ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ21714801

พระสมเด็จ วัดระฆัง (พ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕) ๕ องค์

แสดงภาพทั้งหมด

รูปพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ"เบญจภาคี" เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๕๕ ๕๗ ๗๙ ๑๐๗ ๙๗ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๖๙ ๗๑ ๙๓ ๑๒๑ ๑๑๑ ตามลำดับ ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ----- "พระสมเด็จชนิดที่จัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคี" ----- ในปีพ.ศ.๒๔๙๗ ตรียัมปวายได้จัดให้มีพระเครื่องชุดเบญจภาคี พระสมเด็จที่ถูกจัดให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคีมี ๒ ชนิดคือ (๑)พระสมเด็จวัดระฆัง สร้างในระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ (๒)พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส สร้างในพ.ศ.๒๔๑๓ ต่อมาอีกหลายปีนักนิยมพระเครื่องในกรุงเทพฯได้จัดเพิ่มอีกหนึ่งชนิดคือพระสมเด็จเกศไชโย ---- พระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหมนี้มีองค์ประกอบสำคัญคือ ก)พระสมเด็จวัดระฆังสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เจ้าอาวสในเวลานั้น ข)เสมียนตราด้วงเป็นผู้อาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ไปเป็นประธานจัดสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พ.ศ.๒๔๑๓ ค)หลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็นผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์ให้ทั้งสองวัด (ไม่มีประวัติว่าหลวงวิจารณ์เจียรนัยทำแม่พิมพ์ให้ใครหรือวัดอื่นใดอีก) ---- เมื่อหลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็นผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์ สิ่งที่จะบ่งชี้ได้แน่ชัดที่สุดว่าเป็นพระสมเด็จที่ถูกจัดให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคีคือ รูปร่างลักษณะที่เกิดจากแม่พิมพ์ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็นผู้ทำ และมีศิลปเฉพาะตัวของหลวงวิจารณ์เจียรนัยกำกับอยู่ด้วย ในหนังสือพระสมเด็จฯเขียนถึงแต่พิมพ์ทรงและแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ---------- ตรียัมปวายเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของศิลป ในหนังสือพระสมเด็จฯมีบทหนึ่งที่เขียนเรื่องศิลปโบราณคดีของพระเครื่อง จำนวน ๓๗ หน้า และมีข้อความเกี่ยวกับศิลปและความงามแทรกอยู่ทั่วไปในหนังสือ เช่น ๑)ในคำบรรยายลักษณะพิมพ์ของพิมพ์ทรงพระประธาน (พิมพ์ใหญ่) -- พระพักตร์แบบผลมะตูมเป็นแบบที่งดงามและเด่นชัดที่สุด ลำพระองค์แบบผายเป็นแบบที่งดงามที่สุด ฐานชั้นกลางหรือฐานสิงห์เป็นชั้นที่งดงามที่สุด ๒)ในคำบรรยายลักษณะพิมพ์ของพิมพ์ทรงเจดีย์ -- พระอาสนะ (ฐาน) ที่งดงามที่สุด (งามกว่าของพิมพ์ทรงอื่น) พระเกศแบบปลี สัณฐานเขื่องและได้ลักษณะเป็นจอมกระหม่อมพระเมาฬี จัดเป็นพระเกศที่งดงามที่สุดของพระสมเด็จ ----------- ก่อนที่จะมีการเปิดกรุบางขุนพรหมอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.๒๕๐๐ นั้น มีพระสมเด็จวัดระฆังแพร่หลายและมีขายอยู่ก่อนแล้ว และยังมีพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ได้จากการตกพระสมเด็จ และที่ได้จากการลักลอบเจาะพระเจดีย์วางขายด้วย พระสมเด็จที่ได้จากการเปิดกรุพ.ศ.๒๕๐๐มีพิมพ์ทรง รูปร่างลักษณะ และเนื้อเหมือนกับที่มีวางขายอยู่ภายนอก และยังเหมือนพระสมเด็จวัดระฆังด้วย แต่ของวัดระฆังทำประณีตสวยงามกว่า ของบางขุนพรหมส่วนมากจะแก่ปูนและแกร่งกว่าของวัดระฆัง ส่วนน้อยจะเหมือนของวัดระฆัง นี่เป็นหลักฐานที่สำคัญมากและแน่ชัดในเรื่องพิมพ์และเนื้อของทั้งสองวัด มีคนเกิดทันและได้เห็นเหตุการณ์ในพ.ศ.๒๕๐๐ และได้นำไปเขียนในหนังสือและนิตยสารพระเครื่องต่างๆ ผู้ที่เขียนได้ละเอียดที่สุดคือตรียัมปวาย --------- นอกจากนี้ในหนังสือพระสมเด็จฯที่ตรียัมปวายเขียนในพ.ศ.๒๔๙๕ (ก่อนการเปิดกรุบางขุนพรหม ๕ ปี) ซึ่งได้เขียนคำบรรยายลักษณะพิมพ์และเนื้อของวัดทั้งสองไว้ ปรากฏว่าตรงกันกับพิมพ์และเนื้อของพระที่ได้จากการเปิดกรุพ.ศ.๒๕๐๐ (คำบรรยายในหนังสือฯนั้นเรื่องพิมพ์ใช้ได้กับทั้งสองวัด คำบรรยายเรื่องเนื้อใช้ได้กับทั้งสองวัดเช่นกัน ไม่ได้เขียนบรรยายแยกเป็นของแต่ละวัด ***เป็นการเขียนก่อนหน้าที่ไม่ผิดพลาด*** ถ้ามีความผิดพลาดคือพระที่ได้จากการเปิดกรุไม่ตรงกับที่ได้เขียนไว้ หมายความว่าหนังสือพระสมเด็จฯจะใช้ไม่ได้เลย ต้องโละทิ้ง) ----------- สมัยนั้นทองบาทละ ๔๐๐ น้ำมันเบนซินลิตรละ ๒ บาท น้ำมันดีเซลลิตรละ ๙๙ สตางค์ ราคาพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ทางวัดใหม่อมตรสเปิดให้บูชา พิมพ์ใหญ่องค์ละ ๓,๐๐๐ บาท เงินจำนวนนี้ซื้อทองได้ ๗ บาท หรือซื้อน้ำมันดีเซลได้ ๓,๐๐๐ ลิตร ราคานี้ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเช่าบูชาได้ ไม่ต้องมีใครปั่นราคา แพงตั้งแต่ต้นแล้ว ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ Maxim Gorgy --- ความงดงามของศิลป ไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือสัจธรรม สัจธรรมฉะนั้นแหละ เป็นแหล่งกำเนิดความหมดจดงดงามของศิลป ----- (นำมาจากหนังสือพระสมเด็จฯหน้า ๕๖๓) ----- แม็กซิม กอร์กี้ นักเขียนผู้มีชื่อเสียงระดับโลกชาวรัสเซีย (ค.ศ.1868 - 1936) ภายหลังจากเสียชีวิต เขาก็ได้รับสถาปนาเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของวรรณกรรมโซเวียต

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา