ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20766673

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระซุ้มกอพิมพ์กลางกรุนี้แกะพิมพ์ลึก ซอกแขนดูกับว่าลึกเกือบทะลุถึงด้านหลัง ตัดขอบแบบโบราณ เห็นเป็นเหลี่ยม ด้านหลังมีรอยลายนิ้วมือซึ่งเป็นลักษณะนิยมของพิมพ์กลาง พระนางพญาองค์นี้ผิวเดิมไม่มีเหลืออยู่แล้ว เห็นลักษณะอย่างหนึ่งของพระนางพญา กรุวัดนางพญา (จากหนังสือ'พระนางพญา' ของตรียัมปวาย) คือ เมล็ดแร่มี ๒ กลุ่ม - กลุ่มขนาดใหญ่ และกลุ่มขนาดเล็ก (เล็กก็ประมาณนี้ ใหญ่ก็ประมาณนี้) คำว่า 'พระนางพญา' เป็นคำที่มีพลัง เกิดความมั่นใจและอุ่นใจ มีดินเท่านี้แขวนก็ยอดเยี่ยมแล้ว พระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังผิวหมดสภาพ ผุเปื่อยออกเกือบหมด รูปที่ ๖ เป็นผิวจุดเล็กๆที่เหลืออยู่ จุดนี้มีความหนาจึงมีความแข็งแรงยึดอยู่กับเนื้อได้ เนื้อที่ผิวหลุดออกไปมีรอยราน (รอยปริตื้นๆ ไม่ถึงกับร้าว) มีน้ำมันตังอิ๊วซึมออกมาเป็นเส้นเล็กๆ สีน้ำตาลไหม้คล้ำ การมีผิวที่หลุดและผิวที่เหลือแสดงถึงความเก่าแก่ได้อย่างหนึ่ง องค์นี้ถอดออกจากแม่พิมพ์ได้ปกติ ไม่เขยื้อน ช่วงพระศอไม่ยืด และพระพักตร์ไม่ดูร่นขึ้นบน รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกัน อยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๕๗ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๗๑ (แม่พิมพ์นี้มีคนนิยมทำเลียนแบบมาก ซุ้มล่างจะกว้าง) พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์นี้มีขนาดเล็ก(ย่อม) โครงสร้าง สัดส่วน ศิลปการออกแบบและแกะแม่พิมพ์เหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆังฯพิมพ์ใหญ่บางแม่พิมพ์ ลักษณะที่น่าสังเกตได้แก่ ๑)มีเส้นสังฆาฏิเล็กๆพาดลงมา ปลายเส้นอยู่ระดับประมาณกึ่งกลางลำพระองค์ ๒.บนสันของฐานชั้นบนมีเส้นเล็กนูนไปตามแนวยาวของฐาน (ยังไม่ทราบว่าเพราะอะไร มีความหมายว่าอย่างไร) ๓.มีเส้นแซมใต้ตัก ๔.แขนท่อนล่างซ้ายไม่คอด(ช่วงที่อยู่ใกล้กับศอก) ลักษณะที่ปรากฏทั้งสี่อย่างนี้มีปรากฏในบางแม่พิมพ์ของวัดระฆังฯ เช่น แม่พิมพ์'องค์คุณอุดม' รูปอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี' เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๖๓ -------------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาและแสวงหาพระสมเด็จฯ ---- "ขอบเขตของการดูพิมพ์" ---- พระสมเด็จมี ๒ พวกคือ (๑)พระสมเด็จที่ต้องดูพิมพ์ เพราะมีข้อมูลเรื่องพิมพ์ และมีรูปภาพยืนยันแสดงถึงรูปร่างลักษณะของส่วนต่างๆในพิมพ์ และยังมีข้อมูลเรื่องเนื้อ ชื่อวัด ผู้สร้าง ระยะเวลาที่สร้าง พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมที่สร้างในพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ เป็นพระที่ต้องดูพิมพ์ (๒)พระสมเด็จที่ไม่ดูพิมพ์ เพราะไม่มีข้อมูลเรื่องพิมพ์ และไม่มีข้อมูลเรื่องเนื้อเผยแพร่ ---- "พิมพ์" คือรูปร่างลักษณะต่างๆทางด้านหน้าที่เกิดจากแม่พิมพ์ สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากแม่พิมพ์ไม่ได้อยู่ในขอบเขตของการดูพิมพ์ เช่น การตัดขอบ กรอบด้านข้างซ้าย-ขวาขนานกันหรือไม่ขนาน ความกว้าง ยาวและหนา รอยแตกด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง เป็นต้น ---- จุดประสงค์หลักของการดูพิมพ์คือ เพื่อดูรูปร่างลักษณะต่างๆทางด้านหน้า ว่าเหมือนกับพระแท้องค์จริง หรือรูปภาพพระแท้องค์ใดองค์หนึ่งหรือไม่ ---- ความเหมือนกันมี ๒ อย่างคือ ๑)เหมือนเพราะสร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน ๒)เหมือนเพราะมีศิลปการออกแบบและฝีมือการแกะแม่พิมพ์ของช่างคนเดียวกัน ---- การดูความเหมือนกันในเรื่องพิมพ์ของพระสององค์ เป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยของผู้ที่มีความตั้งใจจริงที่สามารถจะทำได้ ซึ่งต้องใช้ความมานะพยายาม(มาก)ในการศึกษา สังเกต พินิจพิจารณาและหาประสบการณ์ในการดู โดยยึดถือและอ้างอิงพระแท้องค์จริง รูปภาพพระแท้ และข้อมูลที่ได้สังเกตดูพระแท้ ซึ่งจะมีเรื่องศิลปการออกแบบเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของพิมพ์ด้วยเสมอ ทำนองว่า พยัญชนะและสระทุกตัวแสดงถึงลายมือเขียนหนังสือของคนๆหนึ่ง ไม่ใช่เฉพาะตัวใดตัวหนึ่ง หรือเพียงบางตัว --------------- การดูพิมพ์ของพระสมเด็จฯมี ๒ ส่วนคือ (๑)ดูโครงสร้าง (๒)ดูแต่ละส่วน เพื่อให้ได้ผลการดูที่ชัดเจนและดูเข้าใจได้ง่าย ควรใช้กล้องส่องพระอย่างน้อยสองขนาดคือ กล้องขยายน้อยใช้ดูโครงสร้าง กล้องขยายมากใช้ดูแต่ละส่วน(ไม่เกิน ๒๐X) ------ (๑)การดูโครงสร้าง ที่เป็นหลักได้แก่ ๑)ซุ้ม ๒)พุทธลักษณะ ๓)ฐานทั้งสามชั้น ๔)กรอบกระจก สำหรับเรื่องกรอบกระจก ถ้าตัดขอบชิดเส้นซุ้มจะไม่เห็น ---- พระสมเด็จฯทุกพิมพ์ทรงจะมีหลายแม่พิมพ์ พิมพ์ทรงพระประธานหรือพิมพ์ใหญ่มีหลายแม่พิมพ์มาก โครงสร้างของแต่ละแม่พิมพ์ต่างกันบ้าง(ขนาด สัดส่วน มิติ ฯ)แต่ยังดูได้แน่นอนว่าผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์เป็นคนเดียวกัน ศิลปเดียวกัน ---- คำบรรยายในหนังสือ'พระสมเด็จฯ' ของตรียัมปวาย แบ่งรายการต่างๆทางพิมพ์ออกเป็น ๗ ประการคือ ๑.พุทธลักษณะ ๒.ฐาน ๓.ซุ้ม ๔.พื้นที่ชายกรอบ - รวมทั้งกรอบกระจก ๕.พื้นผนังคูหา ด้านในเส้นซุ้ม ๖.รูปทรงของกรอบสี่เหลี่ยม ๗.มิติความกว้าง ยาวและหนา (หมายเหตุ -- ๑.รายการที่ ๖ และ ๗ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากแม่พิมพ์ ๒.สมัยนั้นยังไม่มีการใช้คำว่า โครงสร้าง ๓.ผู้ที่พูดถึงเรื่องโครงสร้างสัดส่วนก่อนใครคือ คุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ - เฮียเถ๊า) ------ (๒)การดูแต่ละส่วนของโครงสร้าง เช่นเมื่อดูพุทธลักษณะ จะดูตั้งแต่ปลายพระเกศลงมาถึงใต้ตัก ซึ่งได้แก่ พระเกศ พระศิระและพระพักตร์ พระกรรณ พระศอ (คอ) พระอังสา (ไหล่) ลำพระองค์ พระพาหา (แขน) พระหัตถ์ และพระเพลา (ตัก) --------------- คำบรรยายในหนังสือและตำราเป็นคำอธิบายทั่วไป บางเล่มเช่น'หนังสือพระสมเด็จฯ'มีความละเอียดและเข้าใจได้ แต่ในเวลาปฏิบัติจริง(คือการดูและพิจารณา)ต้องมีความละเอียดกว่าในหนังสือ ซึ่งต้องศึกษาเพิ่มเติมโดยการสังเกต พินิจพิเคราะห์ พิจารณาถึงเหตุและผล แล้วสรุปเป็นข้อมูลความรู้ที่จะใช้ในทางปฏิบัติของตน เป็นลักษณะดูไปด้วยศึกษาไปด้วย เช่น เส้นฐานซุ้มของแม่พิมพ์ไหนเล็ก ของแม่พิมพ์ไหนใหญ่ ความโค้งของเส้นซุ้มแม่พิมพ์ไหนโย้(แป้ว)ซ้าย แม่พิมพ์ไหนโย้ขวา เป็นต้น มีสิ่งที่ต้องศึกษาเฉพาะจุดหรือลักษณะอีกหลายอย่าง ถึงจะสามารถ "แยกความแตกต่าง" ระหว่างแต่ละส่วนของพระแท้ กับของพระฝีมือ(พระปลอมเลียนแบบ)ได้ ---- หมายความว่า ข้อมูลความรู้ในหนังสือและตำราไม่เพียงพอที่จะทำให้ดูพระสมเด็จฯเป็น (รวมทั้งในวีดีโอ) ต้องศึกษาเพิ่มให้มากกว่าและละเอียดกว่าที่ได้อ่าน มากกว่าที่ได้ยินได้ฟัง ไม่ว่าจะได้จากที่ใด(ทั้งสิ้น) ------------------------------------------------------------------------------------------ ถึงจะหาวิธีดูและตรวจสอบสารพัดอย่าง มีเรื่องที่ได้สังเกตและพิจารณาจำนวนมาก แต่ผลยุติที่ต้องตัดสินมีเพียง ๒ อย่างคือ เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมแท้ที่มีพิมพ์ถูกต้อง หรือไม่ใช่

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา