ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ20020162

พระรอด วัดมหาวัน พิมพ์ตื้น พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

แสดงภาพทั้งหมด

จากหนังสือพระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ ของอาจารย์เชียร ธีระศานต์ พ.ศ.๒๕๑๖ - เกศพระรอดทุกพิมพ์เห็นเป็นเส้นสั้น ๆ ทางด้านท้ายทอย แต่พระพิมพ์ตื้นรูปร่างผิดกว่าพิมพ์อื่น ลักษณะคล้ายบัวตูม น่าจะเรียกว่าพิมพ์เกศบัวตูมแต่ได้เรียกกันว่าพิมพ์ตื้นเสียแล้ว จึงเลยตามเลย จะสังเกตได้ว่าเกศพระพิมพ์ตื้นใหญ่กว่าทุกพิมพ์ พระนางพญาองค์นี้หนามาก ดินแห้งผากและคล้ายอิฐเก่าโบราณ ถูกสัมผัสน้อยมาก ไม่อมหงื่อและความชื้นใด พระสมเด็จฯองค์นี้ลงรักและรักหลุดออกเองตามธรรมชาติ แม่พิมพ์นี้โคนพระเกศเหนือพระเศียรเป็นตุ้มเขื่อง (รูปพระพิมพ์เกศบัวตูมแม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๒๒๗ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๒๔๑) Pra rod wat mahawan pim tuen. Pra somdej wat rakang pim gesbuatoom (prasomdet). Pra nangphya wat nangphya pim oknoonlek.- - - - Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ -- จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย - พระกรรณของพิมพ์เกศบัวตูม มีลักษณะผสมกันระหว่างของพิมพ์ทรงเจดีย์ กับพิมพ์ฐานแซม คือ ลีลาของเส้นพระกรรณอ่อนไหว เช่นเดียวกับของพิมพ์ทรงเจดีย์ แต่มีความคมบางเป็นเส้นทิวนูนละเอียด เช่นเดียวกับของพิมพ์ทรงฐานแซม จัดว่าเป็น"แบบพระกรรณที่งดงามที่สุด" ถ้าพิจารณาให้เข้ากับมุมแสงสว่างที่พอเหมาะจะเห็นทิวคมแสดงสัณฐานส่วนหนาของพระกรรณ ตอนที่กางออกทางข้าง ได้ชัด (๑)เบื้องซ้าย - ใบพระกรรณเรียวคมและบางมาก ปลายบนเริ่มจากบริเวณแนวกลางขอบพระพักตร์ ปลายสุดคมและสั้นแบบหูบายศรีย่อ ส่วนกลางและปลายล่างคมบางแต่มีส่วนฐานราง ๆ กางห่างจากขอบพระพักตร์ ปลายห้อยระย้าประพระอังสา (บ่า) ซ้าย และ (๒)เบื้องขวา - ฐานของใบพระกรรณหนากว่าเบื้องซ้าย แต่รางเลือนมาก ปลายบนเรียวแหลมลักษณะหูบายศรี "สูงกว่าเบื้องซ้าย" ส่วนกลางวาดเกาะแนวกรอบพระปรางอ่อนช้อยลงมา ส่วนปลายล่างงอนออกทางข้าง และประพระอังสาขวาอย่างอ่อนไหว "ความคมชัดน้อยกว่าเบื้องซ้าย" (ข้อสังเกตเพิ่มเติม - การกดพิมพ์พระด้วยมือจะไม่ได้พระที่ติดพิมพ์ชัดทุกองค์ การแห้งหดตัวของปูน การผุ กร่อนและเปื่อย เนื้อปูนบางส่วนหลุดติดกับรักออกไปบ้าง เรื่องเหล่านี้ทำให้รูปลักษณะของแต่ละส่วนผิดไปจากแม่พิมพ์ได้บ้าง แต่ยังสามารถดูออกว่าทำจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน - จุดสังเกตที่เห็นได้เสมอในรูปลักษณะพระกรรณของพิมพ์เกศบัวตูมคือ ปลายพระกรรณบนด้านขวาขององค์พระสูงกว่าด้านซ้าย) ----------- ความนิ่งและความแจ่มชัด - พระถูกจับให้เคลื่อนไปมา เห็นพระวับๆ แวมๆ และไม่เต็มองค์ เอียงไปทุกทิศทาง ภาพไม่นิ่ง ถ่ายด้วยกล้องที่มีเลนส์คุณภาพต่ำซึ่งจะได้ภาพที่มีความชัดลึกน้อย (เลนส์ในมือถือมีคุณภาพไม่ดีเท่าเลนส์ของกล้องถ่ายรูปโดยตรงซึ่งเป็นกล้องที่ใช้ถ่ายภาพนิ่ง ไม่ใช่ภาพเคลื่อนไหว) ความชำนาญในการถ่ายภาพมีน้อยโดยเฉพาะเรื่องแสงและเงา จับกล้องด้วยมือซึ่งจะเกิดการสั่น ไม่นิ่งและภาพที่ได้ไม่ชัด สีเพี้ยน แต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพิ่มแสงสีต่าง ๆ รูปพระที่อยู่ในกรอบ รูปเล็กมาก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเหตุให้ดูภาพพระไม่ถนัดตา สังเกตลักษณะต่าง ๆ ที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ได้ไม่ถูกต้องทั้งขนาดกว้าง ยาว ลึกของแต่ละส่วน สัดส่วนต่างๆ และสี เมื่อดูแล้วหาความแน่ชัดและเป็นลักษณะจริงๆไม่ได้ จะไม่มีความก้าวหน้าในการศึกษา ไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่องของพระสมเด็จฯ อยู่อย่างเดิม ----------- มีผู้เขียนในนิตยสารพระเครื่องฉบับหนึ่งว่า โกหกหลอกลวงคนหนึ่งคนโดยเจตนาก็เป็นบาปแล้ว ถ้าโกหกหลอกลวงคนเป็นหมื่น แสนหรือล้านคนในเรื่องเดียวกันทางสื่อ จะเป็นบาปขนาดไหน หรือว่าบาปเท่ากัน ?

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา