ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20321787

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เทวดา พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

อาจารย์เชียร ธีระศานต์เขียนไว้ในหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ พ.ศ.๒๕๑๖ ว่า "การอ่านกลุ่มโพธิ์โดยละเอียด ช่วยการดูพระรอดถึง ๕๐ %" (หมายเหตุ - อาจารย์เชียร มักใช้คำว่า 'อ่าน' หมายถึงการดูและทำความเข้าใจ) พระสมเด็จฯ แม่พิมพ์นี้เส้นซุ้มเล็กขนาดใกล้เคียงกับพระพาหา (แขน) มีการลงรักและรักหลุดออกเอง (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๑๐๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๑๑๕) Pra nangphya wat nangphya pim devada. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra rod wat mahawan pim yai. ---- Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ ---- พิมพ์ทรง แบบพิมพ์และแม่พิมพ์ ---- คำทั้งสามคำนี้อาจมีความเข้าใจไม่ตรง หรือใช้สลับ อาศัยหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย ซึ่งมีข้อเขียนเรื่องของพิมพ์ถึง ๑๕๗ หน้า เพื่อให้เข้าใจดังนี้ (๑)พิมพ์ทรง -- พระสมเด็จวัดระฆังฯ มี ๕ พิมพ์ทรงได้แก่ พิมพ์ทรงพระประธาน พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงเกศบัวตูมและพิมพ์ทรงปรกโพธิ์ (สมัยนี้มักจะตัดคำว่า 'ทรง' ออก เช่นพิมพ์ทรงฐานแซม จะเรียกสั้นๆว่าพิมพ์ฐานแซม) พระสมเด็จบางขุนพรหมมี ๙ พิมพ์ทรง เหมือนกับของวัดระฆังฯ ๕ พิมพ์ทรงและมีเพิ่มอีก ๔ พิมพ์ทรงได้แก่ พิมพ์ทรงเส้นด้าย พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงฐานคู่และพิมพ์ทรงเศียรบาตรอกครุฑ ชื่อและรูปทรงของพิมพ์ทรงทั้งหมดนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป (๒)แบบพิมพ์ -- เป็นกลุ่มหรือแบบของแม่พิมพ์ในแต่ละพิมพ์ทรงที่มีลักษณะบางอย่างเด่น สังเกตได้ง่ายคล้ายกัน เช่น พิมพ์ทรงพระประธาน (หรือพิมพ์ใหญ่) มี ๘ แบบพิมพ์ได้แก่ ๑.แบบพิมพ์เขื่อง ๒.แบบพิมพ์โปร่ง ๓.แบบพิมพ์ชะลูด ๔.แบบพิมพ์ป้อม ๕.แบบพิมพ์สันทัด ๖.แบบพิมพ์ย่อม ๗.แบบพิมพ์เลือน ๘.แบบพิมพ์เขื่องเส้นด้าย(แบบพิมพ์นี้มีปรากฏเฉพาะของบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่) การแยกเป็นกลุ่มหรือแบบนี้แต่ละตำราอาจไม่เหมือนกัน สิ่งที่ใช้แบ่งได้แก่ โครงสร้าง ขนาด อก รูปวงแขน ฐาน ฯ แล้วแต่ชนิดของพิมพ์ทรงและความคิดเห็น(แนวทาง)ของผู้เขียนหนังสือและตำราแต่ละคน (๓)แม่พิมพ์ -- ในแต่ละแบบพิมพ์มีหลายแม่พิมพ์ซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างในพิมพ์ต่างกัน เช่น แบบพิมพ์เขื่องของพิมพ์ทรงพระประธาน ก.บางแม่พิมพ์มีลำพระองค์ (ลำตัว) เป็นแบบผาย บางแม่พิมพ์เป็นแบบตัววี ข.พระพักตร์ของบางแม่พิมพ์เป็นแบบป้อม บางแม่พิมพ์เป็นแบบผลมะตูม ค.ฐานของบางแม่พิมพ์เป็นแบบธรรมดา บางแม่พิมพ์มีเส้นแซม เป็นต้น ---- แต่ละแม่พิมพ์ไม่มีชื่อเฉพาะ รู้จักกันแต่ฉายา เช่น แม่พิมพ์ขององค์ลุงพุฒ องค์ขุนศรี องค์เสี่ยหน่ำ องค์ครูเอื้อ องค์เพชรบุรี องค์น้ำหมาก องค์เสี่ยดม องค์หลังใบโพธิ์ องค์เกศสะบัด ฯลฯ ซึ่งถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้วจะรู้ว่าเป็นคนละแม่พิมพ์ หลายองค์ไม่มีฉายาแต่ในหนังสือและนิตยสารมีรูปภาพให้เห็นบ่อยและคุ้นตา ในหนังสือเบญจภาคีมีรูปภาพพระแท้มากที่สุด (ราคาหนังสือไม่กี่ร้อยบาท) --------- ช้อสังเกตและพิจารณา ๑)พิมพ์ทรง แบบพิมพ์ (กลุ่มหรือแบบ) และแม่พิมพ์เป็นคนละอย่าง คนละความหมาย เพื่อให้นึกเห็นภาพการแบ่ง - การบริหารประเทศมีหลายกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหลายกรม แต่ละกรมมีหลายกอง เป็นการแบ่งโดยหน้าที่ภารกิจ แต่พระสมเด็จฯเช่นพิมพ์ทรงพระประธานแบ่งโดยรูปทรง โครงสร้างและขนาด การแบ่งมีเพียง ๒ อย่างคือ แบ่งเป็นพิมพ์ทรง และแบ่งเป็นแบบพิมพ์ การแบ่งทำให้เข้าใจ สังเกตและจำได้ง่าย ๒)พิมพ์ทรง แบบพิมพ์และแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมมีมาก (เฉพาะแม่พิมพ์มีประมาณ ๒๐๐) รองลงไปคือพระนางพญา พระรอด เมื่อมีเป็นจำนวนมากและมีรายละเอียดในพิมพ์มากด้วยต้องใช้เวลาศึกษานาน อาศัยการสังเกตและใช้ความจำมาก รูปภาพช่วยได้อย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องจำ ถ้าจำไม่ได้ก็ดูภาพ หรือแม้แต่หลง ๆลืม ๆก็ต้องดู รูปทรง สัดส่วน ขนาดของแต่ละส่วนก็ต้องดูรูปภาพ ๓)สิ่งที่มีรายละเอียดมากที่สุดคือแม่พิมพ์ หรือ "พิมพ์" แต่ละแม่พิมพ์ถ้าดูเผิน ๆหรือไม่มีความชำนาญอาจดูไม่ออก แยกความแตกต่างระหว่างแต่ละแม่พิมพ์ไม่ได้ ถ้าฝึกมากๆแล้วจะสังเกตได้ว่าแต่ละแม่พิมพ์มี "รายละเอียดบางอย่าง" ต่างกัน หลักการและวิธีการเพื่อใช้แยกแม่พิมพ์คือการดูรูปทรง สัดส่วน ศิลป ขนาดและจุดสังเกตต่าง ๆ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- พระสององค์ที่สร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกันคือ "กฏตายตัว" ลักษณะอันเกิดจากสิ่งบังคับร่วมกัน รูปที่ไม่เป็นอย่างอื่น ทรงอิทธิพลที่สุด ลบล้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ทุกอย่าง สลายจินตนาการทั้งมวล

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา