จำหน่าย,ขาย,เหล็ก SCM440,SK5,SK85,S50C,4140,4340,SNCM439,SCM439,SS400,4130,S45C
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
สินค้าแนะนำ
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน11/11/2013
อัพเดท24/03/2024
เป็นสมาชิกเมื่อ 26/01/2012
สถิติเข้าชม18262
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  บริษัท เอเชี่ยนพลัส ซัพพลาย จำกัด 234/7 หมู่ 7 ถ.สุขุมวิท ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร.  Tel 087-6039752,02-1863711,02-1863713 Fax 02-1863712
Mail  asianplussupply@hotmail.com
Search      Go

Home > All Product List > จำหน่าย,ขาย,เหล็กเพลาขาว,เพลาเจียร SK4,เหล็กเพลาขาว SS400,เหล็กเพลาเจียร,เพลาเหล็กหัวแดง,เหล็กเพลาหัวฟ้า,เหล็กเพลาแท่งตัน,เหล็ก S45C ผิวขาว, จำหน่ายเหล็ก S50C,SNCM439,SCM440,SCM439,SKD11,SKD61,SCM440,SCM4,S45C,SKH51,SK5, SS400,AUD11,SUP9,P20,SCM415,SKS3,


จำหน่าย,ขาย,เหล็กเพลาขาว,เพลาเจียร SK4,เหล็กเพลาขาว SS400,เหล็กเพลาเจียร,เพลาเหล็กหัวแดง,เหล็กเพลาหัวฟ้า,เหล็กเพลาแท่งตัน,เหล็ก S45C ผิวขาว, จำหน่ายเหล็ก S50C,SNCM439,SCM440,SCM439,SKD11,SKD61,SCM440,SCM4,S45C,SKH51,SK5, SS400,AUD11,SUP9,P20,SCM415,SKS3,

รูปภาพประกอบทั้งหมด 4 รูป

จำหน่าย,ขาย,เหล็กเพลาขาว,เพลาเจียร SK4,เหล็กเพลาขาว SS400,เหล็กเพลาเจียร,เพลาเหล็กหัวแดง,เหล็กเพลาหัวฟ้า,เหล็กเพลาแท่งตัน,เหล็ก S45C ผิวขาว, จำหน่ายเหล็ก S50C,SNCM439,SCM440,SCM439,SKD11,SKD61,SCM440,SCM4,S45C,SKH51,SK5, SS400,AUD11,SUP9,P20,SCM415,SKS3,

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  30/10/2015
แก้ไขล่าสุด  :  30/10/2015
ราคา  ตามตกลง

จำหน่าย,ขาย,เหล็กเพลาขาว,เพลาเจียร SK4,เหล็กเพลาขาว SS400,เหล็กเพลาเจียร,เพลาเหล็กหัวแดง,เหล็กเพลาหัวฟ้า,เหล็กเพลาแท่งตัน,เหล็ก S45C ผิวขาว,
จำหน่ายเหล็กเพลาขาว,ขายเหล็กเพลาขาว,เหล็กเพลาหัวแดง S50C,S45C,เหล็กเพลาเจียร,เหล็กเพลาหัวฟ้า,เหล็กเส้นสี่เหลี่ยม,ขายเหล็กเพลา
  • เหล็กเพลาขาวเป็นเหล็กที่สามารถนำไปใช้ในงานอุตสาหรรมประเภทต่างๆ ได้มากมายสืบเนื่องมาจากคุณลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากเหล็กทั่วไป ไม่ว่า จะเป็นความละเอียดของขนาด, ความเรียบของพื้นผิว และคุณสมบัติทางกลภาพบางประการ ซึ่งเอื้อให้เหล็กเพลาขาวมีอรรถประโยชน์ในการใช้งานสูงกว่าเหล็กประเภทอื่นๆ มีหน่วยเรียกในการซื้อขาย2ชนิดคือ หน่วยหุน เช่น ขนาด 1/8", 3/8", 1", 1.1/2" และหน่วยมิล เช่น ขนาด 5มิล, 8มิล, 15มิล, 30มิล

ผลิตภัณฑ์เหล็กเส้น คือผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวที่เกิดจากกระบวนการ
รีดร้อนโดยการนำแท่งเหล็ก (Billet) มาเผาให้ร้อนแล้วรีดลดขนาดให้มีลักษณะเป็นเส้น

ประเภทผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
1. เหล็กเส้นก่อสร้าง (Reinforced Steel Bar)
2. เหล็กเส้นสำหรับงานตีขึ้นรูปร้อน (Hot forged steel bar)
3. เหล็กเส้นสำหรับงานตก แต่งทางกล (Steel bar for machine structural and general uses)
4. เหล็กเส้นสำหรับงานดึงเย็น (Cold finished steel bar)
5. เหล็กเส้นสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง (Post tensioned steel bar)

เหล็กเส้นก่อสร้าง (Reinforced Steel Bar)
เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด ใช้สำหรับงานเหล็กเสริมคอนกรีต การผลิตต้องผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม แบบออกเป็น เหล็กเส้นกลม (Round bar), มอก. 20 และ เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar), มอก. 24

เหล็กเส้นสำหรับงานตีขึ้นรูปร้อน (Hot forged steel bar)
เป็นเหล็กเส้นชนิดรีดร้อน มีการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ สกรู นอตขนาดใหญ่ ประกับรางรถไฟ เป็นต้น
แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ การตีขึ้นรูปอิสระ (Free Forging) และ การตีขึ้นรูปในแบบ (Die Forging) การตีขึ้นรูปแบบที่สองให้รายละเอียดและคุณภาพของงานแข็งกว่าการตีขึ้นรูปด้วยแบบที่หนึ่งมาก หลังจากตีขึ้นรูปแล้วสามารถนำไปอบ และ/หรือ ชุบ เพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นๆ คลายตัวจากความเครียดที่เกิดจากการตีงานขึ้นรูปร้อน

เหล็กเส้นสำหรับงานตก แต่งทางกล (Steel bar for machine structural and general uses)
เป็นเหล็กเส้นรีดร้อนที่ใช้การไส กลึง และการเจาะให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามต้องการ เช่น เพลาของเครื่องจักร ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ สกรู นอต เป็นต้น
แบ่งตามคุณสมบัติทางกลและ/หรือทางเคมีให้เหมาะกับการใช้งาน หลังจากการขึ้นรูปแล้วสามารถนำไปอบ และ/หรือชุบ เพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นมีคุณสมบัติทางกลเหมาะสมเฉพาะทาง

เหล็กเส้นสำหรับงานดึงเย็น (Cold finished steel bar)
ผลิตโดยการนำเหล็กรีดร้อนมาทำการดึงเย็นเพื่อให้มีรูปร่างที่ละเอียดและแน่นอนกว่ารูปร่างเดิม หรือเปลี่ยนรูปร่างไป และเป็นการเพิ่มคุณสมบัติทางกลให้สูงขึ้น ลดการสูญเสียน้ำหนักของวัตถุ น เหล็ก Cold Drawn Profile ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสลักต่างๆ เป็นต้น

เหล็กเส้นสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง (Post tensioned steel bar)

มีลักษณะเป็นข้ออ้อยเกลียวหรือเหล็กกลมก็ได้ คุณสมบัติทางกลที่สำคัญคือมีแรงดึงสูงกว่าเหล็กก่อสร้างธรรมดาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าตัว

  • จำหน่ายเหล็ก S50C,SNCM439,SCM440,SCM439,SKD11,SKD61,SCM440,SCM4,
    S45C,SKH51,SK5,SS400,AUD11,SUP9,P20,SCM415,SKS3,AISI4140,
    AISI4340,SK5,SKH51,yxm1,AISI4115,SCM415,SCM440,SCM4,SNCM439,เหล็ก DAC,SKD61,เหล็ก SGT,SKS3,เหล็ก SLD,SKD11,เหล็ก YXM1,SKH51,
    พลาเจียร SK4,เหล็กเพลาเจียร SK4,เหล็กเกรด 4340HT,4140HT,เหล็ก SCM440H,42Cr Mo4,
    เหล็ก CM4,SNCM 439H,SNCM8,M2,M3,H13,L6,D2,440C,SUJ2,S45C,SCM4,
    SCM21,5920,SUP9, SUH3,SK5,N695,ST-52 ST-37 / DIN 1.4841
    (SUH 310),AISI 310S,

เหล็กกล้าคาร์บอน
เหล็ก AISI4140,AISI4340,SK5,SKH51,yxm1,AISI4115,SCM415,SCM440,
SCM4,SNCM439,เหล็ก DAC,SKD61,เหล็ก SGT,SKS3,เหล็ก SLD,SKD11,เหล็ก YXM1,SKH51,เพลาเจียร SK4,เหล็กเพลาเจียร SK4,เหล็กเกรด 4340HT,4140HT,เหล็ก SCM440H,42Cr Mo4,เหล็ก CM4,SNCM 439H,SNCM8,M2,M3, H13,L6,D2,440C,SUJ2,S45C,SCM4,SCM21,5920,SUP9,
SUH3,SK5,N695,ST-52 ST-37 / DIN 1.4841 (SUH 310)AISI 310S,

เหล็กบริสุทธิ์ในสถานะของแข็งสามารถปรากฏอยู่ได้หลายรูปแบบ(เฟส) คือ
1. อัลฟาเฟอร์ไรต์ (α-ferrite) เป็นเหล็กของแข็งที่ มีโครงสร้างผลึกแบบ body-centeredcubic (BCC)จัดเป็นเฟสในสมดุลที่อุณหภูมิต่ำกว่า 910 องศาเซลเซียส
2. ออสเทนไนต์ (γ-austenite) เป็นเหล็กของแข็งที่ มีโครงสร้างผลึกแบบ face-centered cubic (FCC) จัดเป็นเฟสในสมดุลที่อุณหภูมิสูงกว่า 910 องศาเซลเซียส
3. เดลต้าเฟอร์ไรต์ (δ-ferrite) เป็นเหล็กของแข็งที่มีโครงสร้างผลึกแบบ body-centeredcubic(BCC) แต่ขนาดของโครงผลึกแตกต่างจากแอลฟ่าเฟอร์ไรต์จึงจัดเป็นคนละเฟสกันและพบในสมดุลที่อุณหภูมิสูงกว่า 1390 องศาเซลเซียส

เหล็กบริสุทธิ์มีความแข็งแรงต่ำ จึงมีความต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับวัสดุกลุ่มเหล็ก เริ่มจากการเติมคาร์บอน ซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มความแข็งแรงโดยกลไกการเกิดเป็นสารละลายของแข็ง (solid solution strengthening) โดยอะตอมคาร์บอนมีขนาดเล็กกว่าอะตอมของเหล็ก จะเข้าไปแทรกอยู่ที่ช่องว่างแคบๆ ระหว่างอะตอมเหล็ก(interstitial sites)และเกิดสนามความเค้นรอบๆ อะตอมคาร์บอน ดังนั้นเมื่อจะทำให้เหล็กเกิดการเสียรูปถาวร ซึ่งเป็นการทำให้กลุ่มอะตอมเหล็กเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กันนั้นจึงต้องอาศัยแรงกระทำมากขึ้น ทั้งนี้ในเหล็กอัลฟาที่อุณหภูมิห้องนั้นมีคาร์บอนละลายอยู่ได้สูงที่สุดประมาณ 0.008%โดยน้ำหนัก
เนื่องจากเฟอร์ไรต์นั้นสามารถละลายคาร์บอนได้น้อยมาก ดังนั้นถ้ามีคาร์บอนในเหล็กมากกว่าความสามารถในการละลาย นั่นหมายความว่า คาร์บอนต้องอยู่ในรูปอื่น ซึ่งปกติแล้วในเหล็กกล้านั้น คาร์บอนส่วนที่เกินความสามารถในการละลายจะเกิดการรวมตัวกับอะตอมเหล็กกลายเป็นเหล็กคาร์ไบด์ หรือซีเมนไทต์ (Fe3C) ปกติแล้วโครงสร้างจุลภาคในเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนเกินกว่า 0.01% ก็เริ่มมีซีเมนไทต์แล้ว แต่สังเกตไม่เห็นชัดเจนในภาพโครงสร้างจุลภาค ถ้าปริมาณคาร์บอนสูงขึ้น เช่น 0.05% ก็จะสังเกตเห็นซีเมนไทต์ได้ชัดเจน โดยซีเมนไทต์ดังกล่าวเกิดขึ้นร่วมกับเฟอร์ไรต์ในลักษะแถบสลับกันภายในเกรน เรียกรูปแบบโครงสร้างดังกล่าวว่า “เพิร์ลไลต์”(pearlite) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนเฟสที่เรียกว่า “ยูเท็กตอยด์” (eutectoid transformation)
เมื่อปริมาณคาร์บอนมากขึ้น ปริมาณของเพิร์ลไลต์ในโครงสร้างจุลภาคก็จะมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณเกรนที่เป็นเฟอร์ไรต์เท่านั้นก็จะน้อยลง จนเมื่อปริมาณคาร์บอนประมาณ 0.8% จะไม่เหลือเกรนที่เป็นเฟอร์ไรต์เท่านั้นอีกเลย แต่เป็นโคโลนีของเพิร์ลไลท์ทั้งหมด ดังนั้นโครงสร้างเพิร์ลไลท์จะมีคาร์บอนอยู่ประมาณ 0.8% เสมอ (ภายใต้เงื่อนไขว่า การเย็นตัวของเหล็กค่อนข้างช้า) เหล็กกล้าที่มีคาร์บอน 0.8% จึงถูกเรียกอีกอย่างว่า เหล็กกล้ายูเท็กตอยด์ (eutectoid steel)
หากปริมาณคาร์บอนในเหล็กเพิ่มสูงขึ้นไปกว่า 0.8% แล้ว คาร์บอนส่วนที่เกิน 0.8% ซึ่งไม่สามารถอยู่ในเพิร์ลไลต์ได้ จะไปอยู่ในรูปของซีเมนไทต์ที่ต่อกันเป็นโครงข่ายตามขอบเกรนของกลุ่มโคโลนีเพิร์ลไลต์ โดยปริมาณซีเมนไทต์ตามขอบเกรนนี้จะมากขึ้นตามปริมาณคาร์บอนที่มากขึ้นด้วย
จากลักษณะดังกล่าวจึงอาจแบ่งกลุ่มของเหล็กกล้าคาร์บอนตามลักษณะโครงสร้างได้เป็น
- เหล็กกล้าไฮโปยูเท็กตอยด์ มีคาร์บอนน้อยกว่า 0.8% (C < 0.8%) โครงสร้างเป็นเกรนเฟอร์ไรต์และเกรนเพิร์ลไลทต์โดยมีมากน้อยตามปริมาณคาร์บอนในเหล็ก
- เหล็กกล้ายูเท็กตอยด์ โครงสร้างเป็น เป็นเกรนเพิร์ลไลต์ทั้งหมด มีคาร์บอนประมาณ 0.8%
- เหล็กกล้าไฮเปอร์ยูเท็กตอยด์ มีคาร์บอนมากกว่า 0.8% (C > 0.8%) โครงสร้างเป็นเกรนเพิร์ลไลต์ และโครงข่ายซีเมนไทต์ตามขอบเกรน โดยมีมากน้อยตามปริมาณคาร์บอนในเหล็ก

เหล็กขึ้นรูปชนิดกลมและเหล็กขึ้นรูปชนิดแบน (Forged Flat and Round Steel)
การขึ้นรูปแม่พิมพ์ชนิดเปิด สำหรับเหล็กจานกลมและเพลา (Disc and Shaft)
เหล็กวงแหวนรีดชนิดไร้ตะเข็บและเหล็กวงแหวนขึ้นรูปชนิดไร้ตะเข็บ (Seamless Rolled Ring and Seamless Forged Ring)
เหล็กขึ้นรูปเกรดพิเศษ (Special Steel Forging)
เหล็กขึ้นรูปเกรดพิเศษที่มีทั้งเหล็กขึ้นรูปชนิดกลมและชนิดแบน (Forged Round & Flat Steel) ซึ่งอยู่ในคลังสินค้า ณ ปัจจุบันนั้นมีอยู่มากกว่า 58 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น
A182 F6NM / 1.3413, AISI 410 / 1.4006 / X10Cr13
AISI 420A & C & F / 1.4021 / X20Cr13, 1.4034 /X46Cr13, 1.4028 / X30Cr13
AISI 430F & B / 1.4104 / X12CrMoS17
AISI 4340 / 1.6565 / 42NiCrMoV5.4
Duplex 1.4462 / A182 F51

เหล็กเกรดมาตรฐาน
เกรดมาตรฐาน (AISI 440 /42CrMo4, 100Cr6 and AISI 430 /25CrMo4, 34CrNiMo4 และ 30NiCrMo2) และสินค้าเกรดพิเศษ (58CrMo V4 และ 21CrMo V5.7 สำหรับงานเพลากังหันไอน้ำ)

คำศัพท์เกี่ยวกับเหล็กที่น่ารู้
Alloy Steel : เหล็กพิเศษที่มีส่วนผสมของอัลลอยด์
Annealing : การอบเหล็กให้อ่อน เพื่อลดความแข็งและความเปราะลง ง่ายต่อการกลึง
Carburizing : การชุบผิวแข็งโดยการเติมคาร์บอนลงไปที่ผิวเหล็ก ทำให้เหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนผิวเท่านั้น ส่วนความแข็งของเนื้อเหล็กภายในยังเหมือนเดิม
Cold Drawn Steel : เหล็กที่ได้จากการรีดเย็น ทำให้ผิวของเหล็กมีสีขาว (เช่น เหล็ก S50C ผิวขาว)
Elongation : การใช้แรงดึงโลหะให้ยืดตัว
Flame-hardening Steel : เหล็กที่ชุบแข็งโดยเปลวไฟ
Hardness : ความแข็ง
Heat Treatment : การอบชุบ (เป็นความหมายรวมถึง การชุบแข็ง การอบอ่อน หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่มีการให้ความร้อนกับเหล็ก)
Hot Rolled Steel : เหล็กที่ได้จากการรีดร้อนโดยตรง ดังนั้นในการการกลึงจะแข็งกว่าเหล็กที่ผ่านการ Normalizing หรือเหล็กที่ผ่านการ Annealing
Induction : การชุบแข็งโดยใช้คลื่นความถี่สูงผ่านขดลวดที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เพื่อชุบแข็งที่ผิว โดยความลึกจะขึ้นอยู่กับความร้อนที่ผ่านขดลวด
Nitriding : การชุบผิวแข็งโดยการเติมไนโตรเจนลงไปที่ผิวเหล็ก ทำให้เหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนผิวเท่านั้น ส่วนความแข็งของเนื้อเหล็กภายในยังเหมือนเดิม
Normalizing : การอบให้เหล็กมีเนื้อเหล็ก (grain) และความแข็งสม่ำเสมอทั่วทั้งเส้น ง่ายต่อการกลึง
Pre-hardened Steel : เหล็กที่ชุบแข็งเรียบร้อยแล้วจากโรงงานที่ผลิต
Press Die : แม่พิมพ์อัด
Punching Die : แม่พิมพ์ตัดกระแทก
Rough Turned Steel : เหล็กที่มีการกลึงผิวแล้ว
Strength : ความแข็งแรง
Stress Relieve : การอบให้คลายความเค้น
Toughness : ความเหนียว
Vacuum Heat Treatment : การชุบโดยใช้เตาสุญญากาศ แบ่งเป็น การชุบน้ำมัน (Oil quenching) และการชุบแก็ส (Gas quenching)
Wear Resistance : ความทนต่อการสึกหรอ

คุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ เมื่อผสมลงไปในเหล็ก

C Al B Be Ca Ce Co Cr Cu Mn
Mo N Ni O Pb P S Si Ti V W

คาร์บอน (Carbon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ C
เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด จะต้องมีผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก มีคุณสมบัติทำให้เหล็กแข็งเพิ่มขึ้น หลังจากนำไปอบชุบ (Heat Treatment) โดยรวมตัวกับเนื้อเหล็ก เป็นสารที่เรียกว่า มาร์เทนไซต์ (Martensite) และซีเมนไตด์ (Cementite) นอกจากนั้น คาร์บอนยังสามารถรวมตัวกับเหล็ก และธาตุอื่น ๆ กลายเป็นคาร์ไบด์ (Carbide) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการสึกหรอของเหล็ก อย่างไรก็ตาม คาร์บอนจะลดความยืดหยุ่น (Elasticity) ความสามารถในการตีขึ้นรูป (Forging) และความสามารถในการเชื่อม (Welding) และไม่มีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน

อลูมิเนียม (Aluminium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Al
เป็นธาตุที่นิยมใช้เป็นตัวไล่แก็สออกซิเจน และไนโตรเจน (Deoxidizer และ Denitrizer) มากที่สุด ซึ่งผสมอยู่เล็กน้อยในเหล็ก จะมีผลทำให้เนื้อละเอียดขึ้น เมื่อใช้ผสมลงในเหล็กที่จะนำไปผ่านกระบวนการอบชุบแข็ง โดยวิธีไนไตรดิ้ง (Nitriding) ทั้งนี้เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถรวมตัวกับไนโตรเจน เป็นสารที่แข็งมาก ใช้ผสมลงในเหล็กทนความร้อนบางชนิด เพื่อให้ต้านทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ได้ดีขึ้น

โบรอน (Boron) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ B
ช่วยเพิ่มความสามารถชุบแข็งแก่เหล็ก ที่ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป จึงทำให้ใจกลางของงานที่ทำด้วยเหล็กชุบผิวแข็ง มีความแข็งสูงขึ้น โบรอนสามารถดูดกลืนนิวตรอนได้สูง จึงนิยมเติมในเหล็กที่ใช้ทำฉากกั้นอุปกรณ์นิวเคลียร์

เบริลเลียม (Beryllium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Be
สปริงนาฬิกา ซึ่งต้องต่อต้านอำนาจแม่เหล็ก และรับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้น ทำจากทองแดงผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys) โลหะผสมนิกเกิล-เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด

แคลเซียม (Calcium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ca
แคลเซียมจะใช้ในลักษณะแคลเซียมซิลิไซด์ (CaSi) เพื่อลดออกซิเดชั่น (Deoxidation) นอกจากนั้น แคลเซียม ยังช่วยเพิ่มความต้านทานการเกิดสเกลของวัสดุที่ใช้เป็นตัวนำความร้อน

ซีเรียม (Cerium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ce
เป็นตัวลดออกซิเจนและกำมะถันได้ดี ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติด้าน Hot Working ของเหล็กกล้า และปรับปรุงความต้านทานการเกิดสเกลของเหล็กทนความร้อน

โคบอลต์ (Cobalt) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Co
ไม่ทำให้เกิดคาร์ไบด์ แต่สามารถป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงให้เหล็กมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ผสมในเหล็กขึ้นรูปงานร้อน เหล็กทนความร้อน และเหล็กไฮสปีด ธาตุโคบอลต์เมื่อได้รับรังสีนิวตรอนจะเกิดเป็น โคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงไม่ควรเติมโคบอลต์ลงในเหล็กที่ใช้ทำเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู
โครเมียม (Chromium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cr
ทำให้เหล็กอบชุบได้ง่ายขึ้น เพราะลดอัตราการเย็นตัววิกฤตลงอย่างมาก สามารถชุบในน้ำมันหรืออากาศได้ (Oil or Air Quenching) เพิ่มความแข็งให้เหล็ก แต่ลดความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact) ลง โครเมียมที่ผสมในเหล็กจะรวมตัวกับคาร์บอน เป็นสารประกอบพวกคาร์ไบด์ ซึ่งแข็งมาก ดังนั้น จึงทำให้เหล็กทนทานต่อแรงเสียดสี และบริเวณที่เป็นรอยคมหรือความคมไม่ลบง่าย ทำให้เหล็กเป็นสนิมได้ยาก เพิ่มความแข็งแรงของเหล็กที่ใช้งานที่อุณหภูมิสูง เพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

ทองแดง (Copper) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cu
เพิ่มความแข็งแรง ถ้ามีทองแดงผสมอยู่ในเหล็กแม้เพียงเล็กน้อย เหล็กจะไม่เกิดสนิมเมื่อใช้งานในบรรยากาศ ทองแดงจะไม่มีผลเสียต่อความสามารถในการเชื่อมของเหล็ก แต่อย่างไร

แมงกานีส (Manganese) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mn
ใช้เป็นตัวไล่กำมะถัน (S) ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ต้องการในเนื้อเหล็ก จะถูกกำจัดออกในขณะหลอม ทำให้เหล็กอบชุบแข็งง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต (Critical Cooling Rate) ทำให้เหล็กทนทานต่อแรงดึงได้มากขึ้น เพิ่มสัมประสิทธิ์การขยายตัวของเหล็กเมื่อถูกความร้อน แต่จะลดคุณสมบัติในการเป็นตัวนำไฟฟ้า และความร้อน นอกจากนั้น แมงกานีสยังมีอิทธิพลต่อการขึ้นรูปหรือเชื่อม เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีปริมาณแมงกานีสเพิ่มขึ้น จะทนต่อการเสียดสีได้ดีขึ้นมาก

โมลิบดีนัม (Molybdenum) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mo
ปกติจะใช้ผสมรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต ทำให้อบชุบง่ายขึ้น ป้องกันการเปราะขณะอบคืนตัว (Temper Brittleness) ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด เพิ่มความทนทานต่อแรงดึงแก่เหล็กมากขึ้น สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ได้ง่ายมาก ดังนั้น จึงปรับปรุงคุณสมบัติในการตัดโลหะ (Cutting) ของเหล็กไฮสปีดได้ดีขึ้น เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) แก่เหล็ก อย่างไรก็ตาม เหล็กที่มีโมลิบดินั่มสูงจะตีขึ้นรูปยาก

ไนโตรเจน (Nitrogen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ N
ขณะทำไนไตรดิ้ง (Nitriding) ไนโตรเจนจะรวมตัวกับธาตุบางชนิดในเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบไนไตรด์ ซึ่งทำให้ผิวงานมีความแข็งสูงมาก ต้านทานการสึกหรอได้ดีเยี่ยม

นิกเกิล (Nickel) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ni
เป็นตัวที่เพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทกของเหล็ก ดังนั้น จึงใช้ผสมในเหล็กที่จะนำไปชุบแข็งที่ผิว ใช้ผสมกับโครเมียม ทำให้เหล็กทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย ทนความร้อน

ออกซิเจน (Oxigen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ O
ออกซิเจนเป็นอันตรายต่อเหล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชนิด ส่วนผสม รูปร่าง และการกระจายตัวของสารประกอบที่เกิดจากออกซิเจนนั้น ออกซิเจนทำให้คุณสมบัติเชิงกล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้านทานแรงกระแทกลดลง (ตามแนวขวาง) และเปราะยิ่งขึ้น

ตะกั่ว (Lead) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Pb
เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free-Machining Steel) มีตะกั่วผสมอยู่ประมาณ 0.20 - 0.50 % โดยตะกั่วจะเป็นอนุภาคละเอียด กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอภายในเนื้อเหล็ก เมื่อนำไปกลึง หรือตัด แต่งด้วยเครื่องมือกลทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงทำให้ตัด แต่งได้ง่าย ตะกั่วไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และกำมะถัน (Sulphur) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ P และ S ตามลำดับ
เป็นตัวทำลายคุณสมบัติของเหล็ก แต่มักผสมอยู่ในเนื้อเหล็กโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องพยายามให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มักจะเรียกสารเหล่านี้ว่า สารมลทิน (Impurities) เหล็กเกรดสูงจะต้องมีฟอสฟอรัสไม่เกิน 0.03 - 0.05 % ส่วนกำมะถันจะทำให้เหล็กเกิด Red Shortness จึงแตกเปราะง่าย โดยทั่วไปจึงจำกัดปริมาณกำมะถันในเหล็กไม่เกิน 0.025 หรือ 0.03 % ยกเว้น เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free Machining) ที่เติมกำมะถันถึง 0.30 % เพื่อให้เกิดซัลไฟด์ขนาดเล็กกระจายทั่วเนื้อเหล็ก ทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงตัด แต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย

ซิลิคอน (Silicon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Si
ซิลคอนจะปรากฏในเหล็กทุกชนิด เนื่องจากสินแร่เหล็กมักมีซิลิคอนผสมอยู่ด้วยเสมอ ซิลิคอนไม่ใช่โลหะ แต่มีสภาพเหมือนโลหะ ใช้เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิ่ง (Oxidizing) ทำให้เหล็กแข็งแรงและทนทานต่อการเสียดสีได้ดีขึ้น เพิ่มค่าแรงดึงที่จุดคราก (Yield Point) ของเหล็กให้สูงขึ้นมาก ดังนั้น จึงใช้ผสมในการทำเหล็กสปริง (Spring Steels) ช่วยทำให้เหล็กทนทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ที่อุณหภูมิสูงได้ดี จึงใช้ผสมในเหล็กทนความร้อน เหล็กกล้าที่มีซิลิคอนสูงจะมีเกรนหยาบ

ไทเทเนียม (Titanium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ti
ไทเทเนียมเป็นโลหะที่แข็งมาก ทำให้เกิดคาร์ไบด์ได้ดี เป็นธาตุผสมที่สำคัญในเหล็กสเตนเลส เพื่อป้องกันการผุกร่อนตามขอบเกรน นอกจากนั้น ไทเทเนียมยังช่วยทำให้เหล็กมีเกรนละเอียด

วาเนเดียม (Vanadium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ V
ทำให้เหล็กทนต่อความร้อนได้ดี เพิ่มความแข็งแรงให้กับเหล็ก โดยไม่ทำให้คุณสมบัติในการเชื่อม และการดึงเสียไป ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด รวมตัวกับคาร์บอนที่เป็นคาร์ไบด์ได้ง่าย จึงทำให้ทนทานต่อการสึกกร่อน มักจะผสมในเหล็กขึ้นรูปร้อน (Hot Working Steels) และเหล็กไฮสปีด

ทังสเตน (Tungsten) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ W
สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็น คาร์ไบด์ ที่แข็งมาก จึงทำให้เหล็กที่ผสมทังสเตนมีความแข็งมาก หลังจากผ่านการอบชุบ จึงใช้ทำพวกเครื่องมือคม (Cutting Tools) ต่าง ๆ ทำให้เหล็กเหนียวขึ้น และป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบ เนื่องจากการที่เกรนขยายตัว เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีของเหล็ก ดังนั้น จึงนิยมเติมทังสเตนในเหล็กไฮสปีด (Hi-Speed) และเหล็กที่ต้องอบชุบแข็งโดยทั่วไป

ติดต่อ.........
บริษัท เอเชี่ยนพลัส ซัพพลาย จำกัด // FACEBOOK: http://www.facebook.com/people/Asianplus-Supply/100003297204164
ที่อยู่ :234/7 หมู่ 7 ถ.สุขุมวิท ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280

Tel. 087-6039752 02-1863711 02-1863713
Fax.02-1863712
E-Mail : asianplussupply@hotmail.com

http://sites.google.com/site/specialmetalsthailand/our-mission http://sites.google.com/site/aluminiumasian/who-we-are/xlu-mi-neiym-kerd-aa5083-h112
http://www.pantipmarket.com/mall/stainlessasian/?node=showroom http://www.pantipmarket.com/mall/asianplus/ http://sites.google.com/site/stainlessasian http://sites.google.com/site/asianplussupply

สั่งซื้อสินค้า / ติดต่อสอบถาม

เขียนอีเมลถึงเจ้าของร้าน

ส่งเมลถึง:จำหน่าย,ขาย,เหล็ก SCM440,SK5,SK85,S50C,4140,4340,SNCM439,SCM439,SS400,4130,S45C
อีเมลผู้ส่ง:
เนื้อความ:
มีไฟล์แนบ
ทำสำเนา