ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19696193

พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าตรง

แสดงภาพทั้งหมด

จากหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน โดยอาจารย์เชียร ธีระศานต์ - พระรอดสีเขียวแก่คล้ำดุจดังหินครก มีความแกร่งที่สุด ขี้กรุราดำไม่ค่อยจะติด แต่คราบติดเป็นบางองค์ ชาวพื้นเมืองลำพูนเรียกว่าพระดำ (รูปที่ ๙ ขีดจานแก้วเป็นรอยได้ ไม่ต้องออกแรงกดมาก) พระกรรณของพระนางพญาด้านบนถูกตัด พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้พระพักตร์ใหญ่ (พระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกัน ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็ง หน้า ๔๕ เล่มเล็กปกอ่อน หน้า ๕๙) รูปที่ ๗ - ๘ พระแตกเป็นสามเสี่ยง ผิวบาง ผิวส่วนใหญ่ผุเปื่อยหลุดออก ผิวที่เหลืออยู่สังเกตเห็นได้ที่บนพระพักตร์และพระอุระ ด้านหลังมีรูเรียงกันไปเป็นแนว (ถ้าเป็นรูเดี่ยวเรียกว่ารอยหนอนด้น ถ้าเป็นรูคู่เรียกว่ารอยปูไต่ - พระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกัน ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่หน้า ๕๙ เล่มเล็กหน้า ๗๓) Pra rod wat mahawan pim yai. Pra somdej wat rakang pim yai 2 pieces (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim kaotrong. - - - - Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ -- การดูมวลสาร (ในหนังสือพระสมเด็จฯใช้คำเรียกว่า อนุภาคมวลสาร) ไม่ใช่เรื่องที่เป็นสาระสำคัญในการพิจารณาพระสมเด็จฯ 'ตรียัมปวาย'ซึ่งได้ดู สังเกตและพิจารณาพระสมเด็จฯแท้จำนวนมากไม่ได้เขียนว่าอนุภาคมวลสารเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องเด่น มีรายการพิจารณาอนุภาคมวลสารเพียงอย่างเดียวคือ ทรายเงินทรายทอง (หรือผงตะไบเงินผงตะไบทอง) ซึ่งเป็นลักษณะรอง (ไม่ใช่ลักษณะเด่น) ในหนังสือพระสมเด็จฯไม่มี"หลักเกณฑ์"ในการดูและพิจารณาอนุภาคมวลสาร ไม่มีข้อเขียนว่า อนุภาคมวลสารชนิดใดสามารถนำมาใช้บ่งชี้ว่าเป็นพระสมเด็จฯแท้ได้ เขียนถึงอนุภาคมวลสารอย่างกว้าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง ----- ข้อสังเกตเพิ่มเติม - ๑.ไม่เคยมีหนังสือหรือบทความใดเขียนบอกหลักเกณฑ์การดูมวลสาร ว่าด้วยลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ รูปร่าง ขนาด ปริมาณ สี เป็นอินทรีย์สารหรืออนินทรีย์สาร ฯ เช่น เขียนบอกว่ามีมวลสารสีเขียว - เป็นเขียวอย่างไร เขียวอ่อน เขียวแก่ เขียวคล้ำ เขียวขี้ม้า เขียวมรกต เขียวหยก ฯ เป็นสีเขียวทึบหรือเขียวมีแววแบบอัญมณี มวลสารสีเขียวอมความชื้นหรือไม่ ถ้าอมความชื้นสีจะเปลี่ยนไปหรือไม่ เป็นต้น ๒.เป็นเรื่องยากมากที่ใครจะมีโอกาสได้สังเกตดูมวลสารของพระสมเด็จฯองค์ที่มีชื่อเสียง องค์ดารา หรือแม้แต่พระสมเด็จฯแท้องค์อื่น ๆ หลาย ๆ องค์ แต่สิ่งที่ทุกคนจะเห็นได้คือ 'พิมพ์' ไม่ว่าจะเป็นรูปสี หรือรูปขาวดำ ๓.การสร้างพระสมเด็จฯในระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ เป็นเวลา ๖ ปี มีการปรับปรุงส่วนผสมและสูตรผสมหลายครั้ง จึงเกิดเป็นเนื้อหลายประเภท ชนิด ขนาดและปริมาณของมวลสารในเนื้อแต่ละประเภทจึงต่างกันบ้าง ๔.เป็นเรื่องยากหรือทำไม่ได้เลยที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การดูมวลสารของพระสมเด็จฯ เพราะเนื้อแต่ละประเภทมีลักษณะของมวลสารต่างกัน เช่น วัสดุมวลสารส่วนใหญ่ของเนื้อเกสรดอกไม้มีความละเอียดอย่างที่สุด เป็นจุลธุลี ดุจผงเภสัชอันละเอียดยิบผ่านการบดกรองมาแล้ว (ซึ่งยากแก่การสังเกตดู) เนื้อกระแจะจันทน์มีมวลสารที่ค่อนข้างละเอียด เนื้อขนมตุ๊บตั๊บมวลสารต่าง ๆ เป็นมวลสารที่อ่อนตัว มักจะไม่ค่อยปรากฏเมล็ดแร่โผล่พ้นผิวเนื้อขึ้นมาให้สังเกตเห็น มวลสารของเนื้อปูนแกร่งมีความละเอียดกว่ามวลสารของเนื้อกระยาสารทและขนมตุ๊บตั๊บ ฯลฯ ๕.สิ่งที่ควรต้องศึกษาคือสิ่งที่ทุกคนเห็นได้ คือพิมพ์ ------ เรื่องหนังสือ - สะสมและอ่านหนังสือบางเล่มที่มีทั้งรูปภาพพระแท้และรูปภาพพระปลอม มีทั้งข้อมูลจริงและข้อมูลเท็จ แล้วจะแยกได้อย่างไรว่า จะใช้รูปภาพไหน หรือข้อมูลประโยคใดเป็นแนวทางยึดถือและเป็นแบบอย่างในการศึกษาและหาพระสมเด็จฯ กับปัญหานี้ควรคิด พิจารณา หาข้อมูลและหาวิธีตรวจสอบว่าจะใช้หนังสือเล่มใด (ผู้ขายหนังสือบางคนที่ขายหนังสือมามากและขายมาหลายปี มีข้อมูลบ้าง) สะสมหนังสือเป็นจำนวนมาก สิบๆหรือร้อยเล่ม จะเลือกใช้เล่มไหนบ้าง เรื่องนี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งชี้ชะตาในการแสวงหาพระสมเด็จฯ 'ชะตา'มีเพียงสองอย่าง - สำเร็จหรือล้มเหลว

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา