ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19737345

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พิมพ์เศียรบาตรอกครุฑ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

แสดงภาพทั้งหมด

จากหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย พิมพ์อกนูนเล็ก ๑.พระอุระ (อก) แฟบแบนราบ ๒.เส้นจีวรเป็นเส้นเล็กปลายล้ำเข้าไปในซอกแขน ๒.เส้นสังฆาฏิโตไล่เลี่ยกับเส้นจีวร หรืออาจโตกว่าเล็กน้อย ยาวพาดส่วนลำพระองค์ด้านซ้ายองค์พระ ๔.ส่วนที่เป็นพระเพลา หรือตักนั้นลำพระบาทบนล่างโตไล่เลี่ยกัน พระซุ้มกอกรุนี้ดินนุ่มจึงผุกร่อนมาก เส้นซุ้มด้านขวาใหญ่กว่าด้านซ้าย พระสมเด็จ เห็นกรอบกระจกทั้งสี่ด้าน แต่เห็นไม่เต็มแนวเส้น เพราะตัดขอบเฉียงเล็กน้อยตัดแนวเส้นกรอบบางส่วน ผิวผุเปื่อยหลุดออกมาก ผิวที่เหลืออยู่เห็นเป็นสีขาว ๆ ค่อนข้างเรียบ เช่น บนพระอุระ ฐานบนด้านซ้าย ด้านหลังตอนบน (รูปพระพิมพ์เศียรบาตรอกครุฑแม่พิมพ์เดียวกันอยู่ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๔๕๑ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๒๒๗) Pra kamphaeng sumkor pim glang. Pra somdej wat mai-amataros pim sianbaht-okkrut. Pra nangphya wat nangphya pimoknoonlek.- - - Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ (จากหนังสือพระสมเด็จฯของตรียัมปวาย) ลักษณะบางอย่างของพิมพ์เศียรบาตรอกครุฑ ที่จะสังเกตเห็นก่อนได้ไม่ยาก ๑.พระศิระและวงพระพักตร์ มีปรากฏเพียงลักษณะเดียวคือ "แบบป้อม" แต่ส่วนพระศิระค่อนข้างป้าน วงพระพักตร์สั้นส่วนโคนนูนจัด และป้อมเขื่อง จึงเรียกว่า "เศียรบาตร" วงพระพักตร์ลักษณะสี่เหลี่ยมลบมุมและป้อมกลม พื้นผิวพระพักตร์ค่อนข้างโค้งนูน ๒.ลำพระองค์ ส่วนมากเป็นแบบกลืนหาย ผสมกับลักษณะทรงกระบอก แนวพระอุระผายกว้างและโค้งนูนมาก จึงเรียกว่า "อกครุฑ" กายวิภาคทางขอบด้านข้างของลำพระองค์มีน้อย จึงมีลักษณะซื่อ ๆ เป็นทรงกระบอกหรือตัววีป้าน ๆ คือ พระอุทรเป็นลำปล้องลงไปเฉย ๆ ไม่ผายออกทางข้างเลย ๓.พระสังฆาฏิเป็นเส้นเดี่ยวแต่หนาและยาวมาก ปลายบนพาดอยู่บนพระอังสา (ไหล่) ซ้าย จดพระกรรณซ้ายพอดี ๔.พระพาหา ลำพระพาหาเขื่องตอนส่วนพระพาหุ (แขนท่อนบน) และค่อย ๆ เรียวมาเป็นพระกร หว่างพระพาหาค่อนข้างลึก เบื้องซ้ายเป็นมุมแหลม ส่วนเบื้องขวาวาดมุมป้านและสอบเรียวลงเบื้องล่าง ๕.พระหัตถ์เรียวคมยิ่งกว่าพระกร ไม่แสดงส่วนหนาหรือลักษณะซ้อนพระหัตถ์เลย ๖.เส้นซุ้มคมเรียวมาก -- ข้อสังเกตเพิ่มเติม - ขนาดประมาณลวดคลิปเหน็บกระดาษ ๗.ลักษณะที่ยังไม่เคยมีใครให้การสังเกตมาก่อน - ใต้พระกรซ้ายใกล้กับพระกัปประ (ศอก) มีเนื้อนูนลงมา คล้ายเส้นชายจีวรของพิมพ์ใหญ่ -------- บทความพิเศษ - ศึกษาและแสวงหาจนถึงที่สุดแล้ว จะได้พบและเข้าใจเรื่องที่มีประโยชน์มากสองเรื่อง ๑.ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความเห็น ทฤษฎี สมมติฐาน หลักการ วิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์อย่างใดก็ตาม สิ่งที่จะใช้พิสูจน์ให้เห็นเป็นหลักฐานว่า อย่างไหนสามารถนำมาใช้ในการดูพระสมเด็จฯแท้ได้คือ "องค์พระหรือรูปภาพ" ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการนำมาใช้ในเวลาหาและพิจารณาพระสมเด็จฯ อะไรก็ตามที่นำมาใช้แล้วได้พระแท้คือความรู้จริง ข้อมูลจริง ๒.แม้จะมีความรู้และข้อมูลจริงก็ยังไม่พอ ต้องมีความละเอียด แม่นยำครอบคลุมทุกส่วนในการดู เช่น พระปลอมมีตำหนิหรือจุดสังเกตคล้าย ๆของพระแท้ ต้องหาว่าต่างกันอย่างไร เหลี่ยมและมุมต่าง ๆในพระแท้กับพระปลอมต่างกัน ความลาดเอียงและความชันก็ต่างกัน เป็นต้น --- ต้องมีทั้งภาคทฤษฎีความรู้ที่ถูกต้อง และภาคปฏิบัติที่แม่นยำถูกต้อง --- การเคร่งในเรื่องความแม่นยำแสดงว่ามาถึงระดับ"ดูเป็น" (เคร่ง be strict - เคร่งครัด เข้มงวด กวดขัน เอาจริง) หลักการในเรื่องความแม่นยำถูกต้องคือ การมีข้อมูล(ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม)ของพระแท้เป็นตัวตั้ง แล้วเอาข้อมูลของพระองค์ที่กำลังพิจารณาดูอยู่มาเปรียบเทียบหรือเทียบดู ยิ่งมีมากข้อมูลผลการพิจารณายิ่งชัดเจน ข้อมูลอาจอยู่ในรูปข้อเขียน ภาพถ่าย หรือพระองค์จริง -- ข้อมูลของพระสมเด็จฯพิมพ์ทรงพระประธานหรือพิมพ์ใหญ่แต่ละแม่พิมพ์มีมากกว่า ๔๐ ข้อ(ลักษณะของแต่ละส่วนและจุด) ข้อมูลส่วนใหญ่ของแต่ละแม่พิมพ์มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ซึ่งก็คือรายละเอียดของรูปแบบ (pattern) และฝีมือการแกะแม่พิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์หรือศิลปเฉพาะตัวของผู้ทำแม่พิมพ์ และมีปรากฏเฉพาะของวัดระฆังฯและบางขุนพรหม ถ้าศึกษาจนเข้าใจในศิลปของผู้ออกแบบและแกะแม่พิมพ์แล้วย่อมสามารถบอกได้ว่า องค์ไหนคือพระของวัดระฆังฯและบางขุนพรหม ในอนาคตเมื่อมีการศึกษาพิมพ์ทรงอื่นมากขึ้น คงจะได้พบข้อมูลมากกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะศิลปมีหลายอย่าง(ลักษณะ)ที่คล้าย ๆ หรือทำนองเดียวกันกับของพิมพ์ใหญ่ ----- พระสมเด็จ(แบบใดก็ตาม)ที่ไม่เคยมีข้อเขียนบทความบรรยายลักษณะของส่วนต่าง ๆ ในพิมพ์ (คำบรรยายลักษณะพิมพ์) ไม่มีการชี้บอกจุดสังเกต (บางคนเรียกว่าตำหนิ - แต่มีความหมายแคบกว่า) เป็นพระที่ผู้เริ่มศึกษาไม่อาจจะศึกษาอะไรได้ ไม่มีข้อมูลหลักฐานที่จะยืนยันได้ว่า เป็นพระของวัดใด กรุใด ใครเป็นผู้สร้าง --- พระสมเด็จเก่าโบราณที่มีหลักฐานอ้างอิงว่าใครเป็นผู้ออกแบบและแกะแม่พิมพ์ มีเพียงพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมพิมพ์ทรงนิยม(หรือพิมพ์ทรงมาตรฐาน)เท่านั้น ความเข้าใจในเอกลักษณ์ทางศิลปของผู้ทำแม่พิมพ์และ"พิจารณาดูได้"เป็นเรื่องสำคัญที่ควรต้องศึกษาและฝึกดู (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามต้องเริ่มจากก้าวที่หนึ่ง)

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา