PHRASOMDEJ (พระสมเด็จ)
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน18/11/2013
อัพเดท27/02/2017
เป็นสมาชิกเมื่อ 13/11/2013
สถิติเข้าชม103417
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe




ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  12/3 หมู่ 9 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000
โทร.  08-2339-6085,08-1428-9009
Mail  mui.arada@yahoo.co.th
Search      Go

Home / All Product List / ให้บูชา พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม (PHRASOMDEJ)

ให้บูชา พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม (PHRASOMDEJ)

รูปภาพประกอบทั้งหมด 6 รูป

ให้บูชา พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม (PHRASOMDEJ)

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  25/07/2014
แก้ไขล่าสุด  :  27/02/2017
ราคา  100,000



ข้อมูลทั่วไป / Overview:
พระสมเด็จบางขุนพรหม
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุพระเจดีย์ใหญ่)
พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันมงคลวัตถุนี้กำลังจะหาได้ยากยิ่ง และราคาก็สูงยิ่งเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่เครารพบูชาท่านเป็นที่ยิ่ง และได้มีโอกาสครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆังหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน
ปีพุทธศักราช ๒๔๑๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มทำการก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร อันเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรษฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ได้ทำการบรูณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จเพื่อสืบทอดทางพระพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาต และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากข้อเขียนของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร ซึ่งมีชีวิตทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำผงในครกท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้างตามอัธยาศัยจนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้วเสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆ ตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทุกประการ
ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้นมีการจัดสร้างและแกะพิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน ๙ พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกันมีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง
พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหม ๙ พิมพ์
๑.พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๔. พิมพ์เส้นด้าย
๕. พิมพ์ฐานแซม
๖. พิมพ์สังฆาฏิ
๗. พิมพ์ปรกโพธิ์
๘. พิมพ์ฐานคู่
๙.พิมพ์อกครุฑ
จำนวนที่สร้างสันนิษฐานกันว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน
การปลุกเสกโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์และปลุกเสกเดี่ยวจนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา
เมื่อได้ปลุกเสกเป็นที่สุดแล้วได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลที่ตั้งของพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้นไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่า ได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วยดังที่หลาย ๆ ท่านนิยมเรียกกันว่า “พระสองคลอง”
หลังจากที่ได้บรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ทั้งสองแล้วตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และในกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๒๕
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๖
ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๕๙
ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนี้ ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือกหย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศเพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้นพระสมเด็จที่ได้จะอยู่ในส่วนบนจึงสวย และมีความสมบูรณ์ นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า ” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบกรุเพียงเล็กน้อย หรือบางๆ เท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงามเนื้อหนึกนุ่ม เนื้อละเอียดมีน้ำหนักและแก่ปูน
ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก (เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ความว่า ในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้ และนำพระออกมาได้เป็นจำนวนมากจนหิ้วไม่ไหวประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็นจึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนาบ้านอยู่ในละแวกวัดได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมากจะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้ แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณเถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง ซึ่ง ต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง “สี่สมเด็จ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงามมีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อให้กรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระที่นำออกมาครั้งนี้นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ” เมื่อนำมาคัดแยกคงเหลือพระที่มีสภาพดีและสวยงามเพียงสามพันองค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนาและจับกันเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่า ผิวของพระเป็นเกล็ดๆ ทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็สุดแล้ว แต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฎิกริยาระหว่างน้ำกับปูนและเนื้อมวลสารที่เป็นองค์ประกอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชื้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลน เป็นต้น แต่แปลกตรงที่ว่า พระสมเด็จบางขุนพรหมเมื่อถูกใช้สักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่มใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่า พิมพ์นิยม ๙ พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือพิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่า มีไม่ถึง ๒๐ องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบมีประมาณไม่เกิน ๒๒ องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากมาก ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็กนักเลงพระในยุคนั้นไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ปรากฏว่า หลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมายนับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม (หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากเช่นกัน
หลังจากเปิดกรุอย่างเป็นทางการทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององพระ เรียกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคาองค์ละห้าร้อยถึงสองพันบาท ในยุคนั้นนับว่า มีราคามากอยู่ แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก
พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุพระเจดีย์เล็ก)
ปี พ.ศ.๒๕๐๘ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ได้นำรายได้ในการให้เช่าบูชาพระสมเด็จบางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มาบูรณะวัดโดยได้ว่า จ้างให้ช่างรับเหมา มาปรับปรุงบริเวณรอบองค์เจดีย์ใหญ่ ซึ่งมี เจดีย์เล็ก เรียงรายรอบทั้ง ๔ ทิศของเจดีย์องค์ใหญ่ ทิศละ ๒ องค์ ตั้งซ้อนกันอยู่อย่างเป็นระเบียบรวมทั้งหมด ๘ องค์ ซึ่งทางช่างได้รื้อ เจดีย์เล็ก ทั้งหมดออก ทำให้ช่างรับเหมาพบ กรุพระเครื่องจำนวนหนึ่งในเจดีย์เล็กรวมอยู่กับอัฐิ จึงได้เก็บพระเครื่องซ่อนไว้ไม่ให้ทางวัดทราบ คงมอบ แต่อัฐิให้เท่านั้น ต่อมาช่างรับเหมาได้นำพระที่พบนี้ไปขายแก่เซียนพระคนหนึ่งในสนามพระ ทำให้ พระเครื่องกรุเจดีย์เล็ก เป็นที่รู้จักในวงการพระสมัยนั้น มีผู้นำพระเครื่องมาสอบถามกับเจ้าอาวาสวัดว่า มีพระเครื่องแตกกรุจากเจดีย์เล็กจริงหรือไม่ เจ้าอาวาสบอกว่า "ไม่มี" ทำให้เกิดความสับสนกันขึ้นในช่วงแรก แต่เมื่อได้ทราบในภายหลัง และได้มีการตรวจสอบพิจารณากันถึงเนื้อพระ และคราบกรุกับ พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุใหม่) แล้ว พบว่า มีความเก่าใกล้เคียงกันมาก ซึ่งคาดว่า คงสร้างขึ้นในคราวเดียวกันคือในปี พ.ศ.๒๔๑๑- ๒๔๑๓

ในการตรวจสอบประวัติ ซึ่งเชื่อว่า ผู้สร้าง พระกรุเจดีย์เล็ก ก็คือ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ผู้สร้างพระเครื่องชุดนี้ไว้เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับพระกรุเจดีย์ใหญ่ ซึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มอบผงวิเศษห้าประการ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ให้ผสมลงไปด้วยในตอนกดพิมพ์องค์พระทั้งหมด และได้เมตตาปลุกเสกให้ด้วย จากนั้น เสมียนตราด้วงจึงได้นำพระเครื่องในส่วนนี้ไปบรรจุไว้คู่กับอัฐิของบรรพชนในตระกูล และเมื่อช่างรื้อเจดีย์เล็กออกจึงพบอัฐิ และพระเครื่องดังกล่าว

พระเครื่องกรุเจดีย์องค์เล็กมีทั้งหมด ๖ พิมพ์ คือ

  1. พิมพ์ฐานคู่ 2. พิมพ์ฐานหมอน 3. พิมพ์สามเหลี่ยม
  2. พิมพ์ไสยาสน์ 5. พิมพ์ยืนประทานพร 6. พิมพ์เจดีย์แหวกม่าน

พระทุกองค์มีคราบกรุเกาะอยู่ด้วย มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้ ในปัจจุบัน วงการพระเครื่องได้ให้ความสนใจในพระกรุเจดีย์เล็กนี้มาก

ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณ “อิทธิคุณ” คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ “พุทธคุณ” คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า เพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใดๆ จะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้อง

               หลักการพิจารณาพระสมเด็จบางขุนพรหม
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน

๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๔. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๕. ฌานสมาบัตร
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลป์ จำให้แม่นยำว่า มีกี่ทรงพิมพ์ และ แต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๓. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆ (เหมือนน้ำต้มไขมันของวัวเมื่อเย็นลงจะแลเห็นคราบไขลอยอยู่เป็นผาเล็กบ้างใหญ่บ้าง) เคลือบอยู่บนองค์พระ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ตามบริเวณซอกขององค์พระ สีขาวนวลแกมเหลืองอ่อนๆ คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อนชื้นทำปฎิกิริยากับเนื้อมวลสาร พระสมเด็จในลักษณะนี้จะอยู่ตอนบนที่เรียกกันว่า กรุเก่า)
๔. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฟองละเอียดจนมองเห็นเป็นฝ้าขาวปกคลุมทั่วองค์พระมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระสมเด็จ ลักษณะการเกิดเช่นนี้จะเป็นไปได้ในสองประการก็คือคราบจากน้ำปูนภายในเจดีย์ (เพราะพระเจดีย์ที่บรรจุนั้นสร้างใหม่) และปฏิกิริยาที่เกิดจากเนื้อมวลสารในองค์พระสมเด็จกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติพระชุดนี้จะอยู่ตอนกลางที่เรียกกันว่า กรุเก่า)
๕. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นวงเล็กบ้างใหญ่บ้าง ฟูบางเหมือนฟองของน้ำเต้าหู้ ใน ฟองเมื่อแตกจะสังเกตเห็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่นแข็งฝังแน่นในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้นแฉะ และถูกน้ำท่วมและลดลงทีละน้อย ถูกความร้อนที่สูงเป็นเวลานาน เป็นเช่นนี้สลับกันไปตามสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นจนเนื้อมวลสารในส่วนที่เป็นปูนเปลือกหอย และปูนขาวทำปฏิกิริยากับน้ำมันทัง (ทังอิ๊ว) พระสมเด็จในลักษณะนี้จะอยู่ตอนตอนกลางค่อนมาทางด้านล่างที่เรียกกันว่า กรุเก่า)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ สี น้ำตาลอ่อน และเข้ม อันเกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานานพระสมเด็จในลักษณะนี้จะพบได้ไม่มากนักและจะอยู่ตอนล่างเรียกกันว่า พระกรุใหม่)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควรเกิดขึ้นได้ทั้งพระสมเด็จที่ไม่บรรจุกรุ และบรรจุกรุ (พระที่บรรจุกรุจะเกิดขึ้นได้ยากกว่า ต้องใช้เวลามากกว่า ความหนึกนุ่มและสีจะด้อยกว่า) สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้ง แต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากเนื้อมวลสารสำคัญทำปฏิกิริยากับน้ำมันทัง โดยมีระยะเวลาตามธรรมชาติเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ คราบน้ำผึ้งถือเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญและพบมากในสกุลพระสมเด็จ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๙. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่า เกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๑๐.การหดตัวและรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จเปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ

อ้างอิง

๑. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยา ทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓
๒. ประวัติประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้ แต่ง : พระครูกัลยาณานุกูล รวบรวมและเรียบเรียงจัดพิมพ์:พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายล้อม ฟักอุดม และนางพิมเสน ฟักอุดม ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. ๒๕๑๒ พระมหาเฮง วัดกัลยาณมิตร
๓. หนังสือพระสมเด็จ โดยตรียัมปวาย ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
๔. จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
๕. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗
๖. หนังสือพระเครื่องเรื่องของขลัง โดยประชุม กาญจนวัฒน์
๗. หนังสือพระในฝัน โดย ๙๙ มีดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง
๘. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
๙. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
๑๐. ภาพเขียนบนผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร
๑๑. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๒. ประวัติวัดใหม่อัมตรส จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๓. ประวัติวัดอินทรวิหาร จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี

ข้อมูลจำเพาะ / Specifications:
พิมพ์เส้นด้าย (ฐานเส้นด้าย)
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระขาว เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก แก่ปูน ปรากฏคราบกรุลักษณะเป็นคราบน้ำผึ้ง คราบไขขาว คราบฟองเต้าหู้ สวยงามมาก
- พุทธลักษณะพิเศษ ทรงพิมพ์สง่างาม พระภักษ์กลมเรียวเล็ก พระเกศยาวจรดซุ้ม พระอุระนูนกว้างสอบลงเป็นทรงกระบอกงดงามได้ส่วนกับพระนาภี วงพระพาหาโค้งบรรจบกับพระกรสมส่วนและสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างตรง ฐานทั้งสามชั้นกว้างเป็นเส้นตรงเหมือนเส้นด้าย ฐานชั้นล่างสุดเป็นเส้นคู่ ตัดขอบข้าง เส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดกำลังสวยงาม โค้งจรดฐานสมส่วนเกือบจะเสมอขอบ ด้านหน้าขององค์พระพบคราบกรุจับเป็นจำนวนมาก ด้านหลังองค์พระเรียบ (อาจเกิดจากการตก แต่งเพื่อดูผิวในของพระ) พบล่องลอยเกาะแก่ง ลอยปูไต่ และหนอนด้น
- ความหนา ๓ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๓ เซนติเมตร สูง ๓.๕ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายากมาก

 เขียนความคิดเห็น (ความคิดเห็นจะขึ้นแสดงเมื่อได้ยืนยันผ่านทาง email แล้วเท่านั้น)
เลือกหมวดแสดง :
ชื่อ :    เจ้าของร้าน
Email :    ส่ง Email เมื่อมีคนตอบความคิดเห็น
แนบไฟล์ :