหนึ่งที่เช่าเพราะมีการประชาสัมพันธ์ว่าสร้างจากแม่พิมพ์ที่เป็นหินแกะ ทางวัดระฆังฯได้ส่งมายังพิษณุโลกโดยตรง ชื่อผู้ส่งเป็นชื่อของพระในวัดฯ ไม่มีศูนย์พระเครื่องใดเกี่ยวข้อง เมื่อดูองค์พระที่ได้รับแล้ว การแกะพิมพ์ค่อนข้างตื้น ความคม-ชัดไม่มากโดยเฉพาะส่วนที่เป็นเหลี่ยม ความนูนสวยของเส้นซุ้ม ความโค้งมนของพระพักตร์) ------------------------------------------------------------------------------------------------ เรื่องเหนือธรรมชาติ supernatural --- ด้วยความคาราวะท่านผู้ล่วงลับ --- ได้รับฟังเรื่องนี้ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๕๒ จากพระภิกษุรูปหนึ่งที่อยุธยาซึ่งสามารถติดต่อกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ (ท่านอยู่ในโลกอีกมิติหนึ่ง) ว่า อดีตชาติของคุณสรพงษ์ ชาตรีเป็นพระภิกษุที่เป็นศิษย์เอกหรือศิษย์ใกล้ชิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และได้ช่วยสร้างพระสมเด็จฯในครั้งกระโน้น ได้รับฟังด้วยว่าในเวลานั้น (พ.ศ.๒๕๕๒) คุณสรพงษ์ได้ไปสร้างวัดที่โคราช พระภิกษุที่อยุธยาท่านนี้อดีตชาติเป็นศิษย์เหมือนกันแต่ไม่ใกล้ชิดเท่า ทั้งสองท่านเป็นคนอยุธยาแต่ไม่เคยพบและรู้จักกัน

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา