ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ9680381

จองขันโตก@ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคางานไทยเที่ยวไทย 499 บาท ▲▲ โทร.๐๘ ๔๐๔ ๖๗ ๙๙๙ TEL.08 404 67 999 โทร.0955278999 อาหารขันโตกแบบพิ้นเมืองแท้ๆ การแสดงขับร้องฟ้อนรำดนตรีสด แบบอนุรักษ์ดั้งเดิมทุกประการ แสงไฟในอาคารแบบวอร์มไลท์ให้บรรยายกาศอบอุ่น

แสดงภาพทั้งหมด

ท่านที่กำลังที่จะขึ้นมาเที่ยวเชียงใหม่ เรามีร้านอาหาร พร้อมการแสดงโชว์ต่างๆ เแนะนำ อาหารขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคางานไทยเที่ยวไทย 490 บาท อาหารขันโตกแบบพิ้นเมืองแท้ๆ การแสดงขับร้องฟ้อนรำดนตรีสด แบบอนุรักษ์ดั้งเดิมทุกประการ แสงไฟในอาคารแบบวอร์มไลท์ให้บรรยายกาศอบอุ่น (Event เชียงใหม่ ต่างจังหวัดโทรปรึกษาคุณปิยสัตย์ ๐๘ ๔๐๔ ๖๗ ๙๙๙ ครับ)
*******************************************************************
การแสดงฟ้อนรำล้านนาในศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
การฟ้อนรำเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของล้านนา ที่แสดงออกถึงลักษณะนิสัยความอ่อนน้อม และละมุนละไมในการดำเนินชีวิตภายใต้ความเชื่อ ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา

ฟ้อนล้านนา มีต้นกำเนิดมาจากการร่ายรำเพื่อประกอบพิธีกรรม ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกิดความพึงพอใจ ท่วงท่าการรำแต่ดั้งเดิม ไม่มีแบบแผน แต่แสดงออกมาจากความปลื้มปิติยินดี มีความสุขสนุกสนานเจือปนอยู่ เช่น ฟ้อนผี ฟ้อนแห่ครัวทาน เป็นต้น ต่อมาในราวรัชกาลที่ 6 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้รวมท่าฟ้อนรำพื้นเมืองมาเรียบเรียงให้มีแบบแผน และกลายเป็นชุดฟ้อนที่รู้จักกันในปัจจุบัน ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแสดงเหล่านี้ จึงได้นำมาเป็นการแสดงสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีฟ้อนรำของท้องถิ่นอื่นๆ ในล้านนาด้วย มีทั้งหมด 13 การแสดงดังนี้

1.ฟ้อนเล็บ
เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของนาฏศิลป์ล้านนา ซึ่งมักจะแสดงในโอกาสพิเศษเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติหรือฟ้อนสมโภชในทางพุทธศาสนา ท่าเดินของฟ้อนเล็บนี้ถือกันว่าได้เลียนแบบมาจากการเยื้องย่างของช้าง แต่เดิมการฟ้อนเล็บนี้ไม่มีท่ารำเฉพาะแน่นอน พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามและมีท่ารำเฉพาะแน่นอน

2.ฟ้อนดาบ
เป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นการแสดงชั้นเชิงของการต่อสู้รวมกับท่าฟ้อนที่สวยงาม

3.ฟ้อนสาวไหม
เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและ
รวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก)ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกันในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียวขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง การฟ้อนของทางศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เป็นการรวบรวมท่ารำที่สวยงามของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน

4.ระบำไก่
เป็นระบำชุดหนึ่งจากละครเรื่องพระลอตามไก่ เป็นการร่ายรำของบริวารของไก่แก้ว พระราชชายาได้ทรงคิดท่ารำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองกู่ (ที่บรรจุอัฐิ) ของเจ้านายเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2452 ที่ท่านทรงนำมารวบรวมไว้ที่วัดสวนดอก จากงานพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงประทานให้แก่ท่าน

5.ฟ้อนเงี้ยว
เป็นการฟ้อนของเมืองเหนือ ที่ได้ดัดแปลงมากจากการละเล่นของไทยใหญ่ (เงี้ยว) ต่อมาครูช่างฟ้อนในคุ้มหลวงเชียงใหม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สวยงามขึ้น

6.ระบำซอ
ได้ถูกแต่งและประดิษฐ์จากครูเพลงและครูช่างฟ้อนในคุ้มของเจ้าดารารัศมีในปี พ.ศ. 2470 ใช้ฟ้อนในโอกาสที่ถวายต้อนรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเชียงใหม่ และในโอกาสสมโภชน์ช้างเผือกซึ่งน้อมเกล้าฯถวายให้ท่าน การแต่งกายเป็นชุดกระเหรี่ยง

7.ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
เป็นการฟ้อนผสมระหว่างการฟ้อนในราชสำนักพม่าและรำไทยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงให้ครูช่างฟ้อนชาวพม่าและครูช่างฟ้อนในวังของท่านคิดท่ารำขึ้นมาระหว่างปี พ.ศ. 2458-2469 เครื่องแต่งกายเป็น
แบบหญิงในราชสำนักพม่า ราชวงศ์คองบอง

8.ฟ้อนลื้อ
การฟ้อนนี้เดิมเป็นการฟ้อนของชาวไทยลื้อ หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน บรรพบุรุษของชาวไทยลื้อนี้เดิมเป็นพวกอพยพสงครามจากแคว้นสิบสองปันนาในมณฑลยูนานของจีน ชาวไทยลื้อเหล่า
นี้หลบหนีการต่อสู้ระหว่างพระเจ้าสิบสองปันนาและหลานชายซึ่งสู้รบกันในระหว่างปี พ.ศ.2365-2366 แตกต่างจากบรรพบุรุษของชาวไทยลื้อกลุ่มอื่นในทางตอนเหนือของประเทศไทยซึ่งอพยพมาก่อนหน้านี้ประมาณ 22 ปี ในฐานะเชลยสงคราม บางพวกก็ถูกชักชวนให้มาตั้งถิ่นฐานใหม่

9.ฟ้อนโยคีถวายไฟ
เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ. 2454-2482) เจ้าครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายได้ทรงให้นักดนตรีในวังของท่านและครูช่างฟ้อนชาวพม่าร่วมกันคิดท่ารำและบทเพลงขึ้นมาในโอกาสเสด็จประพาสเชียงใหม่ของกรมพระนครสวรรค์วรพินิจ โอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2465 ท่ารำได้ดัดแปลงมาจากท่าฤาษีดัดตน เดิมเป็นการแสดงของผู้ชาย ในปี พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนให้เป็นท่ารำของผู้หญิง เนื่องจากช่างฟ้อนผู้ชายหายาก

10.ฟ้อนน้อยใจยา
เป็นฉากหนึ่งของละครเพลงชื่อเดียวกัน ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 โดยท้าวสุนทรโวหาร ถวายแก่เจ้าดารารัศมีในวันเกิดของท่าน ต่อมาเจ้าดารารัศมีได้ขัดเกลาบางตอนของละครและแต่งเพลงน้อยใจยาขึ้น ฉากนี้แสดงถึงน้อยใจยาชายหนุ่มผู้ยากจนได้ตัดพ้อต่อว่าแว่นแก้วสาวงามแห่งหมู่บ้าน ซึ่งจะแต่งงานกับส่างนันตาชายหนุ่มผู้ร่ำรวยแต่หน้าตาอัปลัษณ์ของอีกหมู่บ้านหนึ่ง แว่นแก้วบอกน้อยใจยาว่าเรื่องทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดของเธอ แต่เป็นความเห็นชอบของบิดามารดาและได้ยืนยันความรักของเธอที่มีต่อเขา หลังจากปรับความเข้าใจกันแล้วก็พากันหนีไป

11.ฟ้อนเทียน
ใช้ฟ้อนในเวลากลางคืน ไม่สวมเล็บ แต่ถือเทียนสองข้างประกอบการฟ้อนพระราชชายาฯได้ทรงปรับปรุงขึ้นจากการฟ้อนเล็บ เพื่อจะฟ้อนรับเสด็จรัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จประพาสเชียงใหม่ พ.ศ. 2469

12.ฟ้อนไต
ไตคือชื่อที่คนไทยใหญ่เรียกตัวเอง คนไทยใหญ่นี้นอกจากจะอาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์แล้วยังอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนด้วย ฟ้อนไตได้ถูกคิดท่ารำโดยครูแก้วและนางละหยิ่น ทองเขียวผู้เป็นภรรยา ผู้ซึ่งเป็นคนไทยใหญ่ด้วย โดยในระหว่าง พ.ศ. 2483-97 ขณะที่ นางละหยิ่นได้อาศัยที่เชียงใหม่กับครูแก้ว นางได้เห็นการแสดงฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาและได้ประทับใจมาก เมื่อนางกับครูแก้วกลับไปอยู่แม่ฮ่องสอนแล้ว จึงได้คิดท่ารำของฟ้อนไตขึ้นจากท่ารำของรำไทย พม่า และฟ้อนเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2500

13.รำวง
เกิดจากรำโทนของนครพนมและได้แพร่หลายไปยังภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีคำสั่งให้กรมศิล์ปากรจัดท่ารำเป็นรำวงมาตรฐานขึ้น
*******************************************************************
อาหารขันโตกพร้อมชมการแสดง@ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ลานกลางแจ้ง ที่นี่เหมาะที่จะจัดกาดหมั่วได้บรรยายกาศมีลานจอดรถบัสได้หลายคัน ภายในอาคารค่าบริการขันโตกพร้อมการแสดงท่านละ 490 บาท ** เงื่่อนใขต้องโอนมาก่อนแล้วแจ้งวันที่ต้องการมาใช้บริการ ** จองล่วงหน้าเป็นหมู่คณะสอบถามมาได้ ครับ ขันโตกจองกับเราได้ที่นั่งชมใกล้การแสดง และจองเป็นโต๊ะนั่งได้ถ้าไม่สะดวกนั่งทานขันโตกกับพื้น หากจะรับประทาน อาหารมุสลิม หรือเป็นอาหารมังสะวิรัติ ก็สั่งได้


▲▲ ▲▲ รายการอาหารมีดังนี้
1.ไก่ทอด
2.แกงฮังเล
3.น้ำพริกหนุ่ม
4.น้ำพริกอ่อง
5.แคบหมู
6.ผักลวกใว้จิ้มกับน้ำพริก
7.ผัดผักรวมมิตร
8.ข้าวเจ้า ข้าวเหนียวนึ่ง
9.มีซุปใส่แครอทให้ด้วย
ของหวานเป็นกล้วยทอด และเราเสริฟ ชา กาแฟ และผลไม้ตามฤดูกาล เช่นแตงโม สัปปะรด
มีน้ำดื่มขวดแก้วเสริฟพร้อมน้ำแข็ง เปิดบริการตั้งแต่ 19.00 น.-21.00น.

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา