ผลิตภัณฑ์สีเขียว
คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีความพิเศษกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การลดขยะ การลดสารพิษ การมีมาตรฐานการรับรองสินค้าที่ผลิตออกมาเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้
-
เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตออกมาพอดีต่อผู้บริโภค ใช้ภาชนะหีบห่อน้อยที่สุด ปราศจากความฟุ่มเฟือย
-
เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือวัตถุดิบที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์
-
เป็นผลิตภัณฑ์ ที่นำกลับมาใช้หมุนเวียนได้ใหม่ จากการประดิษฐ์ ใช้กรรมวิธีย่อยสลาย หรือ ใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน
-
เป็นผลิตภัณฑ์ ที่อนุรักษ์พลังงานธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน เริ่มตั้งแต่การผลิต การใช้ ไปถึงการสิ้นสภาพ
-
เป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีการจัดการมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ หรือทิ้งของเสียลงสู่ธรรมชาติ
ตรารับรอง
|
มาตรฐาน/ หน่วยงานรับรอง
|
.jpg)
|
ฉลากเขียว (Green label)
หรือฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เริ่มโครงการนี้เมื่อ พ.ศ. 2536 โดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย และได้รับความร่วมมือจาก กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และองค์กรเอกชนอื่นๆ ฉลากเขียวนี้ได้รับการจดทะเบียนสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นเครื่องหมายรับรอง
|
.jpg)
|
สัญลักษณ์ของ BPA free สำหรับการันตีพลาสติกเกรด 7
ผลิตภัณฑ์ BPA Free หมายถึง ปลอดสาร BPA
BPA (Bisphenol) เป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติก และที่สำคัญคือ มีการทดลองในหนูพบว่า BPA เป็นสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งในต่อมลูกหมากและส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกาย
|
ตราสัญลักษณ์ตัว G (Green Production)
เป็นอีกมาตรฐานหนึ่ง เป็นเครื่องการันตีสินค้า ว่ามาจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับโล่เกียรติคุณนี้ แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า การผลิตของสถานประกอบการให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบของมลภาวะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ที่เป็นอีกสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีการมอบโล่พร้อมเกียรติบัตรให้แก่สถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์และได้รับตราสัญลักษณ์ตัว G
โดยตราสัญลักษณ์ตัว G แบ่งเป็น 3 ระดับ

|

|

|
ระดับดีเยี่ยม (Gสีทอง)
|
ระดับดีมาก (Gสีเงิน)
|
ระดับดี (Gสีทองแดง)
|
มาตรฐานอาหารและสินค้าเกษตรที่เน้นในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง ตารางแสดงตรารับรองมาตรฐาน ที่ได้รับรองจากระบบต่างๆ
ตรารับรอง
|
มาตรฐาน/ หน่วยงานรับรอง
|

|
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย (มกท.)
A.C.T.(Organic Ariculture Cetification Thailand) หรือ มกท. ย่อมาจาก "มาตราฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย" เป็นตราของไทยเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของไทย เรียกว่า Certified Organic ซึ่งเป็นสมาชิกของ IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movements) หรือ สมาพันธ์เกษตรอนิทร์นานาชาติ ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์นี้จึงได้รับการรับรองระดับสากลด้วย
|

|
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป (EU)
มีหน่วยงานหลายแห่งที่สามารถให้บริการตรวจสอบรับรองตามมาตรฐานนี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยตรวจรับรองต่างประเทศ ในประเทศไทย มีเพียง มกท. ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ตุลาคม 2554 โดยในระบบนี้ มกท. สามารถให้บริการตรวจรับรองในขอบข่ายการเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและธรรมชาติ และการแปรรูปและจัดการผลผลิต
|

|
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แคนาดา
รัฐบาลแคนาดาเริ่มนำระบบ Canada Organic Regime (COR) ออกใช้ในปี 2552 ตามระเบียบ Organic Products Regulations, 2009 (SOR/2009-176) โดยมี Canadian Food Inspection Agency (CFIA) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
มกท. ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่มิถุนายน 2552 ในระบบนี้ มกท. สามารถให้บริการตรวจรับรองในขอบข่ายการเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและธรรมชาติ และการแปรรูปและจัดการผลผลิต
|

|
มาตราฐานเกษตรอินทรีย์สหรัฐอเมริกา (USDA)
USDA Organic ย่อมาจาก U.S. Department of Agriculture เป็นตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกา ขอบข่ายการตรวจรับรองในระบบนี้จึงเหมือนกับระบบของแคนาดา คือ การเพาะปลูกพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและธรรมชาติ และการแปรรูปและจัดการผลผลิต
|

|
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.
เนื่องจากมีการผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางอย่างที่เพิ่งเริ่มพัฒนาขึ้น ทาง มกท. จึงได้จัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เฉพาะที่เหมาะกับผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้นเหล่านี้ โดยขอบข่ายการตรวจรับรองที่ มกท. ได้จัดทำขึ้นแล้วในระบบนี้ คือ การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงผึ้ง การประกอบอาหารสำหรับร้านอาหาร
ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ตามระบบนี้ จะสามารถใช้ตรารับรองเกษตรอินทรีย์ของ มกท. (ห้ามมีคำ "IFOAM Accredited" บนโลโก้)
|

|
ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ Organic Thailand's Brand
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำจำกัดความของเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า “เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึงระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบ องค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลาย
ทางชีวภาพวงจรชีวภาพโดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืชสัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม(genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน”
|

|
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.)
องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) เป็นองค์กรเอกชน ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และให้บริการตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เฉพาะในภาคเหนือ
|

|
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยตรวจสอบรับรองเอกชน Bio AgriCert
ไบโออะกริเสิร์ช(ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ให้การรับรองมาตรฐาน (Certification Body) มาจาก Bioagricert S.r.l. ประเทศอิตาลี เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการตรวจสอบ และการเป็นผู้ให้การรับรองการผลิตสินค้าอินทรีย์ ซึ่งได้รับการยอมรับและแต่งตั้งโดยหน่วยงานซึ่งดูแลเกี่ยวกับการให้การ รับรองในยุโรป ซึ่งรับรองโดย IFOAM ตามข้อตกลงมาตรฐาน ISO 65 และ มาตรฐาน EN 45011
|

|
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของหน่วยตรวจสอบรับรองเอกชน Eco Cert
เป็นหน่วยงานรับรองเอกชนของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งผู้ผลิตจะต้องได้รับการตรวจรับรองจากหน่วยงานนี้เท่านั้นจึงจะใช้ตรารับรองมาตรฐานนี้ได้
|
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ http://www.actorganic-cert.or.th/ และ สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น http://local.environnet.in.th/