ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19960547

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก เนื้อชิน

แสดงภาพทั้งหมด

พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้ลำพระองค์แบบผาย พระชานุ (หัวเข่า) สองข้างใหญ่ รูปที่ ๗ มวลสารสีเขียว (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๙๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๐๕ - มีผู้เขียนในนิตยสารพระฉบับหนึ่งมีข้อสังเกตว่า พระสมเด็จฯองค์นี้มีรอยคล้ายรอยมีดบนยอดซุ้มในแนวขวาง ใกล้ขอบบน สันนิษฐานว่า จะเป็นการตัดขอบแต่จดมีดพลาด และสันนิษฐานต่อไปว่า การตัดขอบพระองค์นี้เป็นการตัดจากหน้าไปหลัง) - - - รูปที่ ๘ - ๙ กรณีศึกษาที่น่าสนใจ - พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ ๖ ชั้น อกตลอด เนื้อของพระองค์นี้ไม่เหมือนกับที่เห็นทั่วไป แต่คล้ายกับเนื้อกระแจะจันทน์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งมีมวลสารต่าง ๆ วรรณะ(สี)หม่นคล้ำ คลุกเคล้าแผ่กระจายตลอดส่วนกว้าง Pra nangphya wat nangphya pim oknoonyai. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra kamphaeng sumkor pim yai (metal). ----- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ - คำอธิบายบางส่วนในคำบรรยายลักษณะพิมพ์ของพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่ ในหนังสือพระสมเด็จฯของตรียัมปวาย -- (๑)พระกรรณ โดยทั่วไป พิมพ์ทรงนี้ไม่ปรากฏพระกรรณซึ่งพอจะสังเกตได้ชัดเจนเลย แต่ถ้าพลิกดูทางด้านข้างจะปรากฏฐานพระกรรณ เป็นเค้าต่อเชื่อมจากพระพักตร์ลงมา แสดงไว้เป็นฐานของพระกรรณมีส่วนหนาราง ๆ และกลืนหายลงไปกับพื้นผนังคูหาทางด้านข้าง "ใบพระกรรณ" ส่วนบนสั้น และปลายล่างยาว มีเค้าต่อจากขอบพระกัมโบล (กระพุ้งแก้ม) ราง ๆ เค้าพระกรรณซ้ายชัดและกางกว่าเบื้องขวา (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - พระพิมพ์ใหญ่ไม่ได้มีพระกรรณข้างเดียว มีสองข้างแต่ด้านขวาไม่ชัด เห็นเป็นเค้านูน ด้านซ้ายขององค์พระชัดกว่า พระบางองค์ถ้ากดพิมพ์ติดไม่ชัดอาจไม่เห็นเป็นรูปพระกรรณ จะเห็นเป็นเนื้อปูนนูนขึ้น นูนมากหรือน้อยแต่ละองค์อาจไม่เหมือนกัน) (๒)พระศอ ไม่ชัดเจนเช่นเดียวกับพระเครื่อง ฯ โบราณอื่น ๆ โดยทั่วไป คือใช้ศิลปการกลืนหาย จากพระหนุ (คาง) ลงไปยังแนวพระอังสา (บ่า) อาจจำแนกออกเป็น ๓ แบบคือ ก)แบบลำ มีเค้าเป็นลำคอราง ๆ สัณฐานค่อนข้างเป็นลำเขื่องเล็กน้อย ความโค้งนูนมีน้อย จัดเป็นแบบที่งดงามที่สุด ข)แบบชะลูด ค่อนข้างชะลูดและเป็นลำเห็นได้ชัดกว่าแบบลำสักเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์ที่มีรักเก่าทองเก่าบริเวณซอกพระศอ จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ค)แบบกลืนหาย ปราศจากลักษณะเป็นลำ คือ เป็นการกลืนหายไปในระหว่างพระหนุ (คาง) กับแนวพระอังสา (แนวไหล่) แต่ถ้าพิจารณาให้เข้ากับแสงสว่างและมุมมองที่เหมาะสม ก็อาจจะเห็นเค้าได้ราง ๆ บ้าง (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - ถ้าเห็นเป็นลำพระศอชัดเจน พิจารณาได้ว่าเป็นพระวัดอื่น หรือเป็นพระเลียนแบบ) (๓)ภาคพื้นผนังคูหา คือ พื้นที่ภายในกรอบซุ้ม ระหว่าง องค์พระปฏิมา และ พระอาสนะ (ฐาน) กับเส้นซุ้มประภามณฑล พื้นผนังค่อนข้างราบเรียบ แต่มิได้สม่ำเสมอดุจหน้ากลอง มีริ้วรอยธรรมชาติในลักษณะการยุบตัวของปูนปั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มิใช่ขรุขระเป็นผิวมะกรูด หรือ ริ้วลูกคลื่น อันเป็นลักษณะของของปลอมบางชนิด ถ้าปรับสายตาให้อยู่ระดับเดียวกับพระ จะสังเกตเห็นได้ว่า ผิวพื้นผนังเอียงสอบน้อย ๆ จากขอบแนวเส้นซุ้มทุกด้าน เทเข้าหาองค์พระและพระอาสนะ แต่เป็นการลาดเอียงที่ใกล้เคียงแนวระดับที่สุด (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - กล้องที่จะใช้สังเกตการลาดเอียงของพื้นผนังคูหา ควรเป็นกล้องที่มีกำลังขยายมากพอควรประมาณ ๘X - ๑๕X ถึงจะสังเกตได้ง่ายและเห็นชัด) ------------ ใคร ๆ ก็พูดหรือเขียนได้ว่า พระสมเด็จองค์ที่กำลังนำแสดงอยู่นั้นเป็นพระองค์ครู ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีผู้รับรอง ยอมรับหรือเห็นด้วยกี่คนว่า พระสมเด็จองค์นั้นเป็นพระองค์ครู

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา