ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19717851

พระผงสุพรรณ วัดมหาธาตุ พิมพ์หน้าแก่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระผงสุพรรณ ขอบข้างทุกด้านมีรอยฝนแต่งด้วยตะไบ สันนิษฐานว่าเพื่อให้มีรูปสัณฐานเหมาะแก่การเลี่ยม (จากหนังสือพระผงสุพรรณ ของอาจารย์มนัส โอภากุล พ.ศ.๒๕๓๑ - ๑.พิมพ์หน้าแก่ หัวพระเนตรต่ำ หางพระเนตรสูง ๒.พิมพ์หน้าแก่ - หน้ากลาง ปลายพระบาทขวาติดกับหัวเข่าซ้ายไม่ได้เป็นอันขาด แต่พิมพ์หน้าหนุ่มติดกันได้) พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่กรุนิยม - ซอกแขนลึก พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้ลำพระองค์อวบล่ำ พระพาหา (แขน) ใหญ่ หว่างพระพาหา (ซอกแขน) แคบ ผิวผุเปื่อยหลุดออกเป็นส่วนใหญ่ ผิวที่เหลืออยู่เห็นเป็นสีขาว ๆ ค่อนข้างเรียบ อยู่บนส่วนที่เป็นสันหรือนูนโค้ง เช่น บนพระพักตร์ พระอุระ พระเพลา (ตัก) ฐานชั้นล่าง (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกัน อยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๑๒๗ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๔๑) Pra pongsuphan wat mahathat pim narkae. Pra kamphaeng sumkor pim yai. Pra somdej wat rakang pim yai. Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. Pra rod wat mahawan pim yai. Pra -Buddha image, wat - temple, pim - mold, yai - big or large. ------ Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระเบญจภาคี -- การเปลี่ยนสภาพและหมดสิ้นไปของผิวแสดงถึงความเก่า - ถ้าสังเกตวัตถุสิ่งของทั่วไป เช่น บ้าน รถยนตร์ เสื้อผ้า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ จะเห็นลักษณะที่แสดงว่าเก่า ซึ่งสังเกตได้โดยง่ายด้วยตา ได้แก่ ๑.สีซีดลง ๒.ผิวที่เคยมันจะด้าน ๓.มีการสึก กร่อน ผุ เปื่อยของผิว ผิวที่เรียบจะสาก ขรุขระขึ้น ๔.เมื่อผิวหลุดออกไปแล้ว เนื้อซึ่งเดิมอยู่ใต้ผิวจะสึก ผุ กร่อน เปื่อยไปเรื่อย ๆ ทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติของความเก่า คือเก่าตามธรรมชาติ การสังเกตดูสภาพของผิวและเนื้อซึ่งเกิดจากการแปรเปลี่ยนตามธรรมชาติและผ่านกาลเวลายาวนาน เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลในการพิจารณาความเก่าของพระ ซึ่งเหมือนกันกับความเก่าของวัตถุสิ่งของที่เห็นอยู่รอบตัว ----- (จากหนังสือพระสมเด็จฯของตรียัมปวาย) ส่วนแสดงความเก่า ผิวเป็น"เครื่องบ่งชี้ความเท็จจริง" หรือ "ความเก่าใหม่"ของเนื้อ รายการศึกษาพิจารณาทางเนื้อใน "สารทฤษฎี" ทั้งหมด ย่อมกล่าวถึงลักษณะของ"เนื้อภายนอก"และ"ผิว"ทั้งสิ้น "ความเก่าใหม่"หรือ"ความเท็จจริงของพระ"นั้น "ย่อมอยู่ที่ผิวเนื้อภายนอก" ผิวที่ได้รับการห่อหุ้มอยู่ในอากาศเป็นเวลา ๑๐๐ ปีเศษ ตลอดจนผ่านการสัมผัสนานาประการจากสิ่งแวดล้อม เช่น การกินตัวกับอากาศหรืออ๊อกซิเดชั่น (oxidation) การดูดซึมทางอุตุและความชื้น การสัมผัสจับต้องและการใช้ และ การอยู่ในกรุเป็นเวลานานปี ฯลฯ เหล่านี้ ผิวเนื้อย่อมบันทึกผัสสะทั้งหลายเหล่านี้ไว้ตามกาลเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา ซึ่งปฏิกิริยาเหล่านี้ไม่มีผลต่อเนื้อภายในเลย ดังนั้น ถ้าเอาเนื้อพระสมเด็จฯมาหักดูเนื้อภายใน ก็จะไม่ทำให้เกิดความรู้ในด้านนี้คืบหน้าไปได้เลยแม้แต่น้อย เนื้อภายในส่วนมากของพระสมเด็จฯจะมีลักษณะขาว ๆ ไม่ต่างอันใดกับของปลอมบางชนิดเท่าใดนัก ยิ่งเป็นเนื้อบางขุนพรหมรุ่นเปิดกรุปี ๒๕๐๐ ด้วยแล้ว บางองค์เนื้อภายในขาวคล้ายเนื้อปล๊าสเตอร์มาก ซึ่งเป็นเนื้อของจริงทั้งนั้น ------ (จากหนังสือพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔) กร่อน - หมดสิ้นไปทีละน้อย, ร่อยหรอ, สึกหรอ. --- ข้อสังเกต - การกร่อนแสดงถึงความเก่าได้ดีมาก การกร่อนหรือหมดสิ้นไปทีละน้อยย่อมเกิดจากธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานโดยเฉพาะเนื้อพระที่มีความแข็ง และผิวแข็ง

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา