ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19757537

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

จากคำบรรยายลักษณะพิมพ์ของพิมพ์เข่าโค้ง ในหนังสือพระนางพญาของตรียัมปวาย - ลักษณะบางอย่างที่จะสังเกตได้ไม่ยาก ๑.พระพักตร์เป็นรูปไข่ไม่ป้านอย่างพิมพ์เข่าตรง มีลักษณะนูนโค้งแบบหลังเต่า ๒.พระนลาฏ (หน้าผาก) เถิกกว้างมีรอยยุบตัวใต้แนวไรพระศก ๓.พระศกเป็นเส้นโค้งวาดตามแนวพระเศียร ๔.พระกรรณทั้งสองข้างเป็นบายศรีอ่อน ๆ พระกรรณขวาองค์พระชิดพระพักตร์ ส่วนพระกรรณซ้ายอยู่ห่างพระพักตร์เล็กน้อย ๕.ปลายพระกรรณขวาองค์พระจรดพระอังสา ส่วนปลายพระกรรณซ้ายองค์พระจรดบ่าเชื่อมต่อกับเส้นสังฆาฏิ ๖.เส้นจีวรกับเส้นสังฆาฏิแตะติดกันบนพระอุระ ๗.พระอุระใหญ่ผายออกและค่อย ๆ สอบเข้ามาเป็นพระอุทร ส่วนพระอุระกับพระอุทรมีเนื้อเต็ม ๘.พระปรัศว์หรือสีข้างซ้ายจะเห็นเส้นกันขอบ (หมายเหตุ - เป็นจุดสังเกตที่สำคัญ หรืออาจพูดได้ว่าเป็นจุดสำหรับใช้คัดพระออก) ๙.พระพาหาขวาองค์พระค่อย ๆ สอบลงมาจากพระอังสา เมื่อถึงข้อศอก ส่วนที่เป็นพระกร (แขนท่อนล่าง) จะคอดเล็กน้อยและเผยอตัวขึ้นพาดเข่า พระหัตถ์มีความโตไล่เลี่ยกับพระกรและพระพาหาจะแลคล้ายงวงช้าง ๑๐.พระชงฆ์ (แข้ง) และพระบาทส่วนบนเล็ก ส่วนพระชงฆ์และพระบาทส่วนล่างหนาโค้งเป็นท้องช้าง ๑๑.เส้นสังฆาฏิพาดลงมากลางลำพระองค์พระพอดี (หมายเหตุเพิ่มเติม - การตัดขอบมักจะตัดปลายพระกรรณบนข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง) พระซุ้มกอ ลักษณะอย่างหนึ่งที่แสดงถึงศิลปสกุลช่างของช่างกลุ่มหนึ่งที่ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ ซึ่งได้รับความนิยม (พิมพ์นิยม) ในปัจจุบันคือลายกนกสามตัวล่างด้านขวาขององค์พระ พระสมเด็จ ผิวฟู บางส่วนผุเปื่อยหลุดออก (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๘๗ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๐๑) Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. Pra somdej wat rakang pim yai. Pra kamphaeng sumkor pim yai.-- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ (จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย) - ผิวฟู เป็นผิวอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะฟูตัว การฟูตัวของผิวคล้ายกับจะเป็นการสร้างผิวชั้นนอกขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ผิวชนิดนี้เข้าใจว่าเกิดจากเนื้อที่ที่ค่อนข้างเหลวมาก ในกรรมวิธีการสร้าง จึงทำให้เกิดเยื่อครีมซ้อนขึ้นมาบนส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนสัมผัสกับแม่พิมพ์ ผิวประเภทนี้คงแจกออกได้เป็น ๒ ลักษณะคือ ก.ฟูบาง เป็นผิวฟูที่มีเยื่อครีมไม่หนาจัดนัก ข.ฟูหนา มีลักษณะเช่นเดียวกับผิวฟูบาง แต่มีสัณฐานหนากว่า เข้าใจว่าความเหลวของเยื่อครีมที่ผสมกับแป้งโรยพิมพ์ ในกรรมวิธีการสร้าง จึงผสมผสานตัวกันทำให้เกิดความหนามาก การฟูของผิวเกิดจากการผสมผสานตัวกันนี้ จะทำให้เกิดฟองอากาศหรือปฏิกิริยาปูนเดือดมาก และผิวฟูนี้คงมีความเป็นไปทำนองเดียวกันกับการแตกลายงากล่าวคือ จะต้องเกิดเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น และมีความอ่อนนุ่มนวล และมักจะมีวรรณะเทาอ่อน ๆ หม่น ๆ หรือเขียวก้านมะลิอ่อน ๆ (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - ผิวฟูหนาพบเห็นน้อย) ------ คำแนะนำพิเศษ - ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของแต่ละจุดเป็นเรื่องที่หาได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องพิมพ์ แทบจะไม่มีการบอกสอนในสื่อสมัยนี้ทุกประเภท (สมัยก่อนมีบ้างเช่น ในนิตยสารพระ หนังสือตำรา) จึงจำเป็นต้องฝึกฝนหาประสบการณ์ความรู้เอาเองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต้องใช้ความพยายามและเวลามาก ลองผิดลองถูก การที่มีผู้บอกความรู้ข้อมูลจริงเป็นทางลัดหรือย่นระยะเวลา "ถ้าพบควรจดไว้" ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตอาจหมดกำหนดเวลาการแสดง ถูกลบ หรืออาจเกิดความคลาดเคลื่อน (error) ในเพจ เว็บไซต์ เซิร์ฟเวอร์และระบบ หายไปเมื่อไรก็ได้ ข้อมูลบางอย่างของพระสมเด็จ ฯ ถ้าหาด้วยตนเองอาจใช้เวลา ๕ - ๑๐ ปีหรือมากกว่า ------ กระจกหกด้าน (ด้านหนึ่งของกระจกรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์หรือลูกเต๋า) - มีผู้เขียนในนิตยสารพระฉบับหนึ่งว่า ถ้าพิจารณาที่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง พระสมเด็จมีสามแบบ ๑.แบบที่จำนำไม่ได้ ๒.แบบที่จำนำได้เงินน้อย ๓.แบบที่จำนำได้เงินมาก

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา