ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19979789

พระนางพญาวัดนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

แสดงภาพทั้งหมด

จากหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย พิมพ์สังฆาฏิ - พระเกศสั้นจิ่มเบนไปทางขวามือเราเล็กน้อย (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - ใช้คัดในเบื้องต้นได้มาก) ส่วนโค้งของไรพระศกกับพระกรรณตรงข้างแก้มแตะกันทำให้แลดูคล้ายปลายไรพระศกแตกปลาย พระเนตรเชิดเฉียง พระนาสิกใหญ่ปลายบาน พระซุ้มกอกรุนี้เส้นซุ้มด้านขวาองค์พระใหญ่กว่าด้านซ้าย พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้พระพักตร์เป็นแบบผลมะตูม พระชานุ (หัวเข่า) สองข้างใหญ่ ร่องระหว่างพระเพลา (ตัก) กับฐานชั้นบนตื้น หัวฐานชั้นล่างซ้ายใหญ่กว่าด้านขวา เห็นกรอบกระจกทั้งสี่ด้าน รูปที่ ๗ ผิวเดิมค่อนข้างเรียบ สีเข้มออกเหลือง ส่วนที่ผิวผุเปื่อยหลุดออกสีซีด ขรุขระ ไม่เรียบ รูปที่ ๘ ผิวเดิมที่คงอยู่ ติดเส้นซุ้มด้านใน (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๑๓๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๔๙) Pra nangphya wat nangphya pim sangkati. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra kamphaeng sumkor pim glang. - - - Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ -- "สิ่งที่ทำเลียนแบบไม่ได้" -- มีสองอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมได้แก่ พิมพ์และปูน (ใหญ่เต็มองค์พระ) ปูนหมายถึงส่วนผสมที่มีปูนเป็นหลักและแห้งแล้วร้อยกว่าปี (เฉพาะปูนไม่รวมมวลสาร) 'เอกลักษณ์'หมายถึงว่าเป็นลักษณะเฉพาะตัว ไม่มีใครสามารถทำเลียนแบบได้เหมือน และควรต้องศึกษาเพื่อใช้พิจารณาชี้ชัด --- การออกแบบและแกะแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยนั้นไม่เคยมีประวัติว่ามีใครทำเลียนแบบได้เหมือนอย่างแท้จริง กอปรทั้งเมื่อพิเคราะห์ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้ ๑)พระสมเด็จฯองค์ที่มีชื่อเสียง องค์ดาราและองค์ครูที่ปรากฏภาพในหนังสือและนิตยสารนั้นส่วนมากเป็นเป็นพระที่มีการลงรักมาก่อน เมื่อรักหลุดออกไปเนื้อปูนบางส่วนหลุดติดกับรักออกไปด้วย ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะส่วนเล็ก ๆ เช่นพระกรรณ ส่วนที่เป็นเหลี่ยมและมุม จะผิดรูปไปบ้าง รวมทั้งการหดตัวของแต่ละส่วน ทำให้ผู้แกะแม่พิมพ์เลียนแบบไม่รู้แน่ชัดว่า ขนาดและลักษณะของแต่ละส่วนในแม่พิมพ์จริง(เดิม)เป็นอย่างไร ๒)มีผู้เขียนบทความในนิตยสารพระว่า การแกะแม่พิมพ์ (รวมทั้งการออกแบบ) ของหลวงวิจารณ์เจียรนัยนั้นคงคำนึงถึงการถอดพระออกจากแม่พิมพ์ด้วย โดยแกะให้ถอดจากแม่พิมพ์(ยกพิมพ์)ง่าย แต่ละส่วนไม่ครูดกับแม่พิมพ์และเสียรูป เป็นความชำนาญเฉพาะของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งเมื่อถอดพระออกจากแม่พิมพ์และแห้งหดตัวแล้วได้พระที่สวยงาม ส่วนที่โค้ง มน เหลี่ยมและมุมดี ๓)การแกะแม่พิมพ์เลียนแบบและการทำแม่พิมพ์โดยการถอดพิมพ์นั้นต้องคำนึงถึงว่า เมื่อเนื้อปูนแห้งหดตัวแล้วจะต้องมีขนาดใกล้เคียงกับพระแท้ ทั้งนี้โดยการแกะแม่พิมพ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะกะขนาดที่จะแกะได้ถูกต้อง เพราะผู้ทำแม่พิมพ์เลียนแบบไม่รู้ขนาดของแม่พิมพ์จริง(ไม่มีโอกาสได้เห็น) ไม่รู้ขนาดที่แน่ชัดของแต่ละส่วน ไม่รู้ส่วนผสมและสูตรผสมปูนของพระแท้ซึ่งเมื่อแห้งแล้วมีขนาดตามที่เห็นในปัจจุบัน ----- การแห้งหดตัวของปูนเป็นปัญหาในการทำแม่พิมพ์เลียนแบบและการผสมปูน ----- พระสมเด็จฯแท้เป็นผลลัพธ์สุดท้ายจากองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ แม่พิมพ์จริง (เดิม) ที่ใหญ่กว่าองค์พระในปัจจุบัน สูตรผสมปูนของวัดฯ น้ำและของเหลวต่าง ๆ การแกะแม่พิมพ์ที่สวยงามและคำนึงถึงการถอดพิมพ์ที่ง่ายด้วย เมื่อเนื้อปูนแห้งหดตัวเต็มที่แล้วมีความงดงามสะดุดตา ที่สังเกตได้ชัดคือมิติในด้านความลึก ------------- พระสมเด็จ รูปภาพและคำอธิบายที่แสดง คือตัวตนของผู้แสดง (ทัศนะ ค่านิยม แนวทาง การเรียนรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญ และ ความเที่ยง accuracy)

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา