PHRASOMDEJ (พระสมเด็จ)
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน18/11/2013
อัพเดท27/02/2017
เป็นสมาชิกเมื่อ 13/11/2013
สถิติเข้าชม104179
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe




ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  12/3 หมู่ 9 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000
โทร.  08-2339-6085,08-1428-9009
Mail  mui.arada@yahoo.co.th
Search      Go

Home / All Product List / ให้บูชาพระสมเด็จวัดระฆัง( Phrasomdejwatrakang)เนื้อมวลสาร

ให้บูชาพระสมเด็จวัดระฆัง (Phrasomdejwatrakang)เนื้อมวลสาร

รูปภาพประกอบทั้งหมด 7 รูป

ให้บูชาพระสมเด็จวัดระฆัง (Phrasomdejwatrakang)เนื้อมวลสาร

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  19/11/2013
แก้ไขล่าสุด  :  25/07/2014
ราคา  โทรสอบถาม 08-5560-0999

คำกล่าวด้วยความศรัทธา
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พ.ศ.๒๕๕๐
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจในการศึกษาเรื่องของสกุลพระสมเด็จของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ท่านได้สร้าง และจัดสร้าง ทั้งพิธีทั่วไป และพิธีหลวง รวมทั้งมีพระภิกษุที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบหลายรูปร่วมในพิธีดังกล่าว ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๓)ถ้าเรานับอายุก็น่าจะมีอายุการสร้างมากกว่า ๑๔๐ ปี จึงสมควรยึดถือได้ว่า เป็นพระสมเด็จที่เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างอเนกอนันต์
ในเรื่องของพระสมเด็จในสกุลของพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้าง และจัดสร้างนี้ได้พยายามศึกษาในส่วนที่ได้มีพระสมเด็จที่ครอบครอง มีทั้งหมดดังนี้ หนึ่ง พระสมเด็จวัดระฆัง สอง พระสมเด็จบางขุนพรหม สาม พระสมเด็จวัดไชโย สี่ พระสมเด็จวัดพระแก้ว ห้า พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ หก พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) ทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้ได้มีการสืบค้นทางด้านประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และในเรื่องของการสร้างพระสมเด็จ แต่น่าเสียดายที่หลักฐานไม่มีการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะไม่ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุหรือในพระราชกิจจานุเบกษา แต่อย่างใด จึงพบปัญหาค่อนข้างมาก เพราะแม้ แต่ วัน เดือน ปี สถานที่เกิด บิดา มารดา หรือแม้ แต่สถานที่ขณะท่านมรณภาพ (สิ้นชีพิตักษัย) ก็ยังไม่ตรงกัน จึงได้พยายามศึกษาจากการเทียบเคียงทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง จดหมายเหตุที่เกี่ยวข้อง สถานที่ในยุคที่กล่าวอ้างถึง และประสบการณ์ตรงจากผู้รู้ เป็นต้น จึงมีประชาชนหลายท่านเชื่อและไม่เชื่อ ซึ่งก็คงจะต้องร่วมกันสืบค้นให้ประจักษ์ต่อไป
ในเบื้องต้นผมเองมิได้มีเจตนาที่จะสนใจหรือสืบค้นในเรื่องนี้ เพียง แต่เคารพบูชากราบไหว้สมเด็จโตเป็นนิจเท่านั้น ด้วย เพราะเป็นคนวังหลัง ปู่ ย่า ตา ทวด ก็สืบสายมาจากช่างสิบหมู่ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงได้มีโอกาสครอบครองพระสมเด็จชุดนี้เพียงหนึ่งองค์เป็นพระสมเด็จสีเขียวสวยงามมากจาก พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย ซึ่งท่านเป็นตาของผม) และจำพรรษาอยู่ที่วัดดงมูลเหล็ก ท่านชอบสะสมพระสมเด็จท่านได้บอกให้ผมได้ทราบว่า “นี่คือพระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ลูกศิษย์ ซึ่งเป็นนายทหารนำมาให้เป็นจำนวนมากให้ไปศึกษาดู ถ้าสนใจก็มาเอาไป” แล้วท่านก็เปิดให้ดูในหีบ ผมเห็นมีพระชุดนี้เต็มไปหมด จากนั้นจึงนำมาขึ้นคอบูชา แต่ถ้าถามความสนใจที่ผมจะสืบค้นยังไม่ได้คิด เพราะในขณะนั้นผมรับราชการเป็นผู้บริหารของโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีภารกิจค่อนข้างมาก จวบจนกระทั่ง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ขณะที่ผมไปเยี่ยมหลวงตาท่านบอกว่า “ผมมีฐานะความเป็นอยู่ดีแล้ว และอยู่ในแวดวงวิชาการท่านบอกว่าจะให้มรดกที่ต้องไปทำต่อเอาเอง”และท่านได้มอบพระชุดนี้รวมทั้งพระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ พระสมเด็จวัดระฆังชุดปิดทองล่องชาด ให้ทั้งหมด (พระสมเด็จวัดพระแก้ว จำนวน ๗๒๙ องค์ ๖๓ พิมพ์ พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำจำนวน ๒๑๒ องค์ ๙ พิมพ์ พระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจำนวนหนึ่ง) ท่านกำชับให้ผมไปสืบค้นหาข้อมูลที่แท้จริงเพื่อให้สังคมได้รับรู้ รับทราบ นี่คือที่มาที่ผมได้ครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ผมได้ลาออกจากราชการ หลังจากนั้นได้เริ่มทุ่มเทศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และจากบุคคลที่มีความรอบรู้ที่ครอบครองพระสมเด็จสกุลต่าง ๆ เหล่านี้ ที่สำคัญ พระอาจารย์จิ้ม กันภัย (พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม) ได้นำผมและสานุศิษย์เข้ากราบนมัสการ หลวงพ่อวงศ์ หรือพระครูบาชัยยะวงศ์สา วัดพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน และได้ขอความเมตตาท่านได้ตรวจสอบด้วยฌานสมาบัตร พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ และพระสมเด็จวัดระฆังชุดปิดทองล่องชาด จากที่ท่านได้ตรวจสอบท่านได้กล่าวว่า มีมงคลพระคาถาพุทธคุณและอิทธิคุณแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สูงมาก สิ่งต่างๆ เหล่านนี้คือประสบการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมได้เริ่มให้ความสนใจและค้นคว้าศึกษาหาความรู้อย่างเต็มกำลังความสามารถ

สิ่งที่สำคัญในการจัดทำและสืบค้นข้อมูลพระสมเด็จในสกุลของพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้าง และจัดสร้างมีดังนี้

ประการแรก คือการบูชากิตติคุณอันยิ่งใหญ่และดำรงไว้ ซึ่งพระคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ท่านได้สร้างคุณงามความดีไว้แก่แผ่นดิน เป็นพระภิกษุที่ทรงศีลประพฤติดีปฏิบัติชอบ ช่วยเหลือประชาชนทุกชนชั้น และที่สำคัญได้ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น สร้างถาวรวัตถุ สร้างองค์พระพุทธรูปปาง และแบบต่างๆ สร้างพระสมเด็จจำนวนมากเพื่อเจตนาที่จะเป็นที่พึ่งแห่งพุทธศาสนิกชนและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไปในภายภาคหน้า
ประการที่สอง คือต้องการให้ผู้ที่เคารพบูชากราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสี และต้องการครอบครองพระสมเด็จของท่านได้มีโอกาสสักการบูชาพระสมเด็จที่เป็นพระแท้
ประการที่สาม ผมได้ตั้งใจไว้ว่า รายได้อันเกิดจากการให้บูชาพระสมเด็จชุดนี้จะแบ่งส่วนเพื่อนำมาทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นสาธารณะกุศลตามความสมควร โดยอุทิศส่วนกุศลให้แด่หลวงตาของข้าพเจ้า (พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม) ที่ได้มรณภาพ รวมทั้งบิดา มารดา และผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว

พระสมเด็จ (PHRASOMDEJ)
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พ.ศ.๒๕๕๐
พระสมเด็จ ศูนย์กลาง ให้บูชาและร่วมกันช่วยเหลือสังคม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พระสมเด็จที่เกิดจากการสร้างและจัดสร้าง ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และร่วมวิเคราะห์ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ถึงความจริงเพื่อจะดำรงไว้ ซึ่งพระคุณอันประเสริฐแห่ง เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และให้ประชาชนโดยทั่วไปสามารถมีมงคลวัตถุของท่านไว้กราบไหว้เคารพบูชา อันจะเป็นมงคลแก่ท่านและครอบครัวสืบไป
พระสมเด็จของ สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ท่านสร้าง และจัดสร้าง
การพิจารณาต้องรอบรู้ทั้งทางด้านรูปธรรม และนามธรรม คือทั้งศาสตร์ และศิลป์ ค้นคว้าจากตำราที่เป็นศาสตร์ วิเคราะห์ตามแนวทางแห่งวิทยาศาสตร์ นำทั้งสองสิ่ง มาควบรวมเข้าด้วยกัน จะเป็นการศึกษาอย่างองค์รวมที่เป็นความรู้ในระดับสังเคราะห์ หมั่นศึกษาหาความรู้ให้มากๆ ถ้าเราอยากได้สิ่งใดต้องมีความรู้ในสิ่งนั้นๆ ให้ถ่องแท้ เราจะได้ไม่เสียโอกาส ถ้าเรากังวลว่า สิ่งที่ เรามีจะไม่ได้รับการยอมรับ สังคมพระหาเล่นกันอย่างไรเราต้องยึดอย่างนั้น ข้าพเจ้าขอเรียนว่า อาจจะจริงและอาจจะไม่จริงก็ได้โดยเฉพาะพระในสกุลพระสมเด็จ แท้จริงอยู่ที่เราได้รู้จักศึกษาหาความรู้เท่าใดมากกว่า และที่สำคัญคือการเคารพด้วยความศรัทธาอย่างมีสติมากกว่าเชื่อตามกระแสสังคม ขอให้ทุกท่านมั่นใจ และเชื่อได้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ถือได้ว่า เป็นบรรพบุรุษของเราได้สร้างคุณงามความดีและสร้างพระในสกุลพระสมเด็จไว้มากมายมหาศาลเพื่อจุดมุ่งหวังในการสืบทอดพระพุทธศาสนา อีกทั้งปกป้องคุ้มครองประชาชนชาวไทยต่อไปในปัจจุบันและกาลข้างหน้า ด้วยพุทธคุณ และอิทธิคุณแห่งพระสมเด็จ

คาถาบูชาพระสมเด็จ

วิธีปฏิบัติเมื่อได้ครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จแห่ง

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

กระทำพิธีบูชาพระสมเด็จ โดยใช้ธูปหอมเก้าดอก เทียนขาวหนักหนึ่งบาทเก้าเล่ม ดอกบัวหลวงเก้าดอก และดอกมะลิหนึ่งพาน กระทำดังนี้ทุกวันพฤหัสบดี หรือทุกวันจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว

กระทำพิธีบูชาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

กล่าวพระคาถา ดังนี้
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
ธะนะโภคังภะวันตุเม อัตถิกาเยกายะญายะ
เทวานังปิยะตังสุตตะวา

จากนั้นให้ท่องพระคาถาชินบัญชรหนึ่งจบ

การอาราธนาพระสมเด็จให้อยู่กับตัว
โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตสะจิตตัง นะมามิหัง อิติปิโสภะคะ วา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะ โต นะโมพุทธายะ

ข้อมูลทั่วไป / Overview:
ประวัติและหลักการพิจารณา
พระสมเด็จวัดระฆัง
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พ.ศ.๒๕๕๐
พระสมเด็จวัดระฆัง คือหนึ่งในมงคลวัตถุที่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณ เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่าอย่างอเนกอนันต์ ความเป็นมาของชีวประวัติ การสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ยังเป็นสิ่งที่เราท่านจะต้องสืบต่อและค้นหาต่อไป แต่น่าเสียดายที่ความรู้ทางด้านนี้นับวันจะสืบค้นได้ยากขึ้นคงเป็น เพราะด้วยเวลาที่ผ่านมานาน และขาดการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ผมเองพยายามสืบค้นจากหนังสือต่างๆ หลายสิบเล่ม แต่ถ้าจะนับจริง ๆ แล้วเกือบ ๆ ร้อยเล่มเห็นจะได้ ก็ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ผู้หนึ่งเท่านั้นที่มีจิตอันมั่นคงเคารพกราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อยู่เป็นนิจหวังว่า ท่านผู้อ่านคงจะได้พยายามสืบค้นกันต่อไปด้วยจิตใจอันมุ่งมั่น และเปี่ยมด้วยความเคารพบูชา และพิจารณาด้วยสติปัญญายึดมงคล ๓๘ ประการ ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ
จากการสืบค้นจากข้อเขียน และเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงของอาจารย์ และผู้รู้หลายท่านยืนยันตรงกันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๓๔๘ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรในพรรษาที่ ๕ ในเรื่องการสร้างเป็นพระสมเด็จควรเริ่มจากปีที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว คือ ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ (ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ถือว่า ท่านได้สร้างให้กับพระอาจารย์ และผู้มีพระคุณของท่าน) การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระ แต่เมื่อใด แต่ท่านยึดถือว่า พระเครื่องรุ่นนั้นๆ สำเร็จตั้ง แต่เป็นผงวิเศษแล้ว ในเรื่องผงวิเศษของท่านนั้นจะทำอยู่ตลอดที่ท่านมีเวลาหรืออาจกล่าวได้ว่า ตามอัธยาศัย การทำผงวิเศษ แต่ละครั้งสามารถสร้างพระได้หลายพรรษา และพรรษาที่ท่านได้ทำผงวิเศษมากที่สุด (นับจากปีที่ท่านอุปสมบท) ได้แก่ สาม ห้า เจ็ด เก้า สิบเอ็ด สิบหก ยี่สิบ ยี่สิบแปด และสามสิบสาม กล่าวกันว่า การสร้างพระสมเด็จของท่านนั้นกระทำทุกพรรษา มากบ้างน้อยบ้างตาม แต่เวลาที่ท่านพึงมี ผงวิเศษของท่านก็ยังมอบให้แก่วัดต่างๆ ที่มาขอเพื่อเป็นส่วนผสมในการสร้างพระก็มาก หลังจากที่ท่านสิ้นชีพิตักษัยแล้ว (ปีที่ท่านสิ้น พ.ศ. ๒๔๑๕) ผงวิเศษก็ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง
จากการบันทึกของจดหมายเหตุว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีพระราชประสงค์ แต่งตั้งให้ท่านมีฐานานุกรมศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ด้วยเห็นว่า ท่านมีความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์ และทางวิปัสสนาธุระเป็นอย่างยิ่ง แต่ท่านได้ทูลขอตัวไม่รับสมณศักดิ์นั้น โดยได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และเมื่อไปพำนักยังท้องถิ่นที่จังหวัดใด ในแถบนั้นมีพระชนิดใดที่ผู้คนกราบไหว้ท่านก็จะสร้างล้อแบบพิมพ์ชนิดนั้นตามแบบของท่าน เช่น เนื้อกระเบื้อง เนื้อดินเผา เนื้อผง เนื้อตะกั่วห่อชา เป็นต้น แล้วแจกจ่ายให้กับผู้คนในถิ่นนั้นๆ ที่เหลือบรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ด้วยประการนี้เราจึงพบว่า ในหลายจังหวัดมีพระสมเด็จในพิมพ์ แบบและเนื้อต่างๆ บรรจุกรุไว้มากมาย เช่น ราชบุรี อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร เชียงราย เป็นต้น
ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมภาณีแห่งวัดระฆังได้เล่าให้ฟังว่า พระสมเด็จองค์แรกที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างคือ “พระสมเด็จหลังเบี้ย” หรือ “พระสมเด็จดินสอเหลือง” ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือของคนโบราณ ด้านหน้าเป็นรูปพระสมเด็จทรงพิมพ์ใหญ่ ด้านหลัง แต่งให้นูนเหมือนหลังเบี้ยจั่น สร้างด้วยดินสอเหลือง ผสมกล้วยน้ำไทย น้ำอ้อย น้ำตาลเคี่ยว น้ำมันทัง และมวลสาร ท่านชุบ วินทวามร อดีตผู้พิพากษา ซึ่งเป็นพีชาย (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) นักนิยมพระสมเด็จในสมัยโบราณ ท่านได้ศึกษาและรับฟังจากผู้ใหญ่หลายๆ ท่านบอกต่อกันมาว่า ปีที่สร้างน่าจะอยู่ราวๆ พ.ศ. ๒๓๕๑ และเชื่อว่า สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แกะพิมพ์นี้เองเป็นพิมพ์แรก ในปัจจุบันสมเด็จหลังเบี้ยหาดูไม่ได้แล้ว ได้ทราบว่า นายเปลื้อง แจ่มใส ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานหล่อพระที่บ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นผู้หนึ่งที่ครอบครอง ต่อมาได้มอบพระสมเด็จหลังเบี้ยนี้ให้แก่ นายวิจิตร แจ่มใส ซึ่ง ต่อมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์หลายสมัย ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว และไม่ทราบว่า พระสมเด็จหลังเบี้ยตกไปอยู่กับท่านผู้ใด
พระสมเด็จหลังเบี้ยนั้น พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ได้ครอบครองไว้หนึ่งองค์ทราบว่า ก่อนจะมรณภาพได้มอบให้แก่นายแพทย์สำเริง รัตนรพี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพยาธิวิทยาของโรงพยาบาลศิริราช
พระสมเด็จที่ท่านสร้างส่วนใหญ่สร้างที่วัดระฆัง แต่ยังมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบว่า พระสมเด็จวัดระฆังไม่บรรจุกรุ และมีพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังเพียง ๕ พิมพ์ เท่านั้น ซึ่งวงการพระสมเด็จที่บูชาพระตามกระแสของสังคมเชื่อเช่นนั้น ส่วนกลุ่มที่บูชาพระสมเด็จจากการศึกษาค้นคว้าหาความจริงจากประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระสมเด็จมีมากมายหลายร้อยพิมพ์มีทั้งบรรจุกรุและไม่บรรจุกรุ และอาจจะมีนักเล่นพระบางกลุ่มที่มิอาจหลีกเลี่ยงหลักแห่งความเป็นจริงไปได้ ยอมรับว่า มีพระสมเด็จวัดระฆังมีสภาพเหมือนพระในกรุจริง เป็นพระฝากกรุเรียกกันว่า “พระสองคลอง” แต่ในหลักแห่งความเป็นจริงแห่งการสืบค้น และข้อสันนิษฐาน เชื่อได้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น และในหลายๆ ที่จะพบพระสมเด็จที่บรรจุในกรุมากมาย เช่น พระสมเด็จวัดอินทรวิหาร พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ พระสมเด็จวัดกลางคลองข่อย พระสมเด็จวัดกุฎีทอง พระสมเด็จวัดสะตือ พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) และอีกหลายวัดที่ได้ขอผงวิเศษของท่านไปสร้างพระเองก็มาก เช่น พระสมเด็จวัดพระแก้ว พระสมเด็จวัดพลับ พระสมเด็จปิลันท์ เป็นต้น ส่วนพิมพ์พระสมเด็จที่พบนั้นก็มีมากมายหลายร้อยพิมพ์ ที่นำมากล่าวอ้างถึงผมเองอยากจะให้ท่านที่เคารพกราบไหว้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และต้องการมีพระสมเด็จไว้บูชาจะได้ไม่เสียโอกาส และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งเป็นการสืบทอดทางพระพุทธศาสนาตามเจตนารมณ์อันบริสุทธิของท่านต่อไป พระสมเด็จไม่ว่า จะเป็นพิมพ์ใดสร้างเมื่อใด อยู่ที่ไหน ล้วนแล้ว แต่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณเป็นอเนกอนันต์ และที่สำคัญก็คือความยึดมั่นในคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ขอให้ท่านประพฤติดีมีศีลธรรม พุทธคุณ และอิทธิคุณแห่งพระสมเด็จจะอยู่ที่ใจท่านและคุ้มครองป้องกันภัย ให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจตลอดไป ขอให้ท่านผู้เลื่อมใสศรัทธาได้พิจารณาด้วยสติให้ถ่องแท้

ปูชนียสถานในทางพุทธศาสนา ที่ท่านได้สร้างไว้ ดังนี้
๑. พระพุทธรูปที่วัดกลาง ต. คลองข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ทำด้วยอิฐถือปูน สูง ๖ วาเศษ ต่อมาได้กลายเป็นสำนักสงฆ์ และเป็นวัดในที่สุด (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๓๗๕)
๒. พระพุทธรูปนั่งที่วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จังหวัดพระนคร เป็นพระก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ วา ๓ ศอก (สร้างประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๙๓)
๓. สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง ๘ ว่า ๗ นิ้ว สูง ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว ก่ออิฐถือปูนประทับนั่ง พระมหาพุทธพิมพ์ปางสมาธิ วัดไชโยวรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโยจังหวัดอ่างทอง (สร้างประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐)
๔. รูปปั้นแทนโยมตาและโยมแม่ สร้างกุฏิ ๒ หลัง อยู่ด้านทิศใต้ของวัดอินทรวิหาร ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดเท่ากัน กว้าง ๑ วา ยาววาครึ่ง ปั้นรูปแทนโยมตาเป็นรูปพระสงฆ์นั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว อยู่กุฏิหลังซ้าย ส่วนแทนโยมมารดาปั้นเป็นรูปภิกษุนั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๓ นิ้ว ประดิษฐานอยู่กุฏิหลังขวา (สร้าง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๙)
๕. พระศรีอริยเมตไตรย์ (หลวงพ่อโต) วัดอินทรวิหาร ที่ตำบลบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สูง ๑๖ วาเศษ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างได้ประมาณ ๙ วาเศษ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพเสียก่อน ต่อมาหลวงปู่แดงได้ก่อสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์ (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๑๐)
๖.พระพุทธรูปนอนใหญ่ที่วัดสะตือ ต. ท่าหลวง อ. ท่าเรือ จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูน องค์พระยาว ๑ เส้น ๖ วา สูง ๘ วา ฐานยาว ๑ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๔ วา ๒ ศอก (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๑๓)
๗. พระเจดีย์นอนวัดละครทำ ที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นพระเจดีย์นอน ๒ องค์ หันฐานเข้าหากัน ห่างกันประมาณ ๒ ศอก ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก องค์ด้านใต้ถูกรื้อทำลายไปนานแล้ว องค์ด้านเหนือก็แทบจะไม่เป็นรูปร่างเสียแล้ว เนื่องจากถูกคนขุดค้นหากรุพระสมเด็จ (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๑๔)

พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดระฆัง ศิลปะโบราณใน แต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
๑. สมัยเชียงแสน
๒ สมัยสุโขทัย
๓. สมัยอู่ทอง
๔. อยุธยา
๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น

พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดระฆัง
๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึงอวิชาที่คลุมพิภพ
๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตร
สัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง

จำนวนการสร้าง
ส่วนในเรื่องของจำนวนการสร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์
เป็นปฐม ต่อจากนั้นจะสร้างเพิ่มอีกเท่าใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้ลูกศิษย์ใกล้ชิดที่มาช่วยท่านสร้างพระก็ยังไม่สามารถบอกได้ถึงจำนวนที่แน่นอน อาทิเช่น พระภิกษุภู คือหลวงปู่ภูพระเกจิอาจารย์ชั้นยอดของเมืองไทยแห่งวัดอินทรวิหาร หลวงปู่คำ พระปลัดโฮ้ พระปลัดมินศร์ พระครูพิพัฒน์ พระใบฎีกา พระภิกษุพ่วง พระภิกษุแดง พระภิกษุโพ สามเณรเล็ก ทุกรูปขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามและวัดอัมรินทราราม ขรัวตาพลอย และท่านสุดท้ายที่กล่าวอ้างถึงคือ หลวงบริรักษ์โรคาพาธ (ฉุย) มีอายุใกล้เคียงกับท่าน มีบ้านอยู่วังหลังใกล้กับวัดระฆัง และมีตำแหน่งเป็นแพทย์หลวงในรัชกาลที่ ๔ ถึงแก่มรณกรรมเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ และเชื่อได้ว่า คงไม่เฉพาะท่านที่เอ่ยนามมาเท่านั้นอาจจะมีอีกหลายสิบหรือหลายร้อยท่านที่เป็นสานุศิษย์ของท่าน ได้ช่วยกันสร้างพระสมเด็จก็เป็นไปได้

แบบพิมพ์ แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) จากการแกะแม่แบบโดยเจ้าฟ้าอิสราพงศ์ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง จิตรปฏิมากร เป็นต้นสกุลจิตรปฏิมากร) หลวงวิจารเจียรนัย และช่างหลวงจากสกุลช่างสิบหมู่ จัดเป็นพุทธศิลป์ที่มีความวิจิตรงดงาม และได้รับการยอมรับเป็นพิมพ์นิยม ๕ พิมพ์ ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า พิมพ์เหล่านี้แกะถวายเมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว
๒. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของ นายเทศ ซึ่งเป็นหลานของท่าน เป็นช่างแกะพิมพ์พระ นายทอง ช่างติดกระจกหน้าบันพระอุโบสถที่อ่างทอง รวมทั้งสานุศิษย์และผู้ใกล้ชิด
๒.๑ แบบพิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่างๆ เช่น พิมพ์สมเด็จเกศไชโย ๓, ๖ ชั้น และ ๗ ชั้น พิมพ์ทรงฉัตร พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์ระฆังครอบ พิมพ์ทรงเจดีย์นอน พิมพ์แจวเรือจ้าง พิมพ์รูปเหมือน เป็นต้น
๒.๒ แบบพิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้นๆ และจัดสร้างตามแบบของท่าน เช่น พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์พระรอด พิมพ์ทุ่งเศรษฐี พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ขอบกระด้ง พิมพ์กลีบบัว พิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น
๓.พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างในสกุลช่างสิบหมู่แห่งตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ได้แก่ นายเจิม วงศ์ช่างหล่อ แกะพิมพ์แม่แบบทำด้วยโลหะลักษณะกดปั๊มแล้วตัดขอบเป็นพิมพ์นิยมหลังแบบสร้างพระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ บรรจุกรุเพดานพระอุโบสถ และพระวิหารวัดละครทำ เป็นต้น
๔.พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะแกะตามจินตนาการ และฝีมือของ แต่ละคน จึงเป็นพิมพ์มีความแตกต่าง ไม่ค่อยสวยงามนักมีลักษณะผิดไปจากพิมพ์นิยมมาก พิมพ์เหล่านี้มีมากมายสันนิษฐานว่า มีชาวบ้านแกะมาถวายว่า ตั้ง แต่ท่านเริ่มสร้างพระจนกระทั่งท่านถึงแก่ชีพิตักษัย
การสืบค้นในตำรา และข้อเขียนของผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ว่า คุณหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการให้ความเห็นถึงกรรมวิธีในการสร้างพระสมเด็จให้มีความคงทน สวยงาม ด้วยการเพิ่มมวลสารที่ยึดเกาะ และเป็นผู้หนึ่งที่ได้แกะพิมพ์พระสมเด็จถวาย ซึ่งกล่าวกันว่า มีความสวยงามไม่น้อยเช่นกัน

วัสดุที่ใช้ในการสร้างพิมพ์
ดินเผา ไม้จันทน์ หินอ่อน หินลับมีดโกน ปูนขาว โลหะ ฯลฯ ในปัจจุบันพิมพ์แม่แบบเหล่านี้หาดูไม่ได้แล้วทราบ แต่คำบอกเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ว่า “เมื่อท่านสิ้นพิมพ์พระสมเด็จส่วนหนึ่งจะอยู่ที่วัดระฆัง อีกส่วนก็กระจัดกระจายไปอยู่กับลูกศิษย์บ้าง ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้าง ไม่ได้เก็บรักษาไว้ตามที่ควร ในตอนหลังทราบว่าวัดได้ทำลายพิมพ์เหล่านั้นจนสิ้นด้วยเหตุแห่งมีการปลอมแปลงกันมาก”

หลักฐานพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง
อีกหลักฐานหนึ่งที่สำคัญได้มีการจดบันทึกไว้เป็นประวัติพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่ละพิมพ์ โดยหลวงปู่คำ (วัดอัมรินทร์) ซึ่งมีขุนพิทักษ์ราช นายเพชร นายเจิม นายพรเป็นผู้จดบันทึก ซึ่งก็เป็นในช่วงเวลาสุดท้ายของการ สร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้ถูกคัดลอกไว้ ซึ่งระบุเฉพาะแม่พิมพ์ที่ไม่ชำรุดแตกหัก อยู่ในสภาพดีในเวลานั้นเท่านั้น ซึ่งบันทึกไว้ว่า จำนวนแม่พิมพ์ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดี ดังนี้
๑. พิมพ์ประธาน ๕๑
๒.พิมพ์ใหญ่(พิมพ์ชายจีวร บาง หนา เส้นลวด) ๑๕๒
๓. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม ๓๑
๔. พิมพ์เกศบัวตูม ๔๑
๕. พิมพ์ปรก ๕๑
๖. พิมพ์ฐานคู่ ๓๑
๗. พิมพ์เส้นด้าย ๑๕๒
๘. พิมพ์สังฆาฏิ ๗๑
๙. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ ๑๖๑
๑๐.พิมพ์ทรงเจดีย์ ๒๑

นอกจากพิมพ์นิยมข้างบนนี้ ยังรวมพิมพ์คะ เเนน และมีพิมพ์อื่น ๆ อีก ๘๓ พิมพ์

*** ที่สำคัญพบว่ายังมีอีกหลายร้อยพิมพ์ที่มิได้มีการจดบันทึกไว้เป็นรายลักษณ์อักษร

พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังที่เป็นพิมพ์นิยม
๑. พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๔. พิมพ์ปรกโพธิ์
๕. พิมพ์ฐานแซม

ประเภทของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. เนื้อผง
๑.๑ เนื้อน้ำมัน
๑.๒ เนื้อปูน
- เนื้อปูนเพชร
- เนื้อปูนขาวลงรักปิดทองล่องชาด
๑.๓ เนื้อสังคโลก
๑.๔ เนื้อหินลับมีดโกน
๑.๕ เนื้อชานหมาก
๑.๖ เนื้อมวลสาร (ข้าวสุก ก้านธูป เศษจีวร ทองคำเปลว)
๑.๗ เนื้อเกสรดอกไม้
๑.๘ เนื้อดินสอเหลือง
๑.๙ เนื้อผงใบลานเผา
๑.๑๐ เนื้อแป้งข้าวเหนียว
๒. เนื้อกระเบื้อง
๓. เนื้อดินเผา
๔. เนื้อโลหะ
๔.๑ เนื้อเงิน
๔.๒ เนื้อตะกั่วห่อใบชา

อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. อิทธิวิธี วิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต วิชาหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น

พระสูตรคาถาที่ลงในดินสอมหาชัยสร้างเป็นผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี
๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่นๆ
๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่า มีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน
เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่า มีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
๖. ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป

การสร้างดินสอมหาชัย (ดินสอเหลือง)
ดินสอมหาชัยหรือดินสอเหลือง คือวัตถุมงคลที่นำมาเขียนอักขละเลขยันต์ในขณะเจริญพระสูตรคาถา ลบและได้ผงวิเศษนำมาเป็นส่วนผสมที่สำคัญยิ่งในการสร้างพระสมเด็จ มีส่วนผสมที่สำคัญ และการสร้างดังนี้
ใช้ดินสอพองบดละเอียด หรือนำดินสอพองแช่น้ำพอละลายผสมเข้ากับน้ำข้าวและน้ำอ้อยเพื่อให้เกิดการจับตัวสามารถปั้นเป็นแท่งขึ้นรูปได้ จากนั้นตากให้แห้ง และย้อมด้วยน้ำเถาตำลึงคั้นอย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันดินสอและผงติดมือขณะเขียน นำมาเขียนลบขณะเจริญพระสูตรคาถา เมื่อเขียนลบจนได้ผงวิเศษแล้วจึงนำมาผสมกับมวลสารมงคลต่าง ๆ แล้วจัดสร้างเป็นพระสมเด็จต่อไป

มวลสารต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชาม
เบญจรงค์ของไทย
๒. ปูนขาว
๓. หินอ่อน หรือ ศิลาธิคุณ
๔. ดินหลักเมือง ๗ หลัก
๕. ดินสอพอง
๖. ดินโปร่งเหลือง
๗. ข้าวสุก และอาหารสำรวม
๘. แป้งข้าวเหนียว
๙. กล้วยน้ำไทย
๑๐. ยางมะตูม
๑๑. น้ำผึ้ง หรือ น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๒. น้ำมันทัง
๑๓. ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธาน
๑๔. ผงใบลานเผา
๑๕. ดอกบัวสัตตบุษย์
๑๖. ดอกมะลิ
๑๗. ดอกกาหลง
๑๘. ยอดสวาท
๑๙. ยอดรักซ้อน
๒๐. ราชพฤกษ์
๒๑. พลูร่วมใจ
๒๒. พลูสองหาง
๒๓. กระแจะหอม
๒๔. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด
พุทธคุณ และอิทธิคุณ “อิทธิคุณ” คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ “พุทธคุณ” คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า เพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใด ๆ จะต้องเริ่มจากบทสวดในการกล่าวคำพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้อง
ข้อสรุปในการศึกษาการสร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ว่า เป็นพระสมเด็จ
๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระ แต่เมื่อใด แต่ท่านยึดถือว่า พระเครื่องรุ่นนั้น ๆ สำเร็จตั้ง แต่เป็นผงวิเศษแล้ว
๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔’,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ เป็นปฐม อันเปรียบได้ถึงการระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างแบบพิมพ์มากกว่า ๒๐๐ พิมพ์ โดยแบ่งเป็น
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่)
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของท่าน
- ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนาเรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้น ๆ
-พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ
๕. พระสมเด็จวัดระฆังมีทั้งสร้างแล้วแจก กับสร้างแล้วนำบรรจุกรุ เชื่อได้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น
พระสมเด็จ (Phrasomdej) ขอสงวนไว้ ซึ่งสิทธิทั้งหมด ห้ามทำสำเนาโดยวิธีการใดๆ ห้ามตัด ต่อเติมข้อเขียนนี้ ห้ามนำไปลง Website และส่งทาง E-mail การทำสำเนาเพื่อการศึกษา และเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต นายกวินทร์ ศรีเสน เป็นผู้ดูแลสิทธิ์
E-mail : phrasomdejthai@hotmail.com
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม www.phrasomdej.in.th

อ้างอิง

๑. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยา ทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓
๒. ประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” ปี พ.ศ. ๒๔๖๖
๓. ประวัติประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้ แต่ง : พระครูกัลยาณานุกูล รวบรวมและเรียบเรียงจัดพิมพ์:พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายล้อม ฟักอุดม และนางพิมเสน ฟักอุดม ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2512พระมหาเฮง วัดกัลยาณมิตร
๔. หนังสือ “สมเด็จโต” โดย แฉล้ม โชติช่วง , มนัส ยอขันธ์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔
๕. หนังสือพระสมเด็จ โดยตรียัมปวาย ปี พ.ศ. ๒๔๙๕
๖. หนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" โดย อธึก สวัสดิมงคล
๗. ประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) หนังสือ "๘๐ ปี เขตบางกอกน้อย" ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๘
๘. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๙. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธรรมโม
วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
๑๐.จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
๑๑. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗
๑๒. หนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะ นาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗
๑๓. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
๑๔. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
๑๕. ภาพเขียนบนผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร
๑๖. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๗. พระคัมภีร์และพระสูตรคาถา จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๘. ประวัติวัดระฆังโฆษิตาราม จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง

                            โดย อาจารย์ไพรพนา  ศรีเสน

๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร

หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่มิได้บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลป์ จำให้แม่นยำว่า มีกี่ทรงพิมพ์ และ แต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้ง แต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับน้ำมันทังและระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๓. รอยปูไต่ และหนอนด้น “รอยปูไต่” ลักษณะเป็นรอยโค้งเล็ก ๆ หนักบ้างเบาบ้าง อาจเกิดเป็นคู่หรือเดี่ยว “รอยหนอนด้น” ลักษณะเป็นจุดบุ๋มเล็ก ๆ เป็นคู่ ๆ เรียงกัน ทั้งสองชนิดเกิดบริเวณด้านหลังของพระสมเด็จ สมมุติฐานจากมวลสาร และเกสรดอกไม้ ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๔. ความแห้งมีลักษณะหลากหลายทั้งแห้งที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก อันเนื่องมาจากความหลากหลายของมวลสาร และวัสดุที่ใช้ แต่ที่สำคัญให้พิจารณาจากความหนึกนุ่ม มีความเงางามตามธรรมชาติ และความเก่าขององค์พระเป็นสำคัญ
๕. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
๖. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๗. ชั้นผิวของพระสมเด็จที่ยังไม่ใช้หรือผ่านการใช้มาน้อย จะปรากฏร่องรอยของผิวพระเป็นชั้น ๆ เป็นวงเล็กบ้าง ใหญ่บ้างซ้อนกัน ลักษณะบาง ๆ ชั้นบนสีจะเข้มชั้นล่าง ๆ สีจะอ่อนลงตามลำดับ แต่ถ้าผ่านการใช้มาแล้วระยะเวลาที่พอสมควรสีของพระจะเป็นสีเดียวกัน หนึกนุ่ม สวยงาม
๘. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิษฐานว่า เกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๙. การแตกลายงา มีสองชนิด คือ หนึ่งแบบหยาบ (สังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆ คล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่า การแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่า เมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๑๐. รักชาดสีแดง ให้พิจารณาจากความเก่าของชาด สีของชาดไม่ว่า จะนาน เท่าใดสีจะยังคงแดง (แดงเลือดนก) ไม่ลอก ไม่หลุดล่วง ถ้าไม่ขูดหรือล้างออก
๑๑. รักสมุกสีดำ ให้พิจารณาจากความเก่าของรัก ความเก่าของรักสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ (คล้ายสีตาของกุ้ง) จะหลุดลอกออกเป็นแผ่นมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนชั้นที่ลง และกาลเวลา เป็นสำคัญ
๑๒. ทอง ให้พิจารณาจากสีของทอง เป็นทองคำเปลวทองเนื้อเก้า หรือที่โบราณเรียกกันว่า ทองนพเก้าที่นำมาทำเป็นทองคำเปลว ลักษณะเงางาม พบการปิดทองพระสมเด็จทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และปิดทองทึบ (กรุเพดานวิหารวัดระฆัง) พระสมเด็จที่ลงรัก ชาด ทอง เรียกว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด”
๑๓. คราบไขขาวที่พบบนองค์พระสมเด็จนั้น ที่หลาย ๆ ท่านคิดว่า เป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐาน แต่พบว่า ในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์ เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลป์ จำให้แม่นยำว่า มีกี่ทรงพิมพ์ และ แต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุน

ข้อมูลจำเพาะ / Specifications:
พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “ พระอุระทรงกระบอก ลงรัก ปิดทอง ล่องชาด”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว เนื้อมวลสาร หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ลงชาดสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ และปิดทองทับ (ลงรัก ปิดทอง ล่องชาด)
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง รูปทรงองค์พระสมส่วนสง่างาม พระพักตร์กลมดั่งผลมะตูม พระเกศจรดซุ้ม พบเส้นพระสอหนา พระอุระนูนกว้างใกล้เคียงกับพระนาภี (พระอุระทรงกระบอก) วงพระพาหารับกับพระกรโค้งสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อย ฐานสิงห์คมขวานชัดเจน ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม ตัดขอบข้าง กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดสวยงามโค้งจรดฐานสมส่วนเสมอขอบ ด้านหน้าพบการแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก) ลงรัก ปิดทอง ล่องชาด และหลุดลอกออกตามกาลเวลา ด้านหลังขององค์พระพบการหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ (รอยเหนอะ) พบเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้นสวยงาม
- ความหนา ๕ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร สูง ๓.๖-๗ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายากที่สุด
ราคาบูชา 1,500,000 บาท

พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “ชายจีวรบาง เนื้อมวลสาร”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมวลสาร หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก
ปรากฏคราบไขขาว และคราบน้ำผึ้ง
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆังเนื้อมวลสาร พระพักตร์กลมรีเอียงซ้ายเล็กน้อย พระเกศปลีแหลมไม่จรดซุ้ม พระอุระนูนกว้างคอดลงรับกับพระนาภี วงพระพาหาโค้งรับกับพระกรสวยงาม (แขนบ่วง) พระเพลาขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อย เส้นชายจีวรบาง ฐานสิงห์คมขวานชัดเจน ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม ตัดขอบข้าง กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดสวยงามโค้งจรดฐานสมส่วนเสมอขอบ ด้านหน้าและด้านหลังพบการแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก) ด้านหลังขององค์พระพบก้อนมวลสารขนาดเล็ก พบ การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ (รอยเหนอะ) พบเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้นสวยงาม
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร สูง ๓.๖-๗ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายากที่สุด
ราคาบูชา 1,000,000 บาท

พิมพ์ฐานแซม (อกร่อง หูยาน ฐานแซม)
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นเหลือง เนื้อละเอียด หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก คราบไข คราบน้ำผึ้ง ทั้งด้านหน้า และด้านหลังสวยงาม
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ฐานแซมวัดระฆัง (อกร่อง หูยาน ฐานแซม) พระพักตร์รีเอียงขวาเล็กน้อย พระกรรณยาวจรดพระอังสา พระกรรณขนานพระพักตร์ พระเกศจรดซุ้ม พบเส้นพระสอชัดเจน พระอุระนูนและมีเส้นคู่เป็นร่องยาวตลอด พระนาภีเล็ก วงพระพาหารับกับพระกรโค้งสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิสมส่วน มีเส้นอาสนะตรงบางๆ แซมระหว่างฐานชั้นที่สอง และชั้นที่สาม ฐานสิงห์คมขวานพอสังเกต ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม ตัดขอบข้าง กรอบ เส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดกำลังสวยงาม สอบขึ้นด้านบนจรดฐานสมส่วนห่างขอบ ด้านหน้าพบรอยแตกลายงาแบบละเอียด (แบบไข่นกปรอท) ด้านหน้า และด้านหลังขององค์พระพบ คราบไข คราบน้ำผึ้ง ด้านหลังพบเกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ หนอนด้น สวยงาม
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๒ เซนติเมตร สูง ๓.๔ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายากมาก
ราคาบูชา 1,000,000 บาท

พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) “เนื้อชานหมาก”
ผู้ครอบครองจะอุดมไปด้วยโภคสมบัติ อำนาจ วาสนา บารมี สุขภาพกายใจสมบูรณ์ อายุยืนยาว
- วรรณะองค์พระจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เกิดจากส่วนผสมของชานหมากที่เหลือจากการขบเคี้ยวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เก็บรวบรวมไว้แล้วนำมาผสมกับมวลสารและผงวิเศษสร้างเป็นพระสมเด็จเนื้อชานหมาก
- พุทธลักษณะพิเศษ เป็นทรงพิมพ์ใหญ่วัดระฆัง พระพักตร์กลมรี พระเกศจรดซุ้ม พระอุระนูนสอบลงกับพระนาภี แต่ไม่ถึงกับคอด วงพระพาหาทิ้งลงรับกับพระกรสวยงาม พระเพลาขัดสมาธิกว้างโค้งเว้าเข้ากับพระกร เส้นจีวรแข็งชัดเจน ฐานสิงห์คมขวานไม่ชัดเจนนัก ฐานด้านล่างเป็นหน้ากระดานตัดเฉียง ฐานทั้งสามชั้นสมส่วนสวยงาม ตัดขอบข้าง กรอบเส้นซุ้มคล้ายหวายผ่าซีกขนาดเล็กโค้งจรดฐานสมส่วนเสมอขอบ ด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระพบมวลสารชัดเจนเป็นลักษณะความเป็นไปแห่งธรรมชาติที่มีความสวยงาม ลึกซึ้ง ตามกาลเวลา
- ความหนา ๔ มิลลิเมตร ฐานกว้าง ๒.๓ เซนติเมตร สูง ๓.๖-๗ เซนติเมตร (โดยประมาณ)
- จัดเป็นพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศแห่งศิลป์ สวยงามที่สุด และหายากที่สุด
ราคาบูชา 1,000,000 บาท

โทรศัพท์ 08-5560-0999

 เขียนความคิดเห็น (ความคิดเห็นจะขึ้นแสดงเมื่อได้ยืนยันผ่านทาง email แล้วเท่านั้น)
เลือกหมวดแสดง :
ชื่อ :    เจ้าของร้าน
Email :    ส่ง Email เมื่อมีคนตอบความคิดเห็น
แนบไฟล์ :