ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20202348

พระผงสุพรรณ วัดมหาธาตุ พิมพ์หน้าแก่ พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง

แสดงภาพทั้งหมด

พระผงสุพรรณ เห็นผงตะไบทองคำหนึ่งจุด (ประกายของแสงสะท้อน) พระสมเด็จฯ บริเวณซอกพระพาหา (ซอกแขน) พื้นในร่องระหว่างฐานมีความแข็งแกร่ง ผุเปื่อยน้อย บริเวณลำพระองค์ที่ผุเปื่อยจะเห็นเนื้อปูนที่เดิมอยู่ใต้ผิว(ที่เห็นขาวๆ) เมื่อผิวหลุดออกเนื้อปูนที่เดิมอยู่ใต้ผิวมีลักษณะอย่างนี้ (รูปพระพิมพ์ใหญ่แม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๖๕ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๗๙) จากหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย - ดินของพระนางพญา(ไม่รวมเมล็ดแร่)มีความละเอียด คือ "อนุภาคของดินมีความละเอียด" --- แสงสว่าง (คือไม่มืด) - เมล็ดแร่ขนาดปลายเข็มหมุดมีปรากฏในพระนางพญาวัดนางพญา Pra pongsuphan wat mahathart pim narkae. Pra somdej wat rakang pim yai (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. ------ Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ -- (จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย) -- มูลกรณีของผิว (ปัจจัยที่ทำให้เกิดผิวประเภทต่างๆของพระสมเด็จฯ) "การปรากฏของผิว"เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของเนื้อ อันจัดว่าเป็นวัสดุปูนปั้นที่มีต่อภาวะปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ปรับปรุงให้เกิดขึ้น และทั้งส่งเสริมให้มีลักษณะแผกเพี้ยนกันไปตามกรณี ซึ่งเมื่อสรุปแล้วมูลกรณีเหล่านี้มีอยู่ ๕ ประการ ด้วยกัน ดังนี้ ๑.ปฏิกืริยาผิวพื้น (Surface tension) ๒.ปูนขาว ๓.ระดับความเหลวตัว ๔.แป้งโรยพิมพ์ ๕.ความชื้น ---- ปูนขาว คือ "ปัจจัยหลัก"ที่เป็นตัวการให้เกิดผิว กล่าวคือ "เนื้อปูนขาว"อันเป็นทรรพสัมภาระเนื้อหาส่วนใหญ่ เมื่อได้รับการคลุกเคล้ากับน้ำเป็นคุลีการแล้ว ธาตุหินปูนหรือแคลเซี่ยมก็จะละลายเข้ากับน้ำ และทั้งสมานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้สนิท ต่างกับวัสดุมวลสารอื่นๆ เช่นประเภทอิทธิวัสดุวรรณะหม่นๆ นานาชนิดเป็นต้น สารปูนละลายเหลวนี้จะอยู่บริเวณส่วนหน้าของมวลสารอื่นๆ ทำนองเดียวกับการที่เราเอาซีเมนต์ผสมทรายและน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากันดี ทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง จะเห็นได้ว่าบริเวณส่วนบนจะเป็นลักษณะของแคลเซี่ยมละลายน้ำอย่างละเอียด หรือใช้นิ้วแตะๆ ดูก็จะประจักษ์ชัดยิ่งขึ้น และเมื่อทิ้งให้แข็งตัวแคลเซี่ยมละเอียดส่วนหน้านี้ก็จะกลายเป็นผิวนั่นเอง ลักษณะของปูนขาวละลายเหลวที่อยู่บนมวลสารอื่นๆ ของเนื้อพระก็เช่นเดียวกัน เมื่อแห้งสนิทก็เลยปกคลุมเนื้ออยู่ข้างนอก ซึ่งเรียกว่า "ผิวของเนื้อพระ" ซึ่งโดยเนื้อแท้ก็คือ "สารแคลเซี่ยม" หรือ"ปูนขาว"ที่อยู่ในรูปเกือบบริสุทธิ์นั่นเอง "โดยอิทธิพลของปูนขาว"นี้เอง ถ้าหากเนื้อมีส่วนผสมของปูนขาวมากเพียงใด ผิวพระก็จะหนามากขึ้น และ ความแกร่งก็จะสูงขึ้นเพียงนั้น ------- (ข้อสังเกตเพิ่มเติม ๑.สารแคลเซี่ยมที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผิวของพระ ถ้าหนาจะเห็นว่ามีลักษณะในทำนองเป็นคนละส่วนกับเนื้อแต่ติดกันแน่น ละเอียดคล้ายๆแป้ง -- ในหนังสือพระสมเด็จฯ เขียนว่า ผิวบางประเภทเกือบจะไม่มีลักษณะของผิวปูน(สารแคลเซี่ยม)เคลือบอยู่ข้างหน้าเลยแม้แต่น้อย หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ผิวและเนื้อเกือบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผิวประเภทนี้เรียกว่า "ผิวเยื่อหอม" เป็นผิวที่ปรากฏเฉพาะเนื้อของวัดระฆังฯ ที่มีความนุ่มจัดๆ เช่น เนื้อเกสรดอกไม้ และเนื้อกระแจะจันทน์ -- (หมายเหตุ - ผิวเยื่อหอมมีลักษณะคล้ายผิวของหัวหอมที่ปอกแล้ว คือผิวและเนื้อเกือบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) ๒.เนื้อนุ่มจะผุ เปื่อยมากกว่าเนื้อแกร่ง ๓.ถ้าการคลุกเคล้าของส่วนผสม(โดยเฉพาะปูนขาวกับน้ำและน้ำมันตังอิ๊ว)ไม่ทั่วถึงหรือไม่สม่ำเสมอกัน ความแข็งของเนื้อจะไม่เท่ากันเกิดการผุเปื่อยเป็นหย่อมๆ บางส่วนแข็งแรงน้อยผุเปื่อยมาก บางส่วนผุเปื่อยน้อย และบางส่วนเกิดเพียงการกร่อน เป็นลักษณะที่แสดงถึงความเก่าอย่างหนึ่งของพระโบราณที่ทำด้วยมือ (hand made) -------------------------- สิบปีที่ผ่านมาพบพระนางพญาน้อยมาก กลายเป็นว่าพระนางพญาเป็นพระที่หายากกว่าพระสมเด็จฯ (พิมพ์เข่าโค้งพบเพียงองค์เดียว) นับแต่นี้ต่อไปในอนาคตถ้าพบพระนางพญา จะรู้สึกว่าเป็นโอกาสและโชคดีพิเศษสุด หนึ่งในพระไตรภาคี(สุดยอดในพุทธคุณและความมั่นใจสามองค์) พระสมเด็จฯ พระรอดและพระนางพญา

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา