Logo
หน้าร้าน รายการสินค้า ติดต่อร้านค้า วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน แจ้งการชำระเงิน
เว็บบอร์ด
Search      Go

Home > Webboard

 รวมกระทู้  


 
สาระน่ารู้-ไฟโตสเตอรอล
 19/05/2018 10:45:40 น.
JJBeauti  IP ผู้โพสต์ : A:192.168.0.31.47.64.96
 
 
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ไฟโตสเตอรอล กับโคเลสเตอรอล


HEALTH NEWS
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) เป็นสารสเตอรอลที่พบในพืช มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับโคเลสเตอรอลมาก จึงช่วยยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปไม่ให้เข้า สู่กระแสเลือดด้วยกลไกการเข้าไปแทนที่โคเลสเตอรอล ที่ตัวรับโคเลสเตอรอล (และตัวไฟโตสเตอรอลเองจะถูกดูดซึมได้น้อยมาก) ทำให้โคเลสเตอรอลจากอาหารถูกดูดซึมน้อยลงและถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระในที่สุด

ดังนั้นการบริโภคไฟโตสเตอรอลจะช่วยทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDLCholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ลดลง โดยที่ไม่ไปกระทบกับ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดดี เป็นผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง (อ้างอิงที่ 1)

สำหรับงานวิจัยที่สนับสนุนผลของไฟโตสเตอรอลในการลดโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลโคเลสเตอรอลนั้น มีหลายงานวิจัยสนับสนุน โดยในปีคศ.1999 นั้น มีงานวิจัยตีพิมพ์ว่า ได้มีการใช้ไฟโตสเตอรอลในการศึกษากับมนุษย์ 16 งานวิจัย รวม 590 คน พบว่า สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลรวมในเลือดลงได้เฉลี่ย 10% และลดระดับ แอลดีแอล โคเลสเตอรอลลงได้ 13% (อ้างอิงที่ 2) อีกงานวิจัยหนึ่งเป็นการกล่าวถึงว่า การได้รับไฟโตสเตอรอลในรูปเอสเทอร์ 2 กรัมต่อวัน สามารถช่วยลดระดับแอลดีแอล โคเลสเตอรอลลงได้ 10% (อ้างอิงที่ 3)

นอกจากนี้ คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับถึงเรื่องประโยชน์ของไฟโตสเตอรอล โดยได้มีประกาศเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของ สเตอรอลเอสเทอร์จากพืช (Plant Sterol Ester) กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีความตอนหนึ่งว่า มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า อาหารที่มี สเตอรอลเอสเทอร์จากพืช (Plant Sterol Ester) ช่วยในการลดระดับของโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลโคเลสเตอรอลได้ โดยข้อกำหนดนี้อนุญาตให้กล่าวอ้างบนฉลากอาหารประเภทที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือมีไขมันอิ่มตัวต่ำได้ว่าสเตอรอลเอสเทอร์จากพืช อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ ที่การรับประทานอย่างน้อย 1.3 กรัมต่อวัน ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด (อ้างอิงที่ 4)

โคเลสเตอรอล (Cholesterols) คือ สารประกอบไขมันชนิดหนึ่ง พบได้ในสัตว์ และมนุษย์ ร่างกายได้รับโคเลสเตอรอลจากการสังเคราะห์ของตับ และจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โคเลสเตอรอลจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของผนัง เซลล์ในร่างกาย และยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนบางชนิดที่จำเป็นของร่างกาย และน้ำดี โดยปกติแล้ว โมเลกุลของ โคเลสเตอรอล จะลอยในกระแสเลือดไม่ได้ เมื่อโคเลสเตอรอลเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด จะต้องมีการจับตัวกับโปรตีน เรียกว่า ไลโปโปรตีน โดยเราสามารถแบ่ง ไลโปโปรตีน หรือ อาจจะเรียกง่ายๆว่า โคเลสเตอรอลในเลือดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. แอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol)
เปรียบเสมือน "ตัวผู้ร้าย" โดยแอลดีแอลที่มากเกิน จะเข้าไปแทรก และฝังตัวที่ผนังหลอดเลือด สะสมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และจะก่อให้เกิดเป็นพล๊าค (plaque) หรือตะกอน ที่ผนังหลอดเลือดแดง อันเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ยิ่งระดับ LDL โคเลสเตอรอลสูงมากเท่าไหร่ อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

2. เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol)
เปรียบเสมือน "ตำรวจ" คอยจับผู้ร้าย เพราะ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล จะทำหน้าที่เป็นตัวพาโคเลสเตอรอล จากหลอดเลือดแดง กลับไปทำลายที่ตับ การมีระดับ HDL โคเลสเตอรอลสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease)
(อ้างอิงที่ 5-7)

การแบ่งระดับของโคเลสเตอรอล
อ้างอิงจาก ATP III Classification of LDL, Total, and HDL Cholesterol (mg/dL), ATP III Guidelines At-A-Glance Quick Desk Reference, National Cholesterol Education (อ้างอิงที่ 8)

โภชนาการเกิน เป็นปัญหาทางโภชนาการที่เกิดจากการบริโภคไขมันจากเนื้อสัตว์มากเกินความต้อง การของร่างกาย ทำให้เกิดโรคไขมันสูงในเลือด ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิด โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดอัมพาตได้ กรดไขมันที่อิ่มตัว ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่จะเพิ่มปริมาณของโคเลสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้นได้ (อ้างอิงที่ 9) ดังนั้นพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคของคนเราจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ เกิดภาวะโคเลสเตอรอลสูง
สำหรับแนวทางในการควบคุมระดับโคเลสเตอรอล สามารถทำได้หลายวิธีคือ

1. ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน อาหารทะเลบางชนิด อาหารประเภททอด น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง น้ำมันมะพร้าว กะทิ หันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ เช่น นมพร่องมันเนย และอาหารประเภทผักและผลไม้ต่างๆ หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไฟโตสเตอรอลพร้อมกับมื้ออาหาร

2. ออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร วิธีนี้จะช่วยเพิ่มระดับ HDL โคเลสเตอรอล และลดระดับ LDL โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ควรออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 ครั้ง และทำอย่างต่อเนื่องในแต่ละครั้งตามระดับความสามารถของร่างกายตัวเอง

3.ใช้ยาช่วยลดระดับไขมันในเลือด วิธีนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง :
1. Dietary phytosterols as cholesterol-lowering agents in humans. Can J Physiol Pharmacol. 1997 Mar;75(3):217-27
2. Effects of dietary phytosterols on cholesterol metabolism and atherosclerosis: clinical and experimental evidence. Am J Med. 1999 Dec;107(6):588-94
3. Phytosterols in human nutrition. Annu Rev Nutr. 2002;22:533-49. Epub 2002 Apr 4
4. Sec. 101.83 - Health claims: plant sterol/stanol esters and risk of coronary heart disease (CHD), Subpart E--Specific Requirements for Health Claims, TITLE 21--FOOD AND DRUGS: CHAPTER I--FOOD AND DRUG ADMINISTRATION DEPARTMENT OF HEALTH AND HUMAN SERVICES; SUBCHAPTER B--FOOD FOR HUMAN CONSUMPTION PART 101 FOOD LABELING, Code of Federal Regulations Title 21, Volume 2, U.S. Food and Drug Administration http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cdrh/cfdocs/cfcfr/CFRSearch.cfm?fr=101.83
5. Cholesterol, Triglycerides, and Associated Lipoproteins. Bookshelf ID: NBK351 PMID: 21250192 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK351/
6. About Cholesterol. American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Cholesterol/AboutCholesterol/About-Cholesterol_UCM_001220_Article.jsp
7. Why Cholesterol Matter. American Heart Association. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Cholesterol/WhyCholesterolMatters/Why-Cholesterol-Matters_UCM_001212_Article.jsp
8. ATP III Classification of LDL, Total, and HDL Cholesterol (mg/dL), ATP III Guidelines At-A-Glance
Quick Desk Reference, National Cholesterol Education, http://www.nhlbi.nih.gov/guidelines/cholesterol/atglance.pdf
9. โภชนาการสาร 2532;23;202-12 กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข http://nutrition.anamai.moph.go.th/newpage8.htm


            

 Top 

 เขียนความคิดเห็น (การตอบกระทู้จะขึ้นแสดงเมื่อได้ยืนยันผ่านทาง email แล้วเท่านั้น)
 
รูปภาพประกอบ :
(เฉพาะนามสกุล .gif หรือ .jpg และ มีขนาดของไฟล์ไม่เกิน 250 KB)
คลิปวิดีโอ :
(หากต้องการโพสคลิปวิดีโอของ YouTube ให้นำค่าในช่อง URL ของวิดีโอดังกล่าว มาใส่ในช่อง "คลิปวิดีโอ")
ชื่อ :  
Email :
 ส่ง Email เมื่อมีคนตอบกระทู้
  
 
สมาชิกร้านค้า

QR code
http://www.pantipmarket.com/mall/jjgiffarine

หมวดสินค้า

สถิติร้านค้า
เปิดร้าน01/06/2010
อัพเดท13/01/2024
เป็นสมาชิกเมื่อ 19/11/2009
สถิติเข้าชม3597615

บริการของร้านค้า

ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe


Facebook

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  lazada.co.th/jjonlineshop 10110
โทร.  shopee.co.th/bkchom
Mail