ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20455780

พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ตื้น พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พิมพ์ทรงเจดีย์ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

แสดงภาพทั้งหมด

พระรอด พิมพ์ตื้น เซียนอาวุโสที่ท่าพระจันทร์ท่านหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า ส่วนต่างๆในพระรอดพิมพ์ตื้นไม่ค่อยชัด แต่ที่พระพักตร์จะชัดกว่าส่วนอื่น พระนางพญาถูกทาเคลือบด้วยของเหลวสีดำๆชนิดหนึ่ง (สันนิษฐานว่าเป็นยางไม้) ช่วยรักษาผิวและเนื้อได้ดี พบในพระหลายองค์ ข้อสังเกตลักษณะที่พบเห็นเสมอ - พระนางพญากรุวัดนางพญามี "พระกรรณยาวและด้านบนเอนเฉียงออกข้าง" เหมือนบายศรี ปลายพระกรรณด้านบนมักถูกตัดจากการตัดขอบข้าง (พระกรุวัดนางพญา พระกรรณไม่สั้น) พระสมเด็จบางขุนพรหม ลงรักบางๆและรักหลุดออกเกือบทั้งหมด (รูปพระสมเด็จฯ พิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือ"เบญจภาคี" เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๒๘๓ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๙) Pra rod wat mahawan pim tuen. Pra somdej bangkhunprom wat mai-amatarod pim songjedi (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim oknoonlek. ------- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ----- "วิธีการดูพระสมเด็จฯแบบก้าวหน้า - Advance method" ----- เป็นการดูที่มีเหตุผล หาข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ และสรุปผลได้ชัดเจนที่สุด คือการดู ๑.พิมพ์ ๒.เนื้อ ๓.ธรรมชาติและความเก่า ๔.ศิลปการออกแบบและแกะเพื่อทำแม่พิมพ์(ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย) ๕.หลักการพระที่เหมือนกันเป็นพระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน (หรือพระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อมเหมือนกัน) ----- ข้อสังเกตบางประการในการดูแต่ละอย่างมีดังนี้ :- (๑)พิมพ์ --- ก)พระสมเด็จวัดระฆังฯมี ๕ พิมพ์ทรง พระสมเด็จบางขุนพรหมมี ๙ พิมพ์ทรง(๕ พิมพ์ทรงเหมือนกับของวัดระฆังฯ) แต่ละพิมพ์ทรงแยกเป็นหลายแบบพิมพ์ซึ่งมี "ขนาด" ต่างกัน หมายความว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมไม่ได้มีขนาดเดียว (เรื่องนี้แทบไม่มีใครพูดถึงและเอาใจใส่) ในการดูต้องพิจารณาเรื่องขนาดของพระและขนาดของแต่ละส่วนในพิมพ์ด้วย เช่น ขนาดของพระพักตร์ ฐาน วงแขน เส้นซุ้ม เป็นต้น เรื่อง "ขนาด" มีความสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ละเลยไม่ได้ ข)แม้จะมีหลายพิมพ์ทรงและหลายขนาด เช่น ใหญ่ กลาง เล็ก แต่จะมีศิลปการออกแบบและแกะแม่พิมพ์เหมือนกัน คล้ายกัน (หมายความว่าแต่ละพิมพ์ทรงมีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน เช่น ความโค้งของเส้นซุ้มซ้าย - ขวา ความลึกของซอกแขนซ้าย - ขวา สัดส่วนและระยะห่างของฐาน(ทำนองช่องไฟ) เป็นต้น ลักษณะทางศิลปของแต่ละส่วนในพิมพ์นี้สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตา ดูออก ทำนองลายมือเขียนหนังสือ(ไม่ใช่ลายเซ็น)ของคนๆหนึ่ง การดูศิลปเป็นเรื่องควบคู่ไปกับการดูพิมพ์(โครงสร้าง ลักษณะของแต่ส่วนและขนาด) ----- (๒)เนื้อ --- ก)สสารหรือสิ่งที่มีในพระสมเด็จฯแท้ทุกองค์คือ "ปูน" ไม่รวมมวลสารใดๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เคยมีใครสอน หรือชี้ให้ดูว่ามีมวลสารชนิดใด สีอะไร มีขนาดและรูปร่างอย่างไรที่สามารถใช้เป็นเครื่องตัดสินความเป็นพระสมเด็จฯแท้ได้ ข)ปูนของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมเป็นปูนที่มีน้ำมันตังอิ๊วผสม ซึ่งมีลักษณะเหมือนวัตถุอื่นที่มีน้ำมันผสม ปนหรือแปดเปื้อนน้ำมัน คือไม่แห้งสนิทเหมือนปูนชนิดอื่น เช่น ปูนขาว ปูนปลาสเตอร์ ปูนซีเมนต์ จะมีความนุ่มและความฉ่ำปนอยู่ (แม้บางองค์จะมีน้อยแต่ยังสังเกตเห็นได้) และเป็นความนุ่มและฉ่ำในแบบฉบับของตัวเอง ไม่เหมือนปูนของพระกรุอื่น วัดอื่นและพระปลอมเลียนแบบ ตรียัมปวายใช้คำว่าเนื้อประเภทหนึกนุ่ม เนื้อประเภทหนึกแกร่ง (มีคำว่า หนึก) การศึกษาเรื่องปูนทำได้โดยการดูๆๆๆ สังเกตและจำ "ปูน"คือสิ่งสำคัญที่สุดในการดูเนื้อ ----- (๓)ธรรมชาติและความเก่า --- ก)ทั้งสองอย่างนี้ไม่ได้ใช้เพื่อตัดสินว่าเป็นพระสมเด็จฯแท้ เพราะพระแต่ละองค์ไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน สภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน เช่น ความร้อน ความชื้น ความอับ ฝุ่นละออง เป็นต้น การถูกจับสัมผัส หรือการแขวนต่างกัน เช่น ใส่ตลับอย่างดี แขวนเปิดหน้า-หลัง แขวนเป็นครั้งคราว แขวนทุกวันต่อเนื่องหลายปี เมื่อมีความแตกต่างของสภาวะย่อมไม่สามารถที่จะยึดเอาลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นเครื่องตัดสินว่าเป็นพระแท้ได้ ธรรมชาติและความเก่าเป็นเพียงองค์ประกอบเพื่อสนับสนุนหรือช่วยในการพิจารณาเท่านั้น โดยไม่ขัดกับการพิจารณาอย่างอื่น ข)มีพระหลายองค์ที่เก่าเก็บ ไม่เคยมีการแขวนและแทบไม่มีการจับสัมผัสเลย การที่มีพระสมเด็จฯแท้หลงเหลือปะปนอยู่ในตลาดล่างเพราะดูความเก่าของพระสมเด็จฯเก่าเก็บกันไม่เป็น ไม่เคยเห็นว่าลักษณะจริงๆของพระเก่าเก็บเป็นอย่างไร พระที่ไม่ถูกจับสัมผัสหรือสัมผัสน้อยเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นเคล็ดสำคัญที่เป็นประโยชน์มากที่สุดอย่างหนึ่ง (ช่วยให้หาพระสมเด็จฯแท้ได้ - แม้เพียงหนึ่งองค์ มีประโยชน์มากหรือน้อย ?) สมัยนี้ไม่มีใครพูด-สอนเรื่องพระสมเด็จฯเก่าเก็บ การทาด้วยของเหลว จุ่มในของเหลว หรือถูกเหงื่อทำให้ลักษณะที่แสดงว่าเก่าเก็บหายไป ----- (๔)ศิลปการออกแบบและแกะเพื่อทำแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย (ช่างทองหลวงในราชสำนักรัชกาลที่ ๔) --- ก)พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมเป็นพระเครื่องเพียงชนิดเดียวที่มีประวัติ มีการพูดและเขียนถึงผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์ ถ้าศึกษาจนเข้าใจในลักษณะงานของหลวงวิจารณ์เจียรนัยแล้วเป็นการง่ายที่จะพิจารณาพระ ใช้คัดพระออก หรือใช้เป็นเครื่องตัดสินความเป็นพระแท้ได้ การรู้และเข้าใจในศิลปของหลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็น"เรื่องที่ได้เปรียบ" ข)ศิลปของผู้ที่ชำนาญหรือมีฝีมือในทางศิลปเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน ทำนองลายมือเขียนหนังสือ การเลียนแบบอาจทำได้ใกล้เคียงบางจุดหรือบางอย่างแต่เลียนแบบให้เหมือนทุกอย่างไม่ได้ ค)พระสมเด็จที่ไม่สวยงาม ไม่มีความละเอียดประณีต อัปลักษณ์ไม่ใช่พระที่ทำจากแม่พิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย(ตัวจริง - ไม่ใช่ตัวปลอมแอบอ้าง) ถ้าเป็นคนทำงานหยาบ ไม่พิถีพิถัน ลวกๆ ทำแบบส่งเดชและไม่งามจะเป็นช่างทองหลวงในราชสำนักไม่ได้ พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่าพระสมเด็จที่ไม่สวยงาม ขี้เหร่ไม่น่าแขวน ไม่ใช่พระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมแท้ ง)ช่างทองไม่ใช่ช่างสิบหมู่ ----- (๕)พระสององค์ที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันย่อมเหมือนกัน เป็นเรื่องตายตัว (fixed) --- ก)ตั้งแต่ประมาณยี่สิบปีมาแล้วการพิมพ์มีความก้าวหน้ามากในเรื่องกระดาษ ภาพสีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ การถ่ายรูปสีมีความชัด สีเพี้ยนน้อย ซึ่งเป็นประโยชน์มากที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาพระสมเด็จฯ เรื่องที่ต้องเข้มงวดกวดขันคือจะต้องเป็นรูปภาพพระสมเด็จฯแท้เท่านั้น คนร้อยคนอาจมีความคิดเห็นต่างๆไม่เหมือนกันและความคิดเห็นอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลาและประสบการณ์ของแต่ละคน แต่รูปภาพพระแท้ "สำแดง" อย่างเดิม อย่างเดียวกันทุกวันเวลาและสถานที่ ตลอดไป ข)การพิจารณาว่าพระสมเด็จสององค์เป็นพระที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือไม่นั้นมีรายละเอียดในการปฏิบัติ(คือตรวจ)มากและต้องทำด้วยความละเอียด ถึงจะเป็นพระที่ทำด้วยมือ (handmade) ก็สามารถพิจารณาได้อย่างถูกต้องชัดเจน ศึกษาก่อนดูพระได้ก่อน เหมือนกับการทำอย่างอื่นคือเริ่มก้าวที่หนึ่ง ----------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อมาถึงปัจจุบันที่มีการหาข้อมูลความรู้ได้มากขึ้น การดูสามอย่างคือพิมพ์ เนื้อและธรรมชาติความเก่าเพื่อพิจารณาพระสมเด็จฯนั้นยังไม่ครบ มีอย่างอื่นที่จำเป็นต้องดูอีก เพื่อความกระจ่างชัดอย่างที่สุด แขวนได้อย่างมั่นใจและภาคภูมิที่สุด แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าดู ๕ อย่างดีกว่าดู ๓ อย่าง

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา