ขาย Khun Paen Half-Egg Shaped ไข่ผ่าซีก
รูปภาพประกอบทั้งหมด 5 รูป
|
ขาย Khun Paen Half-Egg Shaped ไข่ผ่าซีก 
ลงประกาศเมื่อวันที่ : 08/10/2009
แก้ไขล่าสุด : 18/05/2017
Ref no. 32777
|
ขุนแผนวัดพระรูปนั้นจัดเป็นขุนแผนที่มีอายุสูงสุดของเมืองสุพรรณบุรีเป็นศิลป์ผสมระหว่างอู่ทองกับลพบุรีอายุประมาณหกร้อยปี
ขุนแผนวัดพระรูป
พระหลังเบี้ยวัดพระรูปในอดีตนั้นก็คือขุนแผนวัดพระรูปในสมัยปัจจุบันนี้นั่นเองครับ
ประวัติ
วัดนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอู่ทองตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ ตำบล รั้วใหญ่ อำเภอเมือง สุพรรณบุรีนี่เองครับ สมัยปี พ.ศ. 2512 ต้นไม้ใหญ่ยังมีอยู่มาก ขนาด กลางวันแสกๆ นี้ พวกจักจั่นเรไร ร้องกันระงมจนแสบแก้วหูไปหมดเลยครับ จะมีถนนราดยางมะตอยแคบๆ ซึ่งรถพอจะวิ่งสวนกันได้จากถนนใหญ่มาประมาณ 300 เมตรสิ้นสุดที่วัดนี้พอดี ครับ พ้นวัดนี้ไปก็จะเป็นทางลูกรัง ที่วัดนี้มีพระนอนองค์ใหญ่สมัยอู่ทองยาวประมาณ 14 – 15 เมตร อยู่หนึ่งองค์ในวิหารเก่าๆ และบริเวณรอบๆ วัดจะมีกำแพงเตี้ยๆ ซึ่งปรักหักพัง แต่ก็ดูมีเสน่ห์ไปอีกแบบ แต่ปัจจุบันนี้ได้ยินมาว่า ทางวัดได้บูรณะสร้างใหม่และทาสีใหม่หมด จนหมดทั้งวัด ต้นไม้ก็ตัดจนเตียนโล่งจนหมดสิ้นความงามไปอย่างน่าใจหาย
การค้นพบพระ
พระที่พบนั้นจะพบจมอยู่ในดินแถวลานวัดทั่วไปหมดมีทั้งเนื้อละเอียด และหยาบ พระที่พบจะมีพิมพ์ไข่ผ่า (การตัดขอบของแม่พิมพ์ห่างองค์พระ)แตงกวาผ่า(ตัดชิดองค์พระ) ซึ่งเนื้อจะละเอียดกว่า มีการค้นพบ พระพิมพ์ พลายงาม ขุนไกร และพระยุ่ง หรือที่เรียกว่าพระกุมารทองนั่นเองครับ นอกจากจะพบที่วัดพระรูปแล้วยังมีการค้นพบที่วัดละคร ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียนไปแล้ว และมีวัดอื่นๆ อีก ซึ่งเข้าใจว่า สร้างกันต่อๆ มา
สี
สีของพระวัดพระรูปนี้จะออกสีน้ำตาลอมแดง
ขนาดพิมพ์ทรง
พิมพ์ไข่ผ่า นั้นจะมีขนาดความกว้าง 2.75 เซ็นต์ สูง ประมาณ 5 ถึง 6 เซ็นต์ ส่วนใหญ่เนื้อจะหยาบกว่าพิมพ์แตงกวาครับ
พิมพ์แตงกวานั้น จะมีขนาดความกว้าง 2.5 เซ็นต์ สูง ประมาณ 5 ถึง 6 เซ็นต์ ส่วนใหญ่เนื้อจะละเอียดกว่าพิมพ์ไข่ผ่าซีกครับ
พุทธลักษณะ
เป็นปางมารวิชัยประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงายอันเลือนลางจึงแลดูเสมือนว่า เป็นกุมารนอนหงายอยู่ จึงถูกขนานนามจากนักเลงพระโบราณว่า เป็นขุนแผนกุมารทองนั่นเองครับ
พุทธคุณ
แคล้วคลาดคงกระพัน
ตำหนิและข้อสังเกตุของกรุวัดพระรูป
ใต้พระเพลาจะมองเห็นฐานผ้าทิพย์เป็นเนื้อนูนออกมา
ขุนแผนวัดพระรูป
พระหลังเบี้ยวัดพระรูปในอดีตหรือไข่ผ่าซีกในปัจจุบันนั้นก็คือขุนแผนวัดพระรูปในสมัยปัจจุบันนี้นั่นเองครับ
ประวัติ
วัดนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอู่ทองตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ ตำบล รั้วใหญ่ อำเภอเมือง สุพรรณบุรีนี่เองครับ สมัยปี พ.ศ. 2512 ต้นไม้ใหญ่ยังมีอยู่มาก ขนาด กลางวันแสกๆ นี้ พวกจักจั่นเรไร ร้องกันระงมจนแสบแก้วหูไปหมดเลยครับ จะมีถนนราดยางมะตอยแคบๆ ซึ่งรถพอจะวิ่งสวนกันได้จากถนนใหญ่มาประมาณ 300 เมตรสิ้นสุดที่วัดนี้พอดี ครับ พ้นวัดนี้ไปก็จะเป็นทางลูกรัง ที่วัดนี้มีพระนอนองค์ใหญ่สมัยอู่ทองยาวประมาณ 14 – 15 เมตร อยู่หนึ่งองค์ในวิหารเก่าๆ และบริเวณรอบๆ วัดจะมีกำแพงเตี้ยๆ ซึ่งปรักหักพัง แต่ก็ดูมีเสน่ห์ไปอีกแบบ แต่ปัจจุบันนี้ได้ยินมาว่า ทางวัดได้บูรณะสร้างใหม่และทาสีใหม่หมด จนหมดทั้งวัด ต้นไม้ก็ตัดจนเตียนโล่งจนหมดสิ้นความงามไปอย่างน่าใจหาย
การค้นพบพระ
พระที่พบนั้นจะพบจมอยู่ในดินแถวลานวัดทั่วไปหมดมีทั้งเนื้อละเอียด และหยาบ พระที่พบจะมีพิมพ์ไข่ผ่า (การตัดขอบของแม่พิมพ์ห่างองค์พระ)แตงกวาผ่า(ตัดชิดองค์พระ) ซึ่งเนื้อจะละเอียดกว่า มีการค้นพบ พระพิมพ์ พลายงาม ขุนไกร และพระยุ่ง หรือที่เรียกว่าพระกุมารทองนั่นเองครับ นอกจากจะพบที่วัดพระรูปแล้วยังมีการค้นพบที่วัดละคร ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียนไปแล้ว และมีวัดอื่นๆ อีก ซึ่งเข้าใจว่า สร้างกันต่อๆ มา
สี
สีของพระวัดพระรูปนี้จะออกสีน้ำตาลอมแดงเนื้อแกร่งดุจหิน
ขนาดพิมพ์ทรง
พิมพ์ไข่ผ่า นั้นจะมีขนาดความกว้าง 2.75 เซ็นต์ สูง ประมาณ 5 ถึง 6 เซ็นต์ ส่วนใหญ่เนื้อจะหยาบกว่าพิมพ์แตงกวาครับ
พิมพ์แตงกวานั้น จะมีขนาดความกว้าง 2.5 เซ็นต์ สูง ประมาณ 5 ถึง 6 เซ็นต์ ส่วนใหญ่เนื้อจะละเอียดกว่าพิมพ์ไข่ผ่าซีกครับ
พุทธลักษณะ
เป็นปางมารวิชัยประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงายอันเลือนลางจึงแลดูเสมือนว่า เป็นกุมารนอนหงายอยู่ จึงถูกขนานนามจากนักเลงพระโบราณว่า เป็นขุนแผนกุมารทองนั่นเองครับ
ตำหนิและข้อสังเกตุของกรุวัดพระรูป
ใต้พระเพลาจะมองเห็นฐานผ้าทิพย์เป็นเนื้อนูนออกมา