ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ21274312

355.ชุดพระนิรันตราย(จำลอง) สองกษัตริย์

แสดงภาพทั้งหมด

355.ชุดพระนิรันตราย(จำลอง) สองกษัตริย์
สูง 19.5 ฐานกว้าง 8 นิ้ว
-พระนิรันตรายองค์นอก(พระบูชา) วัสดุเนื้อโลหะบรอนซ์ ปิดทองคำเปลวขนาด 5 นิ้ว สูง 9.5 นิ้ว
-พระนิรันตรายรูปแบบองค์ในวัสดุเนื้อทองคำแท้ ระบบอิเลคโตรฟอร์มมิ่ง น้ำหนักไม่น้อยกว่า 26 กรัม ขนาดหน้าตัก 2.5 นิ้ว สูง 3.5 นิ้ว

พระนิรันตราย มีความหมายว่า ปราศจากอันตรายนิรันดร์ เป็นพระบูชารัชกาลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพุทธลักษณะอันงดงามของศิลปะ 2 ยุค ด้วยกัน คือ พระองค์ใน(องค์ดั้งเดิม) เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ส่วนพระองค์นอก ที่สร้างครอบเอาไว้นั้น เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ครองผ้าแบบธรรมยุต ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนกลาง

เหตุแห่งพระนาม พระนิรันตราย เกิดจากเหตุอัศจรรย์หลายครั้งครา ตามที่มีบันทึกไว้กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.2399 กำนันอิน ชาวเมืองปราจีนบุรี ได้ฝันว่า จับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน กำนันอินกับบุตรชายชื่อ นายยัง ได้เข้าป่าเพื่อขุดมันนก ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

กำนันอิน จึงนำไปมอบให้ พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.4) พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตร คู่กับ พระกริ่งทองคำน้อย

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2403 มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ได้ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่ไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดใหญ่กว่ามาก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธรูปที่กำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่ง และใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไป แต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ ไม่ได้ทำอันตราย เป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งนัก ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระนิรันตราย

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อครอบ พระนิรันตราย องค์เดิมเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯให้หล่อเป็นพระเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่ง ไว้คู่กัน

ต่อมาทรงมีพระราชดำริว่า พระสงฆ์คณะธรรมยุตินิกาย ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นแพร่หลาย จนมีผู้ศรัทธาสร้างวัดถวายในนิกายนี้มากขึ้น ใน พ.ศ.2411 จึงโปรดฯ ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปพิมพ์นี้ขึ้นมา 18 องค์ เท่าจำนวนปีที่เสวยราชย์ เพื่อถวายเป็นที่ระลึกแก่วัดในธรรมยุตินิกายเท่านั้น แต่สวรรคตเสียก่อน มาถวายในรัชกาลที่5

และต่อมารัชกาลที่6 พ.ศ.2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารถว่า เสวยราชย์มาเท่ากับรัชกาลที่2 จึงโปรดฯให้ช่างหล่อพระพุทธรูปนั่งสมาธิกาไหล่ทองรวม 16 องค์ ทรงถวายพระนามว่า พระนิโรคันตราย มีรูปนาคแปลงเป็นมนุษย์ เชิญฉัตรกั้น พระรูปหนึ่ง เชิญพัดโบกรูปหนึ่ง อยู่สองข้าง ข้างละรูป ทรงถวายพระมหานิกาย 15 องค์ เก็บไว้คู่กับ พระนิรันตราย ในพระบรมมหาราชวังองค์หนึ่ง และประดิษฐาน ณ หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง จนบัดนี้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดสร้าง พระนิรันตราย (จำลอง) สองกษัตริย์ ครั้งแรกในรอบ 141 ปี โดยจำลองจาก พระนิรันตราย องค์ดั้งเดิมที่อยู่ภายใน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร หน้าตัก 3 นิ้ว สูง 4 นิ้ว พุทธลักษณะแบบศิลปะทวารวดี พร้อมกับจำลอง พระนิรันตราย องค์นอก สวมครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร เช่นเดียวกัน หน้าตัก 5 นิ้วครึ่ง มีพุทธลักษณะแบบอย่างสกุลช่างรัตนโกสินทร์ ครองผ้าอย่างยุติธรรม งดงามตามแบบพระพุทธรูปที่สร้างในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังมีซุ้มเรือนแก้วเป็นพุ่มมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงในวงกลีบบัวเบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 พระคุณนามแสดงพระพุทธคุณ ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎติดอยู่กับฐาน ชั้นล่างของฐานพระ ทำเป็นที่สำหรับสรงน้ำพระ มีท่อเป็นรูปหัววัว แสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็นโคตรมะ

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโน) วัดสระเกศ ได้เป็นประธานประกอบพิธีเททอง และกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ณ มณฑลพิธีหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองกษัตริย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีพระเกจิคณาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิต 8 ทิศ ได้แก่หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้, หลวงพ่อรวย วัดตะโก, หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ, หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร, หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์ และหลวงพ่อสวาท วัดอ่าวหมู

วัตถุประสงค์ เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโครงการมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ผู้มีไว้ครอบครอง และเป็นการตอบแทนผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์ สมทบกองทุนก่อสร้าง อาคาร 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ได้ก่อตั้งมาเมื่อ พ.ศ.2489 เพื่อให้นิสิตเก่าชาวจุฬาฯ ทุกคณะ ทุกรุ่น ได้มีศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันคิดสร้างสรรค์กิจกรรมที่มีคุณประโยชน์ ทั้งต่อนิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
✅เลือกซื้อสินค้า
http://kingcollectionthailand.lnwshop.com/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
✅LINE:worachaksolution
https://line.me/ti/p/zk3ETN5UIM
✅Tel.0862228222
✅Page:King Collection Thailand
https://www.facebook.com/HouseofAmuletThailand

#พระนิรันตราย #พระนิรันตรายจำลอง #พระนิรันตรายจำลองสองกษัตริย์ #พระนิรันตรายสองกษัตริย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #พระนิรันตรายจำลองสองกษัตริย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #พระนิรันตรายสองกษัตริย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา