ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19171207

พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา

แสดงภาพทั้งหมด

จากหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย พิมพ์เข่าโค้ง - พระปรัศว์หรือสีข้าง(ซ้าย)จะเห็นเส้นกันขอบ จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย - สีของรักเก่ามี ๒ อย่างได้แก่ สีดำแกมเลือดหมู และสีดำแกมน้ำตาลไหม้ --- พระสมเด็จ ฯ แม่พิมพ์นี้พระพักตร์ใหญ่ ฐานชั้นล่างใหญ่ ( พระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกัน - ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๙ ) Pra rod wat mahawan pim yai. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. (Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ๑.เรื่องที่หน่วง ทำให้ไม่ก้าวหน้าในการศึกษาพระสมเด็จฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่กว่าจะรู้ว่าเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อเวลาปฏิบัติจริงในการศึกษาและพิจารณาพระ คือ การแบ่งจำนวนแม่พิมพ์ ยกตัวอย่างเช่น มีการแบ่งพระสมเด็จ ฯ พิมพ์ใหญ่เป็นสี่ ห้าหรือเจ็ดแม่พิมพ์ (ทำบางกลุ่มบางฝ่าย) มานับสิบๆปี จนถึงปัจจุบัน ถ้าดูหนังสือและตำราที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมจะพบว่า พระสมเด็จ ฯ พิมพ์ใหญ่มีมากกว่า ๗ แม่พิมพ์แน่นอน ในหนังสือเบญจภาคีมีถึง ๕๐ แม่พิมพ์ (หนึ่งรูปคือหนึ่งแม่พิมพ์) เมื่อบอกว่ามี ๔ - ๗ แม่พิมพ์ทำให้งุนงง พิศวง ไม่รู้จะเลือกเอาพระองค์ใดเป็นหลักยึดถือ ในหนังสือ ตำราและนิตยสารพระก็ไม่มีเขียนบอกว่า พระสมเด็จ ฯ พิมพ์ใหญ่ที่นำลงแสดงนั้นเป็นแม่พิมพ์อะไร ถ้าเป็นหนังสือที่มีรูปภาพนับสิบหรือหลายสิบรูปจะฉงน งงงวยไม่สามารถที่จะแยกอย่างมั่นใจได้ว่า รูปใดเป็นแม่พิมพ์ที่เท่าไร หรือแม้แต่พบในนิตยสารพระเพียงองค์เดียว ก็บอกไม่ได้ว่าเป็นแม่พิมพ์ใด ทำให้ชะงักในการศึกษา เดินหน้าไม่ถูก ไม่มีจุดสังเกตหลายจุดที่จะทำให้จำหรือแยกแต่ละแม่พิมพ์ได้ -- วิธีปฏิบัติประการหนึ่งที่ได้ผลดี มีความก้าวหน้าในการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ คือการศึกษาเป็นแม่พิมพ์ ๆ โดยเริ่มศึกษาพระองค์ที่มีชื่อเสียง คนทั่วไปรู้จักก่อน เช่น องค์ลุงพุฒ องค์ขุนศรี องค์ครูเอื้อ องค์คุณอุดม องค์เสี่ยหน่ำ องค์น้ำหมาก องค์เกศสะบัด องค์หลังใบโพธิ์ องค์เพชรบุรี องค์กรอบกระจก องค์แตกลายงา องค์คุณนิยม องค์กวนอู องค์โรงเหล็ก องค์เล่าปี่ องค์เปาบุ้นจิ้น องค์คุณบุญส่ง ฯลฯ พระสมเด็จ ฯ พิมพ์ใหญ่ที่ยกเป็นตัวอย่างนี้ล้วนเป็นพระคนละแม่พิมพ์ทั้งสิ้น เรื่องที่มีความหมายและมีความสำคัญมากคือ ถึงแม้ว่าจะเป็นคนละแม่พิมพ์แต่ก็มี "ลักษณะร่วม" ที่คล้ายกันหรือเหมือนกันหลาย ๆ อย่าง ซึ่งแสดงให้รู้ว่า เป็นศิลปการออกแบบและแกะแม่พิมพ์ของช่างคนเดียวกัน คือหลวงวิจารณ์เจียรนัย การศึกษาทีละแม่พิมพ์จะทำให้จำได้ง่าย วิธีศึกษาที่จะทำได้ เช่น ดูรูปภาพบ่อย ๆ ดูแล้วดูอีก (สักวันหนึ่งจิตใต้สำนึกจะทำให้จิตสำนึกจำได้) การดูโครงสร้างและสัดส่วน ที่เป็นประโยชน์มากคือการเปรียบเทียบกันระหว่างแต่ละแม่พิมพ์ การสังเกตขนาดหรือองศาของมุมกับการเอียงและลาดของส่วนต่างๆ(เรื่องนี้สำคัญถึงแพ้ชนะ) เป็นต้น ความละเอียด(ยิบ)ในการสังเกตดูจะทำให้มีความสำเร็จในการดูพิมพ์เร็วขึ้น และความไม่ละเอียดย่อมทำให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม ๒.สิ่งหนึ่งที่ช่วยทำให้รุดหน้าในการศึกษา ก้าวข้ามสารพัดปัญหา คือ "รูปภาพพระแท้" เป็นเวลาสิบปีหรือร้อยปี ดูร้อยครั้งพันครั้ง คนดูหมื่นคนก็ให้คำตอบเดียวกัน ในหนังสือตำราสอนการถ่ายรูปเขียนว่า เลนส์ของกล้องถ่ายรูปไม่บิดเบือนและลวงตา บอก(แสดง)จริงทุกอย่างที่ผ่านเลนส์ ไม่ตกหล่นแม้จะเป็นจุดเล็กที่สุด )

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา