Insurance Planner
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน รายการสินค้า ติดต่อร้านค้า วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน
เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน06/11/2011
อัพเดท26/04/2024
เป็นสมาชิกเมื่อ 08/07/2011
สถิติเข้าชม1056362
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  250 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทร.  0629323615
Mail  korntinun.d@gmail.com
QR code
http://www.muangthai-insure.com
Search      Go

Home / Webboard

 รวมกระทู้  


 
กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับแรกควรเลือกแบบไหนดี ??
 26/02/2012 19:28:50 น.
 IP ผู้โพสต์ : 125.25.172.89, 125.25.172.89
 
 

กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับแรกควรเลือกแบบไหนดี ??



วันนี้จากข้อมูลทางสถิติ คนไทย 100 คนจะมีกรมธรรม์ประกันชีวิต 27 คน ดังนั้น 73% ของคนไทยยังไม่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตหรือมากกว่านั้นเพราะบางคนที่รู้จักประโยชน์ของประกันชีวิตหรือมีตัวแทนมาขอร้องให้ซื้อจะถือกรมธรรม์ุถึง 2-3 กรมธรรม์ต่อคนก็มี



ผมขอยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นนะครับ ประเทศญี่ปุ่น 1 คน จะมีประกันชีวิต 3 กรมธรรม์ต่อคนหรือ 300% เลยทีเดียว


ว่ากันว่าคนญี่ปุ่นเสียชีวิต 1 คน จะมีเศรษฐีเกิดขึ้นพร้อมกันถึง 3 คน


หรือขอยกตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านของเรา คือ ประเทศสิงคโปร์ ประชาชนทุกคนมีประกันชีวิต 100%


ดังนั้นสังเกตว่าทั้งสองประเทศข้างต้นเป็นอันดับต้นๆ ที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตประชากรที่ดี



เกริ่นนำมาซะยาว ดังนั้นผมวันนี้ผมจะขอแนะนำหลักในการเลือกทำกรรมธรรม์ประกันชีวิตที่เหมาะสมควรเป็นแบบไหน ดังนี้ครับ


- วิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย และความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน ตามความเหมาะสมเบี้ยประกันที่ชำระไม่ควรเกิน 15% ของรายรับต่อเดือนหรือต่อปี


- เลือกแบบประกันที่เหมาะสมกับที่ตนเองต้องการ ซึ่งแบ่งได้ตามกลุ่มต่อไปนี้


กลุ่มที่ 1 กลุ่มเด็กแรกเกิด - เด็กเล็ก


เด็ก ๆ เจ็บป่วยบ่อยนะครับ ดังนั้นควรเลือกแบบประกันชีวิตที่เน้นคุ้มครองการรักษาสุขภาพ(IPD) และคุ้มครองผู้ป่วยนอกหรือ(OPD) แถมพ่วงคุ้มครองอุบัติเหตุด้วยนะครับ เบี้ยประกันที่จ่ายอาจจะแพงซักหน่อย แต่ถ้าป่วยหนักสักครั้งจะสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ ได้เยอะทีเดียวครับ ยกตัวอย่างเช่น เมืองไทยคุ้มครองตลอดชีพ 99/20 + สุขภาพแยกค่าใช้จ่าย + คุ้มครองผู้ป่วยนอก + EASY PA เป็นต้น


กลุ่มที่ 2 วัยเริ่มทำงาน


กลุ่มวัยเริ่มทำงาน เป็นวัยเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวนะครับ ดังนั้นควรเลือกแบบประกันที่คุ้มครองชีวิต + ออมเงินไปพร้อมกัน สำหรับคุ้มครองชีวิตไว้สำหรับตอบแทนพ่อแม่หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน และออมเงินไว้สำหรับเป็นเงินเก็บในอนาคตแถมยังนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมืองไทยสมาร์ทแพลนนิ่งพลัส , เมืองไทยทวีทรัพย์ 15/7


กลุ่มที่ 3 หัวหน้าครอบครัว


สำหรับหัวหน้าครอบครัว สิ่งจำเป็นคือหลักประกันและความคุ้มครองให้กับภรรยาและลูก ๆ ดังนั้นควรเลือกแบบประกันชีวิตที่คุ้มครอง + ออมเงิน + อุบัติเหตุเพื่อสร้างความอุ่นใจและครอบครัว และออมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูกในอนาคต


ยกตัวอย่างเช่น เมืองไทยทวีทรัพย์ 15/7, เมืองไทยคุ้มครองตลอดชีพ, เมืองไทยเพื่อการศึกษา, EASY PA, ภายในระยะเวลา


กลุ่มที่ 4 กลุ่มคนโสด


สำหรับคนโสด อาจจะต้องการท่องเที่ยวและตอบแทนบุญคุณกับคนที่คุณรัก เช่นคุณพ่อ-คุณแม่ นอกจากนี้จำเป็นที่ต้องจัดเตรียมทุนทรัพย์ไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณหรือเมื่ออายุมากขึ้นความทั้งความคุ้มครองสุขภาพและโรคร้ายแรง เพราะเมื่อถึงเวลาต้องเจ็บไข้ได้ป่วยต้องดูแลตัวเอง ประกันสุขภาพก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระด้านค่าใช้จ่ายของท่านได้มากเช่นกัน


ยกตัวอย่างแบบประกันเช่น เมืองไทย Double care , สะสมทรัพย์รับบำนาญ , เมืองไทยบำนาญ 8555 จี 20 ,


เมืองไทยแอปปี้ 10/5 เป็นต้น


กลุ่มที่ 5 กลุ่มวัยเกษียณ


สำหรับคนวัยเกษียณส่วนใหญหากทำงานราชการก็จะได้ บำเหน็จบำนาญไว้ใช้ในยามเกษียณ แต่สำหรับผู้ที่ทำงานเอกชนไม่มีบำเน็จบำนาญเหมือนข้าราชการ ดังนั้นต้องเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณรวมทั้งรักษาตัวเมื่อยามแก่ชรา ดังนั้นแบบประกันแบบบำนาญที่จ่ายเงินคืนเมื่ออายุ 55 ปี เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้สามารถใช้ชีวิตในช่วงวัยเกษียณได้อย่างสบาย ไม่ต้องรบกวนลูกหลาน


เพราะกว่า 80% ของวัยเกษียณยังคงต้องทำงานและพึ่งพาลูกหลานอยู่ ดังนั้นการวางแผนวัยเกษียณจึงจำเป็นอย่างยิ่ง


ยกตัวอย่างแบบประกัน เช่น สะสมทรัพย์รับบำนาญ, สมาร์ทรีไทร์เม้นท์พลัส ,เมืองไทยบำนาญ 8555 จี 20, บำนาญ 8560, บำนาญ 8501-9901 เป็นต้น


กลุ่มที่ 6 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป


สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นช่วงวัยเกษียณที่ต้องใช้ชีวิตอย่างสบายในช่วงบั้นปลายชีวิต แต่ส่วนใหญ่ยังคงต้องการความคุ้มครองเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน ยกตัวอย่างแบบประกัน เมืองไทยวัยเก๋า , เมืองไทยคุ้มครองอุ่นใจ เป็นต้น



กลุ่มที่ 7 กลุ่มผู้เสียภาษีมาก


กลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มผู้ที่เสียภาษีมาก เช่น แพทย์ นักบิน ผู้บริหารระดับสูง เจ้าของกิจการ หรือนักธุรกิจ ดังนั้นกลุ่มสุดท้ายจึงควรเลือกแบบประกันบำนาญ(ลดหย่อนภาษีได้) เพื่อนำเงินภาษีที่จ่ายไปทุกปีกลับมาเป็นเงินคืนภาษี ตามนโยบายของรัฐบาล โดยสามารถนำไปลดหย่อนได้เพิ่มอีก 200,000 บาทรวม 100,000 บาทแรกเป็น 300,000 บาท โดยคำนวนณรวมกับ LTF และ RMF แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ยกตัวอย่างแบบประกัน เมืองไทยบำนาญ 8555,9955 , เมืองไทยบำนาญ 8560,9960 , เมืองไทยบำนาญ 8501,9901 เป็นต้น



จากตัวอย่างข้างต้นคิดคงเป็นประโยชน์และแนวทางการเลือกแบบประกันแก่ผู้ที่สนใจจะมีกรมธรรม์ประกันชีวิตเล่มแรก หรือเล่มที่ 2 สำหรับบางท่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ








            

 Top 

อนุญาตเฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถตอบกระทู้นี้ได้