ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20489710

พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง วัดนางพญา พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญาได้รับความร้อนในการเผาสูงมากจนสีของดินกลายเป็นสีมอย หรือสีหินลับมีดโกน (พระนางพญาเก่ามีหลายกรุ เกือบทั้งหมดไม่ทราบชื่อกรุหรือชื่อวัด แต่พระนางพญาที่อยู่ในชุดเบญจภาคีคือพระของวัดนางพญา พระนางพญาของกรุหรือวัดอื่นๆไม่เหมือนพระนางพญาวัดนางพญา ต่างไปมากบ้างน้อยบ้าง และเนื้อต่างด้วย ดินของจังหวัดเดียวกันไม่ได้เหมือนกันทุกตำบลทุกอำเภอ ลุงน้อย(ล่วงลับแล้ว)เคยทำพระนางพญาปลอมเป็นล้านองค์(ทำสิบกว่าปีประมาณ ๒ - ๓ ล้านองค์)บอกว่า ดินที่ใช้ทำพระนางพญาวัดนางพญาปลอมได้เหมือนมากอยู่ที่ก้นแม่น้ำน่าน ใต้วัดจันทร์ลงไปประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร ต้องจ้างคนดำน้ำลงไปเอา) พระซุ้มกอองค์นี้มีชิ้นเงินเล็กๆยาวประมาณ ๑ มิลลิเมตรที่บริเวณพระอุระ คล้ายเส้นลวดเงินถูกตัดเป็นชิ้นๆ พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้มีพระพักตร์เล็ก พระชานุ (เข่า) ขวาเชิดขึ้นเล็กน้อย หัวฐานล่างด้านขวาองค์พระใหญ่กว่าด้านซ้าย ปูนนุ่มมาก (พระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ 'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๕๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๖๙) Phra nangphya wat nangphya pim kaotrong. Phra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Phra kamphaeng sumkor pim yai. ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ --- ความเหมือนกันในเรื่องพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและพระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ---- ในหนังสือ 'พระสมเด็จฯ' ของตรียัมปวายเขียนอธิบายลักษณะของพิมพ์และเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมรวมกัน บทที่ ๕ เป็นคำอธิบายเรื่องพิมพ์และเนื้อของทั้งสองวัด ส่วนที่อธิบายเรื่องพิมพ์คือลักษณะพิมพ์ของวัดระฆังฯและวัดใหม่อมตรส ส่วนที่อธิบายเรื่องเนื้อคือลักษณะเนื้อของทั้งสองวัดเหมือนกัน ไม่ได้แยกอธิบายเป็นวัดๆ นั่นแสดงว่าพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมมีรูปทรงและศิลปเหมือนกัน รายละเอียดในพิมพ์มีต่างกันบ้าง เช่น เส้นซุ้มใหญ่ - เล็ก พระพักตร์ใหญ่ - เล็ก ฯลฯ แต่สามารถพิจารณาได้ว่าช่างทำแม่พิมพ์เป็นคนเดียวกัน ---- ชื่อหนังสือ 'พระสมเด็จฯ' รวมทั้งคำว่า 'พระสมเด็จฯ' ในข้อเขียนทั้งเล่มหมายถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหม ---- ตรียัมปวายเขียน(จากบรรณานุกรมท้ายเล่ม)ว่า มีการนำพระสมเด็จบางขุนพรหมออกจากพระเจดีย์ของวัดใหม่อมตรสหลายครั้ง เมื่อประมวลเป็นครั้งใหญ่ๆก็จะมีประมาณ ๓ ครั้งโดยการตกพระสมเด็จคือ ก.ครั้งแรก ปีพ.ศ.๒๔๒๕ เพื่อนำไปรักษาโรคป่วง (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต มรณภาพในปีพ.ศ.๒๔๑๕) ข.ครั้งใหญ่ ปีพ.ศ.๒๔๓๖ มีกรณีฝรั่งเศสรุกรานไทย คนคาดว่าจะเกิดสงคราม ค.ครั้งสุดท้าย ปีพ.ศ.๒๔๕๐ (ก่อนการพิมพ์หนังสือพระสมเด็จฯ ๔๕ ปี) รายละเอียดการตกพระมีอยู่ในหนังสือฯ พระที่ได้นี้เรียกว่าพระกรุเก่า มีคราบกรุน้อย (ข้อคิดเห็น - พระที่นำออกในพ.ศ.๒๔๒๕ คงไม่มีคราบกรุ) นอกจากนี้ยังมีการลักลอบเจาะกรุ(พระเจดีย์) ๒ ครั้ง ในวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๐๐ และวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๐๐) ---- การตกพระสมด็จกรุบางขุนพรหม เป็นวิธีการแสวงพระเครื่องแบบหนึ่งที่แปลกประหลาด คือใช้ไม้ลวกลำยาวประมาณ ๒ วา ทะลวงข้อออกให้หมด แล้วใช้ด้ายดิบควั่นกันเข้าให้เป็นเส้นใหญ่แล้วสอดเข่าไปในลำไม้ไผ่ ทางปลายเชือกขมวดให้เป็นปมใหญ่ ปลายสุดเป็นเส้นเชือกซึ่งกระจายกันเป็นพู่ แล้วใช้ดินเหนียวคลุกเคล้ากับพู่ จนเส้นด้ายเกาะดินเนียวแน่น แล้วปั้นให้กลมขนาดกว้างประมาณคืบเศษ แล้วสอดลำไม้ไผ่เข่าไปในช่องระบายอากาศของพระเจดีย์ ซึ่งเป็นกรุพระสมเด็จฯ หย่อนเชือกให้ลูกตุ้มตกลงไปกระทบพื้นในองค์พระเจดีย์ ซึ่งมีพระสมเด็จฯกองอยู่ ลูกตุ้มก็อาจติดพระขึ้นมาบ้าง หรือไม่ติดบ้าง แล้วแต่โชคของบุคคล แต่ถ้าพยายามหลายครั้งก็มักจะได้พระกันบ้าง ---- (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - เป็นไปได้ว่าในหมู่ผู้นิยมแสวงหาพระสมเด็จฯมีการอิง โยง เทียบเคียงหรือเปรียบเทียบ 'พิมพ์' และ 'เนื้อ' ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมมานาน อาจจะตั้งแต่พ.ศ.๒๔๒๕ (หลังจากสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพเพียง ๑๐ ปี) จึงทำให้รู้ว่าพระสมเด็จของทั้งสองวัดมีพิมพ์และเนื้อเหมือนกัน มีรายละเอียดบางอย่างต่างกันบ้าง เช่น จำนวนพิมพ์ทรง ผิวหนาหรือบาง สิ่งหนึ่งที่ยืนยันในเรื่องนี้คือ เมื่อมีการเปิดกรุบางขุนพรหมอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ นั้น ลักษณะพิมพ์และเนื้อของพระที่ได้จากกรุตรงกับคำอธิบายลักษณะของพิมพ์และเนื้อในหนังสือพระสมเด็จฯ (บทที่ ๕) ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในพ.ศ.๒๔๙๕ ก่อนการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ๕ ปี แสดงว่าผู้นิยมและแสวงหาพระสมเด็จฯรู้เรื่องพิมพ์และเนื้อของพระทั้งสองวัดอย่างดีมาก่อนการเปิดกรุพ.ศ.๒๕๐๐แล้ว มีคนเกิดทันเห็นการเปิดกรุและได้บันทึกเรื่องราวต่างๆไว้หลายคน รวมทั้งตรียัมปวาย) ---- (ก) พระสมเด็จวัดระฆังฯมี ๕ พิมพ์ทรงได้แก่ พิมพ์ทรงพระประธาน พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงเกศบัวตูมและพิมพ์ทรงปรกโพธิ์ พระสมเด็จบางขุนพรหมมี ๙ พิมพ์ทรง เหมือนกับของวัดระฆังฯ ๕ พิมพ์ทรง อีก ๔ พิมพ์ทรงได้แก่ พิมพ์ทรงเส้นด้าย พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงฐานคู่และพิมพ์ทรงเศียรบาตรอกครุฑ ทั้ง ๙ พิมพ์ทรงนี้เป็นพิมพ์ทรงนิยม หรือพิมพ์ทรงมาตรฐาน ซึ่งหลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็นผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์ ---- (ข)แต่ละพิมพ์ทรงแบ่งเป็นหลายแบบพิมพ์ดังนี้ ๑.พิมพ์ทรงพระประธาน - มี ๘ แบบพิมพ์ สำหรับ ๖ แบบพิมพ์แรกปรากฏทั้งของวัดระฆังฯและบางขุนพรหม คือ แบบพิมพ์เขื่อง แบบพิมพ์โปร่ง แบบพิมพ์ชะลูด แบบพิมพ์ป้อม แบบพิมพ์สันทัดและแบบพิมพ์ย่อม ส่วนอีก ๒ แบบพิมพ์มีเฉพาะของกรุบางขุนพรหม คือ แบบพิมพ์เลือน และ แบบพิมพ์เขื่องเส้นด้าย ๒.พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๔ แบบพิมพ์ทั้งของวัดระฆังฯและบางขุนพรหม คือ แบบพิมพ์เขื่อง แบบพิมพ์ชะลูด แบบพิมพ์สันทัด และแบบพิมพ์ย่อม ๓.พิมพ์ทรงฐานแซมมี ๘ แบบพิมพ์ ๖ แบบพิมพ์แรกมีทั้งของวัดระฆังฯและบางขุนพรหม คือ แบบพิมพ์เขื่อง แบบพิมพ์โปร่ง แบบพิมพ์ชะลูด แบบพิมพ์ป้อม แบบพิมพ์สันทัดและแบบพิมพ์ย่อม ส่วนอีก ๒ แบบพิมพ์หลังมีเฉพาะของบางขุนพรหมคือ แบบพิมพ์อกร่องหูยานฐานบาง และแบบพิมพ์อกร่องหูยานฐานเส้น ๔.พิมพ์ทรงเกศบัวตูม - มี ๕ แบบพิมพ์ทั้งสองวัด คือ แบบพิมพ์เขื่อง แบบพิมพ์โปร่ง แบบพิมพ์สันทัด แบบพิมพ์ย่อม และแบบพิมพ์เกศบัวเรียว ๕.พิมพ์ทรงปรกโพธิ์ - มี ๒ แบบพิมพ์ คือ แบบพิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม และ แบบพิมพ์ปรกโพธิ์สังฆาฏิ ---- (ข้อสังเกตเพิ่มเติม ก.มีแบบพิมพ์จำนวนมาก และแต่ละแบบพิมพ์มีหลายแม่พิมพ์ เช่น แบบพิมพ์เขื่อง ทำให้รู้ว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมมีแม่พิมพ์จำนวนมาก นอกจากนี้อาจจะมีการทำแม่พิมพ์เพิ่มเติมเมื่อแม่พิมพ์เดิมเกิดชำรุดหมดสภาพที่จะใช้งาน โดยเฉพาะวัดระฆังฯที่ใช้เวลาสร้าง ๖ ปี ข.ชื่อหรือลักษณะแบบพิมพ์ในแต่ละพิมพ์ทรงคล้ายๆกัน แสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้ออกแบบ ไม่ได้ทำอย่างไม่มีเป้าหมายหรือแผน ค.ถ้าดูจากชื่อแบบพิมพ์ ทำให้รู้ว่าพระสมเด็จฯมีหลายขนาดแน่นอน ในเรื่องพระสมเด็จฯจะละเลยเรื่องขนาดไม่ได้ การผสมปูนได้ความหมาดใกล้เคียงกันพอดีที่จะใช้กดลงในแม่พิมพ์ (ไม่เหลวหรือแข็งไป) การหดตัวของปูนแทบจะไม่ต่างกัน ถ้าจะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อย ขนาดที่ต่างกันของพระสมเด็จฯเกิดจากขนาดของแม่พิมพ์ที่ต่างกัน จากการดูพระองค์จริงในปัจจุบันก็พบว่าพระสมเด็จฯมีหลายขนาด ง.เป็นเรื่องยากสำหรับผู้เริ่มศึกษาที่จะจำแนกแบบพิมพ์ได้ หรือแม้แต่ผู้ที่ชำนาญแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถหาดูพระองค์จริงได้มาก(เหมือนตรียัมปวาย) แต่เรื่องที่ควรต้องศึกษาให้รู้คือลักษณะของพิมพ์(โดยรวม)ทั้งจากคำบรรยายและสังเกตดูองค์จริง โครงสร้างสัดส่วนและศิลป การมีรูปภาพพระแท้ ซึ่งมากพอที่จะนำมาใช้พิจารณาและหาพระได้ (พิจารณาและตรวจสอบเป็นแม่พิมพ์ ๆ ) จ.ถ้าเข้าใจและจำเรื่องแบบพิมพ์ได้บ้าง จะช่วยให้จำได้และพิจารณาได้หนักแน่นขึ้น เช่น แบบพิมพ์เขื่อง แบบพิมพ์ชะลูด แบบพิมพ์ป้อม) ---- จะเห็นได้ว่าเฉพาะเรื่องของพิมพ์ก็มีเรื่องราวรายละเอียดจำนวนมากทั้งเรื่องพิมพ์ทรง แบบพิมพ์ และแม่พิมพ์ ยากที่จะศึกษาและจำได้ในเวลาอันสั้น ทยอยเรียนรู้ไป ศึกษาพิมพ์ทรงที่รู้จักและคุ้นเคยก่อน เช่น พิมพ์ทรงพระประธานหรือพิมพ์ใหญ่ ถ้ารู้เรื่อง'พิมพ์ใหญ่'ดีมีโอกาสสูงที่จะได้พระสมเด็จฯแท้ เท่าที่เคยพบพระองค์จริงและในสื่อต่างๆมีมากกว่าพิมพ์ทรงอื่น ---------------------------------------------------------------------------------------------------- คำที่ได้อ่านมานาน "สมเด็จคือวิญญาณของปราถนา" และที่สุดของความปราถนาคือพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา