ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ19491702

พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส พิมพ์ใหญ่ พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญา แม้จะผุกร่อนมากด้วยความเก่า แต่ยังมองเห็นรูปคาง พระสมเด็จบางขุนพรหม ผิวค่อนข้างหนา ด้านหน้าผิวผุเปื่อยออกเกือบหมด ด้านหลังส่วนที่เป็นสีขาวกว่าและเรียบกว่าคือผิวเดิมที่เหลืออยู่ ส่วนที่สีคล้ำกว่าคือส่วนที่ผิวหลุดออกไปเห็นเนื้อซึ่งเดิมอยู่ใต้ผิว เมื่อผิวหลุดออกไปคราบต่างๆที่อยู่บนผิวก็หลุดไปด้วย (พระบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์เดียวกัน ในหนังสือเบญจภาคี เล่มใหญ่ปกแข็งหน้า ๒๕๙ เล่มเล็กปกอ่อนหน้า ๓๓) Pra nangphya wat nangphya pim sangkati. Pra somdej bangkhunprom wat mai-amataros pim yai (prasomdet). Pra kamphaeng sumkor pim yai. Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ - "ผิวของพระสมเด็จฯไม่ได้มีอย่างเดียว" -- จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย - การจำแนกประเภทของผิว เมื่อพิจารณาลักษณะของผิวโดยทั่วไป จะเห็นได้ว่ามีลักษณะต่าง ๆ กันและการแตกต่างกันของผิวเหล่านี้ ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุดประการหนึ่ง ที่มีผลให้เนื้อของพระมีความแตกต่างกันมากไปด้วย โดยสรุปแล้วอาจจำแนกผิวของเนื้อออกไปเป็น ๔ ประการคือ :- ๑.ผิวเยื่อหอม ๒.ผิวแป้งโรยพิมพ์ ๓.ผิวเรียบ ก.เรียบบาง ข.เรียบหนา ๔.ผิวฟู ก.ฟูบาง ข.ฟูหนา --- (๑)ผิวเยื่อหอม ผิวประเภทนี้ "ปรากฏเฉพาะเนื้อของวัดระฆัง ฯ" เป็นผิวของประเภทเนื้อที่มีความนุ่มจัด ๆ เช่น เนื้อเกสรดอกไม้ และเนื้อกระแจะจันทน์ ต้องมีความเข้าใจว่า เนื้อประเภทนี้ "เกือบจะไม่มีลักษณะของผิวปูน" เคลือบอยู่ข้างหน้าเลยแม้แต่น้อย หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ผิวและเนื้อเกือบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่วนมากอาจจะเป็นพระที่ได้รับการสัมผัสมาบ้าง หรือผ่านการลงรักเก่าทองเก่าแต่ไม่แตกลายงา เพราะเนื้ออุดมด้วยความนุ่มอย่างจัด ผิวประเภทนี้เมื่อผ่านการสระสรงหรือทำให้แห้งบริสุทธิ์(ปราศจากสารน้ำมันและฝุ่นละออง)แล้วอาจจะเกิดผิวแป้งโรยพิมพ์ได้ นอกจากปฏิกิริยาการเสียดสีระหว่างผิวกับรักเก่าเกิดขึ้นมาก จนผิวมีความมันก็ย่อมไม่เกิดแป้งโรยพิมพ์ อย่างไรก็ดีผิวพื้นส่วนหน้ามักจะปรากฏผิวแป้งบ้างไม่มากก็น้อยถ้าประสงค์จะทำให้มีความแห้งบริสุทธิ์ ------- ข้อสังเกตและคิดเห็นเพิ่มเติม ๑.ผิวเยื่อหอมมีลักษณะทำนองผิวของหัวหอมที่ลอกเอากาบบาง ๆ ออกแล้ว ๒.ผิวของพระสมเด็จ ฯ มีหลายอย่าง ถ้ามีพระสมเด็จ ฯ แท้อยู่แล้วหนึ่งองค์ก็จะรู้จักผิวเพียงหนึ่งอย่าง ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาผิวอย่างอื่นด้วย ๓.พระสมเด็จวัดระฆัง ฯ สร้างระหว่างพ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๑๕ รวมเป็นเวลา ๖ ปี สันนิษฐานว่า มีการปรับปรุงส่วนผสมและสูตรผสมหลายครั้ง จึงมีเนื้อหลายประเภท เช่น เนื้อปูนนุ่ม เนื้อกระยาสารท เนื้อเกสรดอกไม้ ฯ การปรับปรุงครั้งสุดท้ายน่าจะเป็นเนื้อเกสรดอกไม้ ซึ่งเป็นเนื้อที่นุ่ม มีมวลสารละเอียดที่สุดเป็นจุลธุลี และที่สำคัญคือมีรอยยุบ ปริ แยก ร้าวน้อยมาก ๔.ในหนังสือและนิตยสารต่าง ๆ มีรูปภาพพระสมเด็จ ฯ ที่ไม่มีการลงรักน้อยองค์ ส่วนใหญ่จะมีการลงรัก บางองค์มีการล้างรัก ซึ่งการศึกษาเรื่องผิวจะยากกว่าพระที่ไม่ได้ลงรัก ๕.พระที่ลงรัก เมื่อรักหลุดออกไป ผิวจะเสียไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะแป้งโรยพิมพ์ที่ติดอยู่กับยางรักจะหลุดออกไปด้วย ๖.ในหนังสือพระสมเด็จ ฯ เขียนว่า ในการพิจารณาเรื่องของเนื้อนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผิวเสียเกือบ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ (หมายเหตุ - ประมาณ สองในสามส่วน) เมื่อดู(ด้วยกล้อง)ผิวและเนื้อจะเป็นคนละเรื่องต่อกัน ผิวจะมีอิทธิพลครอบคลุมลักษณะของเนื้อทั้งหมด ๗.ถ้าต้องการดูพระสมเด็จ ฯ ได้จำเป็นต้องศึกษาเรื่องของผิว ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากหนังสือและตำรา ความสังเกต พินิจพิเคราะห์ ๘.กล้องขนาด 10X - 15X ใช้ได้ดีสำหรับการดูผิวของพระสมเด็จ ฯ กล้องขนาด 20X ขึ้นไปไม่เหมาะที่จะใช้ดูผิว เพราะขยายมาก เห็นไม่ชัด เบลอ --------- ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย -- ข้อมูลที่ถูกต้องในหนังสือเป็นหลักฐานรับรองว่าเป็นพระแท้ พระแท้เป็นหลักฐานยืนยันว่าข้อมูลในหนังสือนั้นถูกต้อง -- ใช้หนังสือดีเพื่อพิจารณาพระว่าองค์ใดเป็นพระแท้ ใช้พระแท้เพื่อพิจารณาหนังสือว่าเล่มใดเป็นหนังสือดี (รูปภาพเป็นข้อมูลอย่างหนึ่ง)

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา