ifuover
เจ้าของร้าน Login ที่นี่
หน้าร้าน
รายการสินค้า
ติดต่อร้านค้า ส่งข้อความหลังไมค์ วิธีการสั่งซื้อสินค้า วิธีการชำระเงิน เว็บบอร์ด
สมาชิกร้านค้า
สินค้าแนะนำ
หมวดสินค้า
สถิติร้านค้า
เปิดร้าน21/03/2012
เป็นสมาชิกเมื่อ 20/03/2012
บริการของร้านค้า
ตรวจสอบสถานะไปรษณีย์
จดหมายข่าว
ใส่ email ของท่านเพื่อรับข่าวสารร้านค้านี้

subscribe unsubscribe

ข้อมูลร้านค้า
   
ที่อยู่  Bangkok 10170
โทร.  0811404981
Mail  ladytago@gmail.com
Search      Go

Home / All Product List / Forty multivitamin plus Soy Germ

Forty multivitamin plus Soy Germ

รูปภาพประกอบทั้งหมด 1 รูป

Forty multivitamin plus Soy Germ

ลงประกาศเมื่อวันที่  :  22/03/2014
แก้ไขล่าสุด  :  22/03/2014
ราคา  295

Forty multivitamin plus Soy Germ
โฟที มัลติวิตามิน

ส่วนประกอบที่สำคัญ ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย
สารสกัดจาก จมูกถั่วเหลือง 150.000 mg
สารสกัดจากตังกุย 100.000 mg
แมกนีเซียม ออกไซด์ 84.000 mg
เฟอรัส แลกเตท 66.660 mg
แกมมา โอริชานอล 50.000 mg
ซิงค์ อะมิโน แอซิต ดีเลต 50.000 mg
ซีลีเนียม อะมิโน แอซิต ดีเลต 35.000 mg
ไนอะซินาไมด์ (วิตามิน บี 3) 20.000 mg
วิตามิน อี 50 % 20.000 mg
แมงกานีส อะมิโน แอซิด ดีเลต 20.000 mg
คอปเปอร์ กลูโคเนต 14.000 mg
วิตามิน เอ (2664 IU) 8.197 mg
แคลเซียม ดี แพนโททีเนต (วิตามิน บี 5) 6.000 mg
โพรีดอกซีน โฮโดรคลอไรด์ (วิตามิน บี 6) 2.000 mg
วิตามิน บี 12 0.1% 2.000 mg
วิตามิน ดี 3 2.000 mg
โรโบฟลาวัน (วิตามิน บี 2) 1.700 mg
ไทอะมีน โอโดรคลอไรด์ (วิตามิน บี 1) 1.500 mg
โครเมียม พีโคลีเนต 1.044 mg
วิตามิน เค 15% 0.400 mg
โฟลิก แอซิด 0.200 mg
ไบโอดีน 0.150 mg

คำแนะนำ : รับประทานวันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
คำเตือน เด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทาน

ขนาดบรรจุ : 45 capsules

 ทะเบียน อย. 

เลขที่ 10-1-00449-1-0075

ไฟโตเอสโตรเจน คือ สารประกอบตามธรรมชาติที่พบได้ในพืช มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง ที่เรียกว่า เอสโตรเจน(Estrogen
ไฟโตเอสโตรเจน คืออะไร?

ไฟโตเอสโตรเจน คือ สารประกอบตามธรรมชาติที่พบได้ในพืช มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง ที่เรียกว่า เอสโตรเจน(Estrogen) ไฟโตเอสโตรเจนอาจเข้าไปมีผลป้องกันหรือปรับเปลี่ยนภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือการเกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็งบางชนิด โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับอาการหลังการหมดประจำเดือน ได้อีกด้วย

แหล่งของไฟโตเอสโตรเจนในอาหาร

ไฟโตเอสโตรเจน มี 3 ชนิดหลัก คือ ไอโซฟลาโวน (isoflavones), ลิกแนน (lignans), และ คิวเมสแทน (coumestans)

ไอโซฟลาโวน – พบมากในไม้จำพวกที่มีฝัก ถั่ว และในผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
ลิกแนน - พบในผลไม้ ผัก ถั่ว และ เมล็ดข้าว
คิวเมสแทน- พบได้ในอาหารจำพวกเดียวกับลิกแนน แต่พบมากที่สุดในเมล็ดอ่อนของพืช

การออกฤทธิ์ของไฟโตรเอสโตรเจน

ไฟโตรเอสโตรเจนออกฤทธิ์ได้ทั้งเสริมและต้านเอสโตรเจน ในกรณีที่มีเอสโตรเจนในร่างกายมากเกินไป ไฟโตรเอสโตรเจนจะไปจับกับตัวรับของเซลล์ (receptor)ของเอสโตรเจน เกิดการยับยั้ง การทำงานและต้านการออกฤทธิ์ของเอสโตรเจน ในขณะที่เมื่อร่างกายเกิดการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ในหญิงวัยหมดประจำเดือน ไฟโตรเอสโตรเจนจะไปจับกับตัวรับของเซลล์เอสโตรเจน และออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน

ประโยชน์ของไฟโตรเอสโตรเจน

มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างกว้างขวาง ถึงประโยชน์ของไฟโตรเอสโตรเจนในอาหารสำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือน มีรายงานว่า หญิงชาวเอเชียมีอาการหลังการหมดประจำเดือน และมีอุบัติการณ์ของมะเร็ง เต้านมต่ำกว่าหญิงในกลุ่มประเทศแถบยุโรป

สารสกัดจากจมูกถั่วเหลืองกับสุขภาพ

  • สารสกัดจากจมูกถั่วเหลืองกับภาวะหมดประจำเดือน

ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักมีอาการร้อนวูบวาบ หงุดหงิด มีอาการทางผิวหนังและเยื่อบุบริเวณช่องคลอด (อักเสบ แห้ง) รวมทั้งมีอัตราการเป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดสูงขึ้น การใช้ฮอร์โมนทดแทนแม้จะช่วยลดอาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม

การรับประทานอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งมีไอโซฟลาโวนเป็นส่วนประกอบและมีสูตรโครงสร้างคล้ายเอสโตรเจนอย่างสม่ำเสมอ จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบแล้วยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

มีการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ว่า การบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองที่มีไอโซฟลาโวนหรือการเสริมไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน นากาตะและคณะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองกับความถี่ของอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงญี่ปุ่น ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงญี่ปุ่นที่รับประทานผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมากทั้งในแง่ปริมาณรวมของถั่วเหลืองและไอโซฟลาโวนจะมีความถี่ของอาการร้อนวูบวาบน้อยกว่า มีรายงานว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนในยุโรปมีอาการร้อนวูบวาบร้อยละ 70-80 ขณะที่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนในมาเลเซีย จีนและสิงคโปร์มีอาการร้อนวูบวาบร้อยละ 57, 18 และ 14 ตามลำดับ

  • สารสกัดจากจมูกถั่วเหลืองกับโรคกระดูกพรุน
    โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติของกระดูกทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายแม้ได้รับการกระทบกระทั่งเพียงเล็กน้อย ทำการวินิจฉัยได้โดยการวัดความหาแน่นของมวลกระดูก สาเหตุที่พบได้บ่อยและสำคัญมากที่สุดคือ การขาดเอสโตรเจนจาการหมดประจำเดือน แคลเซียมมีผลต่อมวลกระดูกตั้ง แต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ การเสริมแคลเซียมสามารถทำให้มวลกระดูกสูงขึ้นแม้จะได้รับแคลเซียมจากอาหารเพียงพอตามข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน (RDA) แล้ว ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียเนื้อกระดูกประมาณร้อยละ 3-5 ต่อปีในเวลา 3-5 ปี ทำให้มวลกระดูกลดลงประมาณ 15 % หลังจากนั้นอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกจะลดลงสู่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 0.5 – 1 ต่อปีจนเข้าสู่วัยสูงอายุ การเสริมแคลเซียมในช่วงนี้ไม่สามารถขจัดผลของการขาดเอสโตรเจนได้ แต่ช่วยลดผลที่เกิดจากการขาดแคลเซียม ผู้หญิงควรได้รับแคลเซียมจากอาหารวันละ 800 – 1200 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่

การทดลองในหนูพบว่า จีนิสทีน (ไอโซฟลาโวนชนิดหนึ่ง)ให้ผลคล้ายการใช้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกได้ โปรตีนถั่วเหลืองสามารถป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูกที่เกิดจากขาดฮอร์โมนจากรังไข่ของหนูที่ถูกตัดรังไข่ทิ้ง (เกิดการสร้างมวลกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก

 เขียนความคิดเห็น
เลือกหมวดแสดง :
ชื่อ :    เจ้าของร้าน
Email :    ส่ง Email เมื่อมีคนตอบความคิดเห็น
แนบไฟล์ :
Security Code :