จำหน่าย,ขาย,อลูมิเนียมเกรด 5052,5083,6061,7075,1100,6063 - อลูมิเนียมแผ่น,อลูมิเนียมอัลลอย
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
สินค้าแนะนำ
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน28/01/2012
อัพเดท25/04/2024
เป็นสมาชิกเมื่อ 26/01/2012
สถิติเข้าชม39439
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  บริษัท เอเชี่ยนพลัส ซัพพลาย จำกัด 234/7 หมู่ 7 ถ.สุขุมวิท ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร.  087-6039752 02-1863711 02-1863713 F.02-1863712
Mail  asianplussupply@hotmail.com
Search      Go

Home > All Product List > รับกลึงโลหะ,รับกลึงงาน,รับกลึงงาน,งานสั่งทำตามแบบ,โรงกลึง,รับทำงานตามแบบ,งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึงสแตนเลส, รับกลึงอลูมิเนียม,รับกลึงเหล็ก,รับกลึงทองแดง,รับกลึงทองเหลือง,รับกลึง, รับทำ, ขึ้นรูป, งาน, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ตามแบบ ตาม order


รับกลึงโลหะ,รับกลึงงาน,รับกลึงงาน,งานสั่งทำตามแบบ,โรงกลึง,รับทำงานตามแบบ,งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึงสแตนเลส, รับกลึงอลูมิเนียม,รับกลึงเหล็ก,รับกลึงทองแดง,รับกลึงทองเหลือง,รับกลึง, รับทำ, ขึ้นรูป, งาน, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ตามแบบ ตาม order

รูปภาพประกอบทั้งหมด 7 รูป

รับกลึงโลหะ,รับกลึงงาน,รับกลึงงาน,งานสั่งทำตามแบบ,โรงกลึง,รับทำงานตามแบบ,งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึงสแตนเลส, รับกลึงอลูมิเนียม,รับกลึงเหล็ก,รับกลึงทองแดง,รับกลึงทองเหลือง,รับกลึง, รับทำ, ขึ้นรูป, งาน, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ตามแบบ ตาม order

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  01/11/2012
แก้ไขล่าสุด  :  05/05/2013
ราคา  ตามตกลง

รับกลึงงาน สแตนเลส อลูมิเนียม ขึ้นรูป รับทำ งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึงสแตนเลส
งานสั่งทำตามแบบ,งานกลึง, รับกลึงงาน, โรงกลึง, รับทำ, งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึงสแตนเลส, รับกลึงอลูมิเนียม, รับกลึง, รับทำ, ขึ้นรูป, งาน, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ตามแบบ ตาม order,
รับทำงานสั่งทำตามแบบ, รับทำโมล์ด, รับทำแม่พิมพ์, รับทำ mold, รับทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก,
รับทำแม่พิมพ์อลูมิเนียม, รับทำแม่พิมพ์สแตนเลส, รับทำ mold อลูมิเนียม สแตนเลส, ตามแบบ

การกลึง ร้าน รับ กลึง โลหะ รับกลึงงาน
รับทำงานอลูมิเนียมตามแบบ, รับทำงานสแตนเลสตามแบบ, จำหน่าย อลูมิเนียมตามแบบ, สแตนเลสตามแบบ, งานสั่งทำตามแบบ, รับกลึงงานตามแบบ, งานกลึง, รับกลึงงาน, โรงกลึง, รับทำ งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึงสแตนเลส, รับกลึงอลูมิเนียม, รับกลึง, รับทำ, ขึ้นรูป
งานสั่งทำตามแบบ, งานกลึง, รับกลึงงาน, โรงกลึง, รับทำ งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึงสแตนเลส, รับกลึงอลูมิเนียม, รับกลึง, รับทำ, ขึ้นรูป, งาน, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ตามแบบ ตาม order,รับทำ mold แม่พิมพ์ ฉีดพลาสติก อลูมิเนียม สแตนเลส ตามแบบ drawing

รับทำ งานสั่งทำตามแบบ, งานกลึง, โรงกลึง, งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, ตามแบบ ตาม order
งานกลึง,รับกลึงงานตามแบบ,รับกลึง,รับผลิตชิ้นงาน,งาน CNC,งานเจียร ,รับกลึงงาน,

งานสั่งทำตามแบบ, งานกลึง, โรงกลึง, งานกลึงอลูมิเนียม, งานกลึงสแตนเลส, รับกลึง, ขึ้นรูป, สแตนเลส, อลูมิเนียม, ตามแบบ ตาม order
งานโลหะหมายถึงอะไร
กระบวนการนำโลหะมาใช้งานโดยผ่านกรรมวิธีต่างๆ เพื่อทำให้โลหะนั้นมีรูปร่าง คุณสมบัติ ตามที่ต้องการ เราสามารถนำโลหะไปใช้งานได้หลายประเภท เช่น...

•งานชิ้นส่วน หมายถึง การนำโลหะมาผ่านกรรมวิธีต่างๆ เพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการคุณสมบัติของโลหะ..
•งานโครงสร้าง หมายถึง การนำโลหะมาประกอบกันเป็นโครงสร้าง เพื่อใช้ในการรับแรงและยึดอุปกรณ์ต่างๆ
...ในการก่อรูปร่างขั้นแรกสุดชิ้นงานจะถูกผลิตขึ้นมาจากวัสดุที่ปราศจากรูปแบบ ตัวอย่างเช่น โลหะหลอมละลาย หรือโลหะที่เป็นแป้งผง เป็นต้น

•การหล่อโดยใช้แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นวิธีการหล่อที่งายที่สุด เพราะจะเทน้ำโลหะลงในแบบ น้ำโลหะก็จะไหลลงในแบบเองตามแรงโน้มถ่วงของโลกจนเต็ม แบบเดียวกับการหล่อเทียนนั่นเอง
•การหล่อแบบอัด วัสดุที่ใช้หล่อจะถูกบีบอัดเข้าไปในแบบหล่อถาวร เช่นวัสดุหล่อแบบฉีด สำหรับวัสดุสังเคราะห์
•การหล่อด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ น้ำโลหะที่ถูกเทเข้าไป จะได้รับการบีบอัดเข้าไปในแบบหล่อที่หมุนด้วยแรงหนีศูนย์ เช่นการหล่อท่อ

การขึ้นรูปโลหะที่เป็นแป้งผงคือ การซินเตอร์ (Sintering)

การซินเตอร์ คือ มวลที่ใช้ขึ้นรูปคือผงแป้ง แป้งผงสามารถประกอบขึ้นมาจากวัสดุชนิดเดียวกันหรือจากสิ่งผสมที่ทำจากของผสมขอวัสดุหลายชนิด มวลดังกล่าวจะถูกบีบอัดอยู่ในแบบขณะเดียวกันหรือหลังจากนั้นก็จะได้รับการทำให้ร้อน (ได้รับการทำซินเตอร์) แต่จะไม่ถูกทำให้หลอมละลาย ทำให้เกิดเป็นชิ้นส่วนคงรูปร่างขึ้น

การตีขึ้นรูป หรือ การฟอร์จจิ้ง(Forging) เป็นวิธีการขึ้นรูปโลหะโดยการเพิ่มอุณหภูมิโลหะให้ร้อน จนโลหะอ่อนตัว แล้วนำเข้าเครื่องตีขึ้นรูป หรือเครื่องฟอร์จจิ้ง โลหะจะถูกแรงกกระทำจากเครื่องจนมีรูปร่างตามแบบ การขึ้นรูปโดยวิธีนี้ จะได้ชิ้นงานโลหะที่แข็งแรงมาก เพราะเนี้อโลหะจะมีความหนาแน่นสูง

การเปลี่ยนรูปโลหะ

การเปลี่ยนรูปโลหะ เป็นวิธีการที่จะให้ได้ชิ้นงานโลหะที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการมากที่สุด โดยจะเป็นขั้นตอน ต่อมาที่ต้องนำโลหะที่ขึ้นรูปมาแล้วนั้นมาเปลี่ยนรูปโลหะ โดยรูปร่างที่แข็งแกร่งจะถูกทำให้เปลี่ยนรูปไปจากการกระทำของแรงภายนอก ซึ่งอาจจะแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ...

1 . การเปลี่ยนรูปโดยไม่เสียเนื้อโลหะขณะเปลี่ยนรูป

  • การปั๊มโลหะ(Pressing) เป็นการกด หรือบีบอัด โลหะที่มีลักษณะเป็นแผ่น ให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ

การกัดโลหะ (Milling) เป็นการขุดเนื้อของชิ้นงานลงไปให้เป็นร่อง เช่นการทำเฟือง เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้คือ เครื่องกัด พร้อมดอกกัดโลหะรูปร่างต่างๆ
การไสโลหะ (Planing) เป็นการปาดหน้าผิวงานออกเพื่อทำให้ผิวชิ้นงานเรียบ โดยใช้เครื่องไส

  • การเจียระไน(Grinding) เป็นการลดขนาดอย่างละเอียดของชิ้นงานโลหะ หรือเพื่อ
    ปรับพี้นผิวโลหะให้เรียบที่สุด โดยใช้ เครื่องเจียระไน หรือเครื่องขัด
    การตัดโลหะ (Sawing) เป็นการตัดโลหะให้ได้ขนาดความยาวตามที่ต้องการ โดยใช้เครื่องตัด หรือเลื่อย
  • การเจาะโลหะ (Drilling) เป็นวิธีการทำรูบนเนื้อโลหะ โดยใช้อุปกรณ์ในการเจาะ ได้แก่ สว่าน รีมเมอร์(การคว้านรู) เป็นต้น

เราสามารถประกอบชิ้นงานต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธีการขึ้นรูป และการเปลี่ยนรูปได้จากการวิธีการยึดโลหะ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ดังนี

•การยึดด้วยสลักเกลียว (Threading) เป็นการยึดชิ้นงานให้ติดกันโดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นสลักเกลียว เช่น นัต(Nut) ,สกรูว์(Screw) ,โบล์ท(Bolt) เป็นต้น

•การยึดด้วยสลัก (Pin Assembly) เป็นการยึดชิ้นงานให้ติดกันโดยการตอกสลัก หรือหมุดเพื่อให้เข้าไปขัดตัวทำให้ชิ้นงาน 2 ชิ้นยึดติดกัน

รูปสลัก(Pin) ที่ใช้ยึดชิ้นงาน

•การยึดด้วยการเชื่อม (Welding) เป็นการทำให้ชิ้นงาน 2 ชิ้นติดกันเป็นเนื้อเดียว โดยใช้ความร้อน หลอมละลายเนื้อโลหะบางส่วนจนเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding)
การเชื่อมแก๊ส (Gas Welding)

เป็นการใช้แก๊ส เช่น อะเซทิลีน กับ ออกซิเจน เผาไหม้ชิ้นงานจนประสานเป็นเนื้อเดียวกัน

รูปวิธีการเชื่อมโลหะโดยใช้แก๊ส

•การยึดด้วยการบัดกรี เป็นการยึดชิ้นงานให้ติดกันโดยเพิ่มความร้อนให้ชิ้นงาน แล้วใช้สารชนิดอื่น เช่น ตะกั่ว ,เงิน ฯลฯ มาหลอมละลายเคลือบชิ้นงานให้ติดกัน

รูปการบัดกรีแผ่นโลหะ

•การยึดชิ้นงานด้วยกาว คล้ายกับการบัดกรี แต่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มอุณหภูมิให้ชิ้นงาน แต่จะใช้วัตถุประสาน เช่น กาว ,อิพอกซี่ มาเป็นตัวประสานชิ้นงานให้ติดกัน

งานกลึงโลหะ
งานกลึง คือ งานแปรรูปชิ้นงานโลหะหรือวัสดุอื่นโดยใช้เครื่องมือปาดผิว ซึ่งเรียกว่าเครื่องกลึง (มีเศษโลหะ
เกิดขึ้นในขณะแปรรูป) ใช้ชิ้นงานมีพื้นที่ภาคตัดเป็นวงกลม ในรูปทรงและขนาดต่าง ๆ ที่แน่นอน ตัวอย่างงาน
แปรรูปด้วยเครื่องกลึง เช่น สลักเกลียว เพลาส่งกำลัง ล้อสายพาน ด้ามจับ เพลาเรียว ด้ามมีดกัด เป็นต้น
รูปที่ แสดงตัวอย่างงานแปรรูปด้วยเครื่องกลึง
การปาดผิวชิ้นงานของเครื่องกลึง เกิดจากการเคลื่อนที่สำคัญ 3 ประการของชิ้นงานและมีดกลึง
ดังนี้
รูปที แสดงการเคลื่อนที่ของชิ้นงานและมีดกลึง
1. เคลื่อนที่ตัดเฉือน (Cutting Motion) คือ การหมุนรอบแกนของชิ้นงานทิศทางการหมุนสวนกับ
คมมีดกลึง
2. เคลื่อนที่ส่งมีดกลึง (Feed Motion) คือ การเคลื่อนที่ของมีดกลึงเพื่อแปรรูปชิ้นงานให้มีรูปร่างตาม
ต้องการ เช่น ทรงกระบอกขนาน, ทรงกระบอกเรียว, ทรงโค้ง-เว้า, ปาดหน้าเรียบ เป็นต้น
3. เคลื่อนที่ปรับมีดกลึง (Setting Motion) คือ การเลื่อนมีดกลึงในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางเคลื่อนที่
ส่งมีดกลึง เพื่อปรับความลึกในการปาดผิว หรือปรับขนาดของชิ้นงาน
รูปที่ แสดงการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน และมีดกลึง ในการแปรรูปชิ้นงานแบบต่างๆ บนเครื่องกลึง
นอกจากนี้เรายังสามารถแปรรูปชิ้นงานแบบอื่น ๆ บนเครื่องกลึงได้อีก เช่น การเจาะรู การคว้านเรียบ
(Reamer) การทำเกลียวด้วย tap และ Die
โครงสร้างเครื่องกลึงยันศูนย์
เครื่องกลึงยันศูนย์ ถือเป็นเครื่องมือกลพื้นฐานที่สำคัญประเภทหนึ่งใช้แปรรูปโลหะได้อย่างกว้างขวาง
ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์แบ่งเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้ 6 ส่วน ดังนี้
รูปที่ แสดงโครงสร้างของเครื่องกลึงยันศูนย์
1. ฐานเครื่อง Housing
2. ชุดหัวเครื่อง Head Stock
3. รางนำเลื่อน Silde Way
4. ชุดแคร่เลื่อน Carriage
5. ชุดป้อมมีด Tool Post
6. ยันศูนย์ท้าย Tail Stock
ชุดท้ายแท่น (TAIL STOCK)
ชุดท้ายแท่นสามารถเลื่อนไป – มาบนสะพานเลื่อน (BED) ได้ ทำหน้าที่ประคองชิ้นงาน หรือเจาะคว้าน
งาน
โดยอาศัยเครื่องมือประกอบเข้าช่วย ชุดท้ายแท่น ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. มีอหมุน (HAND WHEEL)
2. คันโยคล็อค (BODY CLAMP)
3. คันล็อคเพลา (SPINDLE CLAMP)
4. เพลาท้ายแท่น (SPINDLE)
5. รูเพลาเอียง (TAPEED BORE)
6. ตัวแท่น (BODY)
การหมุนปรับเพลาท้ายแท่นจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ออกได้ด้วยการหมุน
รูปที่ แสดงชุดแคร่เลื่อน
ชุดแท่นเลื่อน (CARRIAGE)
เป็นชุดสำหรับจับยึดพวกเครื่องมือตัด (TOOL) ให้เลื่อนไปทำงานในทิศทางที่ต้องการ จะประกอบไปด้วย
ส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน
1. แคร่คร่อม (SADDLE) ยึดอยู่บนสะพานและเลื่อนไป – มา
2. กล่องเฟือง (APRON) ภายในจะประกอบไปด้วยชุดเฟื่อง เพื่อสับเปลี่ยนการทำงาน
การเคลื่อนที่ของแท่นเลื่อน (CARRIAGE) จะเลื่อนไปได้ 2 ทิศทาง โดยการหมุนของมือหมุน ในกรณีหมุน ตาม
เข็มของนาฬิกาชุดแท่นเลื่อนจะเลื่อนไปทางท้ายแท่น
รูปที่ แสดงหัวจับงาน ,การหมุนประแจขันและคลายออก
หัวจับงาน (CHUCK)
คืออุปกรณ์ที่ใช้จับชิ้นงานกลึง ที่ใช้กันปรกติจะเป็นชนิด 3 ฟัน (Three Jaw Chuck) หมุนเข้าจับ
งานพร้อมๆ กันทั้ง 3 ฟันและคลายออกพร้อมๆ กันเช่นกัน
มีดกลึง (tool Lathe)
การกลึงงานให้เกิดเป็นรูปร่างลักษณะตามแบบที่กำหนดจำเป็นต้องอาศัยมีดกลึง ทำหน้าที่ตัดเฉือนออกในขณะที่
งานหมุน มีดกลึงมีหลายลักษณะ รูปร่างแตกต่างกันออกไปตามการปฏิบัติงาน
รูปที่ แสดงชนิดของคมตัดเฉือนบนเครื่องกลึงที่ใช้กันทั่วๆ ไป
วัสดุมีด
วัสดุที่ใช้ทำมีดกลึง ต้องมีความแข็งมากกว่าวัสดุชิ้นงาน คมมีดจึงจะตัดปาดผิวของชิ้นงานได้ นอกจากนี้ยังต้อง
มีความเหนียว ความทนทานต่อการเสียดสีและคงความแข็งไว้ได้ แม้ว่า คมมีดจะร้อนขึ้น วัสดุทำมีดกลึงมีหลายชนิด
ดังนี้
1. เหล็กผสมทำเครื่องมือ (Tool alloy Steel) เป็นเหล็กผสมต่ำ คือ นอกจากจะมี คาร์บอนยังมี
วุลแฟรม โครเมียม วาเนเดียม และโมลิบเดนัม ผสมอยู่มีดกลึงชนิดนี้คงความแข็งได้ถึง 300 องศา
2. เหล็กรอบสูง (High Speed Steel) เป็นเหล็กผสมสูงส่วนผสมคล้ายกับเหล็กผสมทำเครื่องมือ แต่
มีปริมาณส่วนผสมมากกว่า เหล็กรอบสูงสามารถคงความแข็งได้ถึง 600 องศา
3. โลหะแข็ง (Hard Metall) ทำจากผงโลหะที่มีความแข็งเป็นพิเศษ เช่น ทังสะเตน คาร์ไบด์ฯ
นำมาขึ้นรูปเป็นเครื่องมือตัดด้วยกรรมวิธีชินเตอร์ โลหะแข็งสามารถคงความแข็งได้ถึง 900 องศา
4. เซรามิค (Ceramic) ผลิตจากกรรมวิธีชินเตอร์ มีอลูมิเนียมออกไซด์เป็นส่วนประกอบสำคัญ คง
ความแข็งได้ถึง 1200 องศา
5. เพชร (Diamond) มีความแข็งมากที่สุด ใช้กลึงงานที่ต้องการผิวละเอียดเป็นพิเศษ
มุมมีดกลึง
การที่จะปาดผิวชิ้นงานออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่คมมีดไม่ทื่อเร็ว นอกจากความแข็งของคมมีดแล้ว ยัง
ต้องคำนึงถึง มุมลิ่ม มุมคาย มุมหลบ มุมปลายมีดของมีดกลึงด้วย
รูปที่ แสดงมุมต่างๆ ของมีดกลึง
ขนาดมุมต่าง ๆ ของมีดกลึง แปรเปลี่ยนไปตามประเภทของวัสดุมีดและวัสดุชิ้นงาน ดังตารางข้างล่างนี้
ในการกลึงปอกผิว ความสูง-ต่ำของคมมีดเมื่อเปรียบกับศูนย์กลางการหมุนของชิ้นงาน มีผล ให้มุมคายและ
มุมหลบของมีดกลึงเปลี่ยนไป ดังนั้นการยึดมีดกลึงกับป้อมมีด จึงต้องปรับคมมีดให้ได้ความสูงเท่ากับศูนย์กลางการหมุน
ของชิ้นงาน โดยอาจเทียบคมมีดกับปลายยันศูนย์ท้าย
ในทางปฏิบัตินิยมตั้งคมมีดกลึงให้สูงกว่าศูนย์กลางการหมุนของชิ้นงานประมาณ 2% ของ ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางการกลึง
ส่วนต่าง ๆ ของล้อหินเจียระไน
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหินเจียระไนตั้งโต๊ะ ซึ่งประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ล้อหินเจียระไนหยาบ (COARSE GRINED WHEEL) ใช้ลับงานหยาบ
2. ล้อหินเจียระไนละเอียด (FINE GRINED WHEEL)ใช้ลับงานละเอียด
3. แท่นรองลับ (TOOL REST CLOSE TO WHEEL) ใช้วางพักงานที่นำมาลับ
เมื่อคมมีดกลึงอยู่สูงเท่ากับศูนย์กลางการหมุนของชิ้นงาน มุมคายและมุมหลบ
จะมีขนาดเท่าเดิมปกติ
เมื่อคมมีดกลึงอยู่สูงกว่าศูนย์กลางการหมุนของชิ้นงาน มุมคายจะโตขึ้นเศษกลึง
จะไหลออกง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันมุมหลบจะโตขึ้น ความฝืดระหว่าง
ผิวชิ้นงานกับคมมีดกลึงมากขึ้น
4. กระบังนิรภัย (SAFETY SHIELD) ป้องกันการกระเด็นของเศษลับเข้าตาและโดนส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกาย
รูปที่ แสดงส่วนต่างๆ ของล้อหินเจียรไน
การลับมีดกลึง
การจับมีดกลึงลับจะต้องจับให้กระชับมือ และถนัดจับให้แน่น ป้องกันการหลุดกระเด็น หมั่นนำจุ่มน้ำบ่อย ๆ
เพื่อไม่ให้มีดไหม้และเป็นการระบายความร้อน
รูปที่ แสดงการจับและลับมีดด้านหน้า รูปที่ แสดงการจับและลับด้านข้าง
(Front Angle) (Side Angle)
รูปที่ แสดงการจับและการลับมุมหลบข้าง รูปที่ แสดงระยะของแท่นรองลับกับล้อหินเจียรไน
(Side Ranke Angle)
1. แท่นรองลับชิดเกินไป จะทำให้ประกายและเศษลูกไฟระบายลงด้านล่างไม่ได้ กระเด็นถูกมือเจ็บ
2. แท่นรองลับห่างเกินไป จะทำให้เกิดการงัดได้ง่ายขณะทำการลับ
3. แท่นรองลับ จะต้องห่างจากหน้าหินเจียระไนไม่เกิน 1.5 มม. จึงจะทำให้การลับนั้นปลอดภัย และทำงานไม่ดี
หมายเหตุ อย่าจับมีดกดเฉพาะที่จะต้องเคลื่อนไป-มา ตลอดหน้าหินเจียรไน และออกแรงกดมีดอย่าใส่แรงมาก-น้อย
เกินไป การลับนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์
การวัดค่ามุมมีดกลึง
การวัดค่ามุมต่าง ๆ ของมีดภายหลังการลับแล้ว

การ แต่งล้อหินเจียระไน
หินเจียระไน (GRINDING) เมื่อใช้งานไปนาน ๆ เม็ดหินจะทื่อ และเกิดจากอุดตันของเศษเจียระไนทำให้
หินไม่คม เมื่อใช้งานจะเกิดความร้อนสูง
วิธีแก้ปัญหานี้โดยใช้ที่ แต่งหน้าหินเจียระไน แบ่งออกเป็น 3 แบบที่นิยมใช้งานกันอยู่ทั่ว ๆ ไป
สำหรับหินเจียระไนมือ
1. DIAMO-CARBO DRESSER
2. DIAMOND DRESSER
3. HUNTINGTON DRESSER
รูปที่ แสดงการจับและ แต่งหน้าหินแบบใช้ลูกกลิ้ง แต่งหน้าหินเจียระไน
ข้อควรระวังในการลับมีด
1. สวมแว่นตาทุกครั้งที่ทำการลับเพื่อป้องกันการกระเด็นของเศษหินเข้าตา
2. สวมชุดฝึกงานให้เรียบร้อยพร้อมใส่รองเท้าหุ้มส้นด้วยจะช่วยป้องกันอันตรายได้
3. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องก่อนจะเปิดเครื่องทำงาน
4. หน้าล้อหินเจียระไนจะต้องเรียบและอยู่ไม่ห่างจากแท่นรองรับมีดเกิน1.5
5. ขณะทำการลับจะต้องนำมีดชุบน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการไหม้ของคมมีด
6. เมื่อหน้าหินเจียระไนไม่เรียบจะต้อง แต่งด้วยล้อหินให้เรียบก่อนจะลงมือลับ
7. ล้อหินเจียรไนที่ใช้สำหรับลับมีด ห้ามนำวัสดุอื่น ๆ ไปลับ
8. เริ่มต้นลับให้ลับกับล้อหินหยาบก่อนแล้วลับ แต่งด้วยล้อหินชนิดละเอียด
ความเร็วตัด
ความเร็วตัดในการกลึงคือ ความเร็วของผิวงานที่วิ่งผ่านคมมีดกลึงหรือคือความเร็วของเศษกลึงที่ถูกตัดเฉือน
วิ่งออกจากชิ้นงาน นิยมวัดเป็นจำนวน เมตร ใน 1 นาที
ถ้ากำหนดให้
d = เส้นผ่าศูนย์กลางชิ้นงาน มิลลิเมตร
n = ความเร็วรอบของชิ้นงาน รอบ/นาที
v = ความเร็วตัด เมตร/นาที
จะได้สูตร
v =  . d . n เมตร/นาที
1000
n = 1000 . v รอบ/นาที
 . d
รูปที่ แสดง ความเร็วตัดสำหรับงานกลึง
การกำหนดความเร็วตัดที่เหมาะสม
ความเร็วตัดที่ต่ำมากทำให้เสียเวลาในการกลึง ความเร็วตัดสูงไปทำให้คมมีดเสียดสีกับผิวงาน เร็วมากทำให้มีด
กลึงทื่อเร็ว ความเร็วตัดที่เหมาะสมได้จากการพิจารณาปัจจัย ต่อไปนี้
1. วัสดุชิ้นงาน การกลึงปาดผิววัสดุแข็งจะเกิดความร้อนสูงกว่าปาดผิววัสดุอ่อน วัสดุแข็งจึงควรใช้ความเร็ว
ตัดต่ำ
2. วัสดุมีดกลึง มีดกลึงที่มีความแข็งกว่า และสามารถคงความแข็งได้ที่อุณหภูมิสูงกว่าย่อมใช้ความเร็วตัดที่สูง
กว่าในการปาดผิวชิ้นงาน เช่น มีดโลหะแข็งที่ใช้กลึงงานด้วยความเร็วตัดสูงกว่ามีด กลึงเหล็กรอบสูง
3. ขนาดหน้าตัดเศษกลึง งานกลึงหยาบใช้ความเร็วตัดต่ำกว่างานกลึงละเอียด เพราะงานกลึงหยาบตัองปาดผิว
โลหะออกครั้งละมาก ๆ ซึ่งจะเกิดความร้อนมากกว่า
4. การหล่อเย็น งานกลึงที่มีการหล่อเย็นที่เหมาะสมจะช่วยระบายความร้อนที่คมมีดลดคามฝืด ซึ่งเกิดจากการ
เสียดสีของคมมีดกลึงกับผิวชิ้นงาน ทำให้สามารถใช้ความเร็วตัดสูงขึ้นได้
5. ลักษณะของชิ้นงาน ชิ้นงานที่มีหน้าตัดเป็นเหลี่ยม, มีร่องหรือรูในตำแหน่งที่จะกลึงขณะทำการกลึงการ
ปาดผิวจะไม่ต่อเนื่อง คมมีดกลึงจะถูกกระแทกเนื่องจากสะดุดร่องหรือเหลี่ยมอยู่ตลอดเวลา จึงควรลด
ความเร็วตัดให้ต่ำกว่าปกติ
ตารางแสดง cutting speed diagram
ตัวอย่างการหาค่าความเร็วรอบจากกราฟ กำหนดให้ d = 35 มม. และ v = 40 เมตร/นาที
จากกราฟจะได้ n = 355 รอบ/นาที
อัตราส่งมีดและความลึกปาดผิว
นอกจากจะต้องกลึงด้วยความเร็วตัดที่เหมาะสมแล้ว จะต้องเลือกอัตราส่งมีด (Feed Rate) และความลึก
ปากผิว (Depth of Cut) ให้เหมาะสมกับกำลังของเครื่องกลึงความหยาบละเอียดของผิวงานสำเร็จที่ตัองการด้วย
ถ้ากำหนดให้ S = อัตราส่งมีด มม./รอบ
a = ความลึกปาดผิว มม.
A = พื้นที่ภาคตัดเศษกลึง มม.
จะได้สูตร A = S.a มม.2
จากรูปข้างบน พื้นที่ภาคตัดเศษกลึงจากชิ้นงาน  ,  และ  มีค่าเท่ากัน [S’ .a = S.a] แต่ได้ผล
จองผิวงานกลึง แงตัดเฉือนที่ต่างกัน ดังนี้
-ผิวชิ้นงาน  หยาบกว่าชิ้นงาน  และ  แรงที่ใช้ตัดเฉือนผิวชิ้นงาน  จะมากกว่าชิ้นงาน  และ 
ทั้งนี้ เพราะชิ้นงาน  ใช้อัตราส่งมีด (S’) มากกว่า
- ชิ้นงาน  และ  ใช้อัตราส่งมีดและความลึกปากผิว [S,a] เท่ากัน ต่างกันที่มุม ตั้งมีดของชิ้นงาน
 (45 องศา) แคบกว่าชิ้นงาน  (60 องศา) ทำให้เศษกลึงของชิ้นงาน  บางกว่า และกว้างกว่า แรงที่
ใช้ไปการตัดเฉือนผิวชิ้นงาน  จะน้อยกว่าชิ้นงาน 
โดยปกตินิยมกลึงด้วยอัตราส่งมีดต่ำ แต่กลึงให้ลึก อัตราส่วนระหว่างอัตราส่งมีดต่อความลึกปากผิว ควรอยู่
ระหว่าง 1:5 ถึง 1:10 และควรปรับมุมตั้งมีดประมาณ 45 องศา
งานกลึงหยาบและงานกลึงละเอียด
งานกลึงหยาบ ใช้เมื่อต้องการกลึงลดขนาด มาก ๆ ในเวลารวดเร็ว
- อัตราส่งมีด S = 0.4 - 1.6 มม. / รอบ
- ความเร็วตัดต่ำ
- ความลึกปาดผิวมาก a = 1 - 10 มม.
งานกลึงละเอียด ใช้เมื่อต้องการผิวงานละเอียดโดยใช้กลึงในขั้นสุดท้าย
- อัตราส่งมีด S= 0.04 - 0.2 มม./รอบ
- อัตราเร็วตัดสูง
- ความลึกปากผิวน้อย a = 0.3 -1 มม.
ตารางเลือกใช้ความเร็วตัด อัตราส่งมีด ความลึกปาดผิว
ความปลอดภัยในงานกลึง
ความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลที่ใช้เครื่องกลึง
1. สภาพเครื่องแบบการ แต่งกาย จะต้องให้เรียบร้อย พร้อมจะเข้าปฏิบัติงานได้ (เฉพาะบางแห่งอาจจะมี
เครื่องแบบให้)
2. ไม่สวมเสื้อผ้ารุงรัง ผูกไทน์ ใส่เครื่องประดับ สวมร้องเท้าแตะ และผมยาวเข้าทำงาน
3. ศึกษาทำความเข้าใจในเครื่องกลึงนั้น ๆ ก่อนจะลงมือทำงาน
4. ขณะทำงานถ้างานที่ทำการตัดเฉือนมีเศษกระเด็นให้สวมแว่นตาทุกครั้ง
5. แสงสว่างจะต้องเพียงพอ ที่จะมองงานได้ชัดเจน
6. จะต้องมีทางระบายอากาศให้ปลอดโปร่ง ขณะทำงาน
7. เมื่อสภาพร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน อย่าเข้าปฏิบัติงานเป็นอันขาด
8. อย่าทำงานสองคนในเครื่องเดียวกัน เช่น ให้ปิด-เปิดเครื่องแทน
9. ขณะทำงานจะต้องไม่พูดคุยกับบุคคลอื่น อันจะนำมา ซึ่งอุบัติเหตุ และงานเสียได้
10. ขณะทำการตัดเฉือนจะต้องยืนอยู่ในตำแหน่งที่พ้นรัศมีการกระเด็นของเศษโลหะ
ความปลอดภัยจากเครื่องกลึง
1. ก่อนปิด-เปิดสวิทช์เครื่องทำงาน จะต้องตรวจดูความพร้อมของเครื่องและงานก่อน
2. ใช้กำลังมือ ถอด-ประกอบ หัวจับ (CHUCK) อย่าใช้กำลังจากเครื่องกลึง
3. ใช้ไม้กระดานรองบนสะพานเครื่องกลึง (BED) ทุกครั้งที่ถอด-ประกอบ หัวจับ (CHUCK)
หรือหน้าจาน (FACE PLATE) เพรื่อป้องกันการตกกระแทก
4. ทำความสะอาดเกลียวของหัวจับ (CHUCK) และหน้าจาน (FACE PLATE) ด้วย
THREAD CLEANER ก่อนนำมาประกอบเข้ากับเครื่อง
5. ต้องการวัดขนาดงานจะต้องหยดเครื่องกลึงก่อนทุกครั้ง
6. อย่าใช้เศษผ้า หรือมือปัดเศษกลึง ให้ใช้แปลงปัด เพราะเศษโลหะจะทำอันตรายกับมือ
7. ก่อนใช้งานจะต้องตรวจดูช่องระดับน้ำมันและทำการหล่อลื่นจุดต่าง ๆ ตามที่เครื่องกำหนดไว้
8. เมื่อต้องใช้ตะไบ แต่งงานบนเครื่องกลึง ให้ตะไบจากขวา-ไป-ซ้าย หรือตะไบจากท้ายแท่นของเครื่องกลึง
มายังหัวเครื่องกลึง
9. อย่าคาปะแจ (KEY CHUCK) หรือเครื่องมืออื่นไว้บนหัวจับ (CHUCK) เมื่อเปิดเครื่อง
หมุนประแจอาจจะกระเด็นไปถูกผู้อื่นได้
10. อย่าจับชิ้นงาน หรือใช้ประแจขณะงานกำลังหมุน
11. ห้ามเปลี่ยนขั้นความเร็วหรือชุดเฟืองขับต่าง ๆ ขณะเครื่องหมุนทำงาน
12. อย่าป้อนมีดตัดงานครั้งละมาก ๆ จะทำให้เกิดการงัดได้ง่าย
13. ใช้อุปกรณ์ช่วยงานของเครื่องให้ถูกกับลักษณะของงาน
14. ตรวจเช็คการตั้งค่าตารางต่าง ๆ ให้แน่ใจก่อนจะเปิดเครื่องทำงาน
15. ตรวจสอบดว่า มีการตั้งเยื้องศูนย์ด้วย TAIL STOCK หรือ ATTACHMENT ไว้หรือ
เปล่า ก่อนประกอบงานเข้ากับเครื่อง
16. ถ้าต้องใช้ศูนย์ท้ายแท่น (TAIL STOCK) จะต้องตรวจดูการขันล็อคให้แน่นก่อนจะเปิดเครื่อง
ทำงาน
17. อย่าใช้สะพานของเครื่อง (LATHE BED)เป็นที่วางเครื่องมือและอุปกรณ์อื่น ๆ
18. สกรู แต่ละจุดบนเครื่องกลึง ให้ขันแน่นด้วยกำลังมือ อย่าใช้เครื่องทุ่นแรงเข้าช่วย จะทำให้เกลียวเสีย
19. เมื่อเกิดการงัด หรือสิ่งอื่นใดขณะทำงาน อย่าตกใจ ให้รีบปิดสวิทช์เครื่องทันทีก่อนอื่น
20. เลือกใช้มีดกลึงให้ถูกต้องกับงานที่จะตัดเฉือน และวัสดุงานด้วย
21. ทุกครั้งที่ทำการตัดเฉือน จะต้องพิจารณาวัสดุงานและขนาดของงานก่อนจะใช้น้ำหล่อเย็นเข้าช่วย
22. ถ้าเป็นเครื่องกลึงรุ่นเก่าให้ใช้มือดึงสายพานดูการหมุนของเครื่องก่อนเปิดสวิทช์เครื่องทำงาน
23. การจับงานด้วยหน้าจาน (FACE PLATE) ด้วยการเยื้องศูนย์ จะต้องหาแผ่นน้ำหนักอื่นมาช่วย
เพื่อให้หน้าจานหมุนด้วยน้ำหนักที่สม่ำเสมอกัน
24. อุปกรณ์ช่วยในงานกลึงถ้าชำรุดอย่านำมาใช้งานอีก ควรซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมหรือเปลี่ยนใหม่ก่อน
25. บริเวณรอบ ๆ เครื่องจะต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีน้ำมันหกเลอะหรือเศษสิ่งสกปรกต่าง ๆ อยู่

<ติดต่อเรา>...............

บริษัท เอเชี่ยนพลัส ซัพพลาย จำกัด
234/7 ม.7 ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280

Tel. 087-6039752 02-1863711,02-1863713 Fax.02-1863712
E-Mail : asianplussupply@hotmail.com

http://sites.google.com/site/aluminiumasian http://สแตนเลส304-สแตนเลส316.blogspot.com http://ทองแดง-ทองเหลือง.blogspot.com http://sites.google.com/site/stainlessasian http://sites.google.com/site/asianplussupply http://www.pantipmarket.com/mall/stainlessasian http://asianplus.plazathai.com

สั่งซื้อสินค้า / ติดต่อสอบถาม

เขียนอีเมลถึงเจ้าของร้าน

ส่งเมลถึง:จำหน่าย,ขาย,อลูมิเนียมเกรด 5052,5083,6061,7075,1100,6063 - อลูมิเนียมแผ่น,อลูมิเนียมอัลลอย
อีเมลผู้ส่ง:
เนื้อความ:
มีไฟล์แนบ
ทำสำเนา