จำหน่าย,ขาย,เหล็ก SCM440,SK5,SK85,S50C,4140,4340,SNCM439,SCM439,SS400,4130,S45C
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน11/11/2013
อัพเดท24/03/2024
เป็นสมาชิกเมื่อ 26/01/2012
สถิติเข้าชม17984
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  บริษัท เอเชี่ยนพลัส ซัพพลาย จำกัด 234/7 หมู่ 7 ถ.สุขุมวิท ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร.  Tel 087-6039752,02-1863711,02-1863713 Fax 02-1863712
Mail  asianplussupply@hotmail.com
Search      Go
จำหน่าย,ขาย,เหล็ก S50C,SK5,SK85,SCM440,SNCM439,AISI4140,AISI4340,SKD11,SKD61,SK4,เหล็กหัวแดง,
เหล็กหัวฟ้า,เหล็ก S45C,SNCM439,เหล็ก SS400,เหล็กเกรด S45C,S50C,SS400,SNCM 439,เหล็ก SKD11,
SKD61,เหล็ก SK5,SNCM439,เหล็ก SUP9,เหล็ก SUJ2,เหล็ก SCM415,เหล็ก SKS3,เหล็ก P20,เหล็กแผ่น SCM440,เหล็กแผ่น S50C
.
.
เหล็กตัดแก๊ส,โรงงานเหล็กตัดแก๊ส,เหล็กตัดตามแบบ,เหล็กตัดแก๊ส,ตัดแบ่งขายตามขนาด,เหล็กตัดเลเซอร์ เหล็กแผ่น SCM440,เหล็กแผ่น SCM4,
เหล็แผ่น S50C,เหล็กแผ่น SS400,เหล็กแผ่น SS41,เหล็กแผ่น SKD11,เหล็กเพลา S45C,เหล็กเพลา S50C,เหล็กเพลา SCM440,SCM4,
เหล็กเพลาหัวแดง,เหล็กเพลาหัวฟ้า,จำหน่าย,เหล็กทำแม่พิมพ์,เหล็กทำอะไหล่,เหล็กทำเฟือง,แผ่นเหล็กเกรดแข็ง,เหล็ก SK4,เหล็กเพลาเจียร SK4,เหล็ก SUS420,เหล็ก SUS440C,เหล็ก SUS17-4,เหล็ก SUS630,431,

จำหน่าย,ขาย,เหล็ก S50C,S45C,SCM440,เหล็ก SNCM 439,SCM439,SS400,S45C,S50C,SNCM439,SCM439 SKD11,SKD61,SCM440, SCM4,SKH51,SK5,AUD11, SUP9,P20,SCM415,SKS3,เหล็ก SKD11,SKD61,เหล็กเพลาหัวแดง S50C,เหล็กแข็ง,เหล็กหัวสีแดง,เหล็กหัวสีฟ้า,เหล็กแผ่น S50C,เหล็กเพลา S50C,เหล็กเพลาหัวแดง S50C,เหล็กเกรด S50C,เหล็กเพลาขาว S50C,เหล็กแผ่นแข็ง S50C,จำหน่ายเหล็ก S50C,ขายเหล็ก S50C,ขายเหล็กเพลาขาว,เหล็กเพลาเจียร,เหล็กตัดแก๊ส,รับตัดเหล็ก,เหล็กตัดตามแบบ

ขายเหล็ก 4130,AISI4130,ขายเหล็ก AISI4140,เหล็ก 4140, AISI4340,ขายเหล็ก SK5,SKH51,yxm1,จำหน่ายเหล็ก 4130,AISI4130 AISI415,SCM415,SCM440,SCM4,SNCM439, เหล็ก DAC,SKD61,เหล็ก SGT,SKS3,เหล็ก SLD,SKD11,เหล็ก YXM1,SKH51,เพลาเจียร SK4,เหล็กเพลาเจียร SK4,เหล็กเกรด 4340HT,4140HT,เหล็ก SCM440H,42Cr Mo4,เหล็ก CM4,SNCM 439H,SNCM8,M2,M3, H13,L6,D2,440C,SUJ2,S45C,SCM4,SCM21,5920,SUP9, SUH3,SK5,N695,ST-52 ST-37 / DIN 1.4841 (SUH 310)

จำหน่าย,ขายเหล็ก SKH51,Yxm1,S50C,SKS3,SKS93,SKD11,P21,P20,DAC,SLD,SLD-M,YCS3,HMD5,SGT,HPM7 HPMM,HPM38,HPMP,YXM1,SS400,S50C,ขายเหล็ก 4130,aisi4130,ขายเหล็ก 4340,aisi4340,เหล็ก aisi 4340H,aisi4340HT,ขายเหล็ก aisi4140,4140,4140H,4140HT,SK85,SK5,SK85,SNCM8,SNCM439,Dac,SLD

จำหน่าย,ขายเหล็ก SKS3 SGT DAC SKS93 SKH51 S50C SS400 SKD11 P21 P20 Hitachi Metals : SLD,SLD YCS3,HMD5,SGT,HPM7,HPMM,HPM38,HPMP,YXM1,SS400,S50C,ขายเหล็ก 4130,aisi4130,ขายเหล็ก 4340,aisi4340,เหล็ก aisi 4340H,aisi4340HT,ขายเหล็ก aisi4140,4140,4140H,4140HT,เหล็ก SKH51, yxm1,m2,sncm439,scm440,จำหน่ายเหล็ก AISI4140,AISI4340,SK5,SKH51,yxm1,AISI4115, SCM415,SCM440,SCM4,SNCM439,เหล็ก DAC,SKD61,เหล็ก SGT,SKS3,SK85,SK5,

ขายเหล็ก 4130,aisi4130,ขายเหล็ก 4340,aisi4340,เหล็ก aisi 4340H,aisi4340HT,ขายเหล็ก aisi4140,4140,4140H,4140HT,เหล็ก SKH51,yxm1,m2,sncm439,scm440,จำหน่ายเหล็ก AISI4140,AISI4340,SK5,SKH51,yxm1,AISI4115,SCM415,SCM440, SCM4,SNCM439,เหล็ก DAC,SKD61,เหล็ก SGT,Sk5,

จำหน่าย,ขายเหล็ก S50C,เหล็ก S45C,เหล็ก SS400,เหล็กเกรด S45C,S50C,SS400,SNCM439,SNCM 439,SCM439,SCM 439,เหล็ก SKD11,SKD61, เหล็ก SK5,P20,SKS3,เหล็ก SCM415,เหล็กตัดแก๊ส,โรงงานเหล็กตัดแก๊ส, เหล็ก SNCM 439,SCM439,เหล็ก SS400, เหล็ก SCM 440,เหล็ก SCM4,เหล็ก finishing Plate,
เหล็กแผ่นดำ,เหล็กแข็ง,เหล็กทำแม่พิมพ์,เหล็ก SCM 439,เหล็กเพลาเจียร์,เหล็กเพลาขาว,เพลาเจียร์,
ตัดเหล็ก,เหล็กตัดแก๊ส,รับตัดเหล็ก,ร้านรับตัดเหล็กขาย,เหล็กตัดเลเซอร์,เหล็กตัดตามแบบ,เหล็กปาดเจียรผิว,เหล็กปาดผิว,แผ่นเหล็กตัดแบ่งขายตามขนาด,

จำหน่าย,ขาย,เหล็ก S50C,เหล็ก S45C,เหล็ก SNCM 439,SCM439,เหล็ก SKD11,เหล็ก SS400, เหล็ก SCM 440,เหล็กเกรด S45C,S50C,SS400,SNCM 439,เหล็ก SKD11,SKD61,เหล็ก SK5,SNCM439,เหล็ก SUP9 เหล็ก SUJ2,เหล็กตัดแก๊ส,เหล็กเพลาเจียร์,เหล็กแผ่นดำ SS400,เหล็กปาดผิว,

คุณสมบัติของเหล็กเกรดต่างๆ
เหล็ก SS400 คุณสมบัติ เหล็กแผ่นรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างทั่วๆ ไป

เหล็ก SKD11 คุณสมบัติ ทำลูกรีดเกลียว ลูกรีดแป๊ป ใบมีดตัดเหล็กแม่พิมพ์ปั้มขึ้นรูป แม่พิมพ์กรรไกร แม่พิมพ์กระดาษ ทนแรงตึงสูง

เหล็ก SKS3 คุณสมบัติ เหล็กทำแม่พิมพ์งานเย็น พิมพ์ตัด โลหะแผ่นบางและกระดาษ มีความสามารถในการชุบแข็งสูง ทนแรงเสียดสีได้ดี

เหล็ก SKD61 คุณสมบัติ เหล็กสำหรับทำแม่พิมพ์งานร้อน มีความแข็งแรงที่อุณหภูมิปกติและอุณหภูมิสูงๆทนการสึกหรอดีมาก ทนแรงกระแทกสูง รักษาความแข็งแรงที่สูงได้ดี ใช้ทำแม่พิมพ์อัดขึ้นรูปโลหะได้ดี

เหล็ก P20 คุณสมบัติเหล็กแม่พิมพ์พลาสติกคุณภาพสูง ขัดผิวขึ้นเงาได้ดีมาก ทำงานง่าย ทนแรงดัน

เหล็ก S45C คุณสมบัติ เหล็กคาร์บอนปานกลางเหมาะสำหรับงานพื้นฐานทั่วไป โครงสร้างแม่พิมพ์ และแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ชุบแข็งได้ง่าย ทนการเสียดสีได้ดี มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับทำชิ้นส่วนพื้นฐาน หรือโครงสร้างของแม่พิมพ์และงานทั่วๆ ไป

เหล็ก S50C คุณสมบัติ เหล็กคาร์บอนปานกลางเหมาะสำหรับงานพื้นฐานทั่วไป โครงสร้างแม่พิมพ์ และแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ชุบแข็งได้ง่าย ทนการเสียดสีได้ดี มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับทำชิ้นส่วนพื้นฐาน หรือโครงสร้างของแม่พิมพ์และงานทั่วๆ ไป

เหล็ก SCM440 คุณสมบัติ เหล็กเครื่องมือมีคาร์บอนปานกลาง มีความเหนียว ทนแรงตึงสูง เหมาะสำหรับทำเครื่องมือ น๊อต สกรู เพลา ก้านสูบและชิ้นส่วนรถยนต์

เหล็ก SCM415 คุณสมบัติ ทนแรงดึงสูง มีความเหนียว เหล็กเครื่องมือ เหมาะที่จะเฟืองรอบจัด และงานที่ต้องการผิวที่แข็งเฉพาะผิว

เหล็ก SCM439,SNCM439 คุณสมบัติ เหล็กเครื่องมือทนแรงดึงสูง เหมาะสำหรับทำเพลาข้อเหวี่ยง เฟืองแกนพวงมาลัย เพลากลางรถยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีความเครียดสูง

เหล็ก SK5 คุณสมบัติ เหล็กคาร์บอนสูง ชุบแข็งได้ง่าย ทนทานการเสียดสีได้ดี มีความแข็งแรงสูง มีคุณสมบัติเป็นสปริงสูง

เหล็ก SUP9 คุณสมบัติ ใช้สำหรับสปริงขึ้นรูปงานร้อน (Hot Format Spring) เช่นเหล็กแผ่นสปริง (Laminated Springs) เหล็กคอยล์ปริง และเหล็กแหนบสปริงที่ใช้ในรถยนต์

เหล็กกล้า (Steel) เป็นวัสดุที่ประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก (Iron: Fe (Ferrous)) เป็นสารตั้งต้นพื้นฐาน แล้วก็มีการผสมธาตุต่าง ๆ ลงไปในเนื้อเหล็ก โดยทั่วไปแล้วในเหล็กกล้าจะมีธาตุเหล็กอยู่มากกว่า 90% ที่เหลือจะเจือผสมกับธาตุอื่น ๆ เช่น โมลิบดีนัม, นิเกิล, แมงกานีส ฯลฯ

การผลิตเหล็กดิบ สินแร่เหล็ก
บริเวณพื้นโลกของเรามีสินแร่อยู่เป็นจำนวนมากมายและอยู่ในลักษณะสารผสม เช่น ดิน หิน ทราย และสินแร่เหล็กผสมกันอยู่ สินแร่เหล็กที่อยู่ในรูปโดดเดี่ยวนั้นไม่มีเลย เพราะแะนั้นการที่จะได้แร่เหล็กบริสุทธิ์นั้นต้องมีขั้นตอนในการผลิตแล้วนำมาผสมกับเนื้อเหล็กผสมอีกครั้งหนึ่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพของเหล็กที่จะนำมาใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เหล็กที่ได้สามารถทนแรงเค้น แรงดึง แรงกด และแรงเฉือนได้ดี ตลอดจนมีความแข็งเพิ่มขึ้น

วัตถุดิบที่ใช้ในการถลุงเหล็กเพื่อให้ได้เหล็กดิบ ประกอบด้วย

  1. ถ่านโค้ก (coke) เป็นเช้อเพลิงสำคัญที่ให้ความร้อนต่อการถลุงในเตาถลุง ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ได้จากกระบวนการโดยการนำถ่านหินมาบรรจุในกล่องเหล็กเพื่อไม่ให้อากาศเข้าได้แล้วนำมาให้ความร้อนจนถ่านภายในร้อนแดง สารไฮโดรคาร์บอนท่อยู่ภายในถ่านหินก็จะระเหยกลายเป็นก๊าซ หลังจากนั้นเทถ่านหินที่ร้อนแดงลงในน้ำก็จะได้ถ่านโค้กซึ่งมีลักษณะเป็นรูพรุนและให้ค่าความร้อนสูง ก๊าซที่ได้จากการเผาถ่านก็นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมเคมีได้ เช่น ทำยา ทำสีย้อมผ้า เป็นต้น สำหรับถ่านโค้กที่เหมาะสำหรับในการถลุงควรมีกำมะถันน้อยที่สุด เพราะเมื่อกำมะถันเข้าไปรวมตัวกับเหล็กดิบจะทำให้มีความเปราะ
  2. หินปูน (limestone) หรือแคลเซียมคาร์บอเนต(CaCo3)ทำหน้าที่แยกธาตุสารเจือปนในสินแร่เหล็กออกมาเป็นขี้ตระกรัน(slag) จะลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำเหล็กดิบ และเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาลดออกซิเจนในเตาถลุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  3. สินแร่ (ores)ได้มาจากเหมืองแร่แหล่งต่างๆ ก่อนทำการถลุงควรจะขจัดหรือแยกสารเจือปนออกเสียก่อนเพื่อจะทำให้ได้สินแร่เหล็กที่มีคุณภาพดี เราสามารถแบ่งสินแร่เหล็กออกได้เป็น คือ
  4. แมกนีไทต์ (magnetite) เป็นแร่แม่เหล็กมีสูตรว่า (Fe3O4) หรือบางครั้งเรียกว่าเหล็กออกไซต์ มีลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ถ้านำไปเข้าเครื่องบดบดให้ละเอียดจะมีเนื้อสีดำ มันวาว มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเลยเรียกว่าแร่แม่เหล็ก มีเนื้อเหล็กอยู่มากถึง 75% มีแมกนีเซียมและแมงกานีสปะปนอยู่บ้าง พบมากที่สุดในประเทศสวีเดน ต่อมาสวีเดนจึงได้ชื่อว่ามีแร่เหล็กที่คุณภาพมากที่สุด
  5. เรดฮีมาไทต์(red hematite)มีสูตรคือ Fe2O3 หรือเรียกว่าเหล็กออกไซต์ มีลักษณะเป็นสีแดงหรือน้ำตาลเข้ม เมื่อบดจะมีสีแดงมันวาว มีเนื้อเหล็กประมาณ 70 % มีไทเทเนียมผสมบ้างเล็กน้อย พบมากในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ในทะเลสาบสุพีเรียของอเมริกา
  6. บราวน์ฮีมาไทต์(brows hematite) มีสูตรคือ Fe2O3 + n(H2O) หรือเรียกว่าลิโมไนต์ มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือสีเหลืองเข้ม มีสินแร่ประมาณ 50-67 % พบมากในประเทศเยอรมัน สหรัฐอเมริกา
  7. ซิเดอไรต์ (siderite) มีสูตรคือ FeCO3 หรือเรียกว่าเหล็กคาร์บอเนต มีลักษณะเป็นก้อนสีน้ำตาลเข้ม มีสินเหล็กค่อนข้างน้อยประมาณ 48-60 % และมีคาร์บอเนตผสมอยู่ประมาณ 38% พบมากในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา
  8. เหล็กไพไรต์ (iron pyrite) มีสูตรว่า FeS2 มีกำมะถันปนอยู่มากทำให้เหล็กมีคุณสมบัติเปราะและมีสินแร่อยู่น้อยมาก ประมาณ 46% กำมะถัน 53% และยังมีโคบอลต์และนิกเกิลผสมอยู่บ้างเล็กน้อย พบมากในประเทศสเปน สหรัฐอเมริกาและไทย

กรรมวิธีผลิตเหล็กกล้า (Steel Production)
เหล้กกล้า (Steels) คือเหล็กที่มีส่วนผสมของเหล็ก คาร์บอน ไม่เกิน 2 % และธาตุ
อื่นๆ หรือสารเจือ โดยทั่วไปเหล็กบริสุทธิ์มีคุณสมบัติทางกลที่ไม่เหมาะสมสำหรับงานทางด้านวิศวกรรม ดังนั้น เหล็กกล้าจึงมีความแตกต่างจากเหล็กอ่อน เหล็กบริสุทธิ์และเหล็กหล่อ ตรงที่สามารถทนต่อแรงดึง แรงบิด การขึ้นรูปหรือแปรรุปง่าย ไม่เปราะหรือแตกหักง่ายและเชื่อมได้ เหล็กกล้ามีจุดหลอมเหลวสูงกว่าเหล็กดิบ เพราะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ

การผลิตเหล็กกล้า เป็นกระบวนการที่ต้องการทำให้เหล็กดิบสีขาวที่ได้จากการถลุง
ของเตาเป่าลม มาทำให้มีความบริสุทธิ์ขึ้น โดยพยายามลดสารมลทินต่างๆให้เหลือน้อยลงหรือหมดไปพร้อมกับปริมาณของธาตุคาร์บอนและธาตุอื่นๆ ถูกลดจำนวนลง ธาตุต่างๆที่ผสมอยู่ในเหล็กจะต้องมีปริมาณเหมาะสม เช่น ซิลิกอน คาร์บอน แมงกานีส ฟอสฟแรัส และกำมะถัน ละในบางครั้งก็จำเป็นจะต้องเติมธาตุอื่นๆ เข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ต้องการ เช้าน นิกเกิล โครเมี่ยม โมลิบดินั่ม ทองแดง วาเนเดียมไทเทเนียม เป็นต้น

เหล็กกล้ามีส่วนประกอบสำคัญดังนี้
1.ธาตุเหล็ก เป็นส่วนของเปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักที่มากที่สุด

2.ธาตุคาร์บอน มีคุณสมบัติทางกลที่เด่นอยู่ 2 ส่วนคือ
2.1 การเพิ่มคุณสมบัติด้านความแข็ง (Hardness) ความต้านทานแรงดึง (Tensile
strength) การทนต่อการเสียดสี (Wear resistance) ความสามารถในการชุบแข็ง (Hardening)
2.2 การลดคุณสมบัติด้านความเหนียว(Ductility) ความยืดตัว (Elongation) ความ
สามารถในการตัดเฉือน (Machinability) ความสามารถในการเชื่อม (Welding ability)

3.ธาตุเจือหรือสารเจือที่ติดมากับเหล็ก สารที่มีอยู่แล้วและเป็นที่ต้องการคือ แมงกานีส
ซิลิคอน และอลูมิเนียม ส่วนสารที่ไมต้องการคือ ฟอสฟอรัส กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน และไฮโดรเจน
4.สารเติมหรือธาตุประสม ที่ผสมลงไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติจำเพาะซึ่งจะต้องมีปริมาณที่
พอเหมาะ

เหล็กกล้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าประสม
1.เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon steels) หมายถึง เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลักที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางกลของเหล็ก และยังมีธาตุอื่นผสมอยู่อีก ซึ่งแบ่งเหล็กกล้าคาร์บอนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.1 เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.25% นอกจากคาร์บอนแล้วยังมีธาตุอื่นผสมอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส ซิลิคอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน แต่มีปริมาณน้อยเนื่องจากหลงเหลือมาจากกระบวนการผลิต เหล็กประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และในชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่า 90% เนื่องจากขึ้นรูปง่าย เชื่อมง่าย และราคาไม่แพง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ กระป๋องบรรจุอาหาร สังกะสีมุงหลังคา เครื่องใช้ในครัวเรือน และในสำนักงาน

1.2 เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.2-0.5% มี
ความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่าเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า สามารถนำไปชุบแข็งได้ เหมาะกับงานทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางรถไฟ เฟือง ก้านสูบ ท่อเหล็ก ไขควง เป็นต้น

1.3 เหล็กกล้าคาร์บอนสูง เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.5 - 1.5% มีความ
แข็งความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงสูง เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำหรับงานที่ทนต่อการสึกหรอ ใช้ในการทำเครื่องมือ สปริงแหนบ ลูกปืน เป็นต้น
2.เหล็กกล้าประสม (Alloy steels) หมายถึง เหล็กที่มีธาตุอื่นนอกจากคาร์บอน ผสมอยู่ในเหล็ก ธาตุบางชนิดที่ผสม อยู่อาจมีปริมาณมากกว่าคาร์บอน คิดเป็นเปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักในเหล็กก็ได้ ธาตที่ผสมลงไปได้แก่ โมลิบดินั่ม แมงกานีส ซิลิคอน โครเมียม อลูมิเนียม นิกเกิล และวาเนเดียม เป็นต้น จุดประสงค์ที่ต้องเพิ่มธาตุต่างๆเข้าไปในเนื้อเหล็กก็เพื่อการทำให้คุณสมบัติของเหล็กเปลี่ยนไปนั่นเองที่สำคัญก็คือ

  1. เพิ่มความแข็ง
  2. เพิ่มความแข็งแรงที่อุณหภูมิปกติและอุณหภูมิสูง
  3. เพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์
  4. เพิ่มความต้านทานการสึกหรอ
  5. เพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน
  6. เพิ่มคุณสมบัติทางแม่เหล็ก
  7. เพิ่มความเหนียวแน่นทนต่อแรงกระแทก

เหล็กกล้าประสม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 เหล็กกล้าประสมต่ำ ( Low Alloy Steels ) เป็นเหล็กกล้าที่มีธาตุ
ประสมรวมกันน้อยกว่า 8% ธาตุที่ผสมอยู่คือ โครเมี่ยม นิกเกิล โมลิบดินั่ม และแมงกานีส ปริมาณของธาตุที่ใช้ผสมแต่ละตัวจะไม่มากประมาณ 1 – 2% ผลจากการผสมทำให้เหล็กสามารถชุบแข็งได้ มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับใช้ในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น เฟือง เพลาข้อเหวี่ยง จนบางครั้งมีชื่อว่าเหล็กกล้าเครื่องจักรกล (Machine Steels) เหล็กกล้ากลุ่มนี้จะต้องใช้งานในสภาพชุบแข็งและอบก่อนเสมอจึงจะมีค่าความแข็งแรงสูง

2.2 เหล็กกล้าประสมสูง ( High alloy steels) เหล็กกล้าประเภทนี้จะถูก
ปรับปรุงคุณสมบัติ สำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง ซึ่งก็จะมีธาตุประสมรวมกันมากกว่า 8% เช่น เหล็กกล้าทนความร้อน เหล็กกล้าทนการเสียดสี และเหล็กกล้าทนการกัดกร่อนในที่นี้จะศึกษาเหล็กกล้าไร้สนิมและเหล็กกล้าทำเครื่องมือ

2.2.1 เหล็กกล้าสแตนเลส (Stainless Steels)หรือเรียกว่าเหล็กกล้าไร้สนิม
ส่วนมากผลิตมาจากเตาไฟฟ้าเหล็กกล้ากลุ่มนี้ทนต่อการผุกร่อน หรือต้านการเป็นสนิมได้ดี ธาตุที่มีบทบาทมากได้แก่ โครเมี่ยม ที่ผสมเข้าไปในเนื้อเหล็ก ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นฟิลม์บางๆขึ้นที่ผิวของเหล็กฟิลม์นี้จะมีความแข็งแรงสูง โปร่งใส ยึดตัวกับผิวเหล็กได้ดี มีความหนาแน่นสูงและไม่มีรูพรุน นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการซ่อมตัวเอง(เกิดขึ้นใหม่เองได้ เพื่อทดแทนส่นของฟิลม์เก่าที่ถูกทำลายไปได้อย่างรวดเร็วการที่จะเกิดฟิลม์ในลักษณะดังกล่าวได้ จะต้องมีโครเมี่ยมผสมอยู่ไม่น้อยกว่า 10 %(ส่วนใหญ่มีอยู่ประมาณ 12% ) นอกจากโครเมี่ยมแล้ว เหล็กกล้าไร้สนิมยังมีธาตุอื่นผสมอยู่อีกเช่น โมลิบดินัม นิกเกิล และแมงกานีส เป็นต้น เหล็กกล้าไร้สนิม ถ้าโครงสร้างเปลี่ยนไปอันเนื่องจากอุณหภูมิบรรยากาศการใช้งาน หรือลักษณะของแรงที่มากระทำ ฟิลม์จะไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสนิม อันเกิดจากบรรยากาศภายนอกได้ เหล็กกล้าไร้สนิมก็จะเป็นสนิมได้ทันที

เหล็กกล้าไร้สนิม มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมี และโครงสร้างทางโลหะวิทยา โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
ก.กลุ่มออสเตนนิติก (Austenitic) หรือเหล็กกล้าออสเตนนิติก มีส่วนผสมของคาร์บอน 0.15 % โครเมี่ยม 18% นับเป็นกลุ่มที่มีหลายเกรดมากที่สุด ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เหล็กกลุ่มนี้มีโครงสร้างหลักเป็นออสเตนไนท์ (มีนิเกิลและแมงกานีสเป็นส่วนผสมหลัก) ไม่เป็นสารแม่เหล็ก ไม่สามารถทำการชุบแข็ง เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเหล็กกล้าด้วยความร้อนได้ นิยมใช้ทำ เครื่องครัว มีด แท็งค์น้ำ เป็นต้น เหล็กกล้าประเภทนี้มีการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย เช่น ประเภทคาร์บอนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 0.08% ตามมาตรฐานอเมริกา (AISI) คือ เกรด 304 เกรด 316 เป็นต้น

ข. กลุ่มเฟอร์ริติก (Ferritic) กลุ่มนี้ไม่มีนิกเกิลเป็นส่วนผสมมีแต่เหล็ก และโครเมี่ยม มีราคาถูก ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่สามารถปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อนทางการชุบแข็งได้ (Hardening) เนื่องจากมีอัตราส่วนของคาร์บอนกับโครเมี่ยมต่ำ มีโครงสร้างหลักเป็นเฟอร์ไรท์ สามารถดูดแม่เหล็กได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทคาร์บอนต่ำมีโครเมี่ยมประมาณ 15 – 18% และมีคาร์บอนไม่เกิน 0.12% และประเภททนต่อความร้อน มีโครเมี่ยมประมาณ 25 – 30% และคาร์บอน 0.3 %

ค. กลุ่มมาร์เตนซิติก (Martensitic) มีโครงสร้างเหล็กเป็นมาณเตนไซท์ มีเหล็ก โครเมียม และคาร์บอนเป็นส่วนผสม แต่คาร์บอนเป็นตัวที่ทำให้ความต้านทานการผุกร่อนลดลง จึงเป็นธาตะที่ไม่พึงประสงค์ แต่เหล็กกลุ่มนี้สามารถเพิ่มความแข็งโดยการชุบแข็งได้ จึงต้องมีคาร์บอนผสมอยู่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทที่มีคาร์บอนไม่เกิน 0.15% โครเมี่ยมระหว่าง 12 – 14 % ประเภทที่มีคาร์บอนประมาณ 0.2 – 0.4% โครเมี่ยมระหว่าง 13 – 15% และประเภทที่มี คาร์บอนระหว่าง 0.6 – 1% โครเมี่ยมระหว่าง 14 – 16%

2.2.2เหล็กกล้าเครื่องมือ (Tool steels)เป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของธาตุ
โครเมี่ยม โมลิบดินั่ม นิกเกิล วาเนเดียม โคบอลด์และไทเทเนียม เกินกว่า 5% และมีคาร์บอนอยู่ระหว่าง 0.8 – 2.2% ธาตุประสมเหล่านี้สามารถเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับเหล็กกล้าเครื่องมือ โดยเฉพาะเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง ที่รักษาคมมีดตัดโลหะได้ดี ถึงแม้ใช้งานที่อุณหภูมิสูง จนผิวของคมตัดร้อนมีสีแดง คุณสมบัตินี้เรียกว่า ความแข็งขณะร้อน (Hot hardness) เช่น ดอกกัด (Endmil) มีดกลึง มีดไส เครื่องมือทำเกลียวใน (Tap) และเครื่องมือทำเกลียวนอก (Die) การแบ่งชนิดของเหล็กกล้าเครื่องมือสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ ลักษณะการใช้งานเหล็กเครื่องมือ ปริมาณของธาตุประสม และลักษณะการชุบแข็ง
จากการที่นำวัสดุต่าง ๆ ผสมเข้าไปในเหล็กกล้า ทำให้เกิดเหล็กกล้าประสมที่มีคุณสมบัติตามวัสดุที่มาผสม ซึ่งเหล็กกล้าชนิดนี้จะเรียกชื่อตามวัสดุที่มาประสม ได้แก่

เหล็กกล้านิเกิล (Nicket Steel)
เหล็กกล้าผสมนิเกิล จะมีคุณสมบัติคือ มีความต้านทานการล้าตัว ทนต่อความกัดกร่อน มีความเหนียวเพิ่มขึ้น ทนต่อความกระแทกได้ดี เหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการทนต่อการสึกหรอที่เกิดจากการเสียดสีได้ดี ถ้ามีส่วนผสมนิเกิล 1.5 – 3% จะตีรูปได้ง่าย แต่ถ้ามี 5% จะสามารถรับแรงกระแทกได้ดีมาก

เหล็กกล้านิเกิล ที่มีนิเกิลผสมอยู่ 10 – 22% และมีโครเมียมผสมอยู่ด้วยจะทำให้เหล็กกล้านิเกิลทนต่อการกัดกร่อนได้ดีมาก
- ผสมนิเกิล 25%-30% ใช้ทำเหล็กกล้าที่ต้านทานการกัดกร่อน
- ผสมนิเกิล 30%-40% จะทำให้สัมประสิทธิ์ขยายตัวต่ำ ใช้ทำเครื่องมือวัดละเอียดจะต้องมีอัตราการขยายตัวน้อยที่สุด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
- ผสมนิเกิล 30% และโคมเมียม 12% มีคุณสมบัติ คือ มีอัตราการยืดหดน้อยมาก
- ผสมนิเกิล 50% มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กได้ดีมาก

เหล็กกล้าโครเมียม (Chromium Steel)
โครเมียม เป็นโลหะชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาผสมลงในเหล็กกล้ากันอย่างกว้างขวาง จะรวมตัวกับคาร์บอน ได้โครเมียมคาร์ไบด์ (Chromium Carbides) มีความแข็งแรงมาก ทนต่อการสึกหรอ มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กได้ดี เมื่อชุบแข็งจะทำให้ความแข็งซึมลึก และเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน เมื่อผสมโครเมียม 30%-60% จะทำให้เปราะและแตกง่าย
เมื่อผสมโครเมียมกับเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ จะทำให้มีคุณสมบัติเหนียว และทนต่อการกระแทกที่อุณหภูมิปกติ เหมาะที่จะนำไปทำเฟือง, ลูกสูบ, สปริง, สลักลูกปืน, ลูกรีด เป็นต้น

เหล็กกล้าคาร์บอนสูงที่ผสมโครเมียมสูงประมาณ 12%-14% และคาร์บอน 1.5-1.25% ใช้ทำมีดหรือเครื่องมือผ่าตัด, ใบมีดเครื่องตัดเฉือน

เหล็กกล้าประสมโมลิบดินัม (Molydenum Steel)
มีคุณสมบัติคล้ายกับเหล็กกล้าประสมโครเมียม
- มีคุณสมบัติด้านความสามารถในการชุบแข็งได้ดีเมื่อผสมโมลิบดินัมลงไปไม่เกิน 1% แต่ถ้าประสมปริมาณมากกว่านี้ จะทำให้คุณสมบัติการชุบแข็งลดลง ทำให้สามารถทนความร้อนได้ดี
- รักษาความแข็งได้จนกระทั่งอุณหภูฒิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส
- สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี

เหล็กกล้าประสมวานาเดียม (Vanadium Steel)
เหล็กกล้าประสมวานาเดียมมีคุณสมบัติดังนี้
- เพิ่มคุณสมบัติตามด้านความสามารถในการชุบแข็ง เมื่อผสมวานาเดียมไม่เกิน 0.04%
- เมื่อผสมวานาเดียมลงไปมากกว่า 0.04% จะทำให้ลดคุณสมบัติทางด้านความสามารถในการชุบแข็งลง
- วานาเดียมช่วยให้เหล็กกล้ามีเม็ดเกร็ดละเอียดดีมาก
- สามารถรักษาความแข็งที่อุณหภูมิสูงได้

เหล็กกล้าประสมแมงกานีส (Manganese Steel)
เหล็กกล้าประสมแมงกานีสมีคุณสมบัติคล้ายกับเหล็กกล้าประสมนิเกิล คือ
- ทำให้เม็ดเกร็ดละเอียด
- เพิ่มคุณสมบัติทางด้านความสามารถในการชุบแข็งให้กับเหล็ก
- เพิ่มความแข็งแรงและความแข็งมากขึ้น แต่ความเหนียวจะลดลง
ในทางปฏิบัติจริงๆ ไม่นิยมใช้แมงกานีสเป็นธาตุประสม จะทำให้เหล็กกล้าเปราะ ไม่ทนต่อแรงกระแทก

เหล็กกล้าประสมทังสเตน (Tungsten Steel)

เพิ่มคุณสมบัติทางด้านความสามารถในการชุบแข็ง ในอุตสาหกรรมเหล็กเครื่องมือ จะผสมทังสเตนในเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง และสามารถทนต่อความร้อนสูงด้วย เช่น มีดกลึงโลหะ หรือเหล็กที่ใช้ทำแม่พิมพ์ร้อน เป็นต้น

เหล็กกล้าประสมติตาเนียม (Titanium Steel)
มีคุณสมบัติดังนี้
- เพิ่มความสามารถในการชุบแข็งมากขึ้น เมื่อผสมติตาเนียมในเหล็กด้วยปริมาณไม่เกิน 1%
- ถ้าผสมลงไปในเหล็กเป็นจำนวนมากจะทำให้ลดความสามารถในการชุบแข็ง
- ถ้านำติตาเนียมผสมกับไนโตรเจน จะได้ติตาเนียมไนไตรท์ ซึ่งมีความแข็งแรงสูง

เหล็กกล้าประสมซิลิกอน (Silicon Steel)
จะมีคุณสมบัติดังนี้
- ทำให้จุดคราก (Vield Point) ของเหลวสูงขึ้น
- ไม่มีบทบาทเกี่ยวกับการชุบแข็ง
- นำไปใช้งานเกี่ยวกับการเชื่อมไม่ดี เมื่อผสมซิลิกอนเข้าไปมาก เพราะซิลิกอนจะรวมตัวกับออกซิเจนได้ง่ายมาก

เหล็กกล้าประสมโคบอลต์ (Cobalt Steel)
มีคุณสมบัติดังนี้
- มีความแข็งแรงสูงขึ้น
- ชุบแข็งไม่ค่อยได้
- สามารถรักษาความแข็งไว้ได้แม้กระทั่งอุณหภูมิสูง

เหล็กกล้าประสมอลูมิเนียม (Aluminum Steel)

มีคุณสมบัติดังนี้
- มีความแข็งแรงสูงขึ้น
เหล็กกล้าที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป จะไม่ผสมธาตุใดธาตุหนึ่งโดยเฉพาะ มักจะผสมธาตุอื่นลงไปด้วย ตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อให้บทบาทของธาตุที่ผสมลงไปได้มีส่วนเพิ่มคุณภาพของเหล็กกล้าผสมให้อยู่ในเกณฑ์สูง และราคาไม่แพงจนเกินไป

กระบวนการผลิตเหล็กกล้าที่สำคัญในปัจจุบันมี 2 กระบวนการ คือ
กระบวนการบีโอเอส (Basic Oxgen Making : BOS) ใช้ในการผลิตเหล็กกล้าที่มีปริมาณมากต้องอาศัยเหล็กดิบเป็นวัตถุดิบและกระบวนการหลอมด้วยเตาไฟฟ้า(Electric Arc Furnace : Eaf) ใช้สำหรับผลิตเหล็กกล้าในปริมาณน้อย วัตถุดิบอาจเป็นเศษเหล็ก เหล็กพรุน หรือทั้งสองอย่างผสมกัน

1.กระบวนการบีโอเอส (Basic Oxgen Making : BOS) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง
ว่า กระบวนการแอลดี (LD Process) มีหลักการคือ การพ่นก๊าซออกซิเจนลงไปในเหล็กที่กำลังหลอมเหลวด้วยความเร็วสูง ก๊าซออกซิเจนจะไปทำปฏิกริยากับสารมลทินในน้ำเหล็ก กลายเป็นสารประกอบออกไซด์ลอยขึ้นสู่ผิวหน้าของน้ำเหล็กทำให้สามารถขจัดสารมลทินออกจากเนื้อเหล็กได้ ดังรูป กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งความร้อนจากภายนอกแต่ได้จากการลุกไหม้ของสารมลทินกับออกซิเจนที่พ่นใส่น้ำเหล็ก การพ่นออกซิเจนจะใช่เวลาประมาณ 20 – 30 นาที จากนั้นจึงทำการถ่ายน้ำเหล็กลงในถังพัก เพื่อไล่ออกซิเจนที่หลงเหลืออยู่ในน้ำเหล็กให้หมดไป โดยการเติมธาตุ เช่น ซิลิกอน อะลูมิเนียม แล้วปรับปถรุงส่วนผสมทางเคมีโดยการเติมธาตุต่างๆ ลงไปตามความต้องการ ก่อนที่จะหล่อเหล็กให้เป็นแท่งเพื่อที่จะนำไปผ่านกระบวนการขึ้นรูปหรืแแปรรูปต่อไป

ผลผลิตที่ได้จากเตาบีโอเอส ได้แก่ เหล็กกล้าผสม และเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ นอก
จากนี้ยังมีกรรมวิธีที่มีลักษณะคล้ายกันดังนี้

กระบวนการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต

กระบวนการหล่อเหล็กแท่งบิลเล็ท (Billet)
  1. เศษเหล็ก ซื้อในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
  2. เตาหลอมไฟฟ้า ใส่เศษเหล็กลงในเตาหลอมไฟฟ้าและหลอม ณ อุณหภูมิประมาณ 1,540 องศาเซลเซียส
  3. การหลอมเหลว ใช้อ๊อกซิเจนช่วยเร่งการหลอมให้เร็วขึ้นและปรับคุณภาพน้ำเหล็กให้ได้ตามมาตรฐาน
  4. เครื่องหล่อเหล็กแท่ง นำน้ำเหล็กไปหล่อเป็นเหล็กแท่ง ในเครื่องหล่อเหล็กแท่งและตัดให้ได้ความยาวตามต้องการ

กระบวนการรีดเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย
  1. เตาอบเหล็ก นำเหล็กแท่งบิลเล็ทเข้าเตาอบซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 1,100 ถึง 1,250 องศาเซลเซียส
  2. แท่นรีด ลำเลียงบิลเล็ทเข้าสู่แท่นรีดเหล็ก 3 ชุด คือ แท่นรีดหยาบ, แท่นรีดกลาง, และแท่นรีดละเอียดเพื่อรีดให้ได้เหล็กตามลักษณะและขนาดที่ต้องการ
  3. เหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย นำเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อยที่รีดจนได้ขนาดเข้าสู่ลานลดอุณหภูมิ ตัดให้ได้ขนาดตามมาตรฐานและมัดเก็บเพื่อรอการจำหน่าย

คุณสมบัติที่สำคัญของเหล็กกล้าเครื่องมือ
ความสามารถในการชุบแข็ง (Hardenability) คือ คุณสมบัติที่เหล็กกล้าที่บ่งถึงความยาก-ง่ายในการชุบแข็งและความลึกของเหล็กที่แข็งขึ้นจากการชุบแข็ง (quenching) คุณสมบัตินี้จะขึ้นกับส่วนผสมทางเคมีและขนาดของเกรนของเหล็กกล้า โดยเหล็กกล้าที่มีความสามารถในการชุบแข็งสูง จะสามารถทำการชุบแข็งได้ง่ายด้วยลม แต่ถ้าเหล็กกล้ามีความสามารถในการชุบแข็งต่ำ การชุบแข็งด้วยลมจะไม่สามารถทำให้ได้เฟสมาร์เทนไซต์ จึงอาจต้องทำการชุบแข็งด้วยน้ำหรือของเหลวอื่น ซึ่งจะมีผลต่อการบิดตัวของชิ้นงานที่ทำการชุบ คุณสมบัตินี้เพิ่มขึ้นตามปริมาณธาตุผสม ดังนั้น การทำให้ได้ชิ้นงานที่มีความแข็งสูงตลอดชิ้น หรือสามารถชุบแข็งได้ลึก จึงควรเลือกใช้เหล็กกล้าที่มีธาตุผสมสูง โดยโคบอลต์เป็นเพียงธาตุเดียวที่ลดคุณสมบัตินี้

ความเหนียว (Toughness) คือ ความสามารถในการรับพลังงานของวัสดุก่อนที่จะเกิดการแตกหัก เหล็กกล้าเครื่องมือที่ถือว่ามีคุณสมบัติด้านความเหนียวที่ดี คือ กลุ่มที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ หรือปานกลาง คุณสมบัตินี้จำเป็นสำหรับการใช้งานในสภาวะที่ต้องรับแรงกระแทก

ความทนต่อการเสียดสี (Wear resistance) คือ ความสามารถทนต่อการถูกขัดสี ซึ่งรวมถึงการเสียดสีของคมตัดด้วย คุณสมบัตินี้จะเกี่ยวข้องกับความแข็งของเหล็ก และปริมาณคาร์ไบด์ที่ไม่ละลาย (คาร์ไบด์ที่ไม่สลายตัว เมื่อมีการใช้งานในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง) โดยหากเหล็กกล้าเครื่องมือมีความแข็งสูงก็จะทนการเสียดสีได้ดี หรือหากมีคาร์ไบด์ที่ไม่ละลาย (แม้อุณหภูมิสูง) ก็จะทำให้ทนการเสียดสีได้ดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากคาร์ไบด์จะมีความแข็งสูง
การรักษาความแข็งไว้ได้ที่อุณหภูมิสูง (Red-hardness) เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับการใช้งานเหล็กกล้าเครื่องมือที่ต้องได้รับความร้อนจนมีอุณหภูมิสูงกว่า 480 °C โดยธาตุผสมที่ทำให้เกิดคาร์ไบด์ที่เสถียรจะช่วยปรับปรุงคุณสมบัตินี้ ซึ่งจะทำให้เหล็กกล้าเครื่องมือไม่อ่อนลง (ความแข็งลดลง) อันเนื่องมาจากผลของความร้อนในขณะใช้งานที่อุณหภูมิสูง หรือในขณะทำการอบคืนตัว (tempering)

ติดต่อ..........
.
บริษัท เอเชี่ยนพลัส ซัพพลาย จำกัด.....
ที่อยู่ : 234/7 หมู่ 7 ถ.สุขุมวิท ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
.
Tel. 087-6039752 02-1863711 02-1863713 Fax.02-1863712
E-Mail : asianplussupply@hotmail.com
.
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=stainless-aluminium&month=01-2016&date=12&group=1&gblog=11
.
https://www.pantipmarket.com/mall/asianplus/?node=products&id=333802
http://www.pantipmarket.com/mall/asianplus
http://www.pantipmarket.com/mall/specialmetal
http://www.pantipmarket.com/mall/stainlessasian
.
// FACEBOOK: http://www.facebook.com/people/Asianplus-Supply/100003297204164
no description
no description
no description
no description


สินค้าแนะนำ

Review สินค้า