PHRASOMDEJ (พระสมเด็จ)
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน18/11/2013
อัพเดท27/02/2017
เป็นสมาชิกเมื่อ 13/11/2013
สถิติเข้าชม104184
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe




ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  12/3 หมู่ 9 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000
โทร.  08-2339-6085,08-1428-9009
Mail  mui.arada@yahoo.co.th
Search      Go

Home / All Product List / ให้บูชาพระสมเด็จวัดพระแก้ว (Phrasomdejwatphrakeaw)

ให้บูชาพระสมเด็จวัดพระแก้ว (Phrasomdejwatphrakeaw)

รูปภาพประกอบทั้งหมด 130 รูป

ให้บูชาพระสมเด็จวัดพระแก้ว (Phrasomdejwatphrakeaw)

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  12/03/2014
แก้ไขล่าสุด  :  25/07/2014
ราคา  7,500 - 25,000 โทร.0855600999

ด้วยในขณะนี้ Website “PHRASOMDEJ.IN.TH” เกิดปัญหาบางประการไม่สามารถให้บริการได้ขณะนี้กำลังดำเนินการสร้าง WEBSITE ขึ้นมาใหม่ แต่เนื่องจากมีสมาชิกและผู้สนใจหลายท่านได้สอบถามเข้ามาจึงใช้ Website “PANTIPMARKET” โดยใช้ชื่อว่า "PHRASOMDEJ (พระสมเด็จ)" จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ขอบคุณ
อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ก่อนที่ท่านจะบูชาโปรดศึกษาให้เกิดความรู้และความเข้าใจจากข้อเขียนที่ค้นคว้ามา ดังนี้

คำกล่าวด้วยความศรัทธา
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พ.ศ.๒๕๕๐
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในการศึกษาเรื่องของสกุลพระสมเด็จของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ท่านได้สร้าง และจัดสร้าง ทั้งพิธีทั่วไป และพิธีหลวง รวมทั้งมีพระภิกษุที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบหลายรูปร่วมในพิธีดังกล่าว ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๖) ถ้าเรานับอายุก็น่าจะมีอายุการสร้างมากกว่า ๑๔๓ ปี จึงสมควรยึดถือได้ว่า เป็นพระสมเด็จที่เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างอเนกอนันต์
ในเรื่องของพระสมเด็จในสกุลของพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้าง และจัดสร้างนี้ ผู้เขียนได้พยายามศึกษาในส่วนที่ได้มีพระสมเด็จที่ครอบครอง ซึ่งมีทั้งหมดดังนี้
หนึ่ง พระสมเด็จวัดระฆัง
สอง พระสมเด็จบางขุนพรหม
สาม พระสมเด็จวัดไชโย
สี่ พระสมเด็จวัดพระแก้ว
ห้า พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ
หก พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ)
ทั้งหมดที่ผู้เขียนได้กล่าวมานี้ได้มีการสืบค้นทางด้านประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และในเรื่องของการสร้างพระสมเด็จของท่าน แต่น่าเสียดายที่หลักฐานไม่มีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะไม่ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุหรือในพระราชกิจจานุเบกษา แต่อย่างใด จึงพบปัญหาค่อนข้างมาก เช่น วัน เดือน ปี สถานที่เกิด บิดา มารดา หรือแม้ แต่สถานที่ขณะท่านมรณภาพ (สิ้นชีพิตักษัย) ก็ยังไม่ตรงกัน ผู้เขียนจึงได้พยายามศึกษาจากการเทียบเคียงทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง จดหมายเหตุที่เกี่ยวข้อง สถานที่ในยุคที่กล่าวอ้างถึง และประสบการณ์ตรงจากผู้รู้ เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากจึงเป็นปฐมเหตุของการขาดองค์ความรู้ก่อให้เกิดความสับสน เรียนรู้กันแบบไม่ถูกทิศไม่ถูกทางใช้ความเชื่อและกระแสสังคมเป็นหลัก ผู้เขียนคิดว่า ทุกท่านที่มีความศรัทธาแด่สมเด็จฯคงจะต้องร่วมกันศึกษาหาความรู้ สืบค้นให้ประจักษ์ต่อไป
ในเบื้องต้นผู้เขียนเองมิได้มีเจตนาที่จะสนใจหรือสืบค้นในเรื่องนี้ เพียง แต่เคารพบูชากราบไหว้สมเด็จโตเป็นนิจเท่านั้น ด้วย เพราะเป็นคนวังหลัง ปู่ ย่า ตา ทวด ก็สืบสายมาจากช่างสิบหมู่ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงได้มีโอกาสครอบครองพระสมเด็จชุดนี้เพียงหนึ่งองค์เป็นพระสมเด็จสีเขียวสวยงามมากจาก พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย ซึ่งท่านเป็นตาของผู้เขียน) และจำพรรษาอยู่ที่วัดดงมูลเหล็ก ท่านชอบสะสมพระสมเด็จท่านได้บอกให้ผู้เขียนได้ทราบว่า “นี่คือพระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ลูกศิษย์ ซึ่งเป็นนายทหารนำมาให้เป็นจำนวนมากให้ไปศึกษาดูถ้าสนใจก็มาเอาไป” แล้วท่านก็เปิดให้ดูในหีบ ผู้เขียนเห็นมีพระชุดนี้เต็มไปหมด จากนั้นจึงนำมาขึ้นคอบูชา แต่ถ้าถามความสนใจที่ผู้เขียนจะสืบค้นยังไม่ได้คิด เพราะในขณะนั้นผู้เขียนรับราชการเป็นผู้บริหารของโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีภารกิจค่อนข้างมาก จวบจนกระทั่ง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ขณะที่ผู้เขียนไปเยี่ยมหลวงตาท่านบอกว่า “ผมมีฐานะความเป็นอยู่ดีแล้ว และอยู่ในแวดวงวิชาการท่านบอกว่าจะให้มรดกที่ต้องไปทำต่อเอาเอง”และท่านได้มอบพระชุดนี้รวมทั้งพระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ พระสมเด็จวัดระฆังชุดปิดทองล่องชาด ให้ทั้งหมด (พระสมเด็จวัดพระแก้ว จำนวน ๗๒๙ องค์ ๖๓ พิมพ์ พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำจำนวน ๒๑๒ องค์ ๙ พิมพ์ พระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจำนวนหนึ่ง) ท่านกำชับให้ผู้เขียนไปสืบค้นหาข้อมูลที่แท้จริงเพื่อให้สังคมได้รับรู้ รับทราบ นี่คือที่มาที่ผู้เขียนได้ครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้เขียนได้ลาออกจากราชการ จากนั้นได้เริ่มทุ่มเทศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และจากบุคคลที่มีความรอบรู้ที่ครอบครองพระสมเด็จสกุลต่าง ๆ เหล่านี้ ที่สำคัญ พระอาจารย์จิ้ม กันภัย (พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม) ได้นำผู้เขียนและสานุศิษย์เข้ากราบนมัสการหลวงพ่อวงศ์ หรือพระครูบาชัยยะวงศ์สา วัดพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน และได้ขอความเมตตาท่านให้ตรวจสอบด้วยฌานสมาบัตร พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ และพระสมเด็จวัดระฆังชุดปิดทองล่องชาด จากที่ท่านได้ตรวจสอบท่านได้กล่าวว่า มีมงคลพระคาถาพุทธคุณและอิทธิคุณแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สูงมาก สิ่งต่างๆ เหล่านนี้คือประสบการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนได้เริ่มให้ความสนใจและค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่างเต็มกำลังความสามารถ
สิ่งที่สำคัญในการจัดทำและสืบค้นข้อมูลพระสมเด็จในสกุลของพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้าง และจัดสร้างมีดังนี้
ประการแรก คือการบูชากิตติคุณอันยิ่งใหญ่และดำรงไว้ ซึ่งพระคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ท่านได้สร้างคุณงามความดีไว้แก่แผ่นดิน เป็นพระภิกษุที่ทรงศีลประพฤติดีปฏิบัติชอบ ช่วยเหลือประชาชนทุกชนชั้น และที่สำคัญได้ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น สร้างถาวรวัตถุ สร้างองค์พระพุทธรูปปาง และแบบต่างๆ สร้างพระสมเด็จจำนวนมากเพื่อเจตนาที่จะเป็นที่พึ่งแห่งพุทธศาสนิกชนและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไปในภายภาคหน้า
ประการที่สอง คือต้องการให้ผู้ที่เคารพบูชากราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสี และต้องการครอบครองพระสมเด็จของท่านได้มีโอกาสสักการบูชาพระสมเด็จที่เป็นพระแท้
ประการที่สาม ผู้เขียนได้ตั้งใจไว้ว่า รายได้อันเกิดจากการให้บูชาพระสมเด็จชุดนี้จะแบ่งส่วนเพื่อนำมาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นสาธารณะกุศลตามความสมควร โดยอุทิศส่วนกุศลให้แด่หลวงตาของผู้เขียน (พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม) ที่ได้มรณภาพ รวมทั้งบิดา มารดา และผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว

ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว

ข้อมูลเรื่องพระสมเด็จวัดพระแก้วที่แยกแยะมาให้ศึกษานั้น ผู้เขียนไม่อาจกล่าวอ้างจัดเป็นตำราได้ แต่สามารถจัดเป็นข้อเขียนที่ก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ได้ จากการที่ได้ศึกษาและค้นคว้าจากเอกสารหลักฐานหลายแหล่งที่พอหาได้ รวมทั้งจากประสบการณ์ของท่านผู้รู้อันประกอบด้วย พระภิกษุ ครู อาจารย์ และบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ สิ่งที่สำคัญคือการศึกษาจากพระสมเด็จสกุลนี้ที่ครอบครองอยู่ ขอให้ทุกท่านศึกษาอย่างตั้งใจ อันเนื่องด้วยพระสมเด็จสกุลนี้มีความสลับซับซ้อนมาก ถ้าไม่ตั้งใจ และไม่มีสมาธิจะเข้าใจได้ยาก ขอให้ทุกท่านที่มีความศรัทธาแด่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และศรัทธาพระสมเด็จสกุลนี้ได้ช่วยกันค้นคว้าหาหลักฐานให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการดำรงไว้แห่งโบราณวัตถุที่เป็นมงคล และทรงคุณค่ายิ่ง
พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า การจัดสร้างและบรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และบรรจุกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า ปัจจุบันตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป เป็นวัดที่ไม่มีการประกอบสังฆกรรมใด ๆ และถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น พิธีไหว้ครู และพิธีครอบครู เป็นต้น) การจัดสร้างพระสมเด็จสกุลนี้มีหลายครั้ง แต่ละครั้งมีความแตกต่างทั้ง พุทธศิลป์ แบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร ผู้สร้าง ผู้จัดสร้าง พระคณาจารย์ผู้พุทธาภิเษก ทั้งทันและไม่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในเวลา ต่อมาได้มีการนำพระสมเด็จสกุลนี้นำเข้าบรรจุกรุเดียวกัน คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) รวมทั้งยังมีพระสมเด็จวัดระฆังจำนวนหนึ่งร่วมลงในกรุนี้ด้วย นอกจากนั้นในยุคหลัง ๆ ก็ยังมีการจัดสร้างพระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา พระเนื้อโลหะในแบบต่าง ๆ บรรจุกรุในวัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกหลายครั้ง เพื่อความเข้าใจในการศึกษาจึงจะขอเรียกชื่อพระสมเด็จสกุลนี้ว่า “พระสมเด็จวัดพระแก้ว” ตามสถานที่บรรจุ และค้นพบเป็นสำคัญ

พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) แบ่งการสร้างออกเป็น ๓ ช่วง ดังนี้

๑. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ สร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า) ฝีพระหัตถ์การแกะพิมพ์เป็นบางส่วน โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ส่วนใหญ่ใช้แม่พิมพ์เดิมของพระสมเด็จวัดระฆังเท่าที่พบเป็นพิมพ์ประธาน หรือพิมพ์ใหญ่ และปรกโพธิ์ ลักษณะเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดกรอบสี่ด้าน ปาดหลังด้วยวัสดุบางและมีคม ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเนื้อมวลสาร เนื้อมวลสารกังไส และเนื้อมวลสารปูนสอ คล้ายพระสมเด็จวัดระฆัง แต่มีลักษณะที่แตกต่างจากการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้วใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และปี พ.ศ. ๒๔๒๕ หลายประการทั้งพุทธลักษณะ พิมพ์แม่แบบ และเนื้อมวลสาร ในเรื่องของวรรณเป็นวรรณขาวตั้งต้น เช่น ขาวนวลคล้ายมุก ขาวขุ่น ขาวใส ขาวอมชมพู ขาวอมเขียว ขาวอมฟ้า ขาวอมเหลืองอ่อน ขาวอมเทา ขาวอมน้ำตาล เป็นต้น มีผงทองนพคุณ ผงแร่รัตนชาติ ผงแร่เหล็กไหลเล็กน้อยเป็นบางองค์ ไม่ปรากฏวรรณเบญจสิริ สีสิริมงคลและสีประจำวัน ไม่ลงรัก และไม่ปิดทอง ด้านหลังขององค์พระบางส่วนโดยเฉพาะพิมพ์คะแนนจะปรากฏรูปสมอเรือ มีทั้งการแตกลายงา และไม่แตกลายงา พบการแตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ในสองลักษณะคือ การแตกลายงาแบบสังคโลก และการแตกลายงาแบบไข่นกปรอท การพุทธาภิเษก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พุทธาภิเษก พระเทพโลกอุดรเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษกโดยอทิสสมานกาย (อทิสสมานกาย คือกายที่มองไม่เห็นถ้าไม่แสดงอภินิหาร) ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ในคราวนั้นได้มอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชสำนักในพระบรมมหาราชวัง และประชาชนโดยทั่วไปเป็นบางส่วน ไม่ปรากฏหลักฐานว่า มีการบรรจุกรุ ณ ที่ใด

๒. สร้างในปี  พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒   เพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕      เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม   บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า)  ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และแกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่บางส่วนให้เหมือนกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง  วัดไชโย  เช่น  พิมพ์ใหญ่  พิมพ์ทรงเจดี  พิมพ์เกศบัวตูม  พิมพ์ฐานแซม  พิมพ์ปรกโพธิ์  พิมพ์ฐานเจ็ดชั้น  พิมพ์ฐานเก้าชั้น  นอกจากนั้นยังพบพิมพ์ที่แกะขึ้นใหม่อีกหลายพิมพ์เป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ได้แก่ พิมพ์ฐานคู่  และพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร  และทรงพิมพ์อื่น ๆ  ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา  เช่น  พิมพ์ชฎาหรหม  พิมพ์ฉัตรสามชั้น  พิมพ์ทรงครุฑ  พิมพ์ทรงคชสาร  เป็นต้น    ที่สำคัญได้พบพิมพ์พระประธานเป็นครั้งแรก (พิมพ์พระประธาน คือการจำลองแบบพระประธานในพระอุโบสถ  มีพุทธลักษณะ  ดังนี้  ปางสมาธิ  พระพักตร์กลมใหญ่  พระเกศปลีเรียวยาวจรดซุ้ม  มีพระเนตร  พระกรรณ  พระนาสิก  และพระโอษฐ์   ปรากฏเด่นชัด  สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี  ขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยบนนิสีทนสันถัต  ฐานสามชั้นสมส่วนสวยงาม)  ฝีพระหัตถ์และฝีมือการแกะพิมพ์  โดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ  เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และช่างสิบหมู่แห่งพระราชวังหน้าในรัชกาลที่ ๕  แม่พิมพ์แบบสองชิ้นประกบกันเป็นพิมพ์ที่ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่มีความละเอียดในสาระ  สมส่วนสง่างาม  ไม่ตัดกรอบ และไม่ปาดหลัง  จึงมีความงดงามมากจัดเป็นประณีตศิลป์  พบมีการ แต่งขอบเล็กน้อยหลังถอดพิมพ์ (แม่พิมพ์ลักษณะแบบโบราณคือพิมพ์ชิ้นเดียวปาดหลัง และตัดข้างด้วยวัสดุบางและมีคม)  ใช้ผงวิเศษของพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี     เนื้อมวลสารส่วนใหญ่เป็นลักษณะเนื้อมวลสารคล้ายพระสมเด็จวัดระฆัง  และเนื้อมวลสารกังไส  หรืออาจเรียกว่าเนื้อน้ำมัน  มีความละเอียดเนื่องจากใช้เครื่องบดแทนการโขลกหรือตำ  จึงมีความละเอียดมากกว่าพระในสกุลสมเด็จใด ๆ  สูตรการทำมีการพัฒนาไปมากจึงทำให้มีการยึดเกาะตัวของมวลสารสูง  หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง  มีน้ำหนัก มีทั้งการแตกลายงา และไม่แตกลายงา  พบส่วนที่แตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ในสองลักษณะคือ  การแตกลายงาแบบสังคโลก และการแตกลายงาแบบไข่นกปรอท  วรรณเป็นสีขาว  สีเหลืองหรดาล  สีน้ำตาล  สีดำ  สีดำผงใบลาน  เบญจสิริ และสีสิริมงคล (เบญจสิริ และสีสิริมงคล  สีที่พบได้แก่  สีแดง  สีเหลือง  สีชมพู  สีเขียว  สีส้ม  สีฟ้า  สีม่วง  สีขาว สีดำ)  ที่สำคัญใช้แร่มวลสารที่เป็นมงคลในตัวเอง  และหายากเป็นส่วนประกอบ  ได้แก่  ผงทองนพคุณ  ผงแร่รัตนชาติ (ผงแร่รัตนชาติ พบทั้งหมด  ๑๒   สี  คือ ม่วง  คราม  น้ำเงิน ฟ้า เขียว  เหลือง น้ำตาล  ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว) ผงแร่เหล็กไหล  นอกจากนั้นยังพบหินอ่อนย่อยละเอียด  (หินอ่อนจากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชที่ค้นพบอยู่ในสระน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม  วัดอินทรวิหาร  และวัดหงส์รัตนาราม)  มีการลงรักสมุกสีดำ  รักสมุกสีน้ำเงิน  รักสมุกสีเหลือง และลงชาดสีแดง เป็นการลงสองชั้นบาง ๆ  คือลงชาดหนึ่ง และลงรักหนึ่ง  แต่ไม่พบการปิดทอง  ด้านหลังของพระจะปรากฏพระราชลัญจกรและสัญลักษณ์ต่าง ๆ   แต่พบเป็นส่วนน้อย   เช่น  ครุฑ  จักร  ชฎา ช้าง  เป็นต้น   การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก  คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน   หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์    หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)   ในคราวนั้นได้ถวายแด่พระมหากษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์  และมอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชบริภารในพระบรมหาราชวังเป็นสำคัญ  ที่เหลือบรรจุในสุวรรณเจดีย์  เจดีย์ย่อไม้สิบสอง  ฐานชุกชีหลังครุฑวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)   อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า 

๓. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เพื่อเป็นสิริมหามงคลการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังที่พัฒนาแล้วจาก ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และแกะพิมพ์ขึ้นมาใหม่บางส่วนมีเอกลักษณ์เฉพาะนอกจากนั้นยังพบพิมพ์ที่แกะขึ้นอีกมากมายหลายร้อยพิมพ์เป็นพิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา ฝีมือการแกะพิมพ์สกุลช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม่พิมพ์เป็นลักษณะถอดยกแบบสองชิ้นประกบกันเป็นพิมพ์ที่ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่มีความละเอียดในสาระ สมส่วนสง่างาม ไม่ตัดกรอบ และไม่ปาดหลัง จึงมีความงดงามมาก จัดเป็นประณีตศิลป์ พบมีการ แต่งขอบเล็กน้อยหลังถอดพิมพ์ เนื้อมวลสารส่วนใหญ่เป็นลักษณะคล้ายกันกับการสร้างพระสมเด็จสกุลนี้ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ คือเนื้อมวลสารกังไส มีความละเอียดเนื่องจากใช้เครื่องบดแทนการโขลกหรือตำ สูตรการทำมีการพัฒนาไปมากจึงทำให้มีการยึดเกาะตัวของมวลสารสูง หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก มีทั้งการแตกลายงา และไม่แตกลายงา พบส่วนที่แตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ในสองลักษณะคือ การแตกลายงาแบบสังคโลก และการแตกลายงาแบบไข่นกปรอท วรรณเป็นสีขาว สีเหลืองหรดาล น้ำตาล สีดำ สีดำผงใบลาน เบญจสิริ สีสิริมงคลและสีประจำวัน (สำหรับวรรณเบญจสิริ สีสิริมงคลและสีประจำวันนั้นพบจำนวนค่อนข้างมาก แต่มีลักษณะแตกต่างจากการสร้าง ใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ ทั้งแบบพิมพ์ เนื้อมวลสาร และในเรื่องของสี) ที่สำคัญใช้แร่มวลสารที่หายากและมีคุณค่าเป็นส่วนประกอบได้แก่ ผงทองนพคุณ ผงแร่รัตนชาติ ผงแร่เหล็กไหล มีการลงรักสมุกสีดำ และลงชาดสีแดง ไม่ปิดทอง ด้านหลังของพระจะปรากฏพระราชลัญจกรและสัญลักษณ์ เช่น ครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่พบเป็นส่วนน้อย ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่เก็บรักษาไว้รวมทั้งการย่อยสลายพระสมเด็จที่หักชำรุดจำนวนหนึ่ง และจากผงวิเศษของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธานสงฆ์ คณะสงฆ์ประกอบด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัต เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) วัดพระเชตุพน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน ๑๐๘ รูป ทำพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในคราวนั้นได้ถวายแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทุกลำดับชั้น และประชาชนโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุใต้หลังคาพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า

สำหรับการสร้างพระหลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๒๕ ในช่วงปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ต่อในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ ๖ ยังมีการสร้างพระเนื้อผง เนื้อดินเผา และเนื้อโลหะบรรจุกรุที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกหลายครั้ง เช่น การจัดสร้างในพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ การฉลองพระรูปทรงม้า ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในรัชการที่ ๕ เป็นต้น แม้จะมีแบบพิมพ์ และวรรรณล้ายกับพระสมเด็จวัดพระแก้ว เช่น พิมพ์ประธาน และพิมพ์อื่น ๆ เนื้อมวลสารวรรณสีขาว เนื้อมวลสารวรรณสีสายรุ้ง ซึ่งหลายท่านเข้าใจว่า เป็นพระสมเด็จเบญจสิริ เนื้อมวลสารลงรักชาดปิดทองทับหนึ่งในสี่ของแผ่น และครึ่งแผ่นโดยปิดด้านหน้าและด้านหลัง เนื้อมวลสารบุทองทึบทั้งองค์ เนื้อดินเผาบุทองทึบทั้งองค์ มีการใช้อัญมณีและพลอยสีต่าง ๆ มาประดับ ลงเครื่องมุกแบบจีน จาลึก พ.ศ. เป็นต้น ด้านหลังจะปรากฏพระสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ ๕ หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ บรรจุในสุวรรณเจดีย์ และเพดานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ไม่ได้ใช้มวลสารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นการสร้างและจัดสร้างโดยใช้ผงวิเศษและการพุทธาภิเษกของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น จึงไม่ถือว่า เป็นพระในสกุลพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

กล่าวโดยสรุป พระสมเด็จวัดพระแก้วที่สร้างมีทั้งทัน และไม่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ช่วงที่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้แก่การสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ และปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ ส่วนการสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่มอบไว้ให้ร่วมกับผงวิเศษที่เกจิอาจารย์ในยุคนั้นสร้าง (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ แต่ถึงแม้ท่านมิได้พุทธาภิเษก แต่ก็ได้มอบผงวิเศษ และมวลสารสำคัญไว้ให้หลายส่วน เป็นมวลสารแห่งสุดยอดพระสูตรคาถามีพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างเป็นเลิศอเนกอนันต์) พระสมเด็จวัดพระแก้วผู้สร้างคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค กรมท่าในรัชกาลที่ ๔) เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี (กรมท่าในรัชกาลที่ ๕) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้าในรัชกาลที่ ๕) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระอุตรเถระ (หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร) หลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทราราม หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นจำนวนหลายรูป ส่วนพิธีพุทธาภิเษกใน แต่ละครั้งก็จัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามแบบโบราณราชประเพณี ถูกต้องตามหลักพิธีการ ในเรื่องของแบบพิมพ์มีมากมายหลายพิมพ์ทั้งเป็นพิมพ์ดั้งเดิมหรือพิมพ์นิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง และที่แกะแบบพิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ในรัชกาลที่ ๕ และฝีมือช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีความวิจิตรบรรจง มีความลงตัวทั้งรูปแบบ และรูปทรงที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง โดยแกะจากไม้มะเกลือ หินลับมีด หินอ่อน ปูน และโลหะ (สันนิษฐานว่า มีมากกว่าหนึ่งร้อยพิมพ์) ใช้ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น ส่วนมวลสารก็คัดสรรจากหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลี พม่า และประเทศในแถบยุโรป นอกจากนั้นยังได้พบผงแร่เหล็กไหล หินอ่อนย่อยละเอียดจากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชถือเป็นสิ่งสุดยอดแห่งมวลสาร ในด้านการย่อยสลายมวลสารต่าง ๆ นั้น ค่อนข้างที่จะมีความทันสมัยมากกว่ายุคแรก ๆ ที่ แต่เดิมจากการใส่ครกตำมาใช้เป็นเครื่องบด จึงได้มวลสารที่มีความละเอียดสม่ำเสมอ และได้จำนวนมากขึ้น ส่วนจำนวนการสร้างที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงและคาดเดา อันเนื่องด้วยไม่พบการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน คงเป็นการสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลมากกว่า ซึ่งประมาณว่า จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นประถม (เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ อันเป็นที่ยึดถือแห่งจำนวนการสร้างพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และเป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปตั้ง แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน) ในทางศิลป์ถือได้ว่า เป็นสุดยอดในทางฝีมือการช่างอันวิจิตร (ประณีตศิลป์และวิจิตรศิลป์) เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่า ในทางสิริมงคลจัดเป็นเป็นพุทธปฏิมา (องค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) เป็นมงคลวัตถุที่มีพลังกฤติยาคม “พุทธคุณ และอิทธิคุณ” เป็นที่รวมแห่งสุดยอดของพระสูตรคาถา

พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดพระแก้ว คือศิลปะโบราณใน แต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
๑. สมัยเชียงแสน
๒. สมัยสุโขทัย
๓. สมัยอู่ทอง
๔. อยุธยา
๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น

พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึงอวิชาที่คลุมพิภพ
๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง

อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. อิทธิวิธี คือวิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต คือวิชาหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น

พระสูตรคาถาที่บรรจุลงในผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่น
๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่า มีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่า มีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
๖. พุทธคุณ ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป

มวลสารต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมหลักของพระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. ปูนที่เกิดจากการย่อยสลายหินด้วยวิธีการบดจากเขาในเมืองอันฮุย มณฑลเสฉวน ประเทศจีน (ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน และถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย)
๒. หินอ่อน (จากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชอยู่ในสระน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม วัดอินทรวิหาร และวัดหงส์รัตนาราม)
๓. ดินหลักเมือง
๔. รัตนชาติ (คือแร่ ๙ ประเภทที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ นำมาย่อยละเอียด พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ ขาว)
๕. แร่เหล็กไหล (ขี้เหล็กไหลหรือผงเหล็กไหล)
๖. ผงทองนพคุณ (ผงทองเนื้อเก้า และทองเนื้อหก หรือทองดอกบวบที่นิยมทำทองรูปพรรณ)เป็นผงทองจากการตะไบทองที่ทำทองรูปพรรณ
๗. ผงแก้วทรายสีต่าง ๆ บดละเอียด
๘. ข้าวสุก
๙. ผงใบลานเผา
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๑. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๒. น้ำมันทัง
๑๓. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด

สีสิริมงคลที่ใช้ในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
รักสมุกสีแดงหรือรักชาด (รักน้ำเกลี้ยงผสมกับกับชาดจอแสนำมาเคี่ยวรวมกันจากประเทศจีน)
รักสมุกสีดำ (รักน้ำเกลี้ยงผสมกับผงถ่านใบตองแห้งและ/หรือผงถ่านหญ้าคา)
รักสมุกสีน้ำเงิน (รักน้ำเกลี้ยงผสมกับครามนำมาเคี่ยวรวมกัน จากประเทศพม่า)
รักสมุกสีแดงอมเหลือง หรือสีหรดาล (รักน้ำเกลี้ยงผสมกับแร่หรดาล)
สีประจำวัน (สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง)
สีเบญจรงค์ หรือแม่สี (คือสีที่ประกอบเป็นเครื่องห้าสี จีนเรียก อู๋ใช้ ได้แก่ ขาว เหลือง ดำ เขียว แดง ซึ่งแทนความหมายของธาตุทั้งห้า คือ ทอง ดิน น้ำ ลม และไฟ)

สีสิริมงคลฉัพพรรณรังสี
คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางพระสรีระกายของ พระพุทธเจ้าเป็นรัศมี ๖ ประการ คือ ๑. โอทาตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน ดอกโกมุท
๒. นีลกะ เขียวเหมือนกลีบบัวเขียว ดอกอัญชันเข้ม
๓. ปีตะ เหลืองเหมือนผงขมิ้น เทียบได้กับหรดาลทอง
๔. โลหิตตะ แดงเหมือน ดอกชัยพฤกษ์ ดอกทองกวาว ดอกชบา เทียบได้กับตะวันทอง
๕. มัญเชฏฐะ สีแสดเข้ม เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่หรือสีหงสบาท
๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

พิธีพุทธาภิเษก
การพุทธาภิเษกพระพุทธรูปหรือพระเครื่อง ซึ่งเป็นวัตถุมงคลนั้นจะประกอบไปด้วยสองส่วน เรียกว่า “พุทธคุณ” และ “อิทธิคุณ” พุทธคุณ คือ คำกล่าวพรรณนาคุณแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้านั่นเอง (การเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระสูตรคาถาใด ๆ จะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ) อิทธิคุณ คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ ในปัจจุบันประชาชนโดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า พระสมเด็จมีเพียงพุทธคุณเพียงประการเดียว
พุทธคุณ และอิทธิคุณ ที่ถูกบรรจุในพระสมเด็จวัดพระแก้วนี้ ผู้ที่ครอบครองจะมีบารมี อำนาจ วาสนา เป็นเมตตามหานิยมแก่บุคคลโดยทั่วไป ค้าขายประกอบธุรกิจดีมีกำไร รักษาโรคภัยไข้เจ็บไม่ให้เข้ามากล้ำกราย อาวุธเขี้ยวงาไม่สามารถทำอันตรายได้ แคล้วคลาดปลอดภัย ปราศจากอันตรายทั้งปวง และทรงคุณความดีอันประเสริฐอีกนานัปการ แก่ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และกระทำ แต่ความดี

พระสมเด็จวัดพระแก้วนี้มีความเป็นเลิศสี่ด้านด้วยกันคือ
หนึ่ง พระสูตรคาถาอันเป็นสิริมงคลสูงสุด
สอง เนื้อมวลสารมีความเป็นสิริมงคลอันเป็นเลิศ
สาม ผู้สร้างและผู้จัดสร้างถึงพร้อมด้วยคุณความดี
สี่ พิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีหลวงที่สมบูรณ์แบบตามโบราณราชประเพณี

ข้อมูลทั่วไป / Overview:
หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดพระแก้ว
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พ.ศ. ๒๕๕๐
ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๓

      พระสมเด็จวัดพระแก้วที่จัดสร้าง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๐๘   ปี พ.ศ. ๒๔๑๑   ปี พ.ศ. ๒๔๒๕   หลักที่สำคัญในการพิจารณาต้องศึกษาประวัติความเป็นมาให้เข้าใจ   ต้องมีความรู้ และความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้เป็นพื้นฐาน  คือ

๑. พุทธศิลป์ ทรงพิมพ์
๒. องค์ประกอบของเนื้อมวลสาร

๓. การพิจารณา รัก ชาด ทอง
๔. การพิจารณา แร่รัตนชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์ และหลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๖. ฌานสมาบัตร

พระสมเด็จวัดพระแก้วที่จัดสร้าง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๐๘

เนื้อมวลสารที่พบ ดังนี้ เนื้อมวลสารกังไส หรือเนื้อน้ำมัน และเนื้อมวลสารปูนสอ

๑. พุทธศิลป์ ทรงพิมพ์ เป็นพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และทรงพิมพ์อื่น ๆ ที่พบส่วนใหญ่เป็นพิมพ์ประธาน หรือพิมพ์ใหญ่ และปรกโพธิ์ ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ทรงพิมพ์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ คือ พิมพ์ประธาน หรือพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ปรกโพธิ์

๒. เนื้อมวลสาร ลักษณะเนื้อมวลสารกังไส และเนื้อมวลสารปูนสอ ใกล้เคียงพระสมเด็จวัดระฆัง แต่มีลักษณะที่แตกต่างจากพระสมเด็จวัดพระแก้วที่สร้างใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และปี พ.ศ. ๒๔๒๕ หลายประการทั้งพุทธลักษณะ พิมพ์แม่แบบ และความละเอียดของเนื้อมวลสาร กล่าวคือเนื้อมวลสารขององค์พระจะแห้งจัด แต่หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก มีความละเอียดมากกว่าเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง แต่น้อยกว่าพระสมเด็จวัดพระแก้วที่สร้างใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และปี พ.ศ. ๒๔๒๕

๓. ในเรื่องของวรรณลักษณะขาวตั้งต้น เช่น ขาวนวลคล้ายมุก ขาวขุ่น ขาวใส ขาวอมชมพู ขาวอมเขียว ขาวอมฟ้า ขาวอมเหลืองอ่อน ขาวอมเทา ขาวอมน้ำตาล

๔. พิมพ์แม่แบบเป็นลักษณะเดิมคือ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวมีการตัดขอบทั้งสี่ด้าน และปาดหลังโดยใช้วัสดุบาง และมีคม เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง

๕. ด้านหน้าและด้านหลัง พิจารณาโดยละเอียดจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ รอยหนอนด้น ทรายทอง รอยเหนอะจากการยุบ และหดตัวของเนื้อมวลสารที่เกิดจากธรรมชาติ และกาลเวลาเป็นสำคัญ ด้านหลังปรากฏรอยแล่ง หลังกระดาน และหลังเรียบ อันเกิดจากวัสดุปาดหลัง และการใช้ไม้กระดานรองในขณะผึ่ง ตาก เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ด้านหลังปรากฏสัญลักษณ์รูปสมอเรือโดยเฉพาะพิมพ์คะแนน ส่วนพิมพ์ประธานจะพบเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ไม่พบสัญลักษณ์อื่นใดนอกจากที่กล่าวมาแล้ว

๖. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท  คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก คือเครื่องถ้วยชามแบบเก่าในสมัยสุโขทัย)  สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท)  ทั้งสองลักษณะร่องรอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆ คล้ายไม่แยกจากกัน  ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด  และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่า การแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากสาเหตุการลงชาด  รัก  ปิดทอง เพียงประการเดียว แต่เกิดจากการยุบ และหดตัวของเนื้อมวลสารในขั้นตอนของการตาก  ผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ   ข้อพิจารณา  พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏการแตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  และเป็นการแตกลายงาโดยไม่ได้ลงชาดรักหรือปิดทอง  

๗. คราบไขขาว ที่หลายท่านมีความเข้าใจว่า เป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ ในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์ เพราะมีคุณสมบัติใสและลื่น ส่วนคราบไขขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อมวลสารของพระสมเด็จ ซึ่งเป็นไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ส่วนใหญ่จะพบเห็นได้จากพระในสกุลพระสมเด็จ แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับพระสมเด็จทุกองค์ คราบไขขาวนี้จะติดแน่นล้างออกได้ยาก ไม่สามารถล้างออกได้ด้วยความร้อน และถ้าใช้สารเคมีจะทำให้ผิวของพระเสียหาย ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏคราบไขขาวเป็นบางส่วน

๘. ผงทองนพคุณ คือทองคำแท้เป็นผงทองจากการตะไบทองของช่างทำทองโดยมีลักษณะ เป็นผงละเอียด หยาบ และเกร็ด ส่วนที่หยาบเป็นท่อนเล็ก ๆ ที่พบขนาดใหญ่ที่สุดกว้าง ๑.๕ มิลลิเมตร ยาว ๓ มิลลิเมตร โดยประมาณ โรยไว้ทั้งด้านหน้า และด้านหลังเป็นบางองค์ ไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่า เป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ (ถ้าพบผงทองที่เกิดสนิมสีเขียวแสดงว่า เป็นผงทองเหลือง ไม่ใช่ของแท้) ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏผงทองนพคุณค่อนข้างหยาบ โดยวิธีโรยทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นบางองค์

๙. ผงแร่เหล็กไหล คือโลหะเหล็กที่มีเนื้ออ่อนสีดำมัน เงา ละลายและหลอมเหลวได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าแร่เหล็กชนิดอื่น ๆ นำมาย่อยมีขนาดไม่แน่นอนพบทั้งละเอียดและหยาบ สัมผัสดูจะรู้สึกคล้ายมีคมเหมือนกระดาษทรายหยาบ ก้อนใหญ่สุดมีขนาดไม่เกิน ๓ มิลลิเมตร ผสมอยู่ในเนื้อมวลสาร มากบ้าง น้อยบ้าง เป็นแร่เหล็กที่เป็นมงคล ไม่เกิดสนิม และหายากมาก ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้มีผงแร่เหล็กไหลผสมอยู่ในเนื้อมวลสาร แต่พบเป็นส่วนน้อยเป็นส่วนน้อย

๑๐. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ ๙ ประเภทที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว แบ่งเป็นสองลักษณะ ลักษณะมวลแข็ง จะแลดูแกร่ง แสงสลัว มันวาว ลักษณะมวลอ่อน จะแลดูแข็ง แต่ไม่แกร่ง ทึบแสง ไม่มันวาว แห้ง สัณฐานจะกลมหรือเหลี่ยมให้สังเกตจะมนไม่มีคมถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดโดยประมาณ .๕ - ๓ มิลลิเมตร ผสมอยู่ในวรรณต่าง ๆ มากบ้าง น้อยบ้าง ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้มีผงแร่รัตนชาติลักษณะมวลอ่อนผสมอยู่ในเนื้อมวลสารเล็กน้อย และผสมอยู่เป็นบางองค์

     ๑๑. ไม่มีวรรณเบญจสิริ   ไม่มีวรรณสีสิริมงคลหรือสีประจำวัน

๑๒. ไม่ลงชาด รัก และไม่ปิดทอง (ไม่ลงรักปิดทองล่องชาด)

๑๓. ไม่ประดับอัญมณี ไม่ปิดทอง ไม่บุทอง ไม่ลงเครื่องมุกแบบจีน ไม่มีตราแผ่นดิน ไม่มีอักขระเลขยันต์ ไม่จาลึก ปี พ.ศ. ไม่ฝังก้างปลา

๑๔. ไม่บรรจุกรุ

๑๕. การพุทธาภิเษก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์พุทธาภิเษก พระเทพโลกอุดรเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษกโดยอทิสสมานกาย

พระสมเด็จวัดพระแก้วที่จัดสร้าง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๑๒

เนื้อมวลสารที่พบ ดังนี้ เนื้อมวลสารกังไส หรือเนื้อน้ำมัน และเนื้อมวลสารปูนสอ
วรรณลงชาด รัก
- ลงชาดสีแดงและรักสีดำ
- ลงชาดสีแดงและรักสีน้ำเงินจากพม่า
- ลงชาดสีแดงและรักสีเหลือง

๑. พุทธศิลป์ ทรงพิมพ์ เป็นพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง วัดไชโย เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดี พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ฐานเจ็ดชั้น พิมพ์ฐานเก้าชั้น นอกจากนั้นยังพบพิมพ์ที่แกะขึ้นใหม่อีกหลายพิมพ์เป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร และทรงพิมพ์อื่น ๆ ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เช่น พิมพ์ชฎาหรหม พิมพ์ฉัตรสามชั้น พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์ทรงคชสาร พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จฯ พิมพ์ล้อ เป็นต้น ที่สำคัญได้พบพิมพ์พระประธาน (พิมพ์พระประธาน คือการจำลองแบบพระประธานในพระอุโบสถ มีพุทธลักษณะ ดังนี้ ปางสมาธิ พระพักตร์กลมใหญ่ พระเกศปลีเรียวยาวจรดซุ้ม มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก และพระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยบนนิสีทนสันถัต ฐานสามชั้นสมส่วนสวยงาม) ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ทรงพิมพ์มีมากกว่าหนึ่งร้อยพิมพ์

๒. เนื้อมวลสาร ลักษณะเนื้อมวลสารกังไส หรือเนื้อน้ำมัน เนื้อมวลสารปูนสอ ในเรื่องของความหนึกนุ่มใกล้เคียงพระสมเด็จวัดระฆัง ส่าวนในเรื่องของวรรณลักษณะขาวตั้งต้น ขาวนวลคล้ายมุก ขาวขุ่น ขาวอมเหลืองอ่อน ขาวอมเทา ขาวอมน้ำตาล ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้เนื้อมวลสารมีลักษณะที่แตกต่างกับพระสมเด็จในยุคใด ๆ คือ มีความละเอียดมากกว่า หนึกนุ่ม มันวาว มีน้ำหนัก แข็งแกร่ง แห้งจัด สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า และที่สำคัญใช้มวลสารที่หายาก และเป็นสิริมงคลในตัวเอง

๓. พิมพ์แม่แบบลักษณะเดิม คือ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวมีการตัดขอบทั้งสี่ด้าน และปาดหลังโดยใช้วัสดุบาง และมีคม ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ด้านข้างและด้านหลังขององค์พระจะปรากฏรอยเหนอะจากการยุบ และหดตัวของเนื้อมวลสาร ด้านหลังปรากฏรอยแล่งอันเกิดจากวัสดุปาดหลัง และรอยกระดานอันเกิดจากการใช้รองในขณะผึ่ง ตาก เรียกว่า “หลังกระดาน” เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง

๔. พิมพ์แม่แบบลักษณะพัฒนาใหม่ ทั้งรูปแบบที่เน้นสาระรายละเอียด มีความลงตัวในสัดส่วน สง่างาม มีความคมชัด จัดเป็นวิจิตรศิลป์ เป็นพิมพ์สองชิ้นประกบกัน จึงไม่มีการตัดขอบทั้งสี่ด้าน และไม่ปาดหลัง แต่มีการ แต่งขอบด้านหน้า และด้านหลังหลังทั้งสี่ด้านเล็กน้อยอันเนื่องด้วยมีเนื้อเกิน ด้วยการมนและปาดขอบหลังถอดพิมพ์ขณะเนื้อพระแห้งหมาด ๆ ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ด้านหลังและด้านข้างขององค์พระจะเรียบ ปราศจากรอยแล่ง แต่จะพบรอยเหนอะจากการยุบและหดตัวของเนื้อมวลสาร และรอยหลังกระดานอันเกิดจากการใช้รองในขณะผึ่ง ตาก

๕. ด้านหน้าและด้านหลัง พิจารณาโดยละเอียดจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ รอยหนอนด้น ทรายทอง ที่เกิดจากธรรมชาติ และกาลเวลาเป็นสำคัญ ด้านหลังขององค์พระบางส่วนจะปรากฏพระราชลัญจกร และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ครุฑ จักร ชฎา ช้าง ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ด้านหลังปรากฏสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระราชลัญจกรพบเห็นเพียงส่วนน้อย

      ๖. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท  คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก คือเครื่องถ้วยชามแบบเก่าในสมัยสุโขทัย)  สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท)  ทั้งสองลักษณะร่องรอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆ คล้ายไม่แยกจากกัน  ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด  และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่า การแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากสาเหตุการลงชาด  รัก  ปิดทอง เพียงประการเดียว แต่เกิดจากการยุบ และหดตัวของเนื้อมวลสารในขั้นตอนของการตาก  ผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ    ข้อพิจารณา  พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏการแตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ และไม่ปรากฏการแตกลายงาก็มีเป็นบางส่วน

๗. คราบไขขาว ที่หลายท่านมีความเข้าใจว่า เป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ ในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์ เพราะมีคุณสมบัติใสและลื่น ส่วนคราบไขขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อมวลสารของพระสมเด็จ ซึ่งเป็นไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ส่วนใหญ่จะพบเห็นได้จากพระในสกุลพระสมเด็จ แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับพระสมเด็จทุกองค์ คราบไขขาวนี้จะติดแน่นล้างออกได้ยาก ไม่สามารถล้างออกได้ด้วยความร้อน และถ้าใช้สารเคมีจะทำให้ผิวของพระเสียหาย ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏคราบไขขาวเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะวรรณสีสิริมงคล และสีประจำวัน และวรรณเบญจสิริ ที่ไม่ปรากฏคราบไขขาวก็มีเป็นบางส่วน

๘. ผงทองนพคุณคือทองคำแท้ เป็นผงทองจากการตะไบทองของช่างทำทองโดยมีลักษณะเป็นผงละเอียด หยาบ และเกร็ด ส่วนที่หยาบเป็นท่อนเล็ก ๆ ที่พบขนาดใหญ่ที่สุดกว้าง ๑.๕ มิลลิเมตร ยาว ๓ มิลลิเมตร โดยประมาณ โรยไว้ทั้งด้านหน้า และด้านหลังไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่า เป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ (ถ้าพบผงทองที่เกิดสนิมสีเขียวแสดงว่า เป็นผงทองเหลือง ไม่ใช่ของแท้) ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏผงทองนพคุณโดยวิธีโรยทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นส่วนใหญ่ในทุกทรงพิมพ์ และถ้ามีผงทองนพคุณผสมอยู่ในเนื้อมวลสารเป็นเอกเทศเรียกว่า “เนื้อมวลสารทองนพคุณ”

๙. ผงแร่เหล็กไหล คือโลหะเหล็กที่มีเนื้ออ่อนสีดำมัน เงา วาว ละลายและหลอมเหลวได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าแร่เหล็กชนิดอื่น ๆ ได้ถูกนำมาย่อยมีขนาดไม่แน่นอนพบทั้งละเอียดและหยาบ ก้อนใหญ่สุดมีขนาดไม่เกิน ๓ มิลลิเมตร และผสมอยู่ในวรรณต่าง ๆ มากบ้าง น้อยบ้าง เป็นแร่เหล็กที่เป็นมงคล ไม่เกิดสนิม และหายากมาก ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้มีผงแร่เหล็กไหลผสมอยู่ในเนื้อมวลสารเป็นบางองค์ และถ้ามีผงแร่เหล็กไหลผสมอยู่ในเนื้อมวลสารเป็นเอกเทศเรียกว่า “เนื้อมวลสารแร่เหล็กไหล” ไม่ลงชาด รัก

     ๑๐. ผงหินอ่อน   จากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชอยู่ในสระน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม  วัดอินทรวิหาร  และวัดหงส์รัตนาราม   ข้อพิจารณา  พระสมเด็จสกุลนี้มีผงหินอ่อนผสมอยู่เป็นบางองค์  ลักษณะจะเป็นสีขาวขุ่นดังเช่นหินอ่อนทั่วไป  สีสม่ำเสมอ  มีความเก่า  ถูกนำมาย่อยละเอียด  ขนาดมีความใกล้เคียงกัน  ก้อนใหญ่สุดมีขนาดไม่เกิน  ๓  มิลลิเมตร (ยกเว้นวรรณสีสิริมงคล และสีประจำวันจะมีผงหินอ่อน และผงทองนพคุณ  เป็นส่วนผสมหลัก)

๑๑. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ ๙ ประเภทที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว แบ่งเป็นสองลักษณะ ลักษณะมวลแข็ง จะแลดูแกร่ง แสงสลัว มันวาว ลักษณะมวลอ่อน จะแลดูแข็ง แต่ไม่แกร่งทึบแสง ไม่มันวาว แห้ง สัณฐานจะกลมหรือเหลี่ยมให้สังเกตจะมนไม่มีคมถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดโดยประมาณ .๕ - ๓ มิลลิเมตร และผสมอยู่ในวรรณต่าง ๆ มากบ้าง น้อยบ้าง ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้มีผงแร่รัตนชาติผสมอยู่ในเนื้อมวลสารผสมอยู่เป็นบางองค์ และถ้ามีผงแร่แร่รัตนชาติผสมอยู่ในเนื้อมวลสารเป็นเอกเทศเรียกว่า “เนื้อมวลสารแร่รัตนชาติ”

     ๑๒. มีการลงชาดและลงรัก  ดังนี้  ลงชาดสีแดง และลงทับด้วยรักสมุกสีต่าง ๆ   คือ  รักสมุกสีดำ  รักสมุกสีน้ำเงิน  รักสมุกสีเหลือง (หรดาล)  เป็นการลงสองชั้นบาง ๆ  คือลงชาดหนึ่ง และลงรักสมุกสีต่าง ๆ  หนึ่ง   การลงชาดรักจะลงทั้งผิวด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ  พบว่า ชาดรักมีความเก่ามากให้สังเกตว่า สีของรักดำเหมือนสีของตากุ้ง  รักสีน้ำเงินจากพม่าจะดูเป็นสีเทาเข้ม ส่วนรักสีเหลืองหรดาลจะเหมือนสีของหมากสุก แต่คล้ำ (รักสีเหลืองหรดารนี้หาได้ยากมาก)   ข้อพิจารณา   พระสมเด็จสกุลนี้ลงชาดและลงรักเป็นส่วนใหญ่  ที่สำคัญชาดรักต้องไม่เป็นมันเงา  ต้องแห้งด้าน   ต้องมีการร่อนและลอกออก  เป็นแผ่นบาง หรือเป็นขุย  ไม่มีลักษณะของการกะเทาะ เพราะเป็นการลงชาดรักบาง ๆ  เพียงสองชั้นเท่านั้น  การลอกจะเป็นหย่อม ๆ  ไม่ทั่วทั้งองค์   มากบ้างน้อยบ้างตามกาลเวลา และมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ  

๑๓. ไม่ประดับอัญมณี ไม่ปิดทอง ไม่บุทอง ไม่ลงเครื่องมุกแบบจีน ไม่มีตราแผ่นดิน ไม่มีอักขระเลขยันต์ ไม่จาลึก ปี พ.ศ. ไม่ฝังก้างปลา

      ๑๔. บรรจุกรุ   พิจารณาจะพบคราบไขขาว และคราบฝุ่นเล็กน้อย  ไม่พบคราบกรุอื่นใด  ด้วยเหตุผลคือสถานที่บรรจุพระ(กรุ)ไม่ถูกน้ำท่วม  ไม่ถูกน้ำค้าง  คงถูกความร้อน  ความเย็นและความชื้นจากสภาพอากาศกลางวัน  กลางคืน ตามฤดูกาลเท่านั้น   ข้อพิจารณา  พระสมเด็จสกุลนี้บรรจุลงหีบปิดไว้อย่างดีแล้วจึงนำลงบรรจุกรุ

๑๕. ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

๑๖. การพุทธาภิเษก จัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธาน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีในการพุทธาภิเษก

วรรณสีสิริมงคล และสีประจำวัน

วรรณสีสิริมงคล และสีประจำวัน คือสีที่เป็นสิริมงคลใช้เป็นสีประจำวัน และแทนธาตุทั้งห้า ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟ และธาตุทอง ธาตุทั้งห้าถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของทุกสรรพสิ่งในโลกนี้จึงมีอิทธิพลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กันของสิ่งต่าง ๆ ให้มนุษย์ได้อยู่กับสภาพการณ์ และสภาวะแวดล้อมของโลกได้อย่างสมดุล และมีพลัง ดังเช่นหยินกับหยาง สีสิริมงคล ที่นำมาผสมลงในเนื้อพระให้เป็นสีต่าง ๆ นำมาจากหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลี และประเทศในยุโรป อันประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง มีทั้งสีอ่อน และสีเข้มปะปนกันเป็นสีหลัก ส่วนสีอื่น ๆ ที่พบ เช่น สีขาว สีดำ สีน้ำตาล เป็นสีที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย การพิจารณาสีสิริมงคลนั้น สี แต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ สีมันเป็นเงางาม และสดใส เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายในน้ำ และในน้ำมัน ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่าง ๆ จะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี พระสมเด็จสกุลนี้จัดเป็นเนื้อมวลสารลักษณะเนื้อน้ำมัน มีความละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว มีน้ำหนัก และแข็งแกร่ง
๑. พิมพ์แม่แบบลักษณะเดิมพบเป็นจำนวนน้อย พิมพ์แม่แบบลักษณะพัฒนาใหม่พบเป็นจำนวนมาก ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่พิมพ์ประธานหรือพิมพ์ใหญ่ ส่วนพิมพ์อื่น ๆ อาจจะมีบ้าง แต่ยังไม่เคยพบเห็น
๒. ปรากฏการแตกลายงาทั้งสองประเภท และไม่แตกลายงา
๓. ผงแร่รัตนชาติ ผงทองนพคุณ ผงแร่เหล็กไหล ผงหินอ่อน จะปรากฏมากบ้าง น้อยบ้าง คือ ปรากฏทั้งหมด บางชนิด หรือไม่ปรากฏ ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้จะมีผงหินอ่อน และผงทองนพคุณ เป็นส่วนผสมหลัก
๔. ไม่ลงชาด และรัก
๕. ไม่ประดับอัญมณี ไม่ปิดทอง ไม่บุทอง ไม่ลงเครื่องมุกแบบจีน ไม่มีตราแผ่นดิน ไม่ลงอักขระเลขยันต์ ไม่จาลึก ปี พ.ศ. ไม่ฝังก้างปลา ข้อพิจารณา ด้านหลังไม่มีพระราชลัญจกร และไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ
๖. ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๗. บรรจุกรุ และการพุทธาภิเษก การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธาน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีในการพุทธาภิเษก

วรรณเบญจสิริ

วรรณเบญจสิริ คือสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นสิริมงคลสูงสุดตามหลักแห่ง สีสิริมงคลฉัพพรรณรังสี เป็นสำคัญ ประกอบไปด้วยสีที่เป็นสิริมงคลห้าสีเป็นอย่างน้อย ได้แก่ สีขาว สีเหลือง สีดำ สีเขียว สีแดง และใสดังแก้วผลึก และอาจมีสีอื่น ๆ ปะปนอยู่บ้าง เข่น สีน้ำตาล สีเทา และสีฟ้า เป็นต้น สีต่าง ๆ นำมาจากหลายประเทศ เช่น จีน เกาหลี และประเทศในยุโรป เป็นสีที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย โดยมีเนื้อมวลสารขาวเหลือง ขาวนวล เป็นหลัก แล้วนำสี แต่ละสีมาผสมลงไปลักษณะของศิลป์ที่เป็นเส้นสายมีการเรียงตัวตามธรรมชาติอย่างเป็นเอกเทศ เป็นศิลป์สีสิริมงคลฉัพพรรณรังสี การพิจารณาสีสิริมงคลเบญจสิรินั้นสี แต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว กล่าวคือ สีมันเป็นเงางาม และสดใส เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายในน้ำ และน้ำมัน ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่าง ๆ จะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี พระสมเด็จสกุลนี้จัดเป็นเนื้อมวลสารลักษณะเนื้อน้ำมัน มีความละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว มีน้ำหนัก และแข็งแกร่ง
๑. พิมพ์แม่แบบลักษณะเดิมพบเป็นจำนวนน้อยมาก พิมพ์แม่แบบลักษณะพัฒนาใหม่พบเป็นจำนวนมาก ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ประธานหรือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ฉัตรสามชั้น พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์ทรงคชสาร ส่วนพิมพ์อื่น ๆ อาจจะมีบ้าง แต่ยังไม่เคยพบเห็น
๒. ปรากฏการแตกลายงาทั้งสองประเภท และไม่แตกลายงา จำนวนใกล้เคียงกัน
๓. ผงแร่รัตนชาติ (ประเภทมวลแข็ง) ผงทองนพคุณ ผงแร่เหล็กไหล ผงหินอ่อน จะปรากฏมากบ้างน้อยบ้าง คือ ปรากฏทั้งหมด บางชนิด หรือไม่ปรากฏ
๔. ไม่ลงชาด และรัก
๕. ไม่ประดับอัญมณี ไม่ปิดทอง ไม่บุทอง ไม่ลงเครื่องมุกแบบจีน ไม่มีตราแผ่นดิน ไม่ลงอักขระเลขยันต์ ไม่จาลึก ปี พ.ศ. ไม่ฝังก้างปลา ด้านหลังไม่ปรากฏพระราชลัญจกร และสัญลักษณ์ใด ๆ
๖. ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๗. บรรจุกรุ และการพุทธาภิเษก การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธาน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีในการพุทธาภิเษก

พระสมเด็จวัดพระแก้วที่จัดสร้าง เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕

เนื้อมวลสารที่พบ ดังนี้ เนื้อมวลสารกังไส หรือเนื้อน้ำมัน และเนื้อมวลสารปูนสอ
วรรณลงชาด รัก
- ลงชาดสีแดงและรักสีดำ
- ลงชาดสีแดงและรักสีน้ำเงินจากพม่า
- ลงชาดสีแดงและรักสีเหลือง

๑. พุทธศิลป์ ทรงพิมพ์  เป็นพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง  วัดไชโย  วัดบางขุนพรหม เช่น  พิมพ์ใหญ่  พิมพ์ทรงเจดี  พิมพ์เกศบัวตูม  พิมพ์เส้นด้าย  พิมพ์ฐานแซม  พิมพ์สังฆาฏิ  พิมพ์ปรกโพธิ์  พิมพ์ฐานคู่  พิมพ์อกครุฑ  พิมพ์ฐานเจ็ดชั้น  พิมพ์ฐานเก้าชั้น  พิมพ์ล้อ และทรงพิมพ์อื่น ๆ  ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา  

๒. เนื้อมวลสาร ลักษณะเนื้อมวลสารกังไส หรือเนื้อน้ำมัน เนื้อมวลสารปูนสอ ความหนึกนุ่ม ใกล้เคียงพระสมเด็จวัดระฆัง ในเรื่องของวรรณลักษณะขาวตั้งต้น ขาวนวลคล้ายมุก ขาวขุ่น ขาวอมเหลืองอ่อน ขาวอมเทา ขาวอมน้ำตาล ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้เนื้อมวลสารมีลักษณะที่เหมือนกับพระสมเด็จใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ คือมีความละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว มีน้ำหนัก แข็งแกร่ง และแห้งจัด สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า และที่สำคัญใช้มวลสารที่หายาก และเป็นสิริมงคลในตัวเอง
๓. พิมพ์แม่แบบลักษณะพัฒนาใหม่ ลักษณะพุทธศิลป์ทรงพิมพ์เหมือนพระสมเด็จวัดระฆัง แต่เน้นสาระรายละเอียด มีความลงตัวในสัดส่วน สง่างาม มีความคมชัด จัดเป็นวิจิตรศิลป์ เป็นพิมพ์สองชิ้นประกบกัน จึงไม่มีการตัดขอบทั้งสี่ด้าน และไม่ปาดหลัง ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ด้านหลังและด้านข้างขององค์พระจะเรียบ ปราศจากรอยแล่ง แต่จะพบรอยเหนอะจากการยุบและหดตัวของเนื้อมวลสาร และรอยหลังกระดานอันเกิดจากการใช้รองในขณะผึ่ง ตาก
๔. ด้านหน้าและด้านหลัง พิจารณาโดยละเอียดจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ รอยหนอนด้น ทรายทอง ที่เกิดจากธรรมชาติ และกาลเวลาเป็นสำคัญ ด้านหลังขององค์พระบางส่วนพบลัญจกร และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้ ครุฑ จักร ชฎา ช้าง ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ด้านหลังปรากฏสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระราชลัญจกรพบเห็นเพียงส่วนน้อย
๕. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก คือเครื่องถ้วยชามแบบเก่าในสมัยสุโขทัย) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องรอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆ คล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่า การแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากสาเหตุการลงชาด รัก ปิดทอง เพียงประการเดียว แต่เกิดจากการยุบ และหดตัวของเนื้อมวลสารในขั้นตอนของการตาก ผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏการแตกลายงาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยไม่ปรากฏการแตกลายงา

     ๖. คราบไขขาว ที่หลายท่านมีความเข้าใจว่า เป็นคราบแป้งโรยพิมพ์  แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่  ในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์ เพราะมีคุณสมบัติใสและลื่น  ส่วนคราบไขขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อมวลสารของพระสมเด็จ ซึ่งเป็นไปตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ส่วนใหญ่จะพบเห็นได้จากพระในสกุลพระสมเด็จ   แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับพระสมเด็จทุกองค์  คราบไขขาวนี้จะติดแน่นล้างออกได้ยาก  ไม่สามารถล้างออกได้ด้วยความร้อน และถ้าใช้สารเคมีจะทำให้ผิวของพระเสียหาย    ข้อพิจารณา  พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏคราบไขขาวเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะวรรณสีสิริมงคล และสีประจำวัน และวรรณเบญจสิริ  ที่ไม่ปรากฏคราบไขขาวก็มีเป็นบางส่วน

๗. ผงทองนพคุณคือทองคำแท้ เป็นผงทองจากการตะไบทองของช่างทำทองโดยมีลักษณะเป็นผงละเอียดสม่ำเสมอ โรยไว้ทั้งด้านหน้า และด้านหลังไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่า เป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ (ถ้าพบผงทองที่เกิดสนิมสีเขียวแสดงว่า เป็นผงทองเหลือง ไม่ใช่ของแท้) ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้ปรากฏผงทองนพคุณโดยวิธีโรยทั้งด้านหน้า และด้านหลัง แต่พบเป็นจำนวนน้อย

๘. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ ๙ ประเภทที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว แบ่งเป็นสองลักษณะ ลักษณะมวลแข็งจะแลดูแกร่ง แสงสลัว มันวาว ลักษณะมวลอ่อนจะแลดูแข็ง แต่ไม่แกร่ง ทึบแสง ไม่มันวาว แห้ง สัณฐานจะกลมหรือเหลี่ยมให้สังเกตจะมนไม่มีคมถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดโดยประมาณ .๕ - ๓ มิลลิเมตร และผสมอยู่ในวรรณต่าง ๆ มากบ้าง น้อยบ้าง ข้อพิจารณา พระสมเด็จสกุลนี้มีผงแร่รัตนชาติลักษณะมวลแข็งผสมอยู่ในเนื้อมวลสารเป็นบางองค์

      ๙. มีการลงชาดและลงรัก  ดังนี้  ลงชาดสีแดง และลงทับด้วยรักสมุกสีต่าง ๆ   คือ  รักสมุกสีดำ  รักสมุกสีน้ำเงิน  รักสมุกสีเหลือง (หรดาล)  เป็นการลงสองชั้นบาง ๆ  คือลงชาดหนึ่ง และลงรักสมุกสีต่าง ๆ  หนึ่ง   การพิจารณาชาด รัก   การลงชาดรักจะลงทั้งผิวด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ  พบว่า ชาดรักมีความเก่ามากให้สังเกตว่า สีของรักดำเหมือนสีของตากุ้ง  รักสีน้ำเงินจากพม่าจะดูเป็นสีเทาเข้ม ส่วนรักสีเหลืองหรดาลจะเหมือนสีของหมากสุก (รักสีเหลืองหรดารนี้หาได้ยากมาก)   ข้อพิจารณา   พระสมเด็จสกุลนี้ลงชาด และลงรักเป็นส่วนใหญ่  ที่สำคัญชาดรักต้องไม่เป็นมันเงา  ต้องแห้งด้าน   ต้องมีการร่อนและลอกออก  เป็นแผ่นบาง หรือเป็นขุย  ไม่มีลักษณะของการกะเทาะ เพราะเป็นการลงชาดรักบาง ๆ  เพียงสองชั้นเท่านั้น  การลอกจะเป็นหย่อม ๆ  ไม่ทั่วทั้งองค์   มากบ้างน้อยบ้างตามกาลเวลา และมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ 

๑๐. ไม่ประดับอัญมณี ไม่ปิดทอง ไม่บุทอง ไม่ลงเครื่องมุกแบบจีน ไม่มีตราแผ่นดิน ไม่มีอักขระเลขยันต์ ไม่จาลึก ปี พ.ศ. ไม่ฝังก้างปลา

      ๑๑. บรรจุกรุ   พิจารณาจะพบคราบไขขาว และคราบฝุ่นเล็กน้อย  ไม่พบคราบกรุอื่นใด  ด้วยเหตุผลคือสถานที่บรรจุพระ(กรุ)ไม่ถูกน้ำท่วม  ไม่ถูกน้ำค้าง  คงถูกความร้อน  ความเย็นและความชื้นจากสภาพอากาศกลางวัน  กลางคืน ตามฤดูกาลเท่านั้น   ข้อพิจารณา  พระสมเด็จสกุลนี้บรรจุลงหีบปิดไว้อย่างดีแล้วจึงนำลงบรรจุกรุ

๑๒. ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่เก็บรักษาไว้รวมทั้งการย่อยสลายพระสมเด็จที่หักชำรุดจำนวนหนึ่ง และจากผงวิเศษของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น

๑๓. บรรจุกรุ    และการพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี        โดยพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น  

วรรณสีสิริมงคล และสีประจำวัน

วรรณสีสิริมงคล และสีประจำวัน  คือ  สีที่เป็นสิริมงคลใช้แทนธาตุทั้งห้า  ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ  ธาตุไม้  ธาตุไฟ  และธาตุทอง  ธาตุทั้งห้าถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของทุกสรรพสิ่งในโลกนี้จึงมีอิทธิพลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กันของสิ่งต่าง ๆ  ให้มนุษย์ได้อยู่กับสภาพการณ์ และสภาวะแวดล้อมของโลกได้อย่างสมดุล และมีพลัง ดังเช่นหยินกับหยาง   สีสิริมงคล ที่นำมาผสมลงในเนื้อพระให้เป็นสีต่าง ๆ  เป็นพลังตามสีของวัน ตั้ง แต่วันอาทิตย์  จนถึง  วันเสาร์  นำมาจากหลายประเทศ  เช่น  จีน  เกาหลี และประเทศในยุโรป  อันประกอบด้วย สีแดง  สีเหลือง  สีชมพู  สีเขียว  สีส้ม  สีฟ้า  สีม่วง  มีทั้งสีอ่อน และสีเข้มปะปนกันเป็นสีหลัก ส่วนสีอื่น ๆ  ที่พบ  เช่น  สีขาว  สีดำ  สีน้ำตาล  เป็นสีที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย  การพิจารณาสีสิริมงคลนั้น  สี แต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว  กล่าวคือ  สีมันเป็นเงางาม และสดใส  เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายในน้ำ และในน้ำมัน  ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี  ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่าง ๆ  จะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี   พระสมเด็จสกุลนี้จัดเป็นเนื้อมวลสารลักษณะกังไสหรือเนื้อน้ำมัน  มีความละเอียด

ข้อมูลจำเพาะ / Specifications:
พระสมเด็จวัดพระแก้ว (Phrasomdejwatphrakeaw)

๑. พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์พระประธาน) พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่งมีน้ำหนัก เนื้อมวลสารกังไส อาจพบการลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วนตามกาลเวลา)ปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงามมาก
- พุทธลักษณะพิเศษ มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก และพระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัดพระเกศคมเรียวงามจรดซุ้ม สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อย ปรากฏอาสนะเป็นเส้นตรงบางๆ และไม่ปรากฏอาสนะ ฐานสามชั้นสมส่วนสวยงาม ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง คมขวานฐานสิงห์คมชัดเจน กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกปรากฏทั้งเสมอขอบและห่างขอบสอบขึ้นด้านบน ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่ และพิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ) ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๔-๖ เซนติเมตร สูง ๓.๖-๘ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุดและหายากมาก

๒. พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) พ.ศ. ๒๔๑๑
๒.๑ พระะอุระทรงสามเหลี่ยม และทรงกระบอก (ชิ้นฟัก)
๒.๒ พระเกศทะลุซุ้ม
๒.๓ พรหมรังสี
๒.๔ พระพักตร์ใหญ่
๒.๕ พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “ทรงครุฑ”

๒.๑ พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “พระอุระทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก (ชิ้นฟัก)”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด มีทั้งเนื้อน้ำมัน และเนื้อมวลสาร หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่งมีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน)และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆังพิมพ์โบราณ และพิมพ์นิยม พระพักตร์กลมเรียว พระเกศจรดซุ้ม พระอุระกว้างเรียวเป็นรูปสามเหลี่ยมตัววี พระนาภีกิ่ว หรือพระอุระกว้างเรียวเป็นรูปทรงกระบอก วงพระพาหารับกับพระกรโค้งเรียวสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิแคบ หรือพระเพลาขัดสมาธิกว้าง ตรงและโค้งเล็กน้อยเห็นชายจีวรบางๆ ปรากฏและไม่ปรากฏอาสนะ ฐานสิงห์คมขวานชัดเจน ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียงจะยาวแอ่นเล็กน้อย ไม่ตัดขอบข้าง และตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่ และพิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ) กรอบด้านบนโค้งสอบเข้า ด้านล่างจรดฐานสมส่วนเสมอขอบ กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกเส้นเล็กด้านบนโค้งสอบเข้า ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
-ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด(แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด)และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร สูง ๓.๕-๖ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด

๒.๒ พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “พระเกศทะลุซุ้ม”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่งมีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน)และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ พระพิมพ์นี้แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญเพียร และบรรลุประจักษ์แจ้งตลอด ดังเช่น พรหมรังสี (แสงสว่างแห่งฌานหรือสมาบัติ) เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆังพิมพ์โบราณ และพิมพ์นิยม พระพักตร์กลมเรียว พระเกศยาวทะลุซุ้ม ปรากฏเส้นพระสอบางๆ พระอุระนูนกว้างสอบลงงดงามได้ส่วนกับพระนาภี วงพระพาหารับกับพระกรโค้งเรียวสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยเห็นชายจีวร ปรากฏและไม่ปรากฏอาสนะ เป็นลักษณะสมาธิที่สง่างาม ฐานทั้งสามชั้นสมส่วน ฐานรองชั้นที่สามเท่ากับความกว้างของพระชานุทั้งสองข้าง ฐานรองชั้นที่สองเป็นเส้นตรงบาง ไม่ปรากฏฐานสิงห์คมขวาน ไม่ตัดขอบข้าง และตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่ และพิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ) กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกคมลึกโค้งจรดฐานสมส่วนห่างขอบ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๓ เซนติเมตร สูง ๓.๕-๖ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามและหายาก

๒.๓ พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “พรหมรังสี”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว - วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่งมีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน)และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ ทรงพิมพ์งดงามไม่เหมือนพิมพ์ใดๆ จัดเป็นพิมพ์ที่แกะขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระพิมพ์นี้แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญเพียร และบรรลุประจักษ์แจ้งตลอด ดังเช่น พรหมรังสี (แสงสว่างแห่งฌานหรือสมาบัติ) พระพักตร์กลมเรียว เหนือพระเศียรจะปรากฏพระเมาลีต่อพระเกศยาวทะลุซุ้ม ปรากฏเส้นพระสอบางๆ พระอุระนูนกว้างสอบลงงดงามได้ส่วนกับพระนาภี วงพระพาหารับกับพระกรโค้งเรียวสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยชายจีวร ปรากฏและไม่ปรากฏอาสนะ ฐานสิงห์คมขวานชัดเจน ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม ลักษณะพิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดกำลังสวยงามสมส่วนห่างขอบ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๓ เซนติเมตร สูง ๓.๕-๖ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุดและหายากมาก

๒.๔ พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “พระพักตร์ใหญ่ ”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า (ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆังพิมพ์โบราณ และพิมพ์นิยม พระพักตร์ใหญ่กลมดั่งผลมะตูม พระเกศยาวจรดซุ้ม พระอุระนูนเรียวใกล้เคียงทรงวีและทรงกระบอก วงพระพาหารับกับพระกรโค้งเรียวสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างตรงและโค้งเล็กน้อยเห็นชายจีวรบาง ๆ ปรากฏและไม่ปรากฏอาสนะ ฐานสิงห์คมขวานชัดเจน ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ฐานสามชั้นได้ส่วนงดงามมาก ไม่ตัดขอบข้าง และตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่ และพิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ) กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดใหญ่ ด้านบนโค้งสอบเข้า ด้านล่างจรดฐานสมส่วนเสมอขอบ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานล่างกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร สูง ๓.๖ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม

๒.๕ พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “ทรงครุฑ” พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณองค์พระจะเป็นสีขาวนวล เนื้อค่อนข้างหยาบ หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ไม่ปรากฎการลงรัก ชาด แต่จะปรากฏผงแร่เหล็กไหล ผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง ลักษณะเด่นคือ เป็นพิมพ์ประธานทรงพญาครุฑอยู่บนฐานทั้งสาม (ครุฑราชา คือพาหนะของพระนารายณ์) เป็นเนื้อมวลสารที่ผสมด้วยผงแร่เหล็กไหลทั้งองค์ “เนื้อผงแร่เหล็กไหล” พิมพ์ทรงองค์พระสง่างาม พระภักษ์กลมดั่งผลมะตูม พระเกศยาวจรดซุ้ม พระอุระนูนกว้างสมส่วนกับพระนาภีคล้ายทรงกระบอก วงพระพาหารับกับพระกรทิ้งโค้งเรียวสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิตรงและโค้งเล็กน้อยในส่วนพระชานุ เห็นชายจีวรบาง ฐานสิงห์คมขวานไม่ชัดเจน ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ฐานสามชั้นได้ส่วนงดงามมาก ไม่ตัดขอบข้าง และตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่ และพิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ) กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดอวบนูนสวยงาม ด้านบนโค้งสอบเข้าเล็กน้อย ด้านล่างจรดฐานสมส่วนเสมอขอบ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานล่างกว้าง ๒.๖ เซนติเมตร สูง ๔ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายากที่สุด

๓. พิมพ์ทรงเจดีย์ พ.ศ. ๒๔๑๑
๓.๑ พิมพ์ทรงเจดีย์ (ใหญ่) “พระเกศทะลุซุ้ม”
๓.๒ พิมพ์ทรงเจดีย์ (เล็ก) “พระประธาน”

๓.๑ พิมพ์ทรงเจดีย์ (ใหญ่) “พระเกศทะลุซุ้ม”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ พระพิมพ์นี้แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญเพียร และบรรลุประจักษ์แจ้งตลอด และให้ระลึกถึงพระธรรมเจดีย์ องค์พระล่ำสันอวบอิ่มสง่างามมาก พระพักตร์กลม พระเกศยาวทะลุซุ้ม พบเส้นพระสอบางๆ พระอุระนูนกว้างสอบลงเป็นรูปตัว “วี” งดงาม พระนาภีกิ่ว วงพระพาหารับกับพระกรโค้งเรียวสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยเห็นชายจีวรชัดเจน ไม่ปรากฏอาสนะ ลักษณะสมาธิที่สง่างาม ฐานทั้งสามชั้นไล่ระดับเหมือนฐานของพระเจดีย์สมส่วน (ฐานหมอน) ปรากฏฐานสิงห์คมขวานไม่ชัดเจนนัก ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่) กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกหนานูนสมส่วนห่างขอบเล็กน้อย ด้านหลังขององค์พระ ปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด(แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด)และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔.๕ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร สูง ๓.๘ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม และหายาก

๓.๒ พิมพ์ทรงเจดีย์ (เล็ก) “พระประธาน”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า (ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และจะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ พระพิมพ์นี้แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญเพียร และให้ระลึกถึงพระธรรมเจดีย์ องค์พระลอยเด่นสง่างามมีขนาดเล็ก พระพักตร์กลม ปรากฏพระเนตร พระกรรณ(ต้อ) พระนาสิก และพระโอษฐ์เด่นชัด พระเกศคมเรียวงามจรดซุ้ม สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิตรงและแคบ ช่องห่างระหว่างขัดสมาธิชัดเจนปรากฏอาสนะเป็นเส้นตรงชัดเจน ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ส่วนชั้นที่สองและสามเล็กและบางโค้งเข้าหาพระเพลา วงพระพาหาเล็กแนบไปทางด้านหลังรับกับพระกรที่ทิ้งลงมาและโค้งเรียวสวยงาม ไม่ปรากฏฐานสิงห์คมขวาน ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่) กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกหนานูนโค้งจรดฐานสมส่วนห่างขอบเล็กน้อย ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๓.๒ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร สูง ๓.๓ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม และหายาก

๕.พิมพ์ฐานแซม พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า (ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ฐานแซมวัดระฆัง (อกร่อง หูยาน ฐานแซม) พระพักตร์รี พระกรรณยาวเกือบจรดพระอังสา พระกรรณขนานพระภักษ์ พระกรรณด้านขวาห่างพระพักตร์มากกว่าด้านซ้าย พระเกศจรดซุ้ม พบเส้นพระสอชัดเจน พระอุระเป็นเส้นคู่มีร่องยาวตลอด พระนาภีเล็ก วงพระพาหารับกับพระกรโค้งสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิมีทั้งแคบโค้งเล็กน้อย ปรากฏเส้นอาสนะตรงบางๆ แซมระหว่างฐานชั้นที่สอง และชั้นที่สาม ฐานสิงห์คมขวานพอสังเกต ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม พิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดกำลังสวยงาม สอบขึ้นด้านบนจรดฐานสมส่วนห่างขอบ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๓ - ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๑ เซนติเมตร สูง ๓.๔ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายาก

๖.พิมพ์ฐานคู่ พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า (ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ฐานคู่ (อกร่อง หูยาน ฐานคู่) ซึ่ง ต่อมาเป็นพิมพ์ต้นแบบของพระสมเด็จบางขุนพรหม พระพักตร์รี พระกรรณยาวเกือบจรดพระอังสา พระกรรณสอบขึ้นพระพักตร์ พระเกศจรดซุ้มเส้นพระสอหนาชัดเจน พระอุระเป็นเส้นคู่มีร่องยาวตลอด พระนาภีเล็ก วงพระพาหารับกับพระกรโค้งสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิมีทั้งแคบตรง ปรากฏอาสนะเป็นเส้นตรงชัดเจน ฐานชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สามเป็นเส้นคู่ ไม่ปรากฏฐานสิงห์คมขวาน ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม ตัดขอบข้าง กรอบกระจก กรอบ เส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดกำลังสวยงาม สอบขึ้นด้านบนจรดฐานสมส่วนห่างขอบ พิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๓ - ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๑ เซนติเมตร สูง ๓.๔ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายาก

๗. พิมพ์เกศบัวตูม พ.ศ. ๒๔๑๑
๗.๑ พิมพ์เกศบัวตูม “พระประธาน”
๗.๒ พิมพ์เกศบัวตูม “ปรกโพธิ์”

๗.๑ พิมพ์เกศบัวตูม “พระประธาน”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และจะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง องค์พระลอยเด่นสง่างามสมส่วน พระเศียรเอียงทางด้านซ้ายเล็กน้อยพระพักตร์กลมรี มีพระเนตร พระกรรณยาว พระนาสิก และพระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด พระเกศดั่งเกศบัวตูมยาวห่างซุ้ม สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิตรงและแคบ ปรากฏอาสนะเป็นเส้นตรงชัดเจน ฐานชั้นแรกหนาและมีเส้นขอบ ส่วนฐานชั้นที่สองมีเส้นตรงแซมฐาน ปรากฏฐานสิงห์ค่อนข้างชัดส่วนคมขวานไม่ชัดเจนนัก ฐานชั้นที่สามป้านและโค้งเล็กน้อย วงพระพาหาทิ้งและโย้ไปทางขวารับกับพระกร ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่) กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกหนานูนโค้งจรดฐานสมส่วนห่างขอบเล็กน้อย ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔.๕ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๒ เซนติเมตร สูง ๓.๕ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม และหายาก

๗.๒ พิมพ์เกศบัวตูม “ปรกโพธิ์”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และจะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม “ปรกโพธิ์” ลักษณะเป็นปรกโพธิ์บาย หรือโพธิ์ใบ (ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้) มีสิบแปดใบล้อมพระเศียร เปรียบดังเช่นโพธิญาณ พระเศียรเอียงทางด้านซ้ายเล็กน้อยพระพักตร์กลมรี พระเกศดั่งเกศบัวตูมยาวห่างซุ้ม พระกรรณดั่งเสี้ยวพระจันทร์โค้งออกจากพระเศียร พระศอสั้น สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิตรงและแคบ มีอาสนะเป็นเส้นตรงชัดเจน ฐานชั้นแรกหนาและมีเส้นขอบ ส่วนฐานชั้นที่สองมีเส้นตรงแซมฐาน ปรากฏฐานสิงห์ค่อนข้างชัดส่วนคมขวานไม่ชัดเจนนัก ฐานชั้นที่สามป้านและโค้งเล็กน้อย วงพระพาหาทิ้งและโย้ไปทางขวารับกับพระกร ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่) กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกหนานูนโค้งจรดฐานสมส่วนห่างขอบเล็กน้อย ด้านหลังขององค์พระ ปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔.๕ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๒ เซนติเมตร สูง ๓.๕ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม และหายากมาก

๘. พิมพ์ปรกโพธิ์ พ.ศ. ๒๔๑๑
๘.๑ พิมพ์ปรกโพธิ์ (ใหญ่)
๘.๒ พิมพ์ปรกโพธิ์ (เล็ก)
๘.๓ พิมพ์ปรกโพธิ์ “ฐานเท้าสิงห์”
๘.๔ พิมพ์ปรกโพธิ์ “ฐานแซม”

๘.๑ พิมพ์ปรกโพธิ์ “ปรกโพธิ์ใหญ่” พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า (ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และจะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ ทรงปรกโพธิ์บาย หรือโพธิ์ใบ แต่มีขนาดใหญ่ (ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้) มีสิบหกใบล้อมพระเศียร เปรียบดังเช่นโพธิญาณ พระพักตร์กลมดั่งผลมะตูม พระเกศเส้นเล็กคมยาวจรดซุ้ม พระอุระอวบนูนสอบลงคล้ายรูปตัววี วงพระพาหาโค้งเป็นวงรีรับพระกรที่บรรจบเป็นเส้นเดียวกัน พระนาภีขัดสมาธิตรงกว้าง มีเส้นชายจีวรบาง ฐานชั้นแรกเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ส่วนฐานชั้นที่สองฐานสิงห์คมขวานชัดเจน ฐานชั้นที่สามเป็นฐานหมอน ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่) เส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกเรียวเล็กสมส่วนโค้งจรดฐานสมส่วนห่างขอบเล็กน้อย ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๕ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๗ เซนติเมตร สูง ๔ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม และหายากมาก

๘.๒ พิมพ์ปรกโพธิ์ “ปรกโพธิ์เล็ก” พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และจะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ ทรงปรกโพธิ์บาย หรือโพธิ์ใบ แต่มีขนาดเล็ก (ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้) มีสิบใบล้อมพระเศียร เปรียบดังเช่นโพธิญาณ พระเศียรเอียงทางด้านซ้ายเล็กน้อยพระพักตร์กลมรีเล็กบนพระเศียรมีชฎาครอบ พระเกศเส้นเล็กคมยาวจรดซุ้ม พระกรรณห่างจากพระเศียรยาวตรง พระศอเป็นเส้นเล็กยาวตรง พระอุระเรียวเล็กเกือบเท่าพระพาหาโย้ไปทางขวา แต่โค้งเข้าซ้ายเล็กน้อย วงพระพาหาโย้ไปทางขวารับพระกรที่บรรจบเป็นเส้นเดียวกัน พระนาภีขัดสมาธิตรง มีอาสนะเป็นเส้นชัดเจน ฐานชั้นแรกยาวนูน ส่วนฐานชั้นที่สองและสามเป็นเส้นตรงมนมีขนาดเท่ากันกับพระนาภี ปรากฏฐานสิงห์และคมขวาน ตัดขอบข้างแบบกรอบกระจก (พิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ) เส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกเรียวเล็กสมส่วนโค้งจรดฐานสมส่วนห่างขอบเล็กน้อย ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒ เซนติเมตร สูง ๓.๓ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม และหายากมาก

๘.๓ พิมพ์ปรกโพธิ์ “ฐานเท้าสิงห์ (ขาโต๊ะ)” พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาวนวล เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า(ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และจะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ ทรงปรกโพธิ์เม็ด แต่มีขนาดใหญ่ (ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้) มีสามสิบสองเม็ดล้อมพระเศียร เปรียบดังเช่นโพธิญาณ พระพักตร์เรียวเล็ก พระเกศเส้นเล็กคมยาวจรดซุ้ม พระอุระอวบนูน แต่เล็กสอบลงคล้ายรูปตัววี วงพระพาหาโค้งเป็นวงรีรับพระกรที่บรรจบเป็นเส้นเดียวกัน พระนาภีขัดสมาธิตรงแคบ มีฐานสี่ชั้น ฐานชั้นแรกเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ส่วนฐานชั้นที่สองเป็นฐานเท้าสิงห์ (ขาโต๊ะ) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพระพิมพ์นี้ ฐานชั้นที่สามและชั้นที่สี่เป็นฐานหมอน ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่) เส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกเรียวเล็กสมส่วนโค้งจรดฐานสมส่วนห่างขอบ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๕ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๓ เซนติเมตร สูง ๔.๒ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงาม และหายากมาก

๘.๔ พิมพ์ปรกโพธิ์ “ฐานแซม” พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และรักน้ำเงินจากประเทศพม่า (ชาด รัก ลอกออกไปบางส่วน) และไม่ลงรัก ชาด ทอง แต่จะปรากฏผงทองนพคุณ และผงแร่รัตนชาติ ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ตามแบบของพระสมเด็จวัดพระแก้วที่แกะขึ้นมาใหม่ พิมพ์ปรกโพธิ์ฐานแซม (อกร่อง หูยาน ฐานแซม) มีโพธิ์เม็ดสิบสี่ใบล้อมพระเศียร เปรียบดังเช่นโพโพธิญาณ พระพักตร์กลมเล็ก พระกรรณยาวเกือบจรดพระอังสา พระกรรณเป็นเสี้ยวโค้งออกสวยงามมาก พระเกศจรดซุ้ม พบเส้นพระสอชัดเจน พระอุระเป็นเส้นคู่มีร่องยาวตลอด พระนาภีเล็ก วงพระพาหารับกับพระกรทิ้งลงโค้งสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิทับซ้อนเป็นธรรมชาติโค้งเล็กน้อย มีเส้นอาสนะตรงบางๆ แซมระหว่างฐานชั้นที่สอง และชั้นที่สาม ไม่ปรากฏฐานสิงห์คมขวาน ฐานชั้นล่างเป็นเส้นคู่ขนานปิดหัวท้าย ไม่ตัดขอบข้าง (ลักษณะพิมพ์ยกถอดแบบใหม่ และพิมพ์ตัดขอบปาดหลังแบบโบราณ) กรอบ เส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดกำลังสวยงาม สอบขึ้นด้านบนจรดฐานสมส่วนห่างขอบ ด้านหลังขององค์พระปรากฏเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น (บางองค์ด้านหลังจะ ปรากฏลัญจกร และรูปสัญลักษณ์ พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น)
- ปรากฏการแตกลายงาทั้งหยาบและละเอียด (แบบสังคโลกและไข่นกประหลอด) และไม่แตกลายงา
- ความหนา ๓ - ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๒ เซนติเมตร สูง ๓.๔ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายาก

๙. พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร พ.ศ. ๒๔๑๑
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม เนื้อละเอียด หนึกนุ

 เขียนความคิดเห็น (ความคิดเห็นจะขึ้นแสดงเมื่อได้ยืนยันผ่านทาง email แล้วเท่านั้น)
เลือกหมวดแสดง :
ชื่อ :    เจ้าของร้าน
Email :    ส่ง Email เมื่อมีคนตอบความคิดเห็น
แนบไฟล์ :