ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20407550

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าตรง มือตกเข่า พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง มือตกเข่า พบเห็นน้อยมาก เส้นจีวรเฉียงลงเกือบตรง ไม่โค้ง ปลายพระกรรณด้านบนถูกตัดเล็กน้อย พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้พิมพ์ทรงขนาดใหญ่ วงแขนใหญ่ เส้นฐานซุ้มเล็ก ตัดขอบชิดเส้นซุ้ม (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ"เบญจภาคี" (benjaphakee) เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๘๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๐๓) พระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ปรกโพธิ์ พระพักตร์ที่โค้งมนสวยงามแสดงถึงฝีมือการแกะ ลงรักชนิดหนึ่ง รักหมดอายุร่วนหลุดออกมากแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่เห็นเป็นสีเลือดหมูที่ซีดมาก "ปูน"เหมือนกับของพิมพ์ทรงอื่นๆ Pra nangphya wat nangphya pim kaotrong right hand over knee. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra kamphaeng leela medkhanun. Pra somdej wat rakang pim prokpho. ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ (จากหนังสือ"พระสมเด็จฯ" ของตรียัมปวาย) - พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมพิมพ์ปรกโพธิ์ : (ก)พื้นฐานทางพิมพ์ทรง เป็นพิมพ์ทรงที่มีปรากฏน้อยที่สุด และมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งแปลกไปจากพิมพ์ทรงใดๆ คือ การบรรจุดอกดวงของช่อโพธิ์ลงในส่วนยอดของผนังคูหา ประมาณ ๒๐ ช่อ เป็นการเน้นความหมายของ "ปางตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ" แห่งพระบรมศาสดา ณ ร่มควงไม้โพธิ์ใบริมฝั่งน้ำเนรัญชรา (ข)การจำแนกแบบพิมพ์ - ๑)แบบพิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซมเป็นแบบลักษณะที่ได้เค้ามาจากพิมพ์ทรงฐานแซม ผสมด้วยบางลักษณะของพิมพ์ทรงฐานคู่ ลักษณะสำคัญของแบบนี้คือ เป็นปางสมาธิขัดเพชร และปรกโพธิ์เป็นลักษณะโพธิ์เมล็ด เป็นตุ่มย่อมๆ นูนสูง โพธิ์ก้านเป็นแขนงเล็กๆของเส้นขีดทิว ๒)แบบพิมพ์ปรกโพธิ์สังฆาฏิ เป็นแบบพิมพ์ที่ได้รับเค้าผสมจากพิมพ์ทรงเกศบัวตูมกับพิมพ์ทรงสังฆาฏิ หรือพิมพ์ทรงเจดีย์กับพิมพ์ทรงสังฆาฏิ ลักษณะสำคัญคือเป็นปางสมาธิขัดราบ และปรกโพธิ์มีลักษณะเป็นโพธิ์ใบสวยงาม --- พุทธลักษณะที่จะสังเกตได้ง่ายของแบบพิมพ์นี้ได้แก่ ๒.๑พระกรรณ - เค้าแบบพิมพ์ทรงเกศบัวตูม ๒.๒แขนวง ๒.๓ลำพระพาหา (ลำแขน) คมชัด ๒.๔พระอาสนะ (ฐาน) สงเคราะห์เข้าลักษณะพิมพ์ทรงเจดีย์ แนวหัวฐานทั้งสามรักษาทรงกรวย ความนูนหนาและการวาดเว้าของแนวสันอกไก่และกาบเท้าสิงค์ ทำนองเดียวกัน แต่ส่วนนูนหนาและการเน้นลักษณะต่างๆมีน้อยกว่า ๒.๕ซุ้มประภามณฑล เป็นแบบหวายผ่างดงามมาก ลีลาของซุ้มฯเรียบร้อยมาก จนดูซื่อๆ การโน้มสอบของด้านข้างทั้งสองมีน้อย ๒.๖ทรงกรอบ ค่อนข้างป้อมๆ คล้ายพิมพ์ทรงเกศบัวตูม การตัดกรอบขนาน ๒.๗ชายกรอบ เหลือบริเวณได้ค่อนข้างมากทั้งสามด้าน เพราะการตัดกรอบค่อนข้างห่างแนวเส้นซุ้ม และการตัดกรอบแบบขนาน ทำให้มีลักษณะบานเบื้องบนเล็กน้อย ----- (หมายเหตุเพิ่มเติม (๑)นอกจากข้อเขียนแล้วในหนังสือ"พระสมเด็จฯ"มีรูปภาพขาวดำเพียง ๖ รูป และไม่มีข้อมูลรายละเอียดของพิมพ์ทรงนี้ในสื่อใดๆ (๒)ลักษณะที่ควรจำ ก.ใบโพธิ์มี ๒๐ ใบ ข.ถ้าเป็นแบบปางสมาธิขัดเพชร ใบโพธิ์เป็นเมล็ด ค.ถ้าเป็นปางสมาธิขัดราบ ใบโพธิ์เป็นเหมือนใบไม้จริง (โพธิ์ใบ) (๓)การวาดโค้งของเส้นซุ้ม สัดส่วนขององค์พระและฐานคล้ายของพิมพ์ทรงอื่นบางพิมพ์ทรง เช่นพิมพ์ทรงเจดีย์ ดูไม่แปลกตา (๔)ซุ้มสูงขึ้นจากพระเศียรมากเพราะต้องใส่ใบโพธิ์หลายใบ - ข้างละสิบ ) ----------------------------------------------- ข้อสังเกตเรื่องมาตรฐาน ๑.การมีหรือการได้มาตรฐานไม่ได้มีความหมายหรือแสดงให้รู้ว่าเป็นสินค้าของแท้ แต่คือสิ่งที่บอกว่า เป็นสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพตรงตามข้อกำหนดและค่าวัดต่างๆของมาตรฐานตัวที่ได้นั้น โรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ISO ไม่ได้หมายความว่าเป็นโรงพยาบาลแท้ (ไม่เถื่อน) ๒.ข้อกำหนดและค่าวัดต่างๆในมาตรฐานต้องมีการกำหนดล่วงหน้าก่อนที่จะมีการผลิต เพื่อให้ใช้เป็นเกณฑ์เมื่อทำการผลิตสินค้าและบริการในขั้นตอนต่างๆ และได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ ๓.มาตรฐานต้องมีการเขียน การพิมพ์เผยแพร่ผู้เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องเปิดเผย เช่น ISO มอก. ไม่ได้เป็นความลับของใครหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ถ้าเป็นแต่คำพูดไม่ใช่เรื่องที่จะใช้ได้อย่างจริงจัง ต่างคนต่างพูด การพิมพ์เผยแพร่เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในเรื่องมาตรฐาน มาตรฐานไม่ใช่สิ่งที่คิดค้นทำขึ้นมาเพื่อเก็บในตู้หรือลิ้นชัก ๔.ในเรื่องมาตรฐานต้องมีการตรวจสอบด้วยการวัด มีสิ่งหรือตัวชี้วัดทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ว่าตรงหรือไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ ๕.เราไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ว่า สินค้าได้มาตรฐานถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ (คนทั่วไปไม่รู้ด้วยซ้ำว่า มาตรฐานมีว่าอย่างไร) แต่สามารถดูด้วยตาว่า เป็นสินค้าของแท้หรือของเทียม โดยไม่จำเป็นต้องดูเรื่องความเก่าความใหม่หรือใช้การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ๖.มาตรฐานและความเป็นสินค้าของแท้เกี่ยวโยงกันในเรื่องคุณภาพแต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน สินค้าบางอย่างมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน เช่น ยางรถยนต์ราคาแพง น้ำมันเครื่องเกรดสูง ๗.ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เคยมีการสร้างมาตรฐาน (ข้อกำหนดและค่าวัดต่างๆ) ก่อนการทำพระเครื่อง ไม่มีข้อเขียนใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ ๘.เมื่อไม่มีการกำหนดมาตรฐานก่อนการสร้าง ค่าหรือลักษณะใดๆที่พบย่อมไม่ใช่มาตรฐานของพระเครื่องนั้นๆ แต่เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของส่วนประกอบบางอย่างซึ่งไม่จำเป็นต้องมีในพระแท้ทุกองค์ และอาจพบในพระปลอมด้วย ๙.พระภิกษุของวัดระฆังฯและวัดอื่นๆเมื่อ ๑๕๐ ปีก่อน ไม่มีความรู้ ความเข้าใจและความสามาถที่จะสร้างและกำหนดมาตรฐานในการทำหรือผลิตสิ่งของ เพราะไม่ใช่วัตรปฏิบัติของพระ แม้ในปัจจุบัน(ยุค4G)พระก็ไม่รู้ ๑๐.ในโลกนี้มีสินค้า บริการ วัตถุสิ่งของต่างๆมากมายที่ไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐาน เช่น เฟอร์นิเจอร์ บริการซักรีด ฯลฯ ตั้งแต่โบราณมาไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาตรฐานของพระเครื่อง --------------------------------------------------------------------------------------------- เรื่องที่ต้องแยกศึกษาและแสวงหา (คนละเส้นทาง กินเวลาเดินทางต่างกัน) ---- พระสมเด็จมีเพียง ๒ อย่างและมีค่านิยมสองขั้วคือ พระสมเด็จที่เป็นพระเบญจภาคี กับพระสมเด็จที่ไม่ใช่พระเบญจภาคี พระสมเด็จที่เป็นพระเบญจภาคีหรือพระสมเด็จแท้หมายถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมที่ตรียัมปวายจัดให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคี เป็น"พระที่สร้างในระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕" มี ๙ พิมพ์ทรง ตรียัมปวายเรียกว่า "พิมพ์ทรงวิจารณ์เจียรนัย" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบ ข้อมูลรายละเอียดของพระสมเด็จฯแท้นี้มีอยู่ในหนังสือ"พระสมเด็จฯ" (ข้อมูลรายละเอียดของพระนางพญามีอยู่ในหนังสือ"พระนางพญา"ที่ตรียัมปวายเขียนเหมือนกัน) ภายหลังมีการจัดพระสมเด็จเกศไชโยสามพิมพ์ทรงเพิ่มเติม นอกนั้นไม่ใช่พระเบญจภาคีทั้งสิ้น คำว่า "พระเบญจภาคี" เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ค่านิยมสูงยิ่ง เกิดค่านิยมที่ต่างกันมากของสองขั้ว มีผู้เขียนในนิตยสารพระเครื่องฉบับหนึ่งว่า เปรียบได้กับโคนเสาธงกับยอดเสาธง

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา