ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ขายของมือสอง ร้านค้าออนไลน์ ecommerce หางาน สมัครงาน PantipMarket.com


ดูข่าวทั้งหมด
ค้นหาแบบละเอียด

หมายเลขประกาศ18650795

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆัง พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่

แสดงภาพทั้งหมด

พระนางพญา ด้านหน้าได้รับความร้อนสูงกว่าด้านหลัง ดินเริ่มละลายกลายเป็นสีเทา เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพิมพ์เข่าโค้งที่ยังเห็นได้ดีคือ ขอบลำพระองค์ (สีข้าง) ด้านซ้ายเป็นสัน หรือเส้นกันขอบ (ในหนังสือพระนางพญา ของตรียัมปวาย พิมพ์เข่าโค้ง - ใต้พระหนุ (คาง) ด้านขวาขององค์พระจะมีเส้นเอ็นคอวาดโค้งสะบัดออกมา และยาวลงมาจรดพระอังสา (ไหล่) - - ข้อสังเกต - คำว่า 'โค้งสะบัดออกมา' เน้นให้นึกถึงลักษณะความโค้งที่ต่างจากคำว่า 'โค้งออกมา' ) พระสมเด็จองค์นี้มีพิมพ์เหมือนกับพระพิมพ์ใหญ่ที่มีฉายาว่า 'องค์เสี่ยดม' (คุณอุดม กวัสราภรณ์) มีเส้นแซมใต้ตัก ผิวผุกร่อนหลุดออกมากทั้งด้านหน้าและหลัง ผิวเปิดทำให้เห็นมวลสารต่างๆจำนวนมาก รูปที่ ๗ ปูนที่เห็น (ขาวๆ) คือเนื้อซึ่งเดิมอยู่ใต้ผิว ส่วนที่มีสีคล้ำคือผิวเดิมที่เหลืออยู่ Pra nangphya wat nangphya pim kaokong. Pra somdej wat rakang pim yai. Pra kamphaeng sumkor pim yai. ( Tip สำหรับผู้เริ่มศึกษาพระสมเด็จฯ - ข้อมูลบางอย่างในเรื่องผิว จากหนังสือพระสมเด็จฯ ของตรียัมปวาย - ๑.ผิวของวัดระฆังฯ จะมีลักษณะ เป็น "ผิวบางๆ" เป็นส่วนใหญ่ หรือเป็น"ผิวที่แนบแน่น" เกือบจะ"เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเนื้อ" มีปรากฏบ้างเหมือนกันที่ผิวของวัดระฆังฯมีส่วนหนากว่าเกณฑ์ทั่วไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับหนาเหมือนของบางขุนพรหม และเป็นผิวที่กอปรด้วย "ความนุ่ม" ค่อนข้างจัดๆ ๒.ผิวของบางขุนพรหม ส่วนมากเป็นผิวปูนที่ค่อนข้างหนาและมีความแกร่งสูงกว่าผิวของวัดระฆังฯประเภทเดียวกัน วรรณะขาวใสกว่าวรรณะของเนื้อ มีลักษณะทำนองคนละส่วนกับเนื้อ ๓.ปูนขาว คือ "ปัจจัยหลัก"ที่เป็นตัวการทำให้เกิดผิว กล่าวคือ เนื้อปูนขาวอันเป็นทรรพสัมภาระเนื้อหาส่วนใหญ่ เมื่อได้รับการคลุกเคล้ากับน้ำเป็นคุลีการแล้ว ธาตุหินปูนหรือแคลเซี่ยมก็จะละลายเข้ากับน้ำ และทั้งสมานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้สนิท ต่างกับมวลสารอื่นๆ สารปูนละลายเหลวนี้จะอยู่บริเวณส่วนหน้าของมวลสารอื่นๆ เมื่อแห้งตัวสนิทก็เลยปกคลุมเนื้ออยู่ภายนอก (ทำนองการเทพื้นด้วยปูนซีเมนต์หรือคอนกรีต) ซึ่งเรียกว่า "ผิวของเนื้อพระ" ซึ่งโดยเนื้อแท้ก็คือ "สารแคลเซี่ยม" หรือ"ปูนขาว"ที่อยู่ในรูปเกือบบริสุทธิ์นั่นอง ๔.โดยอิทธิพลของสารปูนขาวนี้เอง ถ้าหากเนื้อมีส่วนผสมของปูนขาวมากเพียงใด ผิวพระจะหนามากขึ้น และ ความแกร่งก็จะสูงขึ้นเพียงนั้น ๕.ระดับความเหลวตัว หมายถึงปริมาณของน้ำในส่วนผสม กล่าวคือ ถ้าส่วนผสมมีน้ำมาก เนื้อก็จะเหลวมาก และโอกาสการละลายตัวของแคลเซี่ยมก็จะมีมาก ซึ่งจะทำให้เกิดผิวที่หนามาก และถ้ายิ่งกอปรด้วยปริมาณของปูนมีมากด้วยแล้วผิวที่เกิดขึ้นก็จะมีลักษณะทั้งหนาและแกร่ง ในประการตรงกันข้าม ถ้าหากส่วนผสมเจือน้ำน้อย เนื้อก็จะมีลักษณะหมาดๆ การละลายตัวของปูนมีน้อย ผิวที่เกิดขึ้นค่อนข้างจะบาง ๖.เนื้อที่กอปรด้วยผิวที่มีความนุ่มจัดหรือด้อยเพียงใด ความนุ่มส่วนรวมของเนื้อก็จะยิ่งหรือหย่อนเพียงนั้น ในทางตรงกันข้าม มวลสารของเนื้อจะมีความแกร่งที่สุดถ้ามีผิวที่แกร่งจัด - - - ข้อสังเกตและคิดเห็นเพิ่มเติม - ก.ผิวของพระสมเด็จวัดระฆังฯและบางขุนพรหมหนา - บางไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการสร้างพระองค์นั้นๆคือ ส่วนผสมปูนขาวมากหรือน้อย ปริมาณน้ำในส่วนผสมซึ่งจะทำให้เนื้อเหลวหรือหมาด ข.ผิวมีความแกร่งหรือความนุ่มไม่เท่ากัน ค.ผิวที่แกร่งจะกร่อน ผุ เปื่อยน้อยกว่าผิวที่นุ่ม - - - แถมท้าย - ผู้ชำนาญเขียนแนะนำในหนังสือและนิตยสารพระว่า การพิจารณาดูแนวของเส้นแซมใต้ตักและความต่อเนื่องของเส้นไม่ขาดตอนเป็นช่วงๆ จะช่วยในการพิจารณาพระสมเด็จ ฯ แม่พิมพ์นี้ได้มาก อีกอย่างหนึ่งคือ บนสันของฐานชั้นบนมีเส้นนูนตามยาว )

ประกาศอื่นของผู้ขาย

รูปภาพรายละเอียดราคา