ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20247199

พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พิมพ์ทรงเจดีย์ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

แสดงภาพทั้งหมด

พระสมเด็จ ด้านหลังมีรอยกาบหมาก มีคราบกรุสีน้ำตาล(ไม่มาก) ด้านหน้ามีเม็ดทรายอยู่ในซอกและร่องแสดงว่าเคยมีดินทรายอยู่ข้างบน รูปพระพิมพ์ทรงเจดีย์แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๒๗๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๕๕ Pra kamphaeng sumkor pim glang. Pra somdej bangkhunprom wat mai-amatarod pim songjedi (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim oknoonlek. ------ เรียงความพิเศษสำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ - - - สองแนวทางที่ต่างกัน (คนละทิศ) - - - โดยทั่วไปในการดูและพิจารณาพระสมเด็จฯมีการใช้แนวทาง ๒ อย่างได้แก่ ๑.พิจารณาจากสิ่งที่มนุษย์ทำ ๒.พิจารณาจากสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ ----- การดูและพิจารณาจากสิ่งหรือลักษณะที่เกิดจากการทำของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ผู้ออกแบบและทำแม่พิมพ์ ผู้คิดส่วนผสมปูน ผู้กดพิมพ์ ถอดพิมพ์และตัดขอบ (ในเรื่องการตัดขอบนี้ ปูนส่วนที่ถูกตัดออก (ส่วนที่เป็นปีก) คงไม่ถูกทิ้ง และหาวิธีนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะมีอิทธิวัสดุและมงคลวัสดุต่าง ๆ เช่น ผงวิเศษ ๕ ประการ ว่าน ดอกไม้และเกสรแห้ง ผงตะไบเงินและทอง ฯ เหมือนกับเนื้อขององค์พระทุกประการ ซึ่งอาจตากให้แห้งแล้วตำ และนำมาผสมในการสร้างคราวต่อ ๆไป ปูนบางชิ้นอาจแห้งช้าและแห้งไม่สนิท และมีความเหนียวอยู่เพราะมีน้ำมันตังอิ๊วผสม ทำให้ตำได้ไม่ละเอียด มีเป็นก้อนปะปน เมื่อนำมาผสมในการสร้างจะเห็นมีก้อนขาว ๆ ถ้าไม่ตัดปีกออกจะเป็นการสิ้นเปลืองอิทธิวัสดุและมงคลวัสดุโดยไม่จำเป็น) สิ่งหรือลักษณะที่เกิดจากการทำของมนุษย์นี้จะเหมือนกันในพระทุกองค์คือ ก)ถ้าสร้างจากแม่พิมพ์เดียวกันจะเหมือนหรือคล้ายกันที่สุด ความแตกต่างอาจมีบ้างซึ่งเกิดจากการที่ปูนแห้งหดตัว บิดตัวต่างกัน การกดพิมพ์ติดไม่สมบูรณ์ต่างกันไปในพระแต่ละองค์ แต่ไม่ว่าจะเกิดความแตกต่างจากเหตุใดก็ตามสามารถที่จะดูออกว่าสร้างจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน เมื่อแห้งแล้วขนาดต่างกันไม่มากโดยทั่วไปไม่เกิน ๑/๔ มิลลิเมตร (๐.๒๕ มิล) ไม่ถึงครึ่งมิล การพิจารณาว่าเป็นพระที่สร้างจากแม่พิมพ์เดียวกันนั้นจำเป็นต้องฝึกดู และต้องมีความละเอียด เป็น"หัวใจในเรื่องการดูพิมพ์พระสมเด็จฯ" ข)ปูนที่แห้งแล้วร้อยกว่าปี (เฉพาะปูนไม่รวมมวสสาร) -- ปูนของพระสมเด็จวัดระฆังฯ และบางขุนพรหมแท้ไม่เหมือนปูนของวัดอื่น กรุอื่นและผู้สร้างอื่น รวมทั้งพระปลอมทุกฝีมือ เรื่องนี้จำเป็นต้องฝึกดูเช่นกันทั้งดูพระองค์จริง รูปภาพสีที่ถ่ายชัดเจนมีขนาดใหญ่พอควร (เต็มหน้าหนังสือ) การฝึกดูคือ ดูๆๆๆๆๆๆๆ จนจำได้ สังเกตถึงความแตกต่างกับพระสมเด็จของผู้ทำอื่น ๆถึงความละเอียดของผงปูน ความแห้ง ความหนึกนุ่มไม่กระด้าง ปูนส่วนที่ผิวหลุดออก ปูนส่วนที่ผิวยังคงสภาพอยู่ และต้องใช้กล้องที่มีกำลังขยายมากพอเหมาะ ถ้าขยายมากเกินไปจะสังเกตอะไรไม่ได้ พิมพ์และปูนมีความสอดคล้องกันคือ ถ้าพิมพ์ถูกต้อง ปูน(เนื้อ)จะถูกต้องด้วย ค)ยังมีลักษณะย่อยที่เกิดจากการทำของคน ซึ่งผู้ศึกษาอาจสังเกต อ่านหนังสือตำรา และพัฒนาเป็นวิธีดูพระของตนเอง เพื่อให้การพิจารณาสมบูรณ์แน่นอนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การตัดขอบของพิมพ์ทรงเจดีย์สอบขึ้นบน (ความกว้างของด้านบนน้อยกว่าด้านล่าง) การตัดขอบของพิมพ์ทรงฐานแซมตรงกันข้ามกับพิมพ์ทรงเจดีย์ (ความกว้างของด้านบนมากกว่าด้านล่าง) ---- การดูและพิจารณาสิ่งหรือลักษณะที่เกิดโดยธรรมชาติ มีเหุตปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดลักษณะต่าง ๆบนองค์พระ เช่น ความชื้น คามร้อน ความอบอ้าว(ในกรุ) น้ำ เหงื่อ การจมอยู่ในน้ำและดินทรายในกรุบางขุนพรหม ปฏิกิริยากับอ็อกซิเจนในอากาศ (oxidation) พระเก่าเก็บ ฯ พระแต่ละองค์อาจพบเหตุปัจจัยมากน้อยต่างกันไป ซึ่งทำให้เกิดลักษณะต่าง ๆบนองค์พระต่างกัน สิ่งหรือลักษณะที่เกิดโดยธรรมชาตินี้เป็นสิ่งซึ่งเกิดโดยไม่มีแบบแผน (random) เป็นสิ่งซึ่งเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ (haphazard) เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ จึงไม่สามารถที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณา --- สิ่งที่เกิดจากการทำของคน (โดยเจตนาหรือตั้งใจ) สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางหรือวิธีในการดูและพิจารณาได้ --- สิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติส่วนใหญ่ที่สุดแล้วไม่สามารถที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ได้ มีเพียง ๕ ลักษณะที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์ แนวทางในการพิจารณา (จากหนังสือพระสมเด็จฯ) ๑.ลักษณะของคราบกรุบางขุนพรหม ซึ่งมีวรรณะ(สี)ต่าง ๆในสกุลน้ำตาลหม่น ๒.รูปของรอยแตกลายงาที่เกิดจากการลงรักเก่า ๓.รูปของรอยแตกลายสังกะโลก ๔.รอยหนอนด้น ๕.รอยปูไต่ (ถ้าต้องการศึกษาและหาพระสมเด็จบางขุนพรหม ควรต้องอ่านลักษณะของคราบกรุบางขุนพรหมในหนังสือพระสมเด็จฯ เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดในเรื่องของพระเครื่องบทหนึ่ง) ----- สิ่งที่แน่นอน ชัดเจนที่สุดในการพิจารณาพระสมเด็จ ฯคือการดูพิมพ์ เห็นได้ชัดทั้งการส่องกล้องและการดูด้วยตาเปล่า ซึ่งมีแม่พิมพ์เป็น"ตัวบังคับ"ให้พระมีรูปร่างตามนั้น ในพิมพ์ทรงพระประธาน (พิมพ์ใหญ่) มีจุดสังเกตหลายสิบจุด ลำดับถัดไปคือปูน ส่วนประกอบและสูตร(ปริมาณของแต่ละชนิด)ที่ใช้ผสมเป็น"ตัวบังคับ" หรือ"ล๊อค"ให้ปูนของพระสมเด็จ ฯที่แห้งแล้วร้อยกว่าปีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนปูนของพระวัดใด กรุใด ของผู้สร้างใด วัดระฆัง ฯไม่ได้มีการจดบันทึกส่วนผสมของปูน ไม่มีใครทราบส่วนผสมปูนที่ใช้สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง ฯและบางขุนพรหมในครั้งกระโน้น --------------------------------------------------------------------------- มีผู้เขียนในนิตยสารพระเครื่องฉบับหนึ่งว่า ผู้ทำพระสมเด็จปลอมบางคนแต่งพระให้ดูเก่ามากเกินไป พระสมเด็จ ฯแท้มีอายุร้อยกว่าปี แต่ทำให้ดูเก่าพอ ๆ กับพระรอด พระซุ้มกอ หรือพระนางพญา อาจจะเข้าใจว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นคนยุคสุโขทัย

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา