ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19909381

พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญา มีการลงรัก รูปที่ ๗ พระกรรณกับไรพระศกแตะกันข้างแก้มแล้วแยกออกจากกันลงไปยังไหล่ แลคล้ายพระกรรณแยกออกเป็นสองเส้น องค์นี้เห็นราง ๆ รูปที่ ๘ นอกหัวเข่าขวามีเส้นเฉียงขึ้นไปยังข้อศอกขวา พระสมเด็จ พิมพ์ทรงขนาดใหญ่ พระพักตร์ใหญ่ ฐานชั้นล่างใหญ่ รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๙ Pra rod wat mahawan pim yai. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim sangkati. ------ Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ -- "รูปแบบ"ในพิมพ์พระสมเด็จฯ -- รูปแบบเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ที่คล้ายกันหรือเหมือนกันในแต่ละแม่พิมพ์ของแต่ละพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์ทรงพระประธานหรือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ รูปแบบที่ใช้ในการดูพระมี ๓ อย่างได้แก่ ๑.ความแตกต่างหรือต่างกันของแต่ละส่วนทางด้านซ้ายและขวาขององค์พระ ๒.สัดส่วนต่าง ๆ เช่น จุดหรือตำแหน่งของฐานทั้ง ๓ ชั้นและพระเพลา (ตัก) ๓.พุทธศิลปลักษณะ มี ๓ ลักษณะคือ พุทธศิลปประณีต พุทธศิลปพื้นเมือง และพุทธศิลปโมเดิร์น -- พุทธศิลปประณีตของพระสมเด็จฯสร้างขึ้นโดยอิทธิพลหรือถอดเค้ามาจาก พุทธศิลปสุโขทัย(พิมพ์ทรงพระประธาน) พุทธศิลปเชียงแสน(พิมพ์ทรงเจดีย์และพิมพ์ทรงเกศบัวตูม) พุทธศิลปอู่ทอง(พิมพ์ทรงฐานแซม และพิมพ์ทรงปรกโพธิ์แบบฐานแซมเป็นพุทธศิลปสุโขทัยผสมอู่ทอง) ลักษณะอันเกิดจากพุทธศิลปที่นำมาใช้ในเวลาดูพระเสมอได้แก่ รูปของไหล่ หัวไหล่ และรูปวงแขน (รายละเอียดเรื่องของพุทธศิลปมีอยู่ในหนังสือพระสมเด็จฯของตรียัมปวาย) ----- ความต่างกันในแต่ละส่วนทางด้านซ้ายและขวาขององค์พระเป็น"รูปแบบหลัก"ในการพิจารณาพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหม เพราะว่ามีมากจุด และสังเกตได้ง่ายกว่าสัดส่วนและพุทธศิลป จุดกำเนิดหรือเริ่มต้นในการออกแบบพิมพ์พระสมเด็จฯคือ การมองในแนวเฉียง หมายความว่าผู้ออกแบบจินตนาการภาพขององค์พระโดยที่ผู้ออกแบบไม่ได้อยู่ตรงหน้าพระ แต่อยู่เยื้องไปทางขวาขององค์พระ (บางพิมพ์ทรงอยู่เยื้องไปทางขวามากเช่นพิมพ์ทรงพระประธาน บางพิมพ์ทรงเยื้องน้อย) เมื่อเป็นการมองในแนวเฉียงส่วนต่าง ๆ ของด้านหน้าทั้งหมดทางด้านซ้ายและด้านขวาจะต่างกัน ผู้ออกแบบวาดภาพหรือแกะแม่พิมพ์ตามลักษณะของแต่ละส่วนที่มองเห็นจริง (perspective) ----- การศึกษาเรื่องรูปแบบมีแนวทางดังนี้ ๑.ศึกษาความแตกต่างของแต่ละส่วน(รูปลักษณะ)ทางด้านซ้ายและขวา และที่ต่างกันนั้นต่างอย่างไร(เรื่องนี้สำคัญ) ๒.ศึกษาทั้งสามมิติ (กว้าง ยาว ลึก) ของแต่ละส่วนทางด้านซ้ายและขวาองค์พระ ศึกษาสัดส่วนและพุทธศิลป ๓.ศึกษารายละเอียดยิ่งขึ้น เช่น มุมหรือจำนวนองศาของแนวหรือเส้น ความลาดเอียง ความชัน ความโค้ง ความมน ความเว้า ขนาดของแต่ละส่วน เหลี่ยม ความสม่ำเสมอ ความสูง-ต่ำจากพื้นผนังคูหา รวมความว่าเป็นการดูทุกส่วน ทุกลักษณะที่เห็น (กล้อง 20X ขึ้นไปใช้ดูเรื่องรูปแบบไม่ได้ ขยายมากไป เหมาะสำหรับดูเฉพาะจุด -- Xสากล กับ Xจีน เป็นคนละอย่าง คนละความหมาย Xสากลใช้กันมาทั่วโลกเป็นร้อยปี การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขยาย เช่น ขยายขนาดของตัวหนังสือหรือรูปนั้นไม่ได้เกี่ยวกับเลนส์ กล้องที่ขยายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ส่องดูไวรัสโคโรนาไม่ได้ เพราะตัวเลนส์ของกล้องมีขนาดไม่เกิน 3X ภาพที่มีขนาดใหญ่เป็นการขยาย(รูปจากเลนส์3X)ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และส่งไปยังจอโทรทัศน์ หลักการทำงานเหมือนกันกับสมาร์ทโฟน แต่ออกแบบโปรแกรมให้ขยายใหญ่กว่า ถ้าขยายมากๆคุณภาพของสีและความคมชัดจะลดลง) ทั้งสามข้อใช้แยกพระแท้ พระเลียนแบบ พระถอดพิมพ์ และพระวัดอื่น(ผู้สร้างอื่น)ได้ ----- ถ้าสังเกตศึกษาพิมพ์ทรงพระประธานจะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างของแต่ละส่วนทางด้านซ้ายและขวา ซึ่งเกิดจากผู้ออกแบบจินตนาการภาพจากจุดที่เยื้องไปทางขวาขององค์พระมากกว่าพิมพ์ทรงอื่น ที่สังเกตได้ง่าย เช่น เส้นกรอบกระจกซ้าย - ขวา ซอกแขนซ้าย - ขวา แม้กระทั่งจุดเชื่อมต่อพระเกศกับพระเศียรด้านซ้ายและขวาก็ต่างกัน นอกจากนี้พระพักตร์หันมาทางขวาเล็กน้อยทำให้เห็นพระกรรณซ้ายชัดกว่าพระกรรณขวา(ด้านขวานี้ส่วนมากเห็นราง ๆ เป็นเค้านูน) ----- การศึกษาความต่างกันในลักษณะของแต่ละส่วนทางด้านซ้ายและขวาต้องใช้ความสังเกต พินิจพิจารณาและฝึกฝนมาก โดยเฉพาะถ้าไม่เคยเห็นพระองค์จริง (รูปภาพพระแท้ที่ถ่ายชัดพอใช้ได้) เมื่อเข้าสู่ทางปฏิบัติคือในตลาดพระ เกิดความผิดพลาดได้เสมอ(มากครั้ง) ซึ่งต้องพยายามทบทวนความผิดพลาดว่า เพราะอะไรอย่างไรและแก้ไขในคราวต่อ ๆ ไป การที่จะหาว่าผิดพลาดตรงไหนอย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่ยาก (ทำนองทำข้อสอบแล้วตรวจข้อสอบเอง) ซึ่งต้องอาศัยหนังสือ ตำรา ข้อเขียนบทความ รูปภาพพระแท้ หรือปรึกษาผู้ชำนาญ ----- พระเบญจภาคีอื่นซึ่งสร้างมาก่อนเป็นร้อย ๆ ปีมีการออกแบบเหมือนพระสมเด็จฯ คือมองจากจุดที่เยื้องไปทางขวาหรือซ้ายขององค์พระ(แล้วแต่ชนิดของพระ) แต่เนื่องจากมีขนาดเล็กจึงสังเกตได้ยาก พระองค์ที่ผุกร่อนมากยิ่งสังเกตได้ยาก ลักษณะที่จะสังเกตได้อย่างหนึ่งคือ รูปดวงตาซ้าย-ขวาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน หรือไม่สมดุล พระที่สังเกตได้ง่ายและเห็นชัดที่สุดคือพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน (มองเฉียงจากทางด้านขวาขององค์พระ) ซึ่งเป็นวัตถุโบราณที่มีความงามทางศิลปเป็นเลิศหนึ่งในสิบของโลก - เป็นความล้ำยุคในทางศิลปของชาวกำแพงเพชรโบราณ ยุคสมัยสุโขทัย ๗๐๐ ปีมาแล้ว

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา