ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20539603

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ วัดมหาธาตุ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระเบญจภาคีชุดที่นิยมที่สุด จากหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย - ลักษณะการตัดกรอบ มักตัดกรอบชิดองค์พระ บางองค์ตัดชิดองค์พระมากเกินไปทางส่วนบน จึงทำให้ตัดเส้นพระกรรณแหว่งไปบ้าง กล่าวคือ การตัดขอบทางข้างทั้ง ๒ ด้าน มักจะเล็งจากยอดพระเกศเป็นเส้นตรงลงมายังปลายพระชานุ (เข่า) ทั้งสอง (ข้อสังเกต - ตรียัมปวายไม่ได้ระบุว่าเป็นการตัดขอบของพิมพ์ใดพิมพ์หนึ่ง จึงหมายความได้ว่าปลายพระกรรณด้านบนของทุกพิมพ์จะถูกตัดถ้าเป็นการตัดขอบชิด เหตุจากพระกรรณของพระนางพญาวัดนางพญายาวและด้านบนโค้งออกข้างแบบหูบายศรี) พระผงสุพรรณ รักหมดอายุการยึดเกาะกัน (หมดยางเหนียว) เปื่อยยุ่ย ร่วนหลุดออกบ้างแล้วโดยเฉพาะบนส่วนที่นูน (รักมีอายุใช้งานประมาณ ๑๐๐ ปีและจะเริ่มเปื่อยหลุดออกไป พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) พิษณุโลก ต้องมีการลอกรักเดิมออกและลงรักปิดทองใหม่ทุกๆ ๑๐๐ ปี ครั้งล่าสุดพ.ศ.๒๕๔๗ ใช้เวลาทำเป็นปี) พระผงสุพรรณแตกกรุในพ.ศ.๒๔๕๖ ถ้ามีใครนำพระที่ได้จากกรุไปลงรัก ผ่านกาลเวลามาถึงพ.ศ.๒๕๖๕ (๑๐๙ปี) สภาพของรักน่าจะประมาณนี้ พระสมเด็จฯแม่พิมพ์นี้พิมพ์ทรงขนาดใหญ่ เนื้อกระยาสารท (รูปพระสมเด็จฯพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ'เบญจภาคี'เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๘๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๐๓) พระรอดองค์นี้สีมอยหรือสีหินลับมีดโกน เริ่มออกไปทางเขียวคล้ำ รูปที่ ๑๑ หน้าปกหนังสือ'รวมสุดยอดพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร' เพื่ออนุรักษ์มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ๗๐๐ ปี โดยดำริ นายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร มิถุนายน ๒๕๓๘ - - - - Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ (จากหนังสือ'พระสมเด็จฯ' ของตรียัมปวาย) ---- เนื้อกระยาสารท ---- ลักษณะอนุภาคของเนื้อมีวรรณะหม่นคล้ำจัดหลากวรรณะ(สี) มีทั้งหยาบและละเอียดเคล้าคละปะปนกัน "ดุจกระยาสารท"ซึ่งกอปรด้วยส่วนผสมหลายชนิดสีต่างๆกัน ฉะนั้น จึงมีชื่อว่า "เนื้อกระยาสารท" เป็นเนื้อที่มีปรากฏสำหรับ วัดระฆังฯเป็นส่วนมาก และของบางขุนพรหมมีน้อย (หมายเหตุ - บางขุนพรหมก็มีเนื้อนี้) ---- ลักษณะเด่นชัด ๑)อนุภาคหรือมวลสารของเนื้อเป็นเม็ดหยาบและละเอียด วรรณะเลือดหมูคล้ำ น้ำตาลไหม้ น้ำตาลอ่อน เทาอ่อน และ ขาวนวล ผสมผสานกันสนิทกลายเป็นวรรณะเดียว คือ สีโกโก้อ่อนๆ เจือขาวขุ่นนวลๆโดยตลอด และมีเม็ดปูนขาววรรณะขาวนวล และละอองผงใบลานเผา กระจายกันแทรกอยู่ในเนื้อนั้น ๒)ความแกร่ง เนื่องจากเป็นประเภทเนื้อผสม (บางองค์หนึกแกร่ง บางองค์หนึกนุ่ม) ฉะนั้น องค์ที่เป็นเนื้อหนึกแกร่งก็จะมีความแกร่งค่อนข้างจัด อาจเห็นเมล็ดแร่ต่างๆและเม็ดทราย และโผล่พ้นผิวเนื้อขึ้นมาแต่ปริมาณไม่หนาตานัก ๓)ความนุ่ม ถ้าเป็นองค์ที่เนื้อค่อนข้างนุ่ม ก็จะมีความนุ่มเสมอเนื้อกระแจะจันทน์ทีเดียว (หมายเหตุ - เนื้อกระแจะจันทน์เป็นเนื้อที่มีความหนึกนุ่มจัดที่สุด) เป็นความนุ่มของมวลสาร(ส่วนผสม)ประเภทอ่อนตัว เช่น อิทธิวัสดุ และมงคลวัสดุต่างๆ ซึ่งมีวรรณะหม่นคล้ำทั้งหลาย จะไม่ปรากฏเมล็ดแร่หรือเมล็ดทราย ซึ่งตรงกันข้ามกับองค์ที่มีเนื้อแกร่งจัดๆ ผิวจะบางประเภทเยื่อหอม และวรรณะหม่นคล้ำจัด เช่น น้ำตาลคล้ำ และช็อคโกเลตแกมนวล เป็นต้น ๔)ความหนึก จำแนกเป็น ๒ ลักษณะ คือ มีทั้งประเภทหนึกนุ่ม และหนึกแกร่ง ถ้าเป็นเนื้อนุ่มจะมีความหนึกนุ่มคล้ายเนื้อกระแจะจันทน์ แต่ถ้าเนื้อแกร่งก็จะมีความแกร่งใกล้เคียงกับเนื้อขนมตุ๊บตั๊บ (หมายเหตุ - เนื้อขนมตุ๊บตั๊บเป็นเนื้อแกร่ง ไม่ใช่เนื้อนุ่ม) ๕)แป้งโรยพิมพ์ จะปรากฏเสมอไม่ว่าจะเป็นเนื้อนุ่มหรือเนื้อแกร่ง (หมายเหตุ - เนื้อขนมตุ๊บตั๊บและเนื้อปูนแกร่งซึ่งเป็นเนื้อที่แกร่งจะไม่มีแป้งโรยพิมพ์) ถ้าเป็นเนื้อนุ่มมักจะมีแป้งโรยพิมพ์ค่อนข้างหนา นอกจากจะลบเลือนเพราะการใช้สำบุกสำบันเพราะโดยปกติจะจับผิวค่อนข้างหนา สำหรับเนื้อแกร่งจะมีแป้งโรยพิมพ์ไม่หนานัก นอกจากตามซอกๆและลบเลือนได้ง่าย ---- วรรณะส่วนรวม สำหรับเนื้อนุ่มจะมีวรรณะน้ำตาลหม่นคล้ำเจือนวล ผสมด้วยขาวขุ่นๆ คือสีช็อคโกเลตอ่อน แต่ถ้าเป็นเนื้อแกร่ง วรรณะจะกระเดียดมาทางน้ำตาลไหม้แห้งๆ คือเนื้อพิกุลแห้ง และมีวรรณะปูนขาวสลับปะปน หรือผิวส่วนหน้าเป็นกระขาวๆเล็กน้อย (ไม่มากเหมือนของปลอม) **ข้อสังเกต - คำว่า'ไม่มากเหมือนของปลอม'แสดงว่าในช่วงเวลาที่พิมพ์หนังสือ'พระสมเด็จฯ' (พ.ศ.๒๔๙๕) มีการทำพระปลอมเนื้อกระยาสารท คนสมัยนั้นรู้จักเนื้อกระยาสารท** -------------- ลักษณะที่จะใช้สังเกตว่าเป็นเนื้อกระยาสารท ๑.มีอนุภาค(หรือมวลสาร)ขนาดเล็กใหญ่ปะปนกัน ๒.มวลสารมีหลายสี ๓.มีแป้งโรยพิมพ์ ๔.เรื่องที่ชี้บอกอย่างสำคัญคือมีสีออกไปทางน้ำตาล ซึ่งมีทั้งน้ำตาลหม่นคล้ำ และน้ำตาลไหม้แห้งๆ ----------- เนื้อกระยาสารทพบเห็นน้อย หลายสิบปีที่ผ่านมาไม่มีใครศึกษาเนื้อนี้อย่างจริงจังและนำรูปภาพลงแสดงในสื่อ จนถึงขนาดว่าพระสมเด็จฯเนื้อกระยาสารทอาจถูก 'ตี' เป็นพระเก๊ด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่ถ้ายึดพิมพ์เป็นหลักจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะถ้าพิมพ์ถูกต้องเนื้อจะถูกต้องด้วยไม่ว่าจะเป็นเนื้อประเภทใด (เนื้อเกสรดอกไม้ กระแจะจันทน์ ปูนนุ่ม กระยาสารท ขนมตุ๊บตั้บและปูนแกร่ง) ถ้ายึดและมั่นใจในเรื่อง"พิมพ์"แล้วจะได้เห็นและรู้จักเนื้อทั้ง ๖ ประเภท และได้พบความจริงที่เร้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อประเภทใดมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ"ปูน" สิ่งที่ต่างกันหลักๆของแต่ละเนื้อคือ ความนุ่ม - แกร่ง / มวลสารจำนวนมาก - น้อย / มวลสารขนาดใหญ่ - เล็ก / มี - ไม่มีแป้งโรยพิมพ์ / มวลสารรวมกันอยู่เป็นหย่อมๆ - แผ่กระจายตลอดส่วนกว้าง / สี ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- ปัญหาใหญ่ที่สุดถ้าคิดว่าการดูพระสมเด็จฯเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องศึกษามากและดูให้ละเอียดคือ"หาพระสมเด็จฯแท้ไม่ได้" ปัญหานี้จะวนเวียนติดตัวอยู่เสมอ ไม่พรากจากไป และถึงจะศึกษาจนมีความรู้ความเข้าใจดูพระได้หรือดูเป็นก็ใช่ว่าสิ้นสุดภารกิจ ยังต้องศึกษาหาวิธีดูให้ง่ายกว่าเดิมและรัดกุมยิ่งขึ้น อาจคืบหน้าไปถึงคำว่า "คอนเซ็ปต์"ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหม (concept) อันแสดงถึงความคิด ความชอบและความตั้งใจให้เป็น(ไม่ใช่บังเอิญ)ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์ คอนเซ็ปต์หนึ่งที่รู้ได้ในวันนี้คือ "ความเป็นระเบียบเรียบร้อย"ของส่วนต่างๆในทุกมิติ(กว้าง ยาวและลึก) ทั้งของแต่ละส่วนเองและเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆ เรื่องนี้จะมีผลอย่างสำคัญเมื่อฝึกดูหรือมีประสบการณ์ในการดูมากแล้ว จะพิจารณาภาพโดยรวมได้ง่ายขึ้นมาก โดยเฉพาะเวลาดูรูปพระสมเด็จฯ

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา